เว็บไซต์ อนาคามี แหล่งเผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
 
ค้นหาคำที่ต้องการ              

  คำชี้แจงก่อนอ่าน อริยวินัย พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
ออกไปหน้าสารบาญ > หน้า1 หน้า2 หน้า3 หน้า4 หน้า5 หน้า6 หน้า7 หน้า8 หน้า9 หน้า10 หน้า11 หน้า12 หน้า13
 
 





คำชี้แจงก่อนอ่าน


          หนังสือเล่มนี้ ได้ประมวลพุทธบัญญัติอริยวินัย จากพระไตรปิฎกอันเป็นเรื่องเกี่ยวกับ วิถีชีวิต ระเบียบปฏิบัติ และ วิธีดำเนินกิจการต่างๆของภิกษุสงฆ์ที่เรียกว่า ศีล และ สิกขาบท (แปลว่า ข้อควรศึกษา) ซึ่งการรวบรวม และเรียบเรียงเรียงข้อมูล ของหนังสืออริยวินัยนี้ ได้อิงมาจากพุทธวจนในหลายๆ พระสูตร ดังตัวอย่าง ในอากังเขยยสูตร (-บาลี ม. ม.๑๒/๕๘/๗๓)

          “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีศีลอันสมบูรณ์ มีปาติโมกข์อันสมบูรณ์ อยู่เถิด จงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวม ในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วย อาจาระและโคจรอยู่เถิด จงเป็นผู้มีปกติ เห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบท ทั้งหลายเถิด.”
“ ส มฺป นฺน สีล า ภิกฺข เว วิห ร ถ ส มฺป นฺน ป า ติโ ม กฺข า
ปาติโมกฺขสํวรสํวุตา วิหรถ อาจารโคจรสมฺปนฺนา อณุมตฺเตสุ
วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี สมาทาย สิกฺขถ สิกฺขาปเทสุ.”

          จากตัวอย่างพระสูตรดังกล่าว จึงได้แบ่งเนื้อหาของหนังสือออกเป็นสามส่วน คือ

          ๑. สมฺปนฺนสีลา หรือ สีลสมฺปนฺโน หมายถึง หลักการศึกษาอบรมเกี่ยวกับ ลักษณะของความเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์เป็นอย่างไรโดยทุกข้อจะทรงระบุว่า “แม้นี้ก็เป็น ศีลของเธอประการหนึ่ง” โดยมีข้อบัญญัติห้ามภิกษุทำมิจฉาอาชีวะ ซึ่งมีเดรัจฉาน วิชา และอื่นๆ ก็จัดอยู่ในศีลกลุ่มนี้เช่นกัน ถึงแม้พระองค์ ไม่ได้มีการปรับ อาบัติเอาไว้ แต่ได้มีการชี้โทษในส่วนของธรรมะว่า ขวางกั้นความเป็นอริยบุคคล โดยดูจาก พระสูตร มิจฉาทิฏฐิเรื่องกรรม (-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๙๐/๓๖๖) และมหา จัตตารีสกสูตร (-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๑๘๐/๒๕๒)

          ๒. สมฺปนฺนปาติโมกฺขา ปาติโมกฺขสํวรสํวุตา หรือ อาทิพรหมจริยกา สิกขา (อาทิพฺรหฺมจริยกา สิกฺขา ; จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๓๐/๒๔๕) หมายถึง หลักการ ศึกษาอบรม ในฝ่ายบทบัญญัติ หรือข้อปฏิบัติอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ที่พระพุทธเจ้าทรง บัญญัติไว้ เพื่อป้องกันความประพฤติเสียหาย และวางโทษ แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด โดยปรับอาบัติหนักบ้าง เบาบ้างสงฆ์ยกขึ้นแสดงทุกกึ่งเดือน เรียกว่า ปาติโมกข์

          ๓. อาจารโคจรสมฺปนฺนา หรือ อภิสมาจาริกาสิกขา (อภิสมาจาริกาสิกฺขา ; จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๒๙/๒๔๕) หมายถึง หลักการศึกษาอบรมในฝ่ายขนบ ธรรมเนียม, มรรยาท เพื่อความอยู่ร่วมกัน อย่างผาสุกในหมู่สงฆ์ และเป็นไป เพื่อความ น่าเลื่อมใส แก่ผู้พบเห็น

