เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาพระสูตร เรียงตามอักษร
 
  เรื่องพระสาคตะ เข้าเตโชธาตุกสิณได้แต่ฉันท์สุราจนเมากลิ้ง จนถูกตำหนิจากพระผู้มีพระภาค 931
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

ท่านพระสาคตะ เข้าเตโชธาตุกสิณสมาบัติ ต่อสู้กับ พญานาคที่โรงไฟชองชฏิล
ครั้งนั้นแล ท่านพระสาคตะ เดินผ่านไปทางท่ามะม่วง อาศรมชฎิล. ครั้นถึงแล้วได้ เข้าไปยังโรงบูชาไฟ นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรงดำรงสติไว้เฉพาะหน้า นาคนั้นพอแลเห็นท่านพระสาคตะเดินผ่านเข้ามา จึงบังหวนควันขึ้น แต่ท่านพระสาคตะก็เข้า
เตโชธาตุกสิณสมาบัติ บันดาลไฟต้านทานไว้ได้

เหตุแห่งการบัญญัติ สุรา-เมรัย
ชาวพระนครโกสัมพี ได้จัดเตรียมสุราใสสีแดงดังเท้านกพิราบไว้ทุกๆครัวเรือน พอเห็นท่านพระสาคตะ เดินมา บิณฑบาต จึงต่างพากัน กล่าวเชื้อเชิญว่า นิมนต์พระคุณเจ้าสาคตะดื่มสุราใสสีแดง ดังเท้า นกพิราบเจ้าข้า ครั้งนั้น ท่านพระสาคตะได้ดื่มสุราทุกครัวเรือน แล้ว เมื่อจะเดินออกจากเมือง
ได้ล้มกลิ้งอยู่ที่ประตูเมือง

พระผู้มีพระภาค เสด็จมาเห็นจึงให้ภิกษุช่วยกันหาม พระสาคตะไปที่อาศรม โดยหันศรีษะไปทาง พระพุทธเจ้า แต่ด้วยความเมา พระสาคตกลับหันปลายเท้าไปทางพระพุทธเจ้า

จึงกล่าวกับภิกษุว่า
สาคตะมีความเคารพ มีความยำเกรงในตถาคตมิใช่หรือ?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เป็นดังรับสั่ง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ภิกษุ ท. เออก็บัดนี้ สาคตะมีความเคารพ มีความยำเกรงในตถาคตอยู่หรือ?
ภิ. ข้อนั้นไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ภิกษุ ท. สาคตะได้ต่อสู้กับนาคอยู่ที่ตำบลท่ามะม่วงมิใช่หรือ?
ภิ. ใช่ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ภิกษุ ท.เดี๋ยวนี้สาคตะสามารถจะต่อสู้แม้กับงูน้ำได้หรือ?
ภิ. ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ภิกษุ ท. น้ำที่ดื่มเข้าไปแล้วถึงวิสัญญีภาพนั้นควรดื่มหรือไม่?
ภิ. ไม่ควรดื่ม พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ภิกษุ ท.การกระทำของสาคตะไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน สาคตะจึงได้ดื่มน้ำที่ทำผู้ดื่มให้เมาเล่า?

การกระทำของสาคตะนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใส ยิ่งของ ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้

พระบัญญัติ ๑๐๐. ๑. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะดื่มสุราและเมรัย.

 

 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๒ วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๒ หน้าที่ ๕๐๖


ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๖
๖. สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๑


เรื่องพระสาคตะ
เอตทัคคะ เลิศในเตโชาตุ (ลำดับที่ 39)

          [๕๗๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเสด็จจาริกในเจติยชนบท ได้ดำเนินทรงไปทางตำบลบ้านรั้วงาม คนเลี้ยงโค คนเลี้ยงปศุสัตว์ คนชาวนา คนเดินทาง ได้แลเห็นพระผู้มีพระภาคกำลังทรงดำเนินมาแต่ไกลเที่ยว.

ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ขอพระองค์อย่าได้เสด็จไปยังท่ามะม่วงเลย พระพุทธเจ้าข้า  เพราะที่ท่ามะม่วงมี นาค อาศัยอยู่ในอาศรมชฏิล เป็นสัตว์ มีฤทธิ์ เป็นอสรพิษร้าย มันจะได้ไม่ทำร้ายพระองค์ พระพุทธเจ้าข้า.

เมื่อเขากราบทูลเรื่องนั้นแล้ว พระองค์ได้ทรงดุษณี
แม้ครั้งที่สองแล ... 
แม้ครั้งที่สามแล ...


ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกโดยลำดับ ถึงตำบลบ้านรั้วงามแล้ว ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ ณ ตำบลบ้านรั้วงามนั้น.

