เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 กาลิก ๔ ของฉัน ๔ อย่าง รวมพระวินัย เรื่องอาหาร น้ำปานะ เนยใส น้ำผึ้ง ยาสมุนไพร 1068
 
 
กาลิก
(อ่านว่า กา-ลิก แปลว่า เวลา)
แปลว่า ประกอบด้วยกาลเวลา ขึ้นอยู่กับกาลเวลา เป็นภาษาพระวินัย หมายถึง อาหาร หรือของ ที่ภิกษุรับแล้วเก็บไว้ฉันได้ตามกาลเวลากำหนดเท่านั้น หากเก็บไว้เกินกว่านั้นถือเป็นความผิด

กาลิกมี 4 อย่าง
1.ยามกาลิก...ของที่พระสงฆ์รับประเคนไว้แล้วเก็บไว้ฉันได้เพียง ๑ วัน กับ ๑ คืน คือ ก่อนเช้า ของวันใหม่ ได้แก่ปานะ
2.ยาวกาลิก ...ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน ได้แก่ ข้าวปลาอาหาร
3.สัตตาหกาลิก...ของที่เก็บไว้ฉันได้เพียง ๗ วัน ได้แก่ เภสัชทั้ง ๕ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย
4.ยาวชีวิก ...ของที่พระสงฆ์รับประเคนไว้แล้วเก็บไว้ฉันได้ตลอดไม่จำกัดกาล เช่น สมุนไพร ยารักษาโรค
   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 


กาลิก .. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้ตามเวลาที่กำหนดให้ มี ๔ อย่าง คือ

๑. ยามกาลิก (ปานะ)...ของที่พระสงฆ์รับประเคนไว้แล้วเก็บไว้ ฉันได้เพียง ๑ วัน กับ ๑ คืน คือ ก่อนเช้าของวันใหม่ ได้แก่ น้ำอัฐบาน หรือปานะ ทั้งหลาย

๒. ยาวกาลิก (อาหาร)...ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราว ตั้งแต่เช้า ถึงเที่ยงวัน ได้แก่ ข้าวปลาอาหาร

๓. สัตตาหกาลิก
(เนย น้ำผึ้ง)...ของรับประเคนที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราว เพียง ๗ วัน ได้แก่ เภสัชทั้ง ๕ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย

๔. ยาวชีวิก (สมุนไพร ยา)
...ของที่พระสงฆ์รับประเคนไว้แล้ว เก็บไว้ฉันได้ตลอด ไม่จำกัดกาล เช่น สมุนไพร ยารักษาโรค



พระพุทธานุญาต กาลิก ระคน
(กลุ่มของอาหาร)

           ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า
๑. ยามกาลิก
(ปานะ) ระคนกับ ยาวกาลิก (อาหาร) ควรหรือ ไม่ควรหนอ
๒. สัตตาหกาลิก
(น้ำผึ้ง เนยใส) ระคนกับ ยาวกาลิก (อาหาร) ควร หรือไม่ควรหนอ
๓. ยาวชีวิก
(สมุนไพร) ระคนกับ ยาวกาลิก (อาหาร) ควร หรือไม่ควรหนอ
๔. สัตตาหกาลิก
(น้ำผึ้งเนยใส) ระคนกับ ยามกาลิก (น้ำปานะ) ควร หรือไม่ควรหนอ
๕. ยาวชีวิก
(สมุนไพร) ระคนกับ ยามกาลิก (ปานะ) ควร หรือไม่ควรหนอ
๖. ยาวชีวิก
(สมุนไพร) ระคนกับ สัตตาหกาลิก (น้ำผึ้ง เนยใส) ควร หรือไม่ควรหนอ

แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.

พระผู้มีพระภาคตรัส ว่าดังนี้

๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยามกาลิก ระคนกับ ยาวกาลิก ที่รับประเคนในวันนั้น
ควรในกาล ไม่ควรในวิกาล
๒. สัตตาหกาลิก ระคนกับ ยาวกาลิก ที่รับประเคนในวันนั้น
ควรในกาล ไม่ควรในวิกาล
๓. ยาวชีวิก ระคนกับ ยาวกาลิก ที่รับประเคนในวันนั้น

ควรในกาล ไม่ควรในวิกาล

๔. สัตตาหกาลิก ระคนกับ ยามกาลิก ที่รับประเคนในวันนั้น

ควรชั่วยาม ล่วงยามแล้ว ไม่ควร

๕. ยาวชีวิก ระคนกับ ยามกาลิก ที่รับประเคนในวันนั้น

ควรชั่วยาม ล่วงยามแล้วไม่ควร

๖. ยาวชีวิก ระคนกับ สัตตาหกาลิก ที่รับประเคนในวันนั้น

ควรตลอด ๗ วัน ล่วง ๗ วันแล้วไม่ควร



พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับมหามกุฏฯ) เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๑๖๒

พระพุทธานุญาตกาลิกระคน


              [๙๓] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า ยามกาลิกระคน กับ ยาวกาลิก ควร หรือ ไม่ควรหนอ สัตตาหกาลิกระคนกับยาวกาลิก ควรหรือ ไม่ควรหนอ ยาวชีวิกระคน กับยาวกาลิก ควรหรือไม่ควรหนอ สัตตาหกาลิกระคน กับยามกาลิก ควร หรือไม่ควรหนอ ยาวชีวิกระคนกับยามกาลิก ควร หรือไม่ควรหนอ ยาวชีวิกระคนกับ สัตตาหกาลิก ควรหรือไม่ควรหนอ แล้ว กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดังนี้

๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยามกาลิก ระคน กับ ยาวกาลิก (น้ำผลไม้ผสม กับอาหาร)ที่รับประเคนในวันนั้น ควรในกาล ไม่ควรในวิกาล

๒. สัตตาหกาลิ กระคนกับ ยาวกาลิก (น้ำผึ้งผสม กับอาหาร) ที่รับประเคนในวันนั้น ควรในกาล ไม่ควรในวิกาล

๓. ยาวชีวิก ระคนกับ ยาวกาลิก (สมุนไพรผสม กับน้ำผลไม้) ที่รับประเคนในวันนั้น ควรในกาล ไม่ควรในวิกาล

๔. สัตตาหกาลิก ระคนกับ ยามกาลิก (น้ำผึ้งผสม กับอาหาร) ที่รับประเคนในวันนั้น ควรชั่วยาม ล่วงยามแล้ว ไม่ควร

๕. ยาวชีวิก ระคนกับ ยามกาลิก(สมุนไพรผสม กับอาหาร) ที่รับประเคนในวันนั้น ควรชั่วยาม ล่วงยามแล้วไม่ควร

๖. ยาวชีวิกระคนกับสัตตาหกาลิก (สมุนไพรผสม กับน้ำผึ้ง) ที่รับประเคนในวันนั้น ควรตลอด ๗ วัน ล่วง ๗ วัน แล้วไม่ควร


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๙๘

พระพุทธานุญาตน้ำอัฏฐบาน(น้ำผลไม้)

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ แรกเกิดนั้น แล้วตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำปานะ ๘ ชนิด คือ
น้ำปานะทำด้วย ผลมะม่วง ๑
น้ำปานะทำด้วย ผลหว้า ๑
น้ำปานะทำด้วย ผลกล้วยมีเมล็ด ๑
น้ำปานะทำด้วย ผลกล้วยไม่มีเมล็ด ๑
น้ำปานะทำด้วย ผลมะทราง ๑
น้ำปานะทำด้วย ผลจันทน์หรือองุ่น ๑
น้ำปานะทำด้วย เง่าบัว ๑
น้ำปานะทำด้วย ผลมะปรางหรือลิ้นจี่ ๑.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน้ำผักดอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะทราง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำอ้อยสด.



ปานะ เครื่องดื่ม น้ำสำหรับดื่ม ที่คั้นจากลูกไม้ (น้ำคั้นผลไม้) จัดเป็น ยามกาลิก
ท่านแสดงไว้ ๘ ชนิด คือ
๑. อมฺพปานํ น้ำมะม่วง
๒. ชมฺพุปานํ น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า
๓. โจจปานํ น้ำกล้วยมีเม็ด
๔. โมจปานํ น้ำกล้วยไม่มีเม็ด
๕. มธุกปานํ น้ำมะทราง (ต้องเจือน้ำจึงจะควร)
๖. มุทฺทิกปานํ น้ำลูกจันทร์หรือองุ่น
๗. สาลุกปานํ น้ำเหง้าอุบล
๘. ผารุสกปานํ น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่ นิยมเรียกว่า อัฏฐบาน หรือ น้ำอัฏฐบาน
(ปานะ ๘ อย่าง)

วิธีทำปานะที่ท่านแนะไว้ คือ ปอกหรือคว้านผลไม้เหล่านี้ที่สุก เอาผ้าห่อ บิดให้ตึง อัดเนื้อ ผลไม้ให้คายน้ำออกจากผ้า เติมน้ำลงให้พอดี (จะไม่เติมน้ำก็ได้เว้นแต่ ผลมะทราง ซึ่งท่านระบุว่าต้องเจือน้ำจึงควร) แล้วผสมน้ำตาลและเกลือเป็นต้น ลงไป พอให้ได้รสดี

ข้อจำกัดที่พึงทราบคือ
๑. ปานะนี้ให้ใช้ของสดห้ามมิให้ต้มด้วยไฟ
(ข้อนี้พระมติสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสว่า แม้สุกก็ไม่น่ารังเกียจ)

๒. ต้องเป็นของที่อนุปสัมบันทำ จึงควรฉันในเวลาวิกาล
(ถ้าภิกษุทำถือเป็นเหมือนยาวกาลิก เพราะรับประเคนมาทั้งผล)

๓. ของประกอบเช่นน้ำตาลและเกลือ ไม่ให้เอาของที่รับประเคนค้างคืนไว้มาใช้
(แสดงว่ามุ่งให้เป็นปานะที่อนุปสัมบัน* ทำถวายด้วยของของเขาเอง)
*อนุสัมปัน หมายถึงสามเณร และ คฤหัสถ์

ชมคลิป

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์