           อนึ่ง ในช่วงแรกหลังการตรัสรู้ พระพุทธเจ้ายังไม่ได้ทรงบัญญัติ สิกขาบทไว้ แน่นอน เพราะภิกษุสงฆ์ทั้งหลายล้วนมีวัตรปฏิบัติดีงาม เป็นหนึ่งเดียวกัน ตามแบบอย่าง ที่พระพุทธเจ้าทรงประพฤติปฏิบัติมา
           ภายหลัง เมื่อเกิดเรื่องพิพาท, ข้อสงสัย หรือเหตุมัวหมองขึ้นภายในคณะ สงฆ์ พระพุทธเจ้าตรัสสั่งให้ประชุมสงฆ์ สอบถามภิกษุผู้เกี่ยวข้องในเหตุนั้น หากเป็น การประพฤติที่สมควร จะทรงมีพระบัญญัติ อนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายกระทำ สิ่งนั้นๆ ได้ แต่ถ้าเป็นการประพฤติ ที่ไม่เหมาะสม พระพุทธองค์จะทรงชี้โทษแห่งการ ประพฤติเช่นนั้น พร้อมตรัสอานิสงส์ แห่งความสำรวมระวัง และ ทรงแถลง วัตถุประสงค์ ก่อนบัญญัติสิกขาบทแต่ละข้อ
           ซึ่งมีอยู่ ๑๐ ประการ คือ

          1. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
          2. เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์
          3. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
          4. เพื่ออยู่สราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก
          5. เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
          6. เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต
          7. เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
          8. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว
          9. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
          10 . เพื่อถือตามพระวินัย

          ครั้นแล้วจึงทรงตั้งพระบัญญัติห้ามมิให้ภิกษุกระทำอย่างนั้นอีกต่อไป ทั้งนี้ พระพุทธเจ้าทรงกำหนดโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนหรือล่วงละเมิดเรียกว่า ปรับอาบัติ           คำว่า อาบัติ แปลว่า การต้อง (ความผิด) การล่วงละเมิด คำนี้เป็นชื่อเรียก กิริยาที่ล่วงละเมิดสิกขาบทนั้นๆ และเป็นชื่อเรียกโทษหรือความผิด ที่เกิดจากการ ล่วงละเมิดสิกขาบท เช่น ภิกษุกล่าว อวดอุตตริมนุสธรรมที่ไม่มีในตน ต้องอาบัติ ปาราชิก เป็นต้น

          อาบัติมี ๗ กอง คือ
          1. ปาราชิก (แปลว่า ผู้พ่ายแพ้)
          2. สังฆาทิเสส (แปลว่า อาบัติอันจำปรารถนาสงฆ์ ในกรรมเบื้องต้น และกรรม ที่เหลือ)
          3. ถุลลัจจัย (แปลว่า ความล่วงละเมิดที่หยาบ)
          4. ปาจิตตีย์ (แปลว่า การละเมิดที่ยังกุศลให้ตก)
          5. ปาฏิเทสนียะ (แปลว่า จะพึงแสดงคืน)
          6. ทุกกฏ (แปลว่า ทำไม่ดี)
          7. ทุพภาสิต (แปลว่า พูดไม่ดี)

          อาบัติปาราชิก มีโทษหนัก ทำให้ผู้ล่วงละเมิดขาดจากความเป็นภิกษุ
          อาบัติสังฆาทิเสสมีโทษหนักน้อยลงมา ผู้ล่วงละเมิดต้องอยู่กรรมคือ ประพฤติวัตรตามที่ทรงบัญญัติ จึงจะพ้นจากอาบัตินี้
          ส่วนอาบัติ ๕ กองที่เหลือมีโทษเบา ผู้ล่วงละเมิดต้องประกาศ สารภาพผิด ต่อหน้า ภิกษุด้วยกัน ดังที่เรียกว่า ปลงอาบัติ (มีรายละเอียดวิธีในภาคผนวก หน้า ๑๐๕๐) จึงจะพ้นอาบัติเหล่านี้

• อริยวินัย ซึ่งรวบรวมจากพระไตรปิฎกทั้งหมด สามารถแบ่งออกเป็น ๕ คัมภีร์ ๘ เล่ม ดังนี้
          ๑. คัมภีร์ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค (สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑) เนื้อหาว่าด้วยศีล ในกลุ่ม ของสัมปันนสีลา อันเป็นศีลในส่วนของความเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์ แบ่งเป็นสามส่วน คือ
          จุลศีล : ว่าด้วยผู้มีศีลไม่ฆ่าสัตว์ไม่ลักทรัพย์ ไม่พูดคำหยาบ, มัชฌิมศีล : ว่าด้วยผู้มีศีลไม่สะสมของบริโภคไม่ดูการละเล่น ไม่เล่นการพนัน ไม่ตกแต่งร่างกาย ไม่คุยเดรัจฉานกถา,
          มหาศีล : ผู้มีศีลไม่เป็นหมอดู ไม่ทำนายเรื่องต่างๆ ไม่ปลุกเสกทำน้ำมนต์ และกล่าวถึงอานิสงส์ของความเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์.

