ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต หน้าที่ ๒๗๐
อนุรุทธสูตรที่ ๒
(พระอนุรุทธะถามพระสารีบุตรว่า เหตุไฉนจิตจึงยังไม่พ้นอาสวะเสียที)
[๕๗๐] ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกล่าวว่า
ขอโอกาสเถิด ท่านสารีบุตร ผมตรวจดูตลอด พันโลก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วง จักษุของมนุษย์ ก็ผมปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน ตั้งสติไม่หลงลืม กายสงบระงับ ไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตา เออก็ไฉนเล่า จิตของผมจึงยังไม่พ้นจาก อาสวะ เพราะไม่ถือมั่น
ท่านพระสารีบุตร กล่าวว่า
ดูกรท่านอนุรุทธะ
การที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า เราตรวจดูตลอดพันโลก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุ ของมนุษย์ ดังนี้ เป็นเพราะ มานะ ของท่าน
การที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า ก็เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อนตั้งสติมั่นไม่หลงลืม กายสงบระงับไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตา ดังนี้ เป็นเพราะ อุทธัจจะ ของท่าน
ถึงการที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า เออก็ไฉนเล่า จิตของเรายังไม่พ้นจากอาสวะ เพราะไม่ ถือมั่น ดังนี้ ก็เป็นเพราะ กุกกุจจะ ของท่าน เป็นความดีหนอ
ท่านพระอนุรุทธะจงละธรรม ๓ อย่างนี้ ไม่ใส่ใจธรรม ๓ อย่างนี้ (มานะ อุทธัจจะ กุกกุจจะ) แล้วน้อมจิตไปในอมตธาตุ
ครั้งนั้นแล
ท่านพระอนุรุทธะต่อมาได้ละธรรม ๓ อย่างนี้ ไม่ใส่ใจถึงธรรม ๓ อย่างนี้ น้อมจิตไปใน อมตธาตุ
ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะ หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีตนอัน ส่งไปอยู่ ไม่นานนัก ได้ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลาย ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องกันนั้น
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ก็แหละ ท่านพระอนุรุทธะได้เป็น พระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ ทั้งหลาย
สคารวสูตร (นิวรณ์5)
นิวรณ์เป็นปัจจัยให้มนต์ไม่แจ่มแจ้ง
นิวรณ์มี 5 อย่าง
1) กามฉันทะ - ความพอใจ ติดใจ หลงใหลใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง
2) พยาบาท - ความไม่พอใจ จากความไม่ได้สมดังปรารถนาในโลกียะสมบัติทั้งปวง
3) ถีนมิทธะ - ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม
4) อุทธัจจะกุกกุจจะ - ความคิดซัดส่าย ตลอดเวลา ไม่สงบนิ่งอยู่ในความคิดใด ๆ
5) วิจิกิจฉา - ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้า ๆ กลัว ๆ ไม่เต็มที่ ไม่มั่นใจ
บุคคลมีใจฟุ้งซ่าน ด้วย อุทธัจจกุกกุจจะ อันอุทธัจจกุกกุจ จะเหนี่ยวรั้งไป และ ย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็น เครื่องสลัดออก ซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะที่บังเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง
อุปมา อุทธัจจะกุกกุจจะ
ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ อันลมพัดต้องแล้ว หวั่นไหว กระเพื่อม เกิดเป็นคลื่น บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตาม ความเป็นจริง ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจจกุกกุจจะ อันอุทธัจจกุกกุจ จะเหนี่ยวรั้งไป และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่อง สลัดออก ซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะที่บังเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง
|