เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
รวม้รื่อง สังโยชน์ พุทธวจน
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ              

  สังโยชน์ - พุทธวจน ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  8 of 11  
 
  สังโยชน์ พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/files  
       
    สารบัญ เลขหน้า
ตามหนังสือ
 
  บทที่    
  ๘๓ / ปฏิปทาเพื่อละ โอรัมภาคิยสัญโญชน์ 226  
  ๘๔ / การน้อมใจเพื่อตัดโอรัมภาคิยสัญโญชน์ 233  
  ๘๕ / สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา 240  
  ๘๖ / สิ่งใดเป็นอนัตตาสิ่งนั้นจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ 243  
       
       
 
 



หน้า226
๘๓/ปฏิปทาเพื่อละ โอรัมภาคิยสัญโญชน์

-บาลี ม. ม. ๑๓/๑๕๗/๑๕๖.

อานนท์ เมื่อบุคคลจักไม่อาศัยมรรค ไม่อาศัยปฏิปทา ที่เป็นไปเพื่อการละ โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ แล้ว จักรู้ จักเห็น หรือจัก ละโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ได้นั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้


อานนท์ เปรียบเหมือนเมื่อไม่ถากเปลือก ไม่ถากกะพี้ของ ต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้น มีแก่น แล้วจักถากแก่นนั้น ไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได้ ฉันใดก็ฉันนั้น ข้อที่ว่าบุคคล จักไม่อาศัยมรรค ไม่อาศัยปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อการละโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ แล้ว จักรู้ จักเห็น หรือจักละโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ได้นั้น ก็ไม่เป็น ฐานะที่จะ มีได้.

อานนท์ เมื่อบุคคลอาศัยมรรค อาศัยปฏิปทาที่เป็นไป เพื่อการละ โอรัมภาคิย-สัญโญชน์ ๕ แล้ว จักรู้ จักเห็น หรือ จักละ โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ได้นั้น เป็นฐานะที่จะมีได้

อานนท์ เปรียบเหมือนเมื่อถากเปลือก ถากกะพี้ของต้นไม้ ใหญ่ที่ยืนต้น มีแก่น แล้วจึงถากแก่นนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใดก็ฉันนั้น ข้อที่ว่า บุคคลอาศัยมรรค อาศัยปฏิปทาที่เป็นไป เพื่อการละ โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ แล้ว จักรู้ จักเห็น หรือ จักละโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ได้นั้น ก็เป็นฐานะที่จะมีได้.

อานนท์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา น้ำเต็มเปี่ยม เสมอขอบฝั่ง กาก้มลงดื่มได้ ครั้งนั้น บุรุษผู้มีกำลังน้อย พึงมาด้วยหวังว่า เราจักว่ายตัดขวางกระแสน้ำ แห่งแม่น้ำ คงคานี้ ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดี ดังนี้ เขาไม่อาจจะว่ายตัดขวาง
กระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคา ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ ฉันใด ก็ฉันนั้น เมื่อธรรม อันบุคคลแสดงอยู่แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง เพื่อความดับสักกายะ แต่จิตของผู้นั้นไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป พึงเห็นบุคคลเหล่านั้น ว่าเป็นบุรุษผู้มี กำลังน้อยนั้น.

อานนท์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา น้ำเต็มเปี่ยม เสมอขอบฝั่ง กาก้มลงดื่มได้ ครั้งนั้น บุรุษมีกำลัง พึงมา ด้วยหวังว่า เราจักว่ายตัดขวางกระแสน้ำ แห่งแม่น้ำ คงคานี้ ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดี ดังนี้ เขาอาจจะว่ายตัดขวางกระแสน้ำ แห่งแม่น้ำ คงคา ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ ฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อธรรมอันบุคคลแสดงอยู่ แก่ผู้ใด ผู้หนึ่งเพื่อดับสักกายะ และจิตของผู้นั้นก็แล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป พึงเห็นบุคคลเหล่านั้น ว่าเป็นบุรุษมีกำลังนั้น.

อานนท์ มรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อการละ โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ เป็นอย่างไร

อานนท์ ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ เพราะละอกุศลธรรมทั้งหลาย ด้วยอุปธิวิเวก เพราะ
ระงับความเกียจคร้านทางกาย ได้โดยประการทั้งปวง จึงสงัด จากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน
อันมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจาก วิเวกอยู่

เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ อันมีอยู่ในธรรมนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง (อนิจฺจโต) เป็นทุกข์ (ทุกฺขโต) เป็นดังโรค (โรคโต) เป็นดังหัวฝี (คณฺฑโต) เป็นดังลูกศร (สลฺลโต) เป็นของทน ได้ยาก (อฆโต) เป็นของเบียดเบียน (อาพาธโต) เป็นของผู้อื่น (ปรโต) เป็นของ แตกสลาย (ปโลกโต) เป็นของว่างเปล่า (สุญฺญโต) เป็นอนัตตา (อนตฺตโต)

เธอดำรงจิตด้วยธรรมเหล่านั้น แล้วจึง น้อมจิตไป สู่อมตธาตุ (อมตาย ธาตุยา จิตฺตํ อุปสํหรต) ว่า นั่นสงบ นั่นประณีต นั่นคือ ความสงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง ความสลัดคืนซึ่ง อุปธิทั้งปวง ความสิ้นