เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  อุปมา ๕ ข้อ (ของธรรมสมาทาน ๔) 1071
 
  อุปมา ๕ ข้อ
พระสูตรต่อเนื่องจาก ธรรมสมาทาน ๔ (P1070)

(๑) เหมือนน้ำเต้าขมระคนด้วยยาพิษ ธรรมสมาทานนี้ มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบาก
(๒) เหมือนน้ำหวานอันน่าดื่ม แต่ระคนด้วยยาพิษ. ธรรมสมาทานนี้ มีสุขในปัจจุบัน มีทุกข์เป็นวิบาก
(๓) เหมือนมูตรเน่า ระคนด้วยยาต่างๆ ธรรมสมาทานนี้ มีทุกข์ในปัจจุบัน มีสุขเป็นวิบาก
(๔) เหมือน น้ำผึ้ง เนยใส และน้ำอ้อย ระคนกัน ธรรมสมาทานนี้ มีสุขปัจจุบัน มีสุขเป็นวิบาก
(๕) ในสารทสมัยเดือนท้ายแห่งฤดูฝน ในอากาศอันโปร่ง ปราศจากเมฆ ดวงอาทิตย์ลอย อยู่ใน ท้องฟ้า กำจัดมืออันมีในอากาศทั้งสิ้น ย่อมส่องสว่าง แผดแสงไพโรจน์ แม้ฉันใด.. ธรรมสมาทานนี้ ที่มีสุขในปัจจุบัน มีสุขเป็นวิบากต่อไป กำจัดแล้วซึ่งวาทะของประชาชน

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 

ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ หน้าที่ ๔๐๕

อุปมา ๕ ข้อ (ของธรรมสมาทาน ๔)

        [๕๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๑) เปรียบเหมือนน้ำเต้าขมอันระคนด้วยยาพิษ. บุรุษที่รักชีวิตไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ มาถึงเข้า ประชุมชนบอกเขาว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ น้ำเต้าขมนี้ระคนด้วยยาพิษ ถ้าท่านหวังจะดื่ม ก็ดื่มเถิด น้ำเต้าขมนั้น จักไม่อร่อยแก่ท่านผู้ดื่ม ทั้งสีทั้งกลิ่น ทั้งรส ครั้นท่านดื่มเข้าแล้วจักถึงตาย หรือจักถึงทุกข์ปางตาย. บุรุษนั้นไม่พิจารณาน้ำเต้าขมนั้นแล้ว ดื่มมิได้วาง. ก็ไม่อร่อย เพราะสีบ้าง กลิ่นบ้าง รสบ้าง ครั้นดื่มแล้ว พึงถึงตายหรือพึงถึงทุกข์ปางตาย แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวธรรมสมาทานนี้ ที่มีทุกข์ในปัจจุบันและมีทุกข์ เป็นวิบาก ต่อไป ว่ามีอุปมาฉันนั้น.

        [๕๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๒) เปรียบเหมือนภาชนะน้ำหวานอันน่าดื่ม ถึงพร้อมด้วยสีกลิ่น และรส แต่ระคนด้วยยาพิษ.
บุรุษที่รักชีวิต ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์ มาถึงเข้า.ประชุมชนก็บอกเขาว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ภาชนะน้ำหวานอันน่าดื่ม ถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น และรสแต่ละคนด้วยยาพิษ ถ้าท่านหวังจะดื่ม ก็ดื่มเถิด ภาชนะน้ำหวานนั้น จักชอบใจแก่ท่านผู้ดื่มทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส ครั้นท่านดื่มเข้าแล้วจักถึงตาย หรือจักถึงทุกข์ปางตาย บุรุษนั้นไม่พิจารณา ภาชนะน้ำหวานนั้นแล้ว ดื่มมิได้วาง ก็ชอบใจทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส ครั้นดื่มแล้ว พึงถึงตายหรือพึงถึงทุกข์ปางตาย แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวธรรมสมาทานนี้ ที่มีสุขในปัจจุบันแต่มีทุกข์ เป็นวิบาก ต่อไป ว่ามีอุปมาฉันนั้น.

        [๕๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๓) เปรียบเหมือนมูตรเน่าอันระคนด้วยยาต่างๆ. บุรุษที่เป็นโรคผอมเหลืองมาถึงเข้า. ประชุมชนบอกเขาว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ มูตรเน่าอันระคนด้วยยาต่างๆนี้ ถ้าท่านหวังจะดื่ม ก็ดื่มเถิด มูตรเน่าจักไม่ชอบใจ แก่ท่านผู้ดื่ม ทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส ก็แต่ท่านครั้นดื่มเข้าไปแล้ว จักมีสุข. บุรุษนั้นพิจารณาแล้วดื่มมิได้วาง ก็ไม่ชอบใจ ทั้งสี ทั้งกลิ่นทั้งรส ครั้นดื่มแล้ว ก็มีสุข แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวธรรมสมาทานนี้ ที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุข เป็นวิบากต่อไปว่ามีอุปมาฉันนั้น.

        [๕๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๔) เปรียบเหมือนนมส้ม น้ำผึ้ง เนยใส และน้ำอ้อย เขาระคนเข้าด้วยกัน. บุรุษผู้เป็นโรคลงโลหิตมาถึงเข้า ประชุมชนบอกเขาว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ นมส้มน้ำผึ้ง เนยใส และน้ำอ้อยนี้ เขาระคนรวมกันเข้า ท่านหวังจะดื่ม ก็ดื่มเถิด ยานั้นจักชอบใจแก่ท่านผู้ดื่ม ทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส และท่านครั้นดื่มเข้าแล้ว จักมีสุข. บุรุษนั้นพิจารณายานั้นแล้ว ดื่มมิได้วาง ก็ชอบใจทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส ครั้นดื่มเข้าแล้ว ก็มีสุข แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวธรรมสมาทานนี้ ที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไปว่ามีอุปมาฉันนั้น.

        [๕๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๕) ในสารทสมัยเดือนท้ายแห่งฤดูฝน ในอากาศอันโปร่ง ปราศจากเมฆ ดวงอาทิตย์ลอยอยู่ในท้องฟ้า กำจัดมือ อันมีในอากาศทั้งสิ้น ย่อมส่องสว่าง แผดแสงไพโรจน์ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้ ที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป กำจัดแล้วซึ่งวาทะ ของประชาชน คือ สมณะ และพราหมณ์เป็นอันมากเหล่าอื่น ย่อมสว่างรุ่งเรือง ไพโรจน์ ฉันนั้นเหมือนกัน.

     พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดี พระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.




 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์