เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  พระผู้มีพระภาคทรงให้พระสาคตะ อุปัฏฐากของพระองค์ แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ 1239
 

(โดยย่อ)

พระสาคตะ อุปัฏฐากของพระองค์ แสดงอิทธิปาฏิหาริย์

ประชาชนชาวตำบลแปดหมื่น เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค แต่กลับพากันสนใจพระสาคตะ (ผู้แสดงฤทธิ์) ที่ดำลงไปในแผ่นหินอัฒจันทร์ และผุดขึ้นตรงพระพักตร์ฯ หาได้สนใจต่อพระผู้มี พระภาคไม่ ... ดูกรสาคต ถ้ากระนั้นเธอจงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่ง ของมนุษย์ ให้ยิ่งขึ้นไปอีก

ท่านพระสาคตะทูลรับสนอง แล้วเหาะขึ้นสู่เวหาส เดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง สำเร็จการนอนบ้าง บังหวนควันบ้าง โพลงไฟบ้าง หายตัวบ้าง ในอากาศกลางหาว ครั้นแสดงอิทธิปฏิหาริย์ อันเป็น ธรรมยวดยิ่ง ของมนุษย์หลายอย่าง ในอากาศกลางหาว แล้วลงมาซบศีรษะลงที่ พระยุคลบาท ของพระผู้มีพระภาค แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

พระพุทธเจ้า ข้าพระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดาของข้าพระพุทธเจ้า
ข้าพระพุทธเจ้า เป็นสาวกพระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดาของข้าพระพุทธเจ้า 
ข้าพระพุทธเจ้าเป็นสาวก


ประชาชนตำบลแปดหมื่น พูดสรรเสริญว่า อัศจรรย์นัก ประหลาดแท้ เพียงแต่พระสาวกยังมีฤทธิ์มาก ถึงเพียงนี้ ยังมีอานุภาพมากถึงเพียงนี้ พระศาสดาต้องอัศจรรย์แน่ ดังนี้ แล้ว พากันสนใจ ต่อพระผู้มี พระภาคเท่านั้น หาสนใจต่อท่านพระสาคตะไม่
-------------------------------------------------------------------------------------
พระสาคตะดึ่มสุรา อันเป็นเหตุแห่งการบัญญัติ สุรา-เมรัย page 931
พระสาคตะ เอตทัคคบาลี ลำดับที่ 39 ผู้ฉลาดในเตโชธาตุ

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๑
พระวินัยปิฎก เล่ม ๕ มหาวรรค ภาค ๒


ขันธกะ
เศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะ เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสาร


พระผู้มีพระภาคทรงให้พระสาคตะ อุปัฏฐากของพระองค์ แสดงอิทธิปาฏิหาริย์

           [๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสาร จอมเสนามาคธราช เสวยราชสมบัติ เป็นอิสราธิบดี ในหมู่บ้านแปดหมื่นตำบล 

ก็สมัยนั้น ในเมืองจัมปา มีเศรษฐีบุตรชื่อ โสณโกฬิวิสโคตร เป็นสุขุมาลชาติ (ขน) ที่ฝ่าเท้า ทั้งสองของเขา มีขนงอกขึ้น คราวหนึ่ง พระเจ้าพิมพิสาร จอมเสนา มาคธราช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ให้ราษฎร ในตำบลแปดหมื่นนั้น ประชุมกันแล้ว ทรงส่งทูตไปในสำนักเศรษฐีบุตร โสณโกฬิวิสะ ดุจมี พระราชกรณียกิจ สักอย่างหนึ่ง ด้วยพระบรมราชโองการว่า

เจ้าโสณะจงมา เราปรารถนาให้เจ้าโสณะมา จึงมารดาบิดาของเศรษฐีบุตรโสณ โกฬิวิสะ ได้พูดตักเตือนเศรษฐีบุตรนั้นว่า พ่อโสณะ พระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ จะทอดพระเนตรเท้าทั้งสองของเจ้า ระวังหน่อยพ่อโสณะ เจ้าอย่าเหยียดเท้าทั้งสอง
ไปทางที่พระเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ จงนั่งขัดสมาธิตรงพระพักตร์ของพระองค์ เมื่อเจ้านั่งแล้ว พระเจ้าอยู่หัว จักทอดพระเนตรเท้าทั้งสองได้

ครั้งนั้น ชนบริวารทั้งหลายได้นำเศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะ ไปด้วยคานหาม ลำดับนั้น เศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะ ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสาร จอมเสนามาคธราช ถวายบังคม แล้วนั่งขัดสมาธิ ตรงพระพักตร์ของท้าวเธอ ท้าวเธอได้ทอดพระเนตร เห็นโลมชาติ ที่ฝ่าเท้าทั้งสองของเขาแล้ว

ทรงอนุศาสน์ประชาราษฎรในตำบลแปดหมื่นนั้น ในประโยชน์ปัจจุบัน ทรงส่งไป ด้วยพระบรมราโชวาทว่า ดูกรพนาย เจ้าทั้งหลายอันเราสั่งสอนแล้ว ในประโยชน์ ปัจจุบัน เจ้าทั้งหลาย จงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคของเราพระองค์นั้น จักทรงสั่งสอนเจ้าทั้งหลาย ในประโยชน์ ภายหน้า ครั้งนั้น พวกเขาพากันไปทาง ภูเขาคิชฌกูฏ.

