เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ปุตตมังสสูตร อาหาร ๔ อย่าง เพื่อความดำรงอยู่ของสัตว์โลก(ภูตสัตว์) หรือเพื่ออนุเคราะห์                        แก่เหล่าสัตว์ ผู้แสวงหาที่เกิด 691
 

อาหาร ๔ อย่าง เพื่อความดำรงอยู่ของสัตว์โลกที่เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์แก่เหล่าสัตว์ ผู้แสวงหาที่เกิด (สัมภเวสีสัตว์ และ ภูตสัตว์)

อาหาร ๔ อย่างนั้นคือ
๑. กพฬีการาหาร หยาบบ้างละเอียดบ้าง (คำข้าว)
๒. ผัสสาหาร
๓. มโนสัญเจตนาหาร
๔. วิญญาณาหาร

๑. กวฬีการาหารจะพึงเห็นได้อย่างไร ภิกษุทั้งหลาย อุปมาสองสามีภรรยา เดินไปสู่ ทางดาร มีบุตรน้อยน่ารักอยู่คนหนึ่ง เมื่อสะเบียงหมดไป จึงฆ่าบุตรน้อยทำเป็นเนื้อเค็ม และ เนื้อย่าง เขาจะบริโภคเนื้อบุตร เพื่อความคะนอง เพื่อความมัวเมาหรือไม่..
เมื่อ กพฬีการาหาร กำหนดรู้ได้แล้ว ราคะ (ความกำหนัด) ที่มีเบญจกามคุณเป็นแดนเกิด ย่อมเป็นสิ่งที่กำหนดรู้ได้ด้วย
เมื่อ ราคะที่มีเบญจกามคุณ เป็นแดนเกิด กำหนดรู้ได้แล้ว เหตุให้มาสู่โลกนี้ได้อีกย่อมไม่มี.

๒. ผัสสาหารจะพึงเห็นได้อย่างไร อุปมาเหมือนแม่โคนมที่ไม่มีหนังหุ้ม ยืนพิงฝาก็จะถูกพวก ตัวสัตว์อาศัยฝาเจาะกิน ยืนพิงต้นไม้ ก็จะถูกพวกสัตวอาศัยต้นไม้ไชกิน ลงไปยืนแช่น้ำ ก็จะถูก สัตว์น้ำตอดกิน ถ้ายืนอาศัยอยู่ก็จะถูกสัตว์่ในอากาศจิกกิน
เมื่อ ผัสสาหาร กำหนดรู้ได้แล้ว เวทนาทั้งสาม ย่อมเป็นสิ่งกำหนดรู้ ได้ด้วย
เมื่อ เวทนาทั้งสามกำหนดรู้ได้แล้ว เราย่อมกล่าวว่า "สิ่งไร ๆ ที่ควรกระทำให้ยิ่งขึ้นไป (กว่านี้) ย่อมไม่มี แก่อริยสาวกนั้น" ดังนี้.

๓. มโนสัญเจตนาหารจะพึงเห็นได้อย่างไร อุปมาว่ามีหลุมถ่านเพลิงลึกมากกว่าชั่วบุรุษ ไม่มีเปลว ไม่มีควัน มีบุรุษคนหนึ่ง อยากมีชีวิตอยู่ ไม่อยากตายรักสุข เกลียดทุกข์ เดินมา บุรุษมีกำลังสองคนจับแขนไปสู่หลุมถ่านเพลิง ทันใดนั้นเอง เขามีเจตนาปรารถนา ตั้งใจ อยากจะให้ไกลจากหลุมถ่านเพลิง
เมื่อ มโนสัญเจตนาหาร อันอริยสาวกกำหนด รู้ได้แล้ว (หลุมถ่านเพลิง) ตัณหาทั้งสาม ย่อมเป็นสิ่งที่กำหนดรู้ได้แล้วด้วย
เมื่อ ตัณหาทั้งสาม เป็นสิ่งที่กำหนดรู้ได้แล้ว เราย่อมกล่าวว่า "สิ่งไร ๆ ที่ควรกระทำให้ยิ่งขึ้นไป (กว่านี้) ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น”

๔. วิญญาณาหารจะพึงเห็นได้อย่างไร อุปมาเหมือนเจ้าหน้าที่จับโจร แล้วให้พระราชา ลงโทษ พระองค์สั่งให้ประหารด้วยหอก ร้อยเล่มในเวลาเช้านี้ ...ร้อยเล่มในเวลากลางวัน.... ร้อยเล่มในเวลาเย็น
เมื่อ วิญญาณาหาร อันกำหนดรู้ได้แล้ว นามรูป ย่อมเป็นสิ่งที่กำหนดรู้ได้ด้วย
เมื่อ นามรูป กำหนดรู้ได้แล้ว เราย่อมกล่าวว่า "สิ่งไร ๆ ที่ควรกระทำให้ยิ่งขึ้นไป (กว่านี้) ย่อมไม่มีแก่อริยาสาวกนั้น" ดังนี้ แล.

