เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
ธรรมสมาทานนี้มี ๔ อย่าง มีสุข มีทุกข์ ในปัจจุบัน และเป็นวิบากต่อไป 1070
 

ธรรมสมาทานนี้มี ๔ อย่าง
(๑) มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบาก
(๒) มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบาก
(๓) มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบาก
(๔) ที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบาก

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ส่วนอริยสาวกผู้สดับแล้ว
ไม่ได้เห็นพระอริยะ
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ
ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ
ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัปบุรุษ
ย่อมไม่รู้จักธรรมที่ควรเสพ
ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรเสพ
ไม่รู้จักธรรมที่ควรคบ
ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรคบ

เมื่อไม่รู้จักธรรมที่ควรเสพ ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรเสพ
ไม่รู้จักธรรมที่ควรคบ ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรคบ
ก็เสพธรรมที่ไม่ควรเสพ

ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ
ก็เจริญยิ่ง ธรรมที่น่าปรารถนา ที่น่าใคร่
ที่น่าชอบใจ ก็เสื่อมไป

ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุอะไร?
เป็นเพราะปุถุชน มิได้รู้ถูกต้อง
ได้เห็นพระอริยะ
ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ได้ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ
ได้เห็นสัปบุรุษ
ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ
ได้ฝึกดีแล้วในธรรมของสัปบุรุษ
รู้จักธรรมที่ควรเสพ
รู้จักธรรมที่ไม่ควรเสพ
รู้จักธรรมที่ควรคบ
รู้จักธรรมที่ไม่ควรคบ

เมื่อรู้จักธรรมที่ควรเสพ รู้จักธรรมที่ไม่ควรเสพ
รู้จักธรรมที่ควรคบ รู้จักธรรมที่ไม่ควรคบ
ก็ไม่เสพธรรมที่ไม่ควรเสพ

ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ
ก็เสื่อมไป ธรรมที่น่าปรารถนา ที่น่าใคร่
ที่น่าชอบใจ ก็เจริญยิ่ง

นั่นเป็นเพราะเหตุไร?
เป็นเพราะอริยสาวก รู้ถูกต้อง
   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ หน้าที่ ๓๙๙ - ๔๐๕

ธรรมสมาทาน ๔
(มหาธรรมสมาทานสูตร)

        [๕๒๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:

         สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของ พระผู้มี พระภาค แล้ว.

        [๕๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยมากสัตว์ทั้งหลาย มีความปรารถนา มีความพอใจ มีความประสงค์อย่างนี้ว่า โอหนอ ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ไม่น่าชอบใจ พึงเสื่อมไป ธรรมที่น่าปรารถนาที่น่าใคร่ ที่น่าชอบใจ พึงเจริญยิ่ง ดังนี้

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสัตว์เหล่านั้นมีความปรารถนา มีความพอใจ มีความประสงค์อย่างนี้ ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง ธรรมที่น่าปรารถนา ที่น่าใคร่ ที่น่าชอบใจย่อมเสื่อมไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น พวกเธอย่อมเข้าใจเหตุนั้นอย่างไร?

     ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้า พระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นต้นเค้า มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาค เป็นที่พำนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอเนื้อความแห่งพระภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งแก่พระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลาย ได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้.

     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น พวกเธอจงฟังจงทำไว้ ในใจให้ดี เราจักกล่าว.

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว.

        [๕๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ในโลกนี้
ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัปบุรุษ

ย่อมไม่รู้จักธรรมที่ควรเสพ ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรเสพ ไม่รู้จักธรรมที่ควรคบ ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรคบ เมื่อไม่รู้จักธรรมที่ควรเสพ ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรเสพ ไม่รู้จักธรรมที่ควรคบ ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรคบ ก็เสพธรรมที่ไม่ควรเสพ

ไม่เสพธรรมที่ควรเสพ คบธรรมที่ไม่ควรคบ ไม่คบธรรมที่ควรคบ เมื่อเสพธรรมที่ไม่ควรเสพ ไม่เสพธรรมที่ควรเสพ คบธรรมที่ไม่ควรคบ ไม่คบธรรมที่ควรคบ ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ก็เจริญยิ่ง ธรรมที่น่าปรารถนาที่น่าใคร่ ที่น่าชอบใจ ก็เสื่อมไป ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุอะไร? เป็นเพราะปุถุชนมิได้รู้ถูกต้อง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้สดับแล้ว
ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัปบุรุษฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ได้ฝึกดีแล้วในธรรมของสัปบุรุษ รู้จักธรรมที่ควรเสพรู้จักธรรมที่ไม่ควรเสพ รู้จักธรรมที่ควรคบ รู้จักธรรมที่ไม่ควรคบ เมื่อรู้จักธรรมที่ควรเสพ รู้จักธรรมที่ไม่ควรเสพ รู้จักธรรมที่ควรคบ รู้จักธรรมที่ไม่ควรคบ

