เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 ราหุลสูตร พ.แนะนำราหุลในธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ ยิ่งขึ้นไปเถิด…พวกเทวดาหลายพันติดตาม 1250
 

(โดยย่อ)


ราหุลสูตร
พระผู้มีพระภาคทรง เกิดปริวิตกแห่งพระหฤทัยว่า ธรรมที่เป็นเครื่อง บ่มวิมุติของ ราหุล แก่กล้าแล้ว ถ้ากระไร เราควรแนะนำราหุลในธรรม เป็นที่สิ้นอาสวะ ยิ่งขึ้นไปเถิด…พวกเทวดาหลายพัน ติดตาม พระผู้มีพระภาค ไปด้วย

ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง
ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ... รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตาม เห็นสิ่งนั้นว่านั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ... รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า
พ. รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง... รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

ราหูลได้ฟังพระธรรมเทศนาแล้ว ย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ..จิตหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี พระผู้มีพระภาคตรัสพระสูตรนี้ จิตของพระราหุลหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน

ฝ่ายเทวดาหลายพัน ก็เกิดธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิด ขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๑๐๗ - ๑๑๐

ราหุลสูตร


          [๑๘๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม ของท่าน อนาถ บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรง หลีกเร้น อยู่ในที่ สงัด ทรงเกิดปริวิตกแห่งพระหฤทัยอย่างนี้ว่า ธรรมที่เป็นเครื่อง บ่มวิมุติของราหุล แก่กล้าแล้ว ถ้ากระไรเราควรแนะนำราหุลในธรรม เป็นที่สิ้นอาสวะ ยิ่งขึ้นไปเถิด

          ครั้นทรงพระดำริฉะนี้แล้ว ในเวลาเช้าพระผู้มีพระภาค ทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ครั้นเวลาภายหลังภัต เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว ตรัสเรียกท่านพระราหุลมาตรัสว่าราหุล เธอจงถือผ้า นิสีทนะไปสู่ป่าอันธวันด้วยกัน เพื่อพักผ่อนในกลางวัน ฯ

          ท่านพระราหุลทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ถือผ้านิสีทนะ ตามเสด็จพระผู้มีพระภาคไปข้างหลัง ก็สมัยนั้น พวกเทวดาหลายพัน ติดตาม พระผู้มีพระภาค ไปด้วย คิดว่า วันนี้พระผู้มีพระภาคจักทรงแนะนำท่านพระราหุล ในธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ อันยิ่งขึ้นไป ฯ

          [๑๘๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่ป่าอันธวัน ประทับ ณ พุทธอาสน์ ที่พระราหุลปูลาดถวาย ที่ควงต้นไม้แห่งหนึ่ง ฝ่ายท่านพระราหุล ถวายอภิวาท พระผู้มี พระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มี พระภาค จึงตรัสถามว่า

          ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง
ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตาม เห็นสิ่งนั้นว่านั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

พ. รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง
รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะ ตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

พ. จักษุวิญญาณ... จักษุสัมผัส... เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่เกิดขึ้น เพราะ จักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง
รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตาม เห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ

พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง
รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตาม เห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

พ. ธรรมารมณ์เที่ยงหรือไม่เที่ยง
รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตาม เห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

พ. มโนวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง
รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตาม เห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

พ. มโนสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง
รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตาม เห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัสเป็นปัจจัยเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง
รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตาม เห็นสิ่งนั้น ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

          พ. ดูกรราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้ง ใน จักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งใน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิด ขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย ฯลฯย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งใน ธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัสทั้งในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัสเป็นปัจจัย

          เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิต หลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี พระผู้มีพระภาคตรัสพระสูตรนี้ จบลงแล้ว

          ท่านพระราหุลชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค อนึ่ง เมื่อพระผู้มี พระภาค ตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของท่านพระราหุลหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ไม่ถือมั่น ด้วย อุปาทาน ฝ่ายเทวดาหลายพัน ก็เกิดธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา







พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์