 
 
 


ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ (หน้า 323-335)


วิธีปฏิบัติต่ออาหารที่สี่ ในลักษณะที่เป็นปฏิจจสมุปบาท


ก. ว่าด้วยลักษณะอาหารสี่
 โดยอุปมา


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ ย่อมเป็นไป เพื่อความดำรงอยู่ของ ภูตสัตว์ ทั้งหลาย หรือว่า เพื่ออนุเคราะห์แก่ สัมภเวสีสัตว์ ทั้งหลาย.

อาหาร๔ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า? สี่อย่างคือ
(๑) กพฬีการาหารที่หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง
(๒) ผัสสะ
(๓) มโนสัญเจตนา
(๔) วิญญาณ.

(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ กพฬีการาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเหมือนภรรยาสามีสองคน ถือเอาสะเบียง สำหรับเดินทาง เล็กน้อย เดินไปสู่หนทางอันกันดาร สองสามีภรรยานั้น มีบุตรน้อยคนเดียวผู้น่ารัก น่าเอ็นดู อยู่คนหนึ่งเมื่อขณะเขาทั้งสอง กำลังเดินไปตามทาง อันกันดารอยู่นั้น สะเบียงสำหรับเดินทางที่เขามีอยู่เพียงเล็กน้อยนั้น ได้หมดสิ้นไป หนทางอันกันดาร นั้น ยังเหลืออยู่ เขาทั้งสองนั้นยังไม่เดินข้ามหนทางอันกันดารนั้นไปได้

ครั้งนั้นแล สองภรรยาสามีนั้นได้มาคิดกันว่า"สะเบียงสำหรับเดินทางของเราทั้งสอง ที่มีอยู่เพียงเล็กน้อยนี้ ได้หมดสิ้นลงแล้ว หนทางอันกันดารนี้ยังเหลืออยู่ ทั้งเราก็ยัง ไม่เดินข้ามหนทางอันกันดารนี้ไปได้ อย่ากระนั้นเลย เราทั้งสองคน พึงฆ่าบุตรน้อย คนเดียวผู้น่ารักน่าเอ็นดูนี้เสีย แล้วทำให้เป็นเนื้อเค็ม และเนื้ออย่าง บริโภคเนื้อบุตร นี้แหละ เดินข้ามหนทาง อันกันดาร ที่ยังเหลืออยู่นี้กันเถิด เพราะถ้าไม่ทำ เช่นนี้ พวกเราทั้งสามคนจะต้อง พากันพินาศหมดแน่" ดังนี้.

ครั้งนั้นแลภรรยาสามีทั้งสองนั้น จึงฆ่าบุตรน้อยคนเดียวผู้น่ารักน่าเอ็นดูนั้น แล้วทำให้ เป็นเนื้อเค็ม และเนื้อย่าง บริโภคเนื้อบุตร นั้นเทียว เดินข้ามหนทางอันกันดารที่ยัง เหลืออยู่นั้นสองภรรยาสามีนั้น บริโภคเนื้อบุตรไปพลางพร้อมกับค่อนอกไปพลาง รำพันว่า "บุตรน้อยคนเดียวของเราไปไหนเสีย บุตรน้อยคนเดียวของเรา ไปไหนเสีย" ดังนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร?

สองภรรยาสามีนั้นจะพึงบริโภคเนื้อบุตร เป็นอาหาร เพื่อความ เพลิดเพลินสนุกสนาน บ้าง เพื่อความมัวเมาบ้าง เพื่อความประดับประดาบ้าง หรือเพื่อตบแต่ง (ร่างกาย)บ้าง หรือหนอ? ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นกราบทูลว่า "ข้อนั้นหาเป็นเช่นนั้นไม่พระเจ้าข้า!" แล้วตรัสต่อไปว่า "ถ้าอย่างนั้นสองภรรยาสามีนั้น จะพึงบริโภคเนื้อบุตรเป็นอาหาร" เพียงเพื่อ(อาศัย) เดินข้ามหนทาง อันกันดารเท่านั้น ใช่ไหม? "ใช่พระเจ้าข้า!".