ก็ไม่เสพธรรมที่ไม่ควรเสพเสพธรรมที่ควรเสพ ไม่คบธรรมที่ไม่ควรคบ คบธรรมที่ควรคบ เมื่อไม่เสพธรรมที่ไม่ควรเสพเสพธรรมที่ควรเสพ ไม่คบธรรมที่ไม่ควรคบ คบธรรมที่ควรคบ ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ไม่น่าชอบใจก็เสื่อมไป ธรรมที่น่าปรารถนา ที่น่าใคร่ ที่น่าชอบใจ ก็เจริญยิ่ง นั่นเป็นเพราะเหตุไร? เป็นเพราะอริยสาวกรู้ถูกต้อง.

        [๕๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้มี ๔ อย่าง ๔ อย่าง เป็นไฉน?

(๑) ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไปก็มี
(๒) ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไปก็มี
(๓) ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไปก็มี
(๔) ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไปก็มี.

        [๕๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาธรรมสมาทานเหล่านั้น
(๑)
บุคคล ไม่รู้จัก ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป ไปแล้วในอวิชชาย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ธรรมสมาทานนี้แล มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป เมื่อไม่รู้จักธรรมสมาทานนั้นไปแล้วในอวิชชา ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง จึงเสพธรรมสมาทานนั้น ไม่ละเว้นธรรมสมาทานนั้น เมื่อเสพธรรมสมาทานนั้น ไม่ละเว้นธรรมสมาทานนั้น ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ไม่น่าชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง ธรรมที่น่าปรารถนา ที่น่าใคร่ น่าชอบใจ ย่อมเสื่อมไป นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร? เป็นเพราะบุคคลนั้นไม่รู้ถูกต้อง.

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาธรรมสมาทานเหล่านั้น
(๒)
บุคคล ไม่รู้จัก ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป ไปแล้วในอวิชชา ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ธรรมสมาทานนี้แล มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไปเมื่อไม่รู้จักธรรมสมาทานนั้น ไปแล้วในอวิชชา ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง จึงเสพธรรมสมาทานนั้น ไม่ละเว้นธรรมสมาทานนั้น เมื่อเสพธรรมสมาทานนั้น ไม่ละเว้นธรรมสมาทานนั้น ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ย่อมเสื่อมไป นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร? เป็นเพราะบุคคลนั้นไม่รู้ถูกต้อง.

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาธรรมสมาทานเหล่านั้น
(๓)
บุคคล ไม่รู้จัก ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป ไปแล้วในอวิชชา ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่าธรรมสมาทานนี้แล มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป เมื่อไม่รู้จักธรรมสมาทานนั้นไปแล้วในอวิชชา ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง จึงเสพธรรมสมาทานนั้น ไม่ละเว้นธรรมสมาทานนั้น เมื่อเสพธรรมสมาทานนั้น ไม่ละเว้นธรรมสมาทานนั้น ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ไม่น่าชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ย่อมเสื่อมไป นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร? เป็นเพราะบุคคลนั้นไม่รู้ถูกต้อง.

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาธรรมสมาทานเหล่านั้น
(๔)
บุคคล ไม่รู้จัก ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป ไปแล้วในอวิชชา ย่อมไม่รู้ชัดตามความจริงว่า ธรรมสมาทานนี้แล มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป เมื่อไม่รู้จักธรรมสมาทานนั้น ไปแล้วในอวิชชา ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง จึงเสพธรรมสมาทานนั้น ไม่ละเว้นธรรมสมาทานนั้น. เมื่อเสพธรรมสมาทานนั้น ไม่ละเว้นธรรมสมาทานนั้น ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ย่อมเสื่อมไป. นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร? เป็นเพราะบุคคลนั้นไม่รู้ถูกต้อง.

