เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  รวมพระสูตร อนุปุพพิกถา ทั้งพระไตรปิฎก ๒๖ พระสูตร มีผู้ฟังธรรม 200,123 คน 1240
 
อนุปุพพิกถา อ่านว่า อนุ - ปุพ - พิ - กถา แปลว่า การแสดงธรรมไปตามลำดับ(จากง่ายไปยาก)

อนุปุพพิกถา (พระธรรมเทศนาเป็นลำดับ เพื่อฟอกอัธยาศัยของสัตว์ให้หมดจดเป็นชั้นๆ)
ทรงประกาศ ทานกถา สีลกถา สัคคกถา(พรรณาถึงสวรรค์) โทษความต่ำทราม ความเศร้าหมอง ของกาม อานิสงส์ ในความออกจากกาม เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ผู้ฟังมีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจาก นิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงแสดง ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค(อริยสัจสี่)

ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา จิตจึงสะอาด ปราศจากมลทิน  ควรได้รับ น้ำย้อมเป็นอย่างดี

ได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรม แจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัย ได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น เชื่อแต่คำสอน ของพระศาสดา
  พระพุทธเจ้าแสดง อนุปุพพิกถา ให้กับ ผู้ฟังธรรม ๒๖ พระสูตร -ฉบับหลวง
1 ยสกุลบุตร 1 ฉบับหลวง เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๒๔
2 บิดาของยสกุลบุตร 1 ฉบับหลวง เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๒๖
3 มารดา และภรรยาเก่าของพระยสกุลบุตร 2 ฉบับหลวง เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๒๘
4 สหายคฤหัสถ์ ๔ คนของท่านพระยส  4 ฉบับหลวง เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๒๙
5 สหายคฤหัสถ์ ๕๐ คน ของพระยส 50 ฉบับหลวง เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๓๐
6 สหายภัททวัคคีย์ ๓๐ คน พร้อมด้วยปชาบดี 31 ฉบับหลวง เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๓๕
7 พราหมณ์คหบดีชาวมคธทั้ง ๑๒ นหุต(หมื่น) 120,000 ฉบับหลวง เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๕๒
8 พระสาคตเถระ .. ชาวตำบลแปดหมื่น 80,000 ฉบับหลวง เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๓
9 พราหมณ์เวลัฏฐกัจจานะ 1 ฉบับหลวง เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๖๘
10 สีหเสนาบดี 1 ฉบับหลวง เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๘๓
11 ภรรยาบุตรสะใภ้ และทาสของเมณฑกะคหบดี 3 ฉบับหลวง เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๙๓
12 โรชะมัลลกษัตริย์ 1 ฉบับหลวง เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๑๐๐
13 อนาถบิณฑิกคหบดี 1 ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๖๘
14 บุรุษคนเดียว และ บุรุษ ๒ คน 3 ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๑๑๙
15 บุรุษ ๑๖ คน 16 ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๑๑๙
16 พราหมณ์โปกขรสาติ 1 ฉบับหลวง เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๑๑๖
17 กูฏทันตพราหมณ์ 1 ฉบับหลวง เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๑๘๑
18 พระราชโอรสขัณฑะและติสสะบุตรปุโรหิต * 2 ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๗๓
19 หมู่มหาชนประมาณ ๘๔,๐๐๐ คน * 84,000 ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๓๕
20 บรรพชิต ๘๔,๐๐๐ รูป * 84,000 ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๓๖
  * พระพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี  (กัปที่ ๙๑ สมัยมนุษย์อายุ ๘๐,๐๐๐ ปี)
21 อุบาลีคฤหบดี 1 ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๕๕
22 พรหมายุพราหมณ์ 1 ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๔๑๑
23 สีหเสนาบดี 1 ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๔๓
24 อุคคคฤหบดี 1 ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๖๐
25 อุคคคฤหบดี 1 ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๖๓
26 สุปปพุทธกุฏฐิสูตร 1 ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๑๐๔
       
 
พระพุทธเจ้า โคดม มีผู้ฟังธรรม 200,123 คน
พระพุทธเจ้า วิปัสสี มีผู้ฟังธรรม 168,002 คน
 
  ลำดับการแสดง “อนุปุพพิกถา” ของพระผู้มีพระภาค (ลำดับจากง่ายไปยาก)

  1. ทรงประกาศ ทานกถา (ทาน)
  2. ทรงประกาศ สีลกถา (ศีล)
  3. ทรงประกาศ สัคคกถา (สุขของเทวดา) 
  4. โทษความต่ำทราม ความเศร้าหมอง ของกามทั้งหลาย (โทษของกาม)
  5. อานิสงส์ในความออกจากกาม (เนกขัมมะ-ความดำริออกจากกาม)
  6. เมื่อทรงทราบว่า กุลบุตร มีจิตสงบ มีจิตอ่อน ปลอดจากนิวรณ์ เบิกบานผ่องใสแล้ว
  7. ทรงประกาศ พระธรรมเทศนา คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
  8. ดวงตาเห็นธรรมว่า สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา
  9. ข้ามข้อสงสัยได้แล้ว ไม่เชื่อคำสอนผู้อื่น เชื่อคำของของพระศาสดา (ศรัทธาตถาคต)

  (ข้อ6) พระผู้มีพระภาคใช้ เจโตปริยญาณ ญาณรู้ใจผู้อื่น ตรวจสอบวาระจิต เมื่อเห็นว่า  จิตปราศจากนิวรณ์ น้อมไปเพื่อการฟังธรรมแล้ว ก็จะทรงแสดงอริยสัจสี่ (ข้อ7)ในลำดับ  ต่อไป ธรรมเทศนา"อนุปุพพิกถา" จึงเป็นลักษณะเฉพาะของพระศาสดาเท่านั้น


ฉบับหลวง เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๒๔

1
พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา
แก่ ยสกุลบุตร


       ... เมื่อ ยสกุลบุตรนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดง อนุปุพพิกถา ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษความต่ำทราม ความ เศร้าหมอง ของกาม ทั้งหลาย และอานิสงส์ในความออกจากกาม.

        เมื่อพระองค์ทรง ทราบว่า ยสกุลบุตรมีจิต สงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจาก นิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศ พระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ทรงยกขึ้น แสดง ด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย  นิโรธ มรรค.

        ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจาก มลทิน ว่า สิ่งใด สิ่งหนึ่ง มีความ เกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับ เป็นธรรมดา ได้เกิดแก่ ยสกุลบุตร ณ ที่นั่งนั้น แล ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดี ฉะนั้น.