ครั้งนั้นแล ท่านพระสาคตะ เดินผ่านไปทางท่ามะม่วง อาศรมชฎิล. ครั้นถึงแล้วได้ เข้าไปยังโรงบูชาไฟ ปูหญ้าเครื่องลาด นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรงดำรงสติไว้เฉพาะหน้า นาคนั้นพอแลเห็นท่านพระสาคตะเดินผ่านเข้ามา ได้เป็นสัตว์ดุร้าย ขุ่นเครือง จึงบังหวนควันขึ้นในทันใด.

แม้ท่านพระสาคตะ ก็บังหวนควันขึ้น. มันทนความลบหลู่ไม่ได้ จึงพ่นไฟสู้ในทันที.  แม้ท่านพระสาคตะก็เข้า เตโชธาตุกสิณสมาบัติ บันดาลไฟต้านทานไว้. ครั้นท่าน ครอบงำไฟของนาคนั้นด้วยเตโชสิณแล้ว เดินผ่านไปทางตำบลบ้านรั้วงาม.

          ส่วนพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลบ้านรั้วงาม ตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จหลีกไปสู่จาริกทางพระนครโกสัมพี. พวกอุบาสกชาวพระนครโกสัมพี ได้ทราบ ข่าวว่าพระคุณเจ้าสาคตะได้ต่อสู้กับนาคผู้อยู่ ณ ตำบลท่ามะม่วง พอดีพระผู้มีพระภาค เสด็จจาริกโดยลำดับถึงพระนครโกสัมพี. จึงพวกอุบาสกชาวพระนครโกสัมพี พากัน รับเสด็จพระผู้มีพระภาคแล้ว เข้าไปหาท่านพระสาคตะ กราบไหว้แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง, แล้วถามท่านว่า ท่านขอรับอะไรเป็นของหายาก และเป็นของชอบ ของพระคุณเจ้า พวกกระผมจะจัดของอะไรถวายดี?

          เมื่อเขาถามอย่างนั้นแล้ว, พระฉัพพัคคีย์ได้กล่าวตอบคำนี้กะพวกอุบาสกว่า มี ท่านทั้งหลาย สุราใสสีแดงดังเท้านกพิราบ เป็นของหายาก ทั้งเป็นของชอบของ พวกพระ ท่านทั้งหลายจงแต่งสุรานั้นถวายเถิด.

          ครั้งนั้น พวกอุบาสกชาวพระนครโกสัมพี ได้จัดเตรียมสุราใสสีแดงดังเท้า นกพิราบไว้ทุกๆครัวเรือน พอเห็นท่านพระสาคตะเดินมาบิณฑบาต จึงต่างพากัน กล่าวเชื้อเชิญว่า นิมนต์พระคุณเจ้าสาคตะดื่มสุราใสสีแดงดังเท้านกพิราบเจ้าข้า นิมนต์พระคุณเจ้าสาคตะดื่มสุราใสสีแดงดังเท้านกพิราบ เจ้าข้า.

          ครั้งนั้น ท่านพระสาคตะได้ดื่มสุราใสสีแดงดังเท้าดังนกพิราบทุกๆ ครัวเรือน แล้ว เมื่อจะเดินออกจากเมือง ได้ล้มกลิ้งอยู่ที่ประตูเมือง

          พอดีพระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากเมืองพร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมาก ได้ทอด พระเนตรเห็นท่านพระสาคตะล้มกลิ้งอยู่ที่ประตูเมือง จึงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงช่วยกันหามสาคตะไป.

          ภิกษุเหล่านั้นรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว หามท่านพระสาคตะไปสู่อาราม ให้นอนหันศีรษะไปทางพระผู้มีพระภาค แต่ท่านพระสาคตะได้พลิกกลับนอน ผันแปรเท้าทั้งสองไปทางพระผู้มีพระภาค

          ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งถามภิกษุทั้งหลายว่า

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย
          สาคตะมีความเคารพ มีความยำเกรงในตถาคตมิใช่หรือ?
          ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เป็นดังรับสั่ง พระพุทธเจ้าข้า.

          ภ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เออก็บัดนี้ สาคตะมีความเคารพ มีความยำเกรงใน
              ตถาคตอยู่หรือ?

          ภิ. ข้อนั้นไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า.

          ภ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สาคตะได้ต่อสู้กับนาคอยู่ที่ตำบลท่ามะม่วงมิใช่หรือ?
          ภิ. ใช่ พระพุทธเจ้าข้า.

          ภ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เดี๋ยวนี้สาคตะสามารถจะต่อสู้แม้กับงูน้ำได้หรือ?
          ภิ. ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า.

          ภ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย น้ำที่ดื่มเข้าไปแล้วถึงวิสัญญีภาพนั้นควรดื่มหรือไม่?
          ภิ. ไม่ควรดื่ม พระพุทธเจ้าข้า.

          ภ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของสาคตะไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน สาคตะจึงได้ดื่มน้ำที่ทำผู้ดื่มให้เมาเล่า?

การกระทำของสาคตะนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

(พระบัญญัติ   ๑๐๐. ๑. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะดื่มสุราและเมรัย)

 

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์