          ๒. คัมภีร์มหาวิภังค์ หรือ ภิกขุวิภังค์ ว่าด้วยบทบัญญัติสิกขาบท ที่มาใน ปาติโมกข์ เป็นประธานแม่บท สงฆ์ยกขึ้นทบทวนทุกกึ่งเดือนแบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้
           มหาวิภังค์ ภาค ๑ (วินัยปิฏก เล่มที่ ๑) ว่าด้วยปาราชิก ๔สังฆาทิเสส ๑๓ อนิยต ๒
          มหาวิภังค์ ภาค ๒ (วินัยปิฏก เล่มที่ ๒) ว่าด้วยนิสสัคคิย-ปาจติ ตยี์ (ปาจิตตีย์ที่ต้อง สละของก่อนจึงปลงอาบัตได้) ๓๐ ปาจิต ตีย์ ๙๒ ปาฏิเทสนียะ ๔ อธิกรณสมถะ (วิธีระงับเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วสงฆ์ต้องจัด ต้องทำ) ๗

          หมายเหตุ : ในพระไตรปิฎกบาลี สยามรัฐ ติก. อํ. ๒๐/๒๙๗/๕๒๖ มีพระพุทธดำรัสตรัสว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ มาสู่อุเทศ (การยกขึ้นแสดงในท่ามกลางสงฆ์) ทุกกึ่งเดือน ซึ่งกุลบุตรทั้งหลาย ผู้ปรารถนา ประโยชน์ศึกษากันอยู่...”

และในหนังสือวินัยมุข เล่ม ๑หน้า ๒๕ พ.ศ. ๒๔๕๙ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสได้ให้ความเห็นว่า “บาลีพระสูตรซึ่งแปลมาไว้ในที่นี้ แสดงว่า สิกขาบทมาในพระปาฏิโมกข์มี ๑๕๐ ถ้วน …

แต่ในพระปาฏิโมกข์ที่สวดกันอยู่ และ ในคัมภีร์วิภังค์แห่งสิกขาบท แสดงว่ามี ๒๒๗ สิกขาบท คือเติมอนิยต ๒เสขิยวัตร ๗๕…” ดังนั้น อนิยต และ เสขิยวัตร ควรจะจัด อยู่ในภาคอภิสมาจาริกสิกขาบท

แต่เนื่องจากพระไตรปิฎกได้จัดอนิยตและเสขิยวัตรไว้ในคัมภีร์ ภิกขุวิภังค์ ภาค ๑ และภาค ๒ ตามลำดับ การจัดของหนังสือเล่มนี้อนุวัตรตามพระไตรปิฎก จึงได้จัดไว้ ตามนั้น และในภาคพิเศษ หน้า ๑๑๑๑ ของหนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมข้อมูล ภิกขุ ปาติโมกข์ของพุทธศาสนาแต่ละนิกาย เพื่อเป็นข้อสังเกตเปรียบเทียบไว้ด้วย

          ๓. คัมภีร์ภิกขุนีวิภังค์ (วินัยปิฏก เล่มที่ ๓) ว่าด้วยบทบัญญัติ สำหรับภิกขุนี ที่มาในภิกขุนีปาติโมกข์ส่วนที่ไม่ซ้ำกับของภิกษุ (หนังสืออริยวินัยได้นำมาประมวล ไว้บางส่วน เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับภิกษุ) สิกขาบทที่มาในปาติโมกข์นั้น ปรับอาบัติแก่ ภิกษุผู้ล่วงละเมิดไว้ครบทุกอาบัติ คือ ระบุอาบัติโดยตรง ๔ กอง

ได้แก่ อาบัติาราชิก,สังฆาทิเสส, ปาจิตตีย์ (ทั้งนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ที่ต้องสละของ เสียก่อนจึงปลงอาบัติ และ ปาจิตตีย์) และปาฏิเทสนียะ มีอาบัติที่ไม่ได้ระบุไว้โดย ตรงอีก ๓ กอง ซึ่งเป็นความผิดของสิกขาบทในปาติโมกข์ บางข้อที่ทรงปรับโทษ แบบลดระดับ ในกรณีที่มีการกระทำผิด ในลักษณะที่แตกต่าง ออกไปจากสิกขาบท ที่บัญญัติไว้ เพียงเล็กน้อย ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย, อาบัติทุกกฎ, อาบัติทุพภาสิต

สิกขาบทที่มาในปาติโมกข์เหล่านี้ ยกเว้น อนิยตและเสขิยะ จัดเป็น อาทิพรหมจริยกา สิกขา ส่วนอนิยต เสขิยะ และสิกขาบทจำนวนมาก ที่มานอก ปาติโมกข์ ล้วนเป็น อภิสมาจาริกาสิกขา มีทั้งที่ทรงบัญญัติเป็นข้อห้าม ข้ออนุญาต หรือระเบียบปฏิบัติ ต่างๆ ซึ่งมีการแบ่งน้ำหนักน้อยมากไปเป็นลำดับ เช่น ทรงวางข้อ ปฏิบัติต่างๆ ว่าควรทำ, ทรงห้ามว่าไม่ควร แต่ไม่ได้ปรับอาบัติ หรือห้ามว่าไม่ควรแล้ว ปรับอาบัติทุกกฎ, ปรับอาบัติถุลลัจจัย หรือ ปรับอาบัติตามธรรม (ซึ่งเมื่อเทียบเคียง กลับไป ก็ตรงกับอาบัติในกลุ่มปาติโมกข์)

          ๔. คัมภีร์มหาวรรค แปลว่า วรรคใหญ่ คือว่าด้วยเรื่องที่เกี่ยวกับสงฆ์ ที่เป็นเรื่องสำคัญๆ และต้องทำเสมอ แบ่งเป็น ๒ ภาค คือ
           มหาวรรค ภาค ๑
(วินัยปิฎก เล่มที่ ๔) มี ๔ ขันธ์ คือ
          มหาขันธกะ : หมวดว่าด้วยเรื่องสำคัญ เหตุการณ์ตั้งแต่ตรัสรู้,
          อุโบสถขันธกะ : หมวดว่าด้วย อุโบสถ,
          วัสสูปนายิกาขันธกะ : ว่าด้วยการเข้าพรรษา,
          ปวารณาขันธกะ : ว่าด้วยการให้ภิกษุอื่นตักเตือนได้.
          มหาวรรค ภาค ๒ (วินัยปิฎก เล่มที่ ๕) มี ๖ ขันธ์ คือ
          จัมมขันธกะ : ว่าด้วยหนัง เรื่องรองเท้า ยานพาหนะ,
          เภสัชชขันธกะ :ว่าด้วยเรื่องเภสัช ปานะ การเก็บอาหาร,
          กฐินขันธกะ : ว่าด้วยเรื่องกฐิน,
          จีวรขันธกะ : ว่าด้วยเรื่องจีวรการใช้ผ้า,
          จัมเปยยขันธกะ : ว่าด้วยเหตุการณ์ในกรุงจัมปา ว่าด้วยการลงโทษ ของสงฆ์ ต่างๆ,
          โกสัมพิขันธกะ : ว่าด้วยเรื่องเหตุการณ์ในกรุงโกสัมพี ส่วนใหญ่กล่าวถึงเรื่อง สงฆ์ แตกสามัคคีกัน แล้วทรงแสดงวิธีปรองดองของสงฆ์ในทางวินัย

          ๕. คัมภีร์จุลวรรค แปลว่า วรรคเล็ก หมายถึงวรรคที่ว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด นอกจากบทบัญญัติที่มาในปาติโมกข์ แบ่งเป็น ๒ ภาค คือ
         จุลวรรค ภาค ๑ (วินัยปิฎก เล่มที่ ๖) เนื้อหาเกือบทั้งหมดไม่ได้ว่าด้วยบทบัญญัติที่เป็นข้อห้าม แต่ว่าด้วยระเบียบ ปฏิบัติต่างๆทางกระบวนทางสงฆ์ ที่จะจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในสงฆ์ มี ๔ ขันธ์คือ
       กัมมขันธกะ : ว่าด้วยระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการลงโทษ เพื่อแก้ไขทิฏฐิพฤติกรรมของภิกษุ อันเกิดในสงฆ์ ที่เกิดเพราะเหตุมรรคหรือปฏิปทา,
       ปาริวาสิกขันธกะ : ว่าด้วยระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับปริวาสกรรม,
       สมุจจยขันธกะ : ประมวลวิธีเพื่อออกจากอาบัติสังฆาทิเสส,
       สมถขันธกะ : ขยายความวิธีระงับอธิกรณ์
          เรื่องไม่ดีงามซึ่งเกิดขึ้นในสงฆ์ ถ้าเป็นการละเมิดบทบัญญัติภิกษุ ผู้ละเมิด ย่อมต้อง อาบัติตามสมควรแก่กรณีแน่นอน โดยไม่ต้องมีใครมากล่าวโทษ แต่ในบาง กรณีหลังจากที่ปรับโทษแล้ว ยังต้องมีกระบวนการที่คณะสงฆ์เข้ามา เกี่ยวข้อง เช่น การอยู่ปริวาสกรรม - การประพฤติมานัตเพื่อออกจากอาบัติสังฆาทิเสส
(ดูแผนผังที่ ๒ หน้า ๑๑๐๘),

แผนผังที่ ๒ วิธีการลงโทษ     คลิก

หรือกรณีที่อาจจะมีเหตุก่อผลกระทบต่อมหาชนเป็นอันมาก จึงต้องมีวิธีการลงโทษ เพื่อแก้ไขทิฏฐิพฤติกรรมของภิกษุ ที่เกิดเพราะเหตุมรรค หรือปฏิปทา(ดูแผนผังที่ ๓ หน้า ๑๑๐๙),

แผนผังที่ ๓ วิธีการลงโทษ    คลิก

หรือ กรณีมีอธิกรณ์เกิด ขึ้นจึง มีวิธีระงับอธิกรณ์ (อธิกรณสมถะ, ดูตารางหน้า ๑๑๑๐)

ตารางที่ ๑ อธิบายอธิกรณ์ ๔    คลิก

เหล่านี้ล้วนเป็นมาตรการ ที่จะจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในสงฆ์ ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาของสงฆ์ อย่างเด็ดขาด และเพื่อประคับประคองศรัทธาของชาวบ้านผู้ถวายความอุปถัมภ์
           จุลวรรค ภาค ๒ (วินัยปิฎก เล่มที่ ๗) นี้ เป็นเรื่องข้อห้ามและ ข้ออนญุาต เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อร่างกายและอื่นๆ แบ่งเป็น ๘ ขันธ์คือ ขุททกวัตถุขันธกะ : ว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด เช่น ข้อปฏิบัติในการอาบน้ำการดูมหรสพ บาตร เครื่องใช้โลหะ,
       เสนาสนขันธกะ : ว่าด้วยเรื่องที่อยู่ เครื่องใช้ ตลอดจนการก่อสร้าง,
       สังฆเภทขันธกะ : ว่าด้วยการทำสงฆ์ให้แตกกัน,
       วัตตขันธกะ : ว่าด้วยวัตร ข้อปฏิบัติ ๑๔ เรื่อง เช่น การปฏิบัติต่ออาคันตุกะ อุปัชฌาย์ ศิษย์ เป็นต้น,
       ปาฏิโมกขัฏฐปนขันธกะ : การงดสวดปาติโมกข์ พร้อมเงื่อนไข,
       ภิกขุนีขันธกะ : กล่าวถึงความเป็นมาข้อปฏิบัติ ข้อห้าม ข้ออนุญาตต่างๆ เกี่ยวกับนางภิกษุณี.

          อนึ่ง การประมวลพระพุทธบัญญัติอริยวินัย จากพระไตรปิฎกเล่มนี้ เป็นการ รวบรวมศีลและสิกขาบทอย่างละเอียด ที่ตถาคตได้ทรงบัญญัติไว้ ด้วยพระองค์เอง เท่านั้น
           ด้วยการยกเนื้อความ ตามลำดับที่ปรากฎในคัมภีร์แต่ละเล่มโดยระบุเป็น “ตัวเลขอ้างอิง” และ “ตัวเลขนับจำนวนสิกขาบท”ทั้งหมดที่ได้เคยตรัสไว้
           เพื่อความสะดวกในการศึกษาศีล และสิกขาบทได้อย่างครบถ้วน และทำ ความเข้าใจนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องในคำสอนของพระศาสดา อีกทั้งยังประโยชน์ ในการสืบค้น เพื่อความถูกต้องสมบูรณ์ต่อไปในอนาคต
           สำหรับตัวเลขนับจำนวนสิกขาบท ปัจจุบันสามารถนับเป็นจำนวนได้เท่ากับ ,๓๒๙ สิกขาบท

คณะผู้ร่วมจัดทำเป็นพรรษาที่ ๒๕๕๙ หลังพุทธปรินิพพาน