ฉบับหลวง เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๒๖
2
พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา
แก่ บิดาของยสกุลบุตร


        ...เมื่อ เศรษฐีผู้คหบดีนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดง อนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมอง ของ กามทั้งหลาย และอานิสงส์ในความออกจากกาม. 

        เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า เศรษฐีผู้คหบดี  มีจิตสงบมีจิตอ่อน มีจิต ปลอดจาก นิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้า ทั้งหลายทรงยกขึ้น แสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค.

        ดวงตาเห็นธรรม  ปราศจากธุลี  ปราศจากมลทิน ว่า สิ่งใด สิ่งหนึ่งมีความ เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดาได้เกิดแก่ เศรษฐีผู้คหบดี ณ ที่นั่งนั้นแล ดุจผ้าที่สะอาด ปราศจากมลทิน ควรได้รับน้ำย้อม ฉะนั้น.


ฉบับหลวง เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๒๘
3
พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา
แก่ มารดาและภรรยาเก่าของพระยสกุลบุตร


        พระผู้มีพระภาคตรัส อนุปุพพิกถา แก่นางทั้งสอง ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษความ ต่ำทราม ความเศร้าหมอง ของกาม ทั้งหลาย และ
อานิสงส์ในความออกจากกาม. 

        เมื่อพระผู้มีพระภาคทรง ทราบว่า นางทั้งสอง มีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอด จากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรง ประกาศพระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้น แสดงด้วยพระองค์เอง คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค.

        ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใด สิ่งหนึ่ง มีความ เกิดขึ้นเป็น ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความ ดับเป็นธรรมดา ได้เกิดแก่นาง ทั้งสอง ณ ที่นั่งนั้นแล ดุจผ้าที่สะอาดปราศจาก มลทิน ควรได้รับ น้ำย้อมเป็นอย่างดี ฉะนั้น.

        มารดาและ ภรรยาเก่า ของท่านพระยส ได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรม แจ่มแจ้ง แล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว  ข้ามความสงสัยได้แล้ว  ปราศจาก ถ้อยคำ แสดง ความสงสัย ถึงความเป็นผู้ แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น ในคำสอน ของพระศาสดา


ฉบับหลวง เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๒๙
4
พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา
แก่ สหายคฤหัสถ์ ๔ คนของท่านพระยส 

       ...ท่านพระยสพาสหายคฤหัสถ์ทั้ง ๔ นั้น เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถวายบังคม แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า สหายคฤหัสถ์ของ
ข้าพระองค์ ๔ คนนี้ ชื่อ วิมล ๑ สุพาหุ ๑ ปุณณชิ ๑ ควัมปติ ๑ เป็นบุตรของสกุล เศรษฐี สืบๆ มาในพระนครพาราณสี ขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทานโอวาท สั่งสอน สหายของข้า พระองค์เหล่านี้.

        พระผู้มีพระภาคทรงแสดง อนุปุพพิกถา แก่พวกเขา ทรงประกาศทานกถา สีลกถาสัคคกถา โทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และ
อานิสงส์ในความออกจากกาม. 

       เมื่อพระผู้มีพระภาค ทรงทราบว่า พวกเขา มีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจาก นิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค. 

        ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี ปราศจาก มลทิน ว่าสิ่งใด สิ่งหนึ่ง มีความ เกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมี ความดับเป็นธรรมดา ได้เกิดแก่พวกเขา ณ ที่นั่งนั้นแล ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรได้ รับน้ำย้อม เป็นอย่างดี ฉะนั้น. 

        พวกเขาได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรม อันหยั่งลงแล้ว  ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึง ความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา


ฉบับหลวง เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๓๐
5
พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา
แก่สหายคฤหัสถ์ ๕๐ คน ของพระยส


       พระผู้มีพระภาคทรงแสดง อนุปุพพิกถา แก่พวกเขา คือ ทรงประกาศ ทานกถา สีลกถาสัคคกถา โทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมอง ของกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในความออกจากกาม. 

       เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่าพวกเขา มีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจาก นิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ทรงยกขึ้นแสดง ด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค. 

        ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ เกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็น ธรรมดา ได้เกิดแก่ พวกเขา ณ ที่นั่งนั้นแล ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดี ฉะนั้น.

        พวกเขาได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรม แจ่มแจ้งแล้ว  มีธรรม อันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดง ความสงสัย  ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๓๕
6
พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา
แก่ สหายภัททวัคคีย์จำนวน ๓๐ คน  พร้อมด้วยปชาบดี


       พวกสหายภัททวัคคีย์เหล่านั้น รับพระพุทธาณัติพจน์ว่า อย่างนั้น เจ้าข้า ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

        พระผู้มีพระภาคทรงแสดง อนุปุพพิกถา แก่พวกเขา คือทรงประกาศ ทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมอง ของกาม ทั้งหลาย และ อานิสงส์ในความออกจากกาม.

        เมื่อพระองค์ทรงทราบว่า พวกเขา มีจิตสงบมี จิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์  มีจิตเบิกบาน  มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรง ประกาศ พระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ทรงยกขึ้นแสดง ด้วย พระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค. 

        ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใด สิ่งหนึ่ง มีความ เกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับ เป็นธรรมดา ได้เกิดแก่พวกเขา ณ ที่นั่งนั่นแล ดุจผ้าที่สะอาด ปราศจากมลทิน


ฉบับหลวง เล่มที่ ๔ หน้าที่ หน้าที่ ๕๒
7
พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา
แก่ พราหมณ์คหบดีชาวมคธทั้ง ๑๒ นหุต


        ลำดับนั้น พราหมณ์คหบดีชาวมคธ ทั้ง ๑๒ นหุต* นั้น ได้มีความเข้าใจว่า ท่านพระอุรุเวลกัสสปประพฤติพรหมจรรย์ ในพระมหาสมณะ.
*(๑ นหุตเท่ากับ ๑๐,๐๐๐ จำนวน ๑๒ นหุต จึงเท่ากับ ๑๒๐,๐๐๐)

        ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงทราบความปริวิตกแห่งจิต ของพราหมณ์คหบดี ชาวมคธ ทั้ง ๑๒ นหุตนั้น ด้วยพระทัยของพระองค์แล้ว ทรงแสดงอนุปุพพิกถา คือทรง ประกาศ ทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมอง ของ กาม ทั้งหลาย และอานิสงส์ในความออกจากกาม.

        เมื่อพระผู้มีพระภาค ทรงทราบว่า พวกเขามีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจาก นิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ทรงยกขึ้นแสดงด้วย พระองค์เอง คือทุกข์ สมุทัย นิโรธมรรค.

        ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจาก มลทิน ว่าสิ่งใด สิ่งหนึ่ง มีความ เกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้น ทั้งหมดมีความดับเป็น ธรรมดา ได้เกิดแก่ พราหมณ์ คหบดี ชาวมคธ ๑๑ นหุต ซึ่งมีพระเจ้าพิมพิสาร เป็นประมุข ณ ที่นั่งนั้นแล ดุจผ้า ที่สะอาด ปราศจากมลทิน ควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดีฉะนั้น. พราหมณ์คหบดีอีก ๑ นหุต แสดงตนเป็นอุบาสก. (ชาวมคธ ๑๑ นหุต พรามหมณ์อีก ๑ นหุต รวมเป็น ๑๒ นหุต)


ฉบับหลวง เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๓
8
พระสาคตเถระ แสดงอิทธิปาฏิหาริย์
ทรงแสดงอนุปุพพิกถา และจตุราริยสัจ
(ต่อหน้าพระพักตร์ และชาวตำบลแปดหมื่น)

        ก็สมัยนั้น ท่านพระสาคตะเป็นอุปัฏฐาก ของพระผู้มีพระภาค จึงพวกเขา พากัน เข้าไปหาท่านพระสาคตะ แล้วได้กราบเรียนว่า ท่านขอรับ  ประชาชนชาว ตำบลแปดหมื่นนี้ เข้ามาในที่นี้เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค

        ขอประทานโอกาสขอรับ ขอพวก ข้าพเจ้าพึงได้เฝ้าพระผู้มีพระภาค ท่านพระ สาคตะ บอกว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงอยู่ ณ ที่นี้สักครู่หนึ่งก่อน จนกว่าอาตมา จะกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ ดังนี้

        และเมื่อพวกเขากำลังเพ่งมอง อยู่ข้างหน้า ท่านพระสาคตะ ดำลงไปใน แผ่นหิน อัฒจันทร์ ผุดขึ้นตรงพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค แล้วได้ กราบทูลคำนี้ กะพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ประชาชนชาวตำบล แปดหมื่น นี้พากันเข้ามา ณ ที่นี้ เพื่อเฝ้า พระผู้มีพระภาค

        พระผู้มีพระภาคย่อมทรง ทราบกาล อันควรในบัดนี้ พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มี พระภาค รับสั่งว่า ดูกรสาคตะ ถ้ากระนั้น เธอจงปูลาดอาสนะ ณ ร่มเงาหลังวิหาร ท่านพระสาคตะ ทูลสนองพระพุทธดำรัสว่า ทราบเกล้าฯ แล้ว พระพุทธเจ้าข้า แล้วถือตั่งดำลงไปตรงพระพักตร์ ของ พระผู้มี พระภาค เมื่อประชาชน ชาวตำบล แปดหมื่นนั้น กำลังเพ่งมองอยู่ตรงหน้า จึงผุดขึ้น ลากแผ่นหิน อัฒจันทร์ แล้วปูลาด อาสนะในร่มเงาหลังพระวิหาร.

เสด็จออกให้ประชาชนเข้าเฝ้า

        ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากพระวิหาร แล้วประทับนั่งเหนือ พระพุทธอาสน์ ที่จัดไว้ ณ ร่มเงาหลังพระวิหาร จึงประชาชนชาวตำบลแปดหมื่นนั้น เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง และ พวกเขา พากันสนใจ แต่ท่านพระสาคตะเท่านั้น หาได้สนใจต่อพระผู้มีพระภาคไม่ ทันทีนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงทราบความปริวิตก แห่งใจของพวกเขาด้วยพระทัยแล้ว จึงตรัส เรียกท่านพระสาคตะมา รับสั่งว่า

        ดูกรสาคต ถ้ากระนั้น เธอจงแสดง อิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่ง ของมนุษย์ ให้ยิ่งขึ้นไปอีก ท่านพระสาคตะ ทูลรับสนองพระพุทธาณัติว่าอย่างนั้น
พระพุทธเจ้าข้า แล้วเหาะขึ้นสู่เวหาส เดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง สำเร็จการนอน บ้าง บังหวนควันบ้าง โพลงไฟบ้าง หายตัวบ้าง ในอากาศ กลางหาว ครั้นแสดงอิทธิปฏิหาริย์ อันเป็นธรรม ยวดยิ่งของมนุษย์หลาย อย่างในอากาศ กลางหาว แล้วลงมา ซบศีรษะ
ลงที่พระยุคลบาท ของพระผู้มีพระภาค แล้วได้ กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า

        พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดาของข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้า เป็นสาวกพระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค เป็นพระศาสดาของข้า พระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นสาวก ดังนี้ จึงประชาชน ตำบลแปดหมื่นนั้น พูดสรรเสริญว่า ชาวเราผู้เจริญอัศจรรย์นัก ประหลาดแท้ เพียงแต่ พระสาวก ยังมีฤทธิ์มากถึงเพียงนี้ ยังมีอานุภาพมาก ถึงเพียงนี้พระศาสดา ต้องอัศจรรย์แน่ ดังนี้ แล้วพากันสนใจ ต่อพระผู้มีพระภาคเท่านั้น หาสนใจ ต่อท่านพระสาคตะไม่

ทรงแสดงอนุปุพพิกถา และจตุราริยสัจ (อริยสัจสี่)
แก่ ชาวตำบลแปดหมื่น

        ทรงแสดงอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศ ทานกถา ศีลกถา สัคคกถาโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในความออก บรรพชา

        เมื่อพระองค์ ทรงทราบว่า พวกเขามีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจาก นิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนา ที่ พระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ทรงยกขึ้นแสดง ด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัยนิโรธ มรรค ดวงตาเห็น ธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแก่พวกเขา ณ ที่นั่งนั้นเองว่า สิ่งใด สิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับ เป็นธรรมดา ดุจผ้าที่ สะอาด ปราศจากมลทินควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดี ฉะนั้น

        พวกเขาได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรม อันหยั่ง ลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความ เป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น ในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลคำนี้ ต่อพระผู้มี พระภาคว่า ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระพุทธเจ้าข้าภาษิตของ พระองค์ ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือน บุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้

        ข้าพระพุทธเจ้าเหล่านี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะขอพระองค์ จงทรงจำพวกข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้มอบชีวิต ถึง สรณะ จำเดิมแต่วันนี้ เป็นต้นไป.


ฉบับหลวง เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๖๘
9
ทรงแสดงอนุปุพพิกถา และจตุราริยสัจ
แก่ พราหมณ์เวลัฏฐกัจจานะ


        เมื่อพราหมณ์เวลัฏฐกัจจานะนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว พระผู้มีพระภาค จึงทรงแสดง อนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศ ทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และอานิสงส์ ในความออกจากกาม

        เมื่อพระผู้มีพระภาค ทรงทราบว่าพราหมณ์เวลัฏฐกัจจานะ มีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศ พระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดง ด้วยพระองค์เอง คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

        ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี ปราศจากมลทินได้เกิดแก่พราหมณ์-เวลัฏฐ กัจจานะ ณ ที่นั่งนั้นแลว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับ เป็นธรรมดา ดุจผ้าสะอาดปราศ จากมลทิน ควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดี ฉะนั้น

        ครั้น พราหมณ์เวลัฏฐกัจจานะ ได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรม แจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดง ความสงสัย แล้ว ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า


ฉบับหลวง เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๘๓
10
พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา

แก่ สีหเสนาบดี


        ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา แก่สีหะเสนาบดี คือ ทรงประกาศ ทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมอง ของกาม ทั้งหลาย และอานิสงส์ในความออกจากกาม เมื่อพระองค์ทรงทราบว่า สีหะเสนาบดี มีจิตคล่อง มีจิตอ่อนมีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใส แล้ว จึงได้ทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงยกขึ้นแสดง ด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

        ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี ปราศจากมลทินได้เกิด แก่ สีหะเสนาบดี ณ สถานที่นั่งนั้นแลว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งมวล มีความ ดับ เป็นธรรมดา ดุจผ้าที่สะอาด ปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อม เป็นอย่างดี ฉะนั้น.


ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๙๓
11
พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา
แก่ ภรรยา บุตร สะใภ้ และทาส ของเมณฑกะคหบดี


        พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอนุปุพพิกถา แก่เขาทั้งหลายคือ ทรงประกาศ ทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และ อานิสงส์ในความ ออก จากกาม เมื่อพระองค์ทรงทราบว่า ชนเหล่านั้นมี จิตคล่อง มีจิตอ่อนมีจิตปลอดจาก นิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศ พระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ทรงยกขึ้นแสดงด้วย พระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจาก มลทิน ได้เกิดแก่เขา ทั้งหลาย ณ สถานที่นั่งนั้นแลว่า สิ่งใด สิ่งหนึ่งมี ความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ดุจผ้าที่สะอาด ปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมด้วยดี ฉะนั้น.

        ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแก่เขาทั้งหลาย ณ สถานที่ นั่งนั้น แลว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมี ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับ เป็นธรรมดา ดุจผ้าที่สะอาด ปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมด้วยดี ฉะนั้น.


ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๑๐๐
12
พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา
แก่ โรชะมัลลกษัตริย์


        พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา แก่โรชะมัลลกษัตริย์คือ ทรงประกาศ ทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมอง ของกามทั้งหลาย และอานิสงส์ ในความออกจากกาม ขณะเมื่อพระองค์ทรงทราบว่า โรชะมัลล กษัตริย์มีจิตคล่อง มีจิตอ่อน มีจิตปราศจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิต ผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรม เทศนา ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้น แสดง ด้วย พระองค์เอง คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี ปราศจาก มลทิน ได้บังเกิดแก่โรชะมัลลกษัตริย์ ณ สถานที่ประทับนั้นแลว่า สิ่งใด สิ่งหนึ่ง มีความ เกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับ เป็นธรรมดาดุจผ้า ที่สะอาด ปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อมด้วยดี ฉะนั้น

        โรชะมัลลกษัตริย์ ได้ทรงเห็น ธรรมแล้ว ได้ทรงบรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่ม แจ้ง ได้หยั่งลงสู่ธรรมแล้ว ข้ามความ สงสัย ได้แล้ว


ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๖๘
13
พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา

แก่ อนาถบิณฑิกคหบดี


        พระผู้มีพระภาคตรัสอนุปุพพิกถา แก่อนาถบิณฑิก คหบดี คือ บรรยาย ถึงทาน ศีล สวรรค์ อาทีนพ ความต่ำทราม ความเศร้าหมอง  ของกามทั้งหลาย แล้วทรง ประกาศ อานิสงส์ ในการออกจากกาม

        ขณะที่พระองค์ ทรงทราบว่า อนาถบิณฑิก คหบดี มีจิต ควรแก่ การงาน มีจิตอ่อน มีจิตปราศจาก นิวรณ์ มีจิตสูง มีจิตเลื่อมใส แล้ว จึงทรงประกาศ พระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้า ทั้งหลายทรงยก ขึ้นแสดง ด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับ ทุกข์

        อนาถบิณฑิก คหบดี ได้ดวงตาเห็นธรรม ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความ ดับเป็นธรรมดา ได้เกิดแก่อนาถบิณฑิกคหบดี ณ ที่นั่งนั้นแลดุจผ้าที่สะอาด ปราศจากมลทิน ควรได้รับน้ำ ย้อม ฉะนั้น ฯ


ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๑๑๙

พระเทวทัตส่งคนไป ลอบปลงพระชนม์พระศาสดา

        [๓๖๘] ครั้งนั้น พระเทวทัต เข้าไปหา อชาตสัตตุกุมาร แล้วถวายพระพร ว่า ขอถวายพระพร ขอมหาบพิตรจงรับสั่งใช้ ราชบุรุษผู้จักปลงพระชนม์พระสมณ โคดม ลำดับนั้น อชาตสัตตุกุมาร รับสั่งใช้คนทั้งหลายว่า พนาย พระผู้เป็นเจ้า เทวทัต สั่งอย่างใด ท่านทั้งหลายจงทำอย่างนั้น

        ลำดับนั้นพระเทวทัตจึง สั่ง ราชบุรุษ คนหนึ่งว่า เจ้าจงไป พระสมณโคดม ประทับอยู่ในโอกาสโน้น จงปลง พระชนม์พระองค์แล้ว จงมาทางนี้ ดังนี้ ซุ่มราชบุรุษไว้ ๒ คนริมทางนั้นด้วย สั่งว่าราชบุรุษใดมาทางนี้ลำพังผู้เดียว เจ้าทั้งสองจงฆ่าราชบุรุษนั้นแล้วมาทางนี้ ได้ซุ่มราชบุรุษไว้ ๔ คนริมทางนั้น ด้วยสั่งว่า ราชบุรุษเหล่าใดมาทางนี้ ๒ คน เจ้าทั้ง ๔ คน จงฆ่าราชบุรุษ๒ คนนั้น แล้วมาทางนี้ ได้ซุ่มบุรุษไว้ ๘ คนริมทาง นั้นด้วยสั่งว่า ราชบุรุษเหล่าใด มาทางนี้ ๔ คน เจ้าทั้ง ๘ คน จงฆ่าราชบุรุษ ๔ คน นั้นแล้วมาทางนี้ ได้ซุ่มราชบุรุษ ไว้ ๑๖ คนริมทางนั้นด้วยสั่งว่า ราชบุรุษเหล่าใด มาทางนี้ ๘ คน เจ้าทั้ง ๑๖ คน จงฆ่า ราชบุรุษ ๘ คนนั้นแล้วมา ฯ


        [๓๖๙] ครั้งนั้น บุรุษคนเดียวนั้น ถือดาบ และโล่ห์ผูกสอดแล่งธนู แล้ว เข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาค กลัว หวั่นหวาด สะทกสะท้าน มีกายแข็ง ได้ยืนอยู่ในที่ ไม่ไกล พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ได้ทอดพระเนตรเห็นบุรุษนั้น ผู้กลัว หวั่นหวาด สะทก สะท้าน มีกายแข็งยืนอยู่ ครั้นแล้วได้ตรัสกะบุรุษนั้นว่า มาเถิด เจ้าอย่ากลัว เลย จึงบุรุษนั้นวางดาบและโล่ห์ปลดแล่งธนูวางไว้ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ซบศรีษะลงแทบพระบาทยุคล ของพระผู้มี พระภาคแล้ว ได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า โทษมาถึง ซึ่งข้าพระพุทธเจ้า ตามความโง่ ตาม ความหลง ตามอกุศล เพราะข้าพระพุทธเจ้ามีจิตคิดประทุษร้าย มีจิตคิดจะฆ่า เข้ามาถึงที่นี้ขอพระผู้มีพระภาค โปรดรับโทษของข้าพระพุทธเจ้านั้น โดยความ  เป็นโทษ เพื่อความสำรวมต่อไป พระพุทธเจ้าข้า

         พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เอาเถอะเจ้า โทษมาถึงเจ้าตามความโง่ ตามความ หลง ตามอกุศลเพราะเจ้า มีจิตคิดประทุษร้าย มีจิตคิดจะฆ่า เข้ามาถึงที่นี้ เมื่อใด เจ้าเห็นโทษ โดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม เมื่อนั้นเรารับโทษนั้น ของเจ้า เพราะผู้ใดเห็น โทษ โดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไป
ข้อนั้น เป็นความเจริญ ในอริยวินัย

ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๑๑๙
14
ทรงแสดงอนุปุพพิกถา
แก่ บุรุษคนเดียว และบุรุษ ๒ คน

         ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงอนุปุพพิกถา แก่บุรุษนั้น คือทรง แสดง ทาน ศีล สวรรค์ และอาทีนพ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกาม ทั้งหลาย แล้วจึงทรง ประกาศ อานิสงส์ในการออกจากกาม เมื่อพระผู้มีพระภาค ทรงทราบว่า บุรุษนั้นมี จิตคล่อง มีจิตอ่อนมีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตสูงขึ้น 
มีจิตผ่องใส จึงทรงแสดง พระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดง ด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

        ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี ปราศจาก มลทินว่า สิ่งใด สิ่งหนึ่งมีความ เกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความ ดับเป็นธรรมดา ได้เกิดแก่ บุรุษนั้น ณ ที่นั่นนั้นแล ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดี ฉะนั้น

        [๓๗๐] ครั้งนั้น บุรุษสองคนนั้นคิดว่า ทำไมหนอ บุรุษคนเดียวนั้น จึงมาช้า นัก แล้ว เดินสวนทางไป ได้พบพระผู้มีพระภาคประทับนั่ง ณ โคนไม้ แห่งหนึ่ง แล้วเข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคทรงแสดง อนุปุพพิกถาแก่บุรุษ ๒ คนนั้น .. พวกเขา ..ไม่ต้อง  เชื่อผู้อื่นในคำสอนขอพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์ ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า ... ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงจำข้า พระพุทธเจ้าทั้งสอง ว่า เป็นอุบาสกผู้มอบ  ชีวิตถึงสรณะจำเดิมแต่วันนี้ เป็นต้นไป

        ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งกะบุรุษทั้งสองนั้นว่า เจ้าทั้งสองอย่าไป ทางนี้ จงไป ทางนี้ แล้วทรงส่งไปทางอื่น ฯ


ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๑๑๙
15
ทรงแสดงอนุปุพพิกถา
แก่ บุรุษ ๑๖ คน

[๓๗๑] ครั้งนั้น บุรุษ ๔ คนนั้น ...
ครั้งนั้น บุรุษ ๘ คนนั้น ...
ครั้งนั้น บุรุษ ๑๖ คนนั้น คิดว่าทำไมหนอ บุรุษ ๘ คน นั้น จึงมาช้านักแล้วเดิน สวนทางไป ได้ไปพบพระผู้มีพระภาคประทับนั่ง ณ ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง จึงเข้าไปเฝ้า พระผู้มี พระภาค ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

        พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงอนุปุพพิกถา
แก่บุรุษ ๑๖ คน นั้น คือ ทรง แสดง ทาน ศีล ... พวกเขา... ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น ในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์ ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า ... ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าทั้ง ๑๖ คนว่า เป็น อุบาสกผู้มอบชีวิต ถึงสรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป

         ครั้งนั้น บุรุษคนเดียวนั้นได้เข้าไปหาพระเทวทัต แล้วได้กล่าวว่า ท่าน   เจ้าข้า กระผมไม่สามารถจะปลงพระชนม์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นได้ เพราะ  พระองค์ มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก พระเทวทัตจึงกล่าวว่า อย่าเลยเจ้า อย่าปลง    พระชนม์พระสมณ โคดมเลย เรานี้แหละจักปลงพระชนม์พระสมณโคดม ฯ


ฉบับหลวง เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๑๑๖
16
พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา
แก่ พราหมณ์โปกขรสาติ

        [๑๗๖] ครั้งนั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรจีวร เสด็จเข้าไปยัง นิเวศน์ของ พราหมณ์โปกขรสาติ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ประทับนั่ง บนอาสนะ ที่จัดถวาย.

        พราหมณ์โปกขรสาติได้อังคาสพระผู้มีพระภาค ให้ทรงอิ่มหนำเพียงพอ ด้วยของ เคี้ยว ของฉันอันประณีต ด้วยมือของตน และพวกมาณพก็ได้อังคาส พระภิกษุสงฆ์. ครั้นพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จ วางพระหัตถ์จากบาตรแล้ว พราหมณ์โปกขรสาติ ถืออาสนะ ต่ำนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

        พระผู้มีพระภาคได้ตรัส อนุบุพพิกถา แก่พราหมณ์ โปกขรสาติ คือ ทรงประกาศ ทานกถา สีลกถาสัคคกถา โทษของกามที่ต่ำช้า เศร้าหมอง และอานิสงส์ในการ ออกจากกาม เมื่อทรงทราบว่า พราหมณ์โปกขรสาติ มีจิตคล่อง มีจิตอ่อน มีจิต ปราศจากนิวรณ์ มีจิตสูง มีจิตผ่องใสแล้วจึงทรงประกาศ พระธรรม เทศนา ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงยกขึ้น แสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์สมุทัย นิโรธ มรรค โปรดพราหมณ์โปกขรสาติ

        ดวงตา เห็นธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้วแก่พราหมณ์ โปกขรสาติ ว่ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไป เป็นธรรมดา ณ ที่นั่งนั้นแล เหมือนผ้า ที่สะอาด ปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อมด้วยดี ฉะนั้น.

ฉบับหลวงเล่มที่ ๙ หน้าที่ ๑๘๑
17
พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา
แก่ กูฏทันตพราหมณ์

        [๒๓๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัส อนุปุพพิกถาแก่ พราหมณ์ กูฏทันตะ คือทรงประกาศ ทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษของกาม ที่ต่ำช้า เศร้าหมอง และ อานิสงส์ ในการออกจากกาม เมื่อทรงทราบว่าพราหมณ์ กูฏทันตะ มีจิตควร มีจิตอ่อน มีจิตปราศจากนิวรณ์มีจิตร่าเริง มีจิตใส แล้วจึงทรง ประกาศ พระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค โปรดพราหมณ์กูฏทันตะ เปรียบเหมือนผ้าที่สะอาด ปราศจากสีดำ ควรรับน้ำ ย้อมได้ เป็นอย่างดี ฉันใด พราหมณ์กูฏทันตะ ก็ฉันนั้น

        ได้ดวงตาเห็นธรรม อัน ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมี ความ เกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งมวล ล้วนมีความดับไป เป็นธรรมดา ณ ที่นั่งนั้นเอง

        ลำดับนั้น พราหมณ์กูฏทันตะ เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้ธรรมแล้ว หยั่งทราบถึง ธรรมทั่วถึงแล้ว ข้ามพ้น ความสงสัย ปราศจาก ความเคลือบแคลง ถึงความแกล้ว กล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นใน สัตถุศาสนา


ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๓๓
18
พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา
พระราชโอรสพระนามว่าขัณฑะ และบุตร ปุโรหิตชื่อว่าติสสะ

        ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระราชโอรสพระนามว่าขัณฑะ และบุตร ปุโรหิต ชื่อว่า ติสสะ สั่งให้บุรุษเทียมยานที่ดีๆ แล้วขึ้นสู่ยานที่ดีๆ ออกจาก พระนครพันธุมดี ราชธานี พร้อมกับยานดีๆ ทั้งหลาย ขับตรงไปยังมฤคทายวัน ชื่อว่าเขมะ ไปด้วย ยานตลอด ภูมิประเทศ เท่าที่ยานจะไปได้แล้ว ลงจากยานเดินตรง เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค อรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ถึงที่ประทับ ถวาย บังคมพระผู้มีพระภาค อรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนาม ว่าวิปัสสีแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

        พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า วิปัสสี ได้ตรัส อนุปุพพิกถา แก่ท่านทั้งสองนั้น คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา  สัคคกถา โทษของกาม ที่ต่ำช้า เศร้าหมอง และอานิสงส์ในการออกบวช เมื่อพระผู้มีพระภาค ได้ทรงทราบ ว่า ท่าน ทั้งสองนั้น มีจิตคล่อง มีจิตอ่อน มีจิตปราศ จากนิวรณ์ มีจิตสูง มีจิต ผ่องใส จึงได้ทรง ประกาศธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้า ทั้งหลายทรง ยกขึ้น แสดงด้วย พระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัยนิโรธ มรรค

        ดวงตา เห็นธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจาก มลทิน ได้เกิดขึ้นแล้วแก่ พระราชโอรส พระนามว่าขัณฑะ และบุตรปุโรหิต ชื่อว่า ติสสะ ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความ เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับไปเป็น ธรรมดา ณ ที่นั่งนั้นแล เหมือนผ้าที่ สะอาด ปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมด้วยดี ฉะนั้น

        ท่านทั้งสองนั้น เห็นธรรม ถึงธรรม รู้แจ้งธรรม หยั่งทราบธรรมข้ามความสงสัย ปราศจากความเคลือบ แคลง ถึงความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในสัตถุศาสนา


ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๓๕
19
พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา
แก่ หมู่มหาชนประมาณ ๘๔,๐๐๐ คน

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล หมู่มหาชนประมาณ ๘๔,๐๐๐ คนได้ชวน  กัน ออกจาก พระนครพันธุมดีราชธานี เข้าไปทางเขมมฤคทายวัน ที่พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า  พระนามว่า วิปัสสี แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

        พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ได้ตรัส อนุปุพพิกถา แก่ชนเหล่านั้น คือทรงประกาศ ทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษของกามที่ต่ำช้าเศร้าหมอง และอานิสงส์ในการ ออกบวช เมื่อพระผู้มี พระภาคได้ทรงทราบว่า ชนเหล่านั้น มีจิตคล่อง มีจิตอ่อน มีจิต ปราศจากนิวรณ์ มีจิตสูง มีจิตผ่องใส จึงได้ทรงประกาศ พระธรรม เทศนา ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงยกขึ้นแสดง ด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

        ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลี  ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้วแก่ หมู่ มหาชน ๘๔,๐๐๐ คน นั้นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งมวล มีความดับไปเป็นธรรมดา ณ ที่นั่งนั้นแลเหมือนผ้า ที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมด้วยดี ฉะนั้น

        ชนเหล่านั้น เห็นธรรม ถึงธรรมรู้แจ้ง ธรรม หยั่งทราบธรรม ข้ามความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อ ผู้อื่นในสัตถุศาสนา


ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๓๖
20
พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา

แก่ บรรพชิต ๘๔,๐๐๐ รูป


        [๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรพชิต ๘๔,๐๐๐ รูปเหล่านั้น ได้สดับข่าวว่า พระผู้มี พระภาค อรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า วิปัสสี เสด็จถึงพระนคร พันธุมดี ราชธานีโดยลำดับ ประทับอยู่ ณ มฤคทายวันชื่อว่า เขมะ และมี  ข่าวว่า กำลังทรง แสดงธรรมอยู่ ภิกษุทั้งหลาย

        ครั้งนั้นแล บรรพชิต ๘๔,๐๐๐  รูปเหล่านั้น ได้พากันไปทางพระนครพันธุมดี ราชธานีทางมฤคทายวัน ชื่อว่า เขมะ ที่พระผู้มี พระภาค อรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี ประทับอยู่ครั้น ถึงแล้ว ได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค อรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี  แล้วพากัน นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาค อรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า วิปัสสี ได้ตรัส อนุปุพพิกถา แก่บรรพชิต เหล่านั้น คือ ทรงประกาศ  ทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษของกามที่ต่ำช้าเศร้าหมอง และ อานิสงส์   ในการออกบวช เมื่อทรงทราบว่า บรรพชิตเหล่านั้นมีจิตคล่อง มีจิตอ่อน มีจิตปราศจากนิวรณ์ มีจิตสูง มีจิตผ่องใส จึงได้ทรงประกาศพระธรรม เทศนาที่ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงยกขึ้นแสดงด้วย พระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ  มรรค

        ดวงตาเห็นธรรม ที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้วแก่ บรรพชิต ๘๔,๐๐๐ รูปนั้นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งมวล มีความดับไป เป็นธรรมดา ณ ที่นั่งนั้นแล เหมือนผ้าที่สะอาดปราศจาก มลทินควร รับน้ำย้อมด้วยดี ฉะนั้น

        บรรพชิตเหล่านั้นเห็นธรรม ถึงธรรมรู้แจ้งธรรม หยั่งทราบธรรม ข้ามความ สงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นใน สัตถุสาสนา


ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๕๕
21
พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา
แก่อุบาลีคฤหบดี

        [๗๔] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสอนุบุพพิกถา แก่อุบาลีคฤหบดี คือ ทรงประกาศทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษแห่งกามอันต่ำทราม เศร้าหมอง อานิสงส์ในเนกขัมมะเมื่อใด

        พระผู้มีพระภาคได้ทรงทราบอุบาลีคฤหบดีว่า มีจิตควร มีจิตอ่อน มีจิตปราศจาก นิวรณ์มีจิตสูง มีจิตผ่องใส เมื่อนั้น จึงทรงประกาศ พระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เปรียบเหมือนผ้าขาวสะอาด ปราศจากดำควรได้รับน้ำย้อมด้วยดี ฉันใด

        ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่อุบาลีคฤหบดีที่อาสนะ นั้นเองว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไป เป็นธรรมดา ฉันนั้นเหมือนกัน.

        ลำดับนั้น อุบาลีคฤหบดีมีธรรมอันเห็นแล้ว มีธรรมอันบรรลุแล้ว มีธรรมอันรู้ แจ้ง แล้ว มีธรรมอันหยั่งลงมั่นแล้ว ข้ามวิจิกิจฉาแล้ว ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพระพุทธเจ้าขอทูลลาไป ณ บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้ามีกิจมาก มีธุระที่จะต้องทำมาก.


ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๔๑๑
22
พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา
แก่พรหมายุพราหมณ์

        [๕๙๙] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสอนุปุพพิกถา แก่พรหมายุ พราหมณ์ คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษของกามทั้งหลายอันต่ำ ทราม เศร้าหมอง และอานิสงส์ ในเนกขัมมะ.

        เมื่อใด พระผู้มีพระภาคได้ทรงทราบว่า พรหมายุพราหมณ์ มีจิตคล่อง มีจิตอ่อนปราศจากนิวรณ์ มีจิตสูงผ่องใส เมื่อนั้น จึงทรงประกาศ พระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดง ด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค.

        ธรรมจักษุอันปราศจากธุลีปราศจาก มลทิน เกิดขึ้นแก่ พรหมายุพราหมณ์ ณ ที่นั่งนั้นเองว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล ล้วนมีความ ดับ ไปเป็นธรรมดา เปรียบเหมือนผ้าขาว ที่สะอาด ปราศจากดำ ควรรับน้ำย้อมด้วยดี ฉะนั้น.


ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๔๓
23
พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา
แก่ สีหเสนาบดี

        ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสอนุปุพพิกถา โปรดสีหเสนาบดี คือทรง ประกาศ ทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษแห่งกามอันต่ำทรามเศร้าหมอง และ อานิสงส์ ใน เนกขัมมะ

        เมื่อใด พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า สีหเสนาบดีมีจิตควร อ่อน ปราศจาก นิวรณ์ บันเทิง เลื่อมใสแล้ว เมื่อนั้น จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ทรงยกขึ้นแสดงเอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

         ธรรมจักษุ อันปราศจาก ธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่สีหเสนาบดี ณ ที่นั่งนั้นเอง ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ เกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล ล้วนมีความ ดับไปเป็น ธรรมดา เปรียบเหมือนผ้า ที่สะอาด ปราศจากดำจะพึงย้อมติดดี ฉะนั้น ฯ

        ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดี ผู้เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้แจ้งธรรมแล้ว หยั่งซึ้ง ถึงธรรมแล้ว ข้ามพ้นความสงสัยได้แล้ว ปราศจากความเคลือบแคลงแล้ว ถึงความ เป็นผู้ แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น ในพระศาสนาของพระศาสดา ได้กราบทูล พระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ รับนิมนต์ ฉันอาหาร บิณฑบาต ในวันพรุ่งนี้ พระผู้มีพระภาค ทรงรับโดยดุษณีภาพ ฯ


ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๖๐
24
พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา

แก่ อุคคคฤหบดี

        อุคคคฤหบดีกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมก็ไม่ทราบเลยว่า พระผู้มี พระภาค ทรง พยากรณ์กระผม ว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ อันไม่เคย มีมา ๘ ประการ เป็นไฉน แต่ขอท่านได้โปรดฟังธรรมที่น่าอัศจรรย์ อันไม่เคยมีมา ๘ ประการ ของกระผม ที่มีอยู่ จงใส่ใจให้ดีกระผมจักเรียนถวาย ภิกษุนั้นรับคำ อุคคคฤหบดี ชาวเมือง เวสาลีแล้ว อุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลี ได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในคราวที่กระผมได้เห็น พระผู้มีพระภาคแต่ไกล เป็นครั้งแรก พร้อมกับการเห็น นั้นเอง จิตของกระผมเลื่อมใสใน พระผู้มีพระภาค นี้แลเป็นธรรม ที่น่าอัศจรรย์ อันไม่เคยมีมาประการที่ ๑ ของกระผมที่มีอยู่ ฯ

        ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมมีจิตเลื่อมใสแล้ว ได้เข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ทรง แสดงอนุปุพพิกถา โปรดกระผม คือ ทรงประกาศ ทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษของกาม อันต่ำทรามเศร้าหมอง และอานิสงส์ใน เนกขัมมะ

        ในคราวที่พระผู้มีพระภาค ได้ทรงทราบกระผมว่า มีจิตควร อ่อนปราศจาก นิวรณ์ บันเทิง ผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศสามุกังสิกาธรรมเทศนาแห่ง พระพุทธเจ้า ทั้งหลาย คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เปรียบเหมือนผ้าที่บริสุทธิ์ไม่หมองดำ จะพึง รับน้ำย้อมได้ดี แม้ฉันใด

       
ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแล้วแก่ กระผม ณ ที่นั่งนั้น แลว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วน มีความดับไปเป็น ธรรมดา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

       
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมได้เห็นธรรม แล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้แจ้งธรรมแล้ว หยั่งซึ้งถึงธรรมแล้ว  ปราศจากความเคลือบ แคลงแล้ว ถึงความแกล้วกล้า แล้ว ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นใน คำสอนของ พระศาสดา ได้ถึง พระพุทธเจ้าพระธรรม และ พระสงฆ์ว่าเป็นสรณะแล้ว และ สมาทาน สิกขาบท อันมีพรหมจรรย์เป็นที่ ๕ แล้ว ณ ที่นั่งนั้นแลนี้แลเป็นธรรม ที่น่าอัศจรรย์ อันไม่เคยมีมาข้อที่ ๒ของกระผมที่มีอยู่ ฯ


ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๖๓
25
พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา
แก่ อุคคคฤหบดี (ชาวหัตถีคาม)

        ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมมีจิตเลื่อมใสแล้ว ได้เข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอนุปุพพิกถา โปรดกระผม คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถาโทษของกาม อันต่ำทรามเศร้าหมอง และอานิสงส์ในเนกขัมมะ

        ในคราวที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงทราบว่า กระผมมีจิตควร อ่อนปราศจาก นิวรณ์ บันเทิง ผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศสามุกังสิกาธรรมเทศนา แห่งพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เปรียบเหมือนผ้าที่บริสุทธิ์ ไม่หมองดำ จะพึงรับน้ำย้อมได้ดี แม้ฉันใด

        ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแล้ว แก่กระผม ณ ที่นั่งนั้น แลว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล ล้วนมีความดับไปเป็น ธรรมดา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน


ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๑๐๔
26
พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา
แก่ สุปปพุทธกุฏฐิสูตร

        [๑๑๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับ อยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ใน พระนครราชคฤห์ มีบุรุษเป็นโรคเรื้อนชื่อว่า สุปปพุทธะ เป็นมนุษย์ขัดสน กำพร้า ยากไร้ ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคแวดล้อม ไปด้วย บริษัทหมู่ใหญ่ประทับนั่ง แสดงธรรมอยู่ สุปปพุทธกุฏฐิ ได้เห็นหมู่มหาชน ประชุมกัน แต่ที่ไกลเทียว ครั้นแล้ว ได้มีความดำริว่าหมู่มหาชน จะแบ่งของควรเคี้ยว หรือของควรบริโภคอะไรๆ ให้ในที่นี้แน่แท้ไฉนหนอ เราพึงเข้าไปหาหมู่มหาชน เราพึงได้ของควรเคี้ยว หรือควรบริโภคในหมู่มหาชนนี้เป็นแน่

        ลำดับนั้นแล สุปปพุทธกุฏฐิ ได้เข้าไปหาหมู่มหาชนนั้นแล้ว ได้เห็นพระผู้มี พระภาค แวดล้อมด้วยบริษัทหมู่ใหญ่ ประทับนั่งแสดงธรรมอยู่ ครั้นแล้วได้มีความ ดำริว่า หมู่มหาชน คงไม่แบ่งของควรเคี้ยว หรือของควรบริโภคอะไรๆ ให้ในที่นี้ พระสมณะ โคดมนี้ ทรงแสดงธรรมอยู่ในบริษัท ถ้ากระไร แม้เราก็พึงฟังธรรม เขานั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ในบริษัทนั้นเอง ด้วยคิดว่าแม้เราก็จักฟังธรรม

        ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงกำหนดใจ ของบริษัททุกหมู่เหล่าใด ด้วย พระทัย แล้ว ได้ทรงกระทำไว้ในพระทัยว่า ในบริษัทนี้ ใครหนอแลควร จะรู้แจ้งธรรม พระผู้มี พระภาค ได้ทรงเห็น สุปปพุทธกุฏฐิ นั่งอยู่ในบริษัทนั้น

        ครั้นแล้วได้ทรง พระดำริว่า ในบริษัทนี้ บุรุษนี้แล ควรจะรู้แจ้งธรรม พระองค์ ทรงปรารภ สุปปพุทธกุฏฐิ ตรัสอนุปุพพิกถ คือ ทานกถาศีลกถา สัคคกถาโทษ แห่งกาม อันต่ำทราม เศร้าหมอง และทรงประกาศ อานิสงส์ ในเนกขัมมะ

        เมื่อใดพระผู้มีพระภาค ได้ทรงทราบว่า สุปปพุทธกุฏฐิ มีจิตควรอ่อน ปราศจากนิวรณ์ เฟื่องฟู ผ่องใสเมื่อนั้น พระองค์ทรงประกาศ พระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ทรงยกขึ้นแสดง ด้วยพระองค์เอง คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

       
ธรรมจักษุ ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ สุปปพุทธกุฏฐิ ในที่นั่งนั้นแลว่าสิ่งใด สิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วน มีความดับเป็นธรรมดา เหมือนผ้าที่สะอาด ปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมด้วยดีฉะนั้น ฯ

        [๑๑๓] ลำดับนั้นแล สุปปพุทธกุฏฐิมีธรรม อันเห็นแล้ว มีธรรมอันบรรลุแล้ว มีธรรม อันรู้แจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งถึงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากความ เคลือบ แคลง บรรลุถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เชื่อต่อผู้อื่นในศาสนาของ พระศาสดา ลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวาย บังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

        ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ภาษิตของ พระองค์ แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญภาษิตของพระองค์ แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาค ทรงประกาศโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงาย ของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทาง แก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระผู้มี พระภาค กับทั้งพระธรรม และ พระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มี พระภาค โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป ฯ








พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์