พระสาคตเถระแสดงอิทธิปาฏิหาริย์
(พระสาคตะ เอตทัคคบาลี ลำดับที่ 39 ผู้ฉลาดในเตโชธาตุ)

        ก็สมัยนั้น ท่านพระสาคตะ เป็นอุปัฏฐาก ของพระผู้มีพระภาค จึงพวกเขา พากันเข้าไปหาท่านพระสาคตะ แล้วได้กราบเรียนว่า ท่านขอรับ ประชาชน ชาวตำบลแปดหมื่นนี้ เข้ามาในที่นี้เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค ขอประทานโอกาสขอรับ ขอพวกข้าพเจ้าพึงได้เฝ้าพระผู้มีพระภาค ท่านพระสาคตะบอกว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงอยู่ ณ ที่นี้สักครู่หนึ่งก่อน จนกว่าอาตมาจะกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ ดังนี้ และเมื่อพวกเขากำลังเพ่งมองอยู่ข้างหน้า ท่านพระสาคตะ ดำลงไปในแผ่นหินอัฒจันทร์ ผุดขึ้นตรงพระพักตร์ ของพระผู้มีพระภาค แล้วได้กราบทูลคำนี้ กะพระผู้มีพระภาคว่า

พระพุทธเจ้าข้า ประชาชนชาวตำบลแปดหมื่นนี้ พากันเข้ามา ณ ที่นี้เพื่อเฝ้า พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ย่อมทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้ พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรสาคตะ ถ้ากระนั้นเธอจงปูลาดอาสนะ ณ ร่มเงา หลัง วิหาร ท่านพระสาคตะทูลสนองพระพุทธดำรัสว่า ทราบเกล้าฯ แล้ว พระพุทธเจ้าข้า แล้วถือตั่ง ดำลงไปตรงพระพักตร์ ของพระผู้มีพระภาค เมื่อประชาชน ชาวตำบลแปดหมื่นนั้น กำลังเพ่งมองอยู่ตรงหน้า จึงผุดขึ้น ลากแผ่นหินอัฒจันทร์ แล้วปูลาดอาสนะในร่มเงาหลังพระวิหาร.

เสด็จออกให้ประชาชนเข้าเฝ้า

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากพระวิหาร แล้วประทับนั่ง เหนือ พระพุทธอาสน์ ที่จัดไว้ ณ ร่มเงาหลังพระวิหาร จึงประชาชนชาวตำบลแปดหมื่นนั้น เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง และพวกเขา พากันสนใจแต่ท่านพระสาคตะเท่านั้น หาได้สนใจต่อพระผู้มีพระภาคไม่ ทันทีนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของพวกเขาด้วยพระทัยแล้ว จึงตรัสเรียกท่านพระสาคตะมารับสั่งว่า

ดูกรสาคต ถ้ากระนั้น เธอจงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่ง ของมนุษย์ ให้ยิ่งขึ้นไปอีก

        ท่านพระสาคตะทูล รับสนองพระพุทธาณัติว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า แล้ว เหาะขึ้นสู่เวหาส เดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง สำเร็จการนอนบ้าง บังหวนควันบ้าง โพลงไฟบ้าง หายตัวบ้าง ในอากาศกลางหาว ครั้นแสดงอิทธิปฏิหาริย์ อันเป็น ธรรมยวดยิ่ง ของมนุษย์หลายอย่าง ในอากาศกลางหาว แล้วลงมาซบศีรษะลงที่ พระยุคลบาท ของพระผู้มีพระภาค แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้า ข้า พระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดาของข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้า เป็นสาวกพระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดา ของข้าพระพุทธเจ้า 

ข้าพระพุทธเจ้าเป็นสาวก ดังนี้ จึงประชาชนตำบลแปดหมื่นนั้น พูดสรรเสริญว่า ชาวเราผู้เจริญอัศจรรย์นัก ประหลาดแท้ เพียงแต่พระสาวกยังมีฤทธิ์มากถึงเพียงนี้ ยังมีอานุภาพมากถึงเพียงนี้ พระศาสดาต้องอัศจรรย์แน่ ดังนี้ แล้ว พากันสนใจ ต่อพระผู้มีพระภาคเท่านั้น หาสนใจต่อท่านพระสาคตะไม่

ทรงแสดงอนุปุพพิกถาและจตุราริยสัจ
แก่ ชาวตำบลแปดหมื่น

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกแห่งใจ ของพวกเขา (ชาวตำบลแปดหมื่น) ด้วยพระทัย แล้วทรงแสดงอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศ ทานกถา ศีลกถา สัคคกถาโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมอง ของกาม ทั้งหลาย  และอานิสงส์ ในความ ออกบรรพชา เมื่อพระองค์ทรงทราบว่า พวกเขา มีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรง ประกาศ พระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัยนิโรธ มรรค

ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแก่พวกเขา ณ ที่นั่งนั้นเองว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมด มีความดับเป็นธรรมดา ดุจผ้าที่สะอาด ปราศจากมลทิน ควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดี ฉะนั้น พวกเขา ได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น ในคำสอนของพระศาสดา

ได้กราบทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระพุทธเจ้าข้า ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ ทรงประกาศธรรม โดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของ ที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุ จักเห็นรูป ดังนี้ ข้าพระพุทธเจ้าเหล่านี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคพระธรรม และ พระภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำพวกข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสก ผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.

-------------------------------------------------------------------------------------

พระสาคตะดึ่มสุรา อันเป็นเหตุแห่งการบัญญัติ สุรา-เมรัย page 931
พระสาคตะ เอตทัคคบาลี ลำดับที่ 39 ผู้ฉลาดในเตโชธาตุ







พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์