------------------------------------------------------------------------------

          [๕๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาธรรมสมาทานเหล่านั้น บุคคลรู้จักธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป ไปแล้วในวิชชา ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่าธรรมสมาทานนี้แล มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป. เมื่อรู้จักธรรมสมาทานนั้นไปแล้วในวิชชา รู้ชัดตามความเป็นจริง จึงไม่เสพธรรมสมาทานนั้น ละเว้นธรรมสมาทานนั้น. เมื่อไม่เสพธรรมสมาทานนั้น ละเว้นธรรมสมาทานนั้น ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ย่อมเสื่อมไป ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง. นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร? เป็นเพราะบุคคลนั้นรู้ถูกต้อง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาธรรมสมาทานเหล่านั้น บุคคลรู้จักธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป ไปแล้วในวิชชา ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ธรรมสมาทานนี้แล มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป เมื่อรู้จักธรรมสมาทานนั้น ไปแล้วในวิชชา รู้ชัดตามความเป็นจริง จึงไม่เสพธรรมสมาทานนั้น ละเว้นธรรมสมาทานนั้น. เมื่อไม่เสพธรรมสมาทานนั้น ละเว้นธรรมสมาทานนั้น ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ย่อมเสื่อมไป ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง. นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร? เป็นเพราะบุคคลนั้นรู้ถูกต้อง.

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาธรรมสมาทานเหล่านั้น บุคคลรู้จักธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป ไปแล้วในวิชชา ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ธรรมสมาทานนี้แล มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป. เมื่อรู้จักธรรมสมาทานนั้น ไปแล้วในวิชชา รู้ชัดตามความเป็นจริง จึงไม่เสพธรรมสมาทานนั้น ละเว้นธรรมสมาทานนั้น เมื่อไม่เสพธรรมสมาทานนั้น ละเว้นธรรมสมาทานนั้น ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ย่อมเสื่อมไป ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง. นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร? เป็น
เพราะบุคคลนั้นรู้ถูกต้อง.

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาธรรมสมาทานเหล่านั้น บุคคลรู้จักธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป ไปแล้วในวิชชา ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ธรรมสมาทานนี้แล มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป. เมื่อรู้จักธรรมสมาทานนั้น ไปแล้วในวิชชา รู้ชัดตามความเป็นจริง จึงไม่เสพธรรมสมาทานนั้น ละเว้นธรรมสมาทานนั้น. เมื่อไม่เสพธรรมสมาทานนั้น ละเว้นธรรมสมาทานนั้น ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจย่อมเสื่อมไป ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ย่อมเจริญยิ่ง. นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร? เป็นเพราะบุคคลนั้นรู้ถูกต้อง.
------------------------------------------------------------------------------

(พระพุทธเจ้าขยายความ ธรรมสมาทาน ๔ )


(แบบที่ ๑)

          [๕๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์ เป็นวิบากต่อไป เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้

(๑) เป็นคนฆ่าสัตว์ พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย.
(๒) เป็นคนถือเอาทรัพย์ที่เขามิได้ให้ พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะอทินนาทานเป็นปัจจัย
(๓) เป็นคนประพฤติผิดในกาม พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวย ทุกขโทมนัส เพราะกาเมสุมิจฉาจารเป็นปัจจัย
(๔) เป็นคนพูดเท็จ พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย.
(๕) เป็นคนมีวาจาส่อเสียด พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะปิสุณาวาจาเป็นปัจจัย.
(๖) เป็นคนมีวาจาหยาบ พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะผรุสวาจาเป็นปัจจัย
(๗) เป็นคนพูดเพ้อเจ้อ พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะสัมผัปปลาปะเป็นปัจจัย.
(๘) เป็นคนมีอภิชฌามาก พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะอภิชฌาเป็นปัจจัย
(๙) เป็นคนมีจิตพยาบาท พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะพยาบาทเป็นปัจจัย
(๑๐) เป็นคนมีความเห็นผิด พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย.

เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้ เรากล่าวว่า มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป.
------------------------------------------------------------------------------

(แบบที่ ๒)

          [๕๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์ เป็นวิบากต่อไป เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้

(๑) เป็นคนฆ่าสัตว์ พร้อมด้วยสุขบ้างพร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย.
(๒) เป็นคนถือเอาทรัพย์ที่เขามิได้ให้ พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะอทินนาทานเป็นปัจจัย.
(๓) เป็นคนประพฤติผิดในกาม พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะกาเมสุมิจฉาจารเป็นปัจจัย.
(๔) เป็นคนพูดเท็จ พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย.
(๕) เป็นคนมีวาจาส่อเสียด พร้อมด้วยสุขบ้างพร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะปิสุณาวาจาเป็นปัจจัย.
(๖) เป็นคนมีวาจาหยาบ พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะผรุสวาจาเป็นปัจจัย.
(๗) เป็นคนพูดเพ้อเจ้อ พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะสัมผัปปลาปะเป็นปัจจัย.
(๘) เป็นคนมีอภิชฌามาก พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะอภิชฌาเป็นปัจจัย.
(๘) เป็นคนมีจิตพยาบาท พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะพยาบาทเป็นปัจจัย
(๑๐) เป็นคนมีความเห็นผิด พร้อมด้วยสุขบ้างพร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย.

เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ธรรมสมาทานนี้เรากล่าวว่ามีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป.
------------------------------------------------------------------------------

(แบบที่ ๓)

          [๕๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมสมาทาน ที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบาก ต่อไป เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้

(๑) เป็นคนเว้นขาดจากปาณาติบาต พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส  เพราะการเว้นจากปาณาติบาตเป็นปัจจัย.
(๒) เป็นคนเว้นขาดจากอทินนาทาน พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะการเว้นจากอทินนาทานเป็นปัจจัย.
(๓) เป็นคนเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะการเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารเป็นปัจจัย.
(๔) เป็นคนเว้นขาดจากมุสาวาท พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้างย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะการเว้นจากมุสาวาทเป็นปัจจัย.
(๕) เป็นคนเว้นขาดจากปิสุณาวาจา พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะการเว้นจากปิสุณาวาจาเป็นปัจจัย
(๖) เป็นคนเว้นจากผรุสวาจา พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะการเว้นจากผรุสวาจาเป็นปัจจัย.
(๗) เป็นคนเว้นขาดจากสัมผัปปลาปะ พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะเว้นจากสัมผัปปลาปะเป็นปัจจัย.
(๘) เป็นคนไม่มีอภิชฌามาก พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัสเพราะอนภิชฌาเป็นปัจจัย.
(๙) เป็นคนมีจิตไม่พยาบาท พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้างย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะการไม่พยาบาทเป็นปัจจัย
(๑๐) เป็นคนมีความเห็นชอบ พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย.

เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้ เรากล่าวว่า มีทุกข์ในปัจจุบันแต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป.
------------------------------------------------------------------------------

(แบบที่ ๔)

          [๕๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไปเป็นไฉน?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้

(๑) เป็นคนเว้นขาดจากปาณาติบาต พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะการเว้นจากปาณาติบาตเป็นปัจจัย.
(๒) เป็นคนเว้นขาดจากอทินนาทาน พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะการเว้นจากอทินนาทานเป็นปัจจัย.
(๓) เป็นคนเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะการเว้นจากกาเมสุมิจฉา จารเป็นปัจจัย.
(๔) เป็นคนเว้นขาดจากมุสาวาท พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะการเว้นจากมุสาวาทเป็นปัจจัย.
(๕) เป็นคนเว้นขาดจากปิสุณาวาจา พร้อมด้วยสุขบ้างพร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะการเว้นจากปิสุณาวาจา เป็นปัจจัย.
(๖) เป็นคนเว้นขาดจากผรุสวาจา พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะการเว้นจากผรุสวาจาเป็นปัจจัย.
(๗) เป็นคนเว้นขาดจากสัมผัปปลาปะ พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะการเว้นจากสัมผัปปลาปะเป็นปัจจัย.
(๘) เป็นคนไม่มีอภิชฌามาก พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะความไม่มีอภิชฌาเป็นปัจจัย.
(๙) เป็นคนมีจิตไม่พยาบาท พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะความไม่พยาบาทเป็นปัจจัย.
(๑๐) เป็นคนมีความเห็นชอบ พร้อมด้วยสุขบ้างพร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย

เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้ เรากล่าวว่ามีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบาก ต่อไป.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานมี ๔ อย่างเหล่านี้แล.

อ่านพระสูตรต่อเนื่อง.. อุปมา ๕ ข้อ (ของธรรมสมาทาน ๔)



 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์