- ทสก.อํ. ๒๔/๓๐๙/๑๙๓.
กรรมที่เป็นเหตุให้ได้รับผลเป็น ความกระเสือกกระสน
ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงธรรมปริยาย อันแสดงความกระเสือกกระสนไปตาม กรรม (ของหมู่สัตว์) แก่พวกเธอ. เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟังให้ดี. ธรรมปริยายอันแสดง ความกระเสือกกระสนไปตามกรรม (ของหมู่สัตว์) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่ง กรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กระทำกรรมใดไว้ดี ก็ตามชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผลกรรมนั้น.
ภิกษุ ท. ! คนบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ มีปกติทำปาณาติบาต หยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนด้วยโลหิต มีแต่การฆ่าและการทุบตี ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์มีชีวิต.
เขากระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) กาย
กระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) วาจา
กระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) ใจ
กายกรรมของเขา คด
วจีกรรมของเขา คด
มโนกรรมของเขา คด
คติของเขา คด
อุปบัติของเขา คด
ภิกษุ ท. ! สำหรับผู้มีคติคด มีอุบัติคด นั้น เรากล่าวคติอย่างใด อย่างหนึ่งในบรรดาคติสองอย่าง แก่เขา คือ เหล่าสัตว์นรกผู้มีทุกข์ โดยส่วนเดียว หรือว่า สัตว์เดรัจฉานผู้มีกำเนิดกระเสือกกระสน ได้แก่ งู แมลงป่อง ตะขาบ พังพอน แมว หนู นกเค้า หรือสัตว์เดรัจฉานเหล่าอื่น ที่เห็นมนุษย์แล้วกระเสือกกระสน.
ภิกษุ ท. ! ภูตสัตว์ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ คือ อุปบัติ (การเข้าถึงภพ) ย่อมมีแก่ ภูตสัตว์ เขาทำกรรมใดไว้ เขาย่อมอุปบัติด้วยกรรมนั้น ผัสสะทั้งหลาย ย่อมถูกต้อง ภูตสัตว์ นั้นผู้อุปบัติแล้ว.
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นทายาทแห่งกรรม ด้วยอาการอย่าง นี้ ดังนี้.
- ทสก.อํ. ๒๔/๓๐๙/๑๙๓.
- ทสก. อํ. ๒๔/๓๑๑/๑๙๓.
กรรมที่เป็นเหตุให้ได้รับผลเป็น ความไม่กระเสือกกระสน
ภิกษุ ท. ! สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กระทำกรรมใดไว้ ดีก็ตามชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น.
ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ละปาณาติบาต เว้นขาดจาก ปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศัสตรา มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณาเกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย.
เขาไม่กระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) กาย
ไม่กระเสือก กระสนด้วย (กรรมทาง) วาจา
ไม่กระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) ใจ
กายกรรมของเขา ตรง
วจีกรรมของเขา ตรง
มโนกรรมของเขา ตรง
คติของเขาตรงอุปบัติของเขา ตรง
ภิกษุ ท. ! สำหรับผู้มีคติตรง มีอุปบัติตรง นั้น เรากล่าวคติ อย่างใด อย่างหนึ่ง ในบรรดาคติสองอย่างแก่เขา คือ เหล่าสัตว์ผู้มีสุขโดยส่วนเดียว หรือว่า ตระกูลอันสูง ตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูลพราหมณ์มหาศาล หรือตระกูลคหบดี มหาศาล อันมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีอุปกรณ์แห่ง ทรัพย์มาก.
ภิกษุ ท. ! ภูตสัตว์ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ คืออุปบัติ (การเข้าถึงภพ) ย่อมมีแก่ ภูตสัตว์ เขาทำกรรมใดไว้ เขาย่อมอุปบัติด้วยกรรมนั้น ผัสสะทั้งหลาย ย่อมถูกต้อง ภูตสัตว์ นั้นผู้อุบัติแล้ว.
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า สัตว์ทั้งหลาย เป็นทายาทแห่งกรรม ด้วยอาการ อย่างนี้ ดังนี้.
(ในกรณีแห่งบุคคลผู้ ไม่กระทำอทินนาทาน ไม่กระทำกาเมสุมิจฉาจาร ก็ได้ ตรัสไว้ ด้วยข้อความอย่างเดียวกันกับในกรณีของผู้ไม่กระทำปาณาติบาต ดังกล่าวมาแล้ว ข้างบนทุกประการ; และยังได้ตรัสเลยไปถึง วจี สุจริตสี่ มโนสุจริตสาม ด้วยข้อความ อย่างเดียวกันอีกด้วย)
ภิกษุ ท. ! นี้แล คือธรรมปริยาย อันแสดงความกระเสือกกระสน ไปตามกรรม (ของหมู่สัตว์).
- ทสก. อํ. ๒๔/๓๑๑/๑๙๓.
อ่านต่อ อาหารของภูตสัตว์ (อาหาร ๔)
(691) ปุตตมังสสูตร : อาหาร ๔ อย่าง เพื่อความดำรงอยู่ของสัตว์โลก(ภูตสัตว์) หรือเพื่ออนุเคราะห์ แก่เหล่าสัตว์ ผู้แสวงหาที่เกิด
(693) อัตถิราคสูตร: อาหารสี่อย่าง กวฬีการาหาร ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร
|