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนี้มีอุปมาฉันใด เราย่อมกล่าวว่า กพฬีการาหาร อันอริยสาวก พึงเห็น (ว่ามีอุปมาเหมือนเนื้อบุตร) ฉันนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อ กพฬีการาหาร อันอริยสาวก กำหนดรู้ได้แล้ว ราคะ (ความกำหนัด) ที่มีเบญจกามคุณเป็นแดนเกิด ย่อมเป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้น กำหนดรู้ ได้แล้วด้วยเมื่อราคะที่มีเบญจกามคุณ เป็นแดนเกิดเป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้น กำหนดรู้ ได้แล้ว สังโยชน์ ชนิดที่อริยสาวก ประกอบเข้าแล้วจะพึงเป็นเหตุให้มาสู่โลกนี้ได้อีก ย่อมไม่มี.

(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ ผัสสาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเหมือนแม่โคนม ที่ปราศจากหนังห่อหุ้ม ถ้าแม่โคนมนั้น พึงยืนพิงฝาอยู่ไซร้ มันก็จะพึงถูกพวกสัตว์ที่อาศัยฝาเจาะกิน ถ้าแม่โคนมนั้น พึงยืน พิงต้นไม้อยู่ไซร้

มันก็จะพึงถูกพวกสัตว์ที่อาศัยต้นไม้ไชกิน ถ้าหากแม่โคนมนั้นจะพึงลงไปแช่น้ำ อยู่ไซร้ มันก็พึงถูกพวกสัตว์ ที่อาศัยน้ำ ตอดกัดกิน ถ้าหากแม่โคนมนั้นจะพึงยัน อาศัยอยู่ ในที่โล่งแจ้งไซร้ มันก็จะพึงถูกพวกสัตว์ที่อาศัย อยู่ในอากาศเกาะกัด จิกกิน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! แม่โคนมที่ปราศจากหนังหุ้มนั้น จะพึงไปอาศัยอยู่ในสถานที่ใด ๆก็ตาม มันก็จะพึง ถูกจำพวกสัตว์ที่อาศัย อยู่ในสถานที่นั้นๆ กัดกินอยู่ร่ำไป ข้อนี้มีอุปมาฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราย่อมกล่าวว่า ผัสสาหาร อันอริยสาวกพึง เห็น (ว่ามีอุปมาเหมือนแม่โคนมที่ปราศจากหนังห่อหุ้ม) ฉันนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อผัสสาหาร อันอริยสาวก กำหนดรู้ได้แล้ว เวทนาทั้งสาม ย่อมเป็นสิ่งที่อริยสาวก นั้นกำหนดรู้ ได้แล้วด้วย เมื่อเวทนาทั้งสาม เป็นสิ่งที่อริยสาวก กำหนดรู้ได้แล้ว เราย่อมกล่าวว่า "สิ่งไร ๆ ที่ควรกระทำให้ยิ่งขึ้นไป (กว่านี้) ย่อมไม่มี แก่อริยสาวกนั้น" ดังนี้. (เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา)

(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ มโนสัญเจตนาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเสมือน หลุมถ่านเพลิง ลึกเกินกว่า ชั่วบุรุษหนึ่งเต็มด้วย ถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลวและปราศจากควันมีอยู่. ครั้งนั้น บุรุษหนึ่งผู้ต้องการเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ มาสู่ที่นั้น. และมีบุรุษที่มีกำลังกล้าแข็งอีกสองคน จับบุรุษนั้น ที่แขนแต่ละข้าง แล้วฉุดคร่าพาไปยังหลุมถ่านเพลิงนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!ครั้งนั้นแล บุรุษนั้น มีความคิด ความปรารถนา ความตั้งใจ ที่จะให้ห่างไกลหลุม ถ่านเพลิง นั้น. ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า บุรุษนั้นย่อมรู้ว่า "ถ้าเราจักตกลงไปยัง หลุมถ่านเพลิงนี้ไซร้ เราก็จะพึง ถึงความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ"ดังนี้ ข้อนี้มีอุปมาฉันใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราย่อมกล่าวว่า มโนสัญเจตนาหาร อันอริยสาวกพึงเห็น (ว่ามีอุปมาเหมือนหลุมถ่าน-เพลิง) ฉันนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อมโนสัญ เจตนาหาร อันอริยสาวกกำหนด รู้ได้แล้ว ตัณหาทั้งสาม ย่อมเป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้น กำหนดรู้ได้แล้วด้วย เมื่อตัณหาทั้งสามเป็นสิ่งที่อริยสาวก กำหนดรู้ได้แล้ว เราย่อมกล่าวว่า "สิ่งไร ๆ ที่ควรกระทำให้ยิ่งขึ้นไป (กว่านี้)ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น" ดังนี้.

(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ วิญญาณณาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพวก เจ้าหน้าที่จับโจร ผู้กระทำผิดได้แล้ว แสดงแก่พระราชาว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ! โจรผู้นี้เป็นผู้กระทำผิด ต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ขอใต้ฝาละอองธุลีพระบาท จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ลงโทษโจรผู้นี้ ตามที่ทรงเห็นสมควรเถิด พระพุทธเจ้าข้า".

พระราชามีพระกระแสรับสั่งอย่างนี้ว่า "ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย! ท่านทั้งหลาย จงไป จงประหารชีวิตบุรุษนี้ เสียด้วยหอกร้อยเล่ม ในเวลาเช้านี้ " เจ้าหน้าที่เหล่านั้น จึงประหารนักโทษด้วยหอกร้อยเล่ม ในเวลาเช้า ต่อมาในเวลาเที่ยงวัน พระราชาทรง ซักถาม เจ้าหน้าที่เหล่านั้นอย่างนี้ว่า "ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย! นักโทษคนนั้น เป็นอย่างไรบ้าง?".

พวกเขาพากันกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ! นักโทษนั้นยังมีชีวิตอยู่ ตามเดิม พระพุทธเจ้าข้า!". พระราชาทรงมี พระกระแสรับสั่งอย่างนี้ว่า "ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงไป จงประหารนักโทษ นั้นเสีย ด้วยหอกร้อยเล่มในเวลาเที่ยงวัน"ดังนี้. พวกเจ้าหน้าที่เหล่านั้นจึงได้ประหาร นักโทษนั้น ด้วยหอกร้อยเล่ม ในเวลาเที่ยงวัน.

ต่อมา ในเวลาเย็นพระราชาทรงซักถามเจ้าหน้าที่เหล่านั้นอีกว่า "ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย! นักโทษนั้น เป็นอย่างไรบ้าง?" เขาพากันกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ! นักโทษนั้นยังมีชีวิตอยู่ตามเดิม พระพุทธเจ้าข้า!". พระราชาทรงมีพระกระแส รับสั่งอีกว่า "ดูก่อนท่านทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงไป จงประหารนักโทษนั้นเสีย ด้วยหอกร้อยเล่ม ในเวลาเย็น" ดังนี้. เจ้าหน้าที่เหล่านั้น จึงได้ประหารนักโทษนั้น ด้วยหอกร้อยเล่ม ในเวลาเย็น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น ว่าอย่างไร? บุรุษนักโทษนั้น ถูกพวกเจ้าหน้าที่ประหาร อยู่ด้วยหอก สามร้อยเล่ม ตลอดทั้งวัน เขาจะพึงเสวยแต่ ทุกข -โทมนัสที่มีข้อนั้นเป็นเหตุ เท่านั้นมิใช่หรือ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุรุษ นักโทษนั้น ถูกพวกเจ้าหน้าที่ประหารด้วยหอกแม้ (เล่มเดียว) นั่น ก็พิงเสวย ทุกขโทมนัส ที่มีข้อนั้น เป็นเหตุ (มากอยู่แล้ว) ก็จะกล่าวไปไย ถึงการที่บุรุษนักโทษ นั้น ถูกประหารด้วยหอกสามร้อยเล่มเล่า, ข้อนี้มีอุปมาฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราย่อมกล่าวว่า วิญญาณาหาร อันอริยสาวกพึงเห็น (ว่ามีอุปมาเหมือนนักโทษถูก ประหารนั้น) ฉันนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อวิญญาณาหาร อันอริยสาวกกำหนดรู้ได้แล้ว นามรูป ย่อมเป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้น กำหนดรู้ได้ แล้วด้วย เมื่อนามรูปเป็นสิ่งที่อริยสาวก กำหนดรู้ได้แล้ว เราย่อมกล่าวว่า "สิ่งไร ๆ ที่ควรกระทำให้ยิ่งขึ้นไป (กว่านี้) ย่อมไม่มีแก่อริยาสาวกนั้น" ดังนี้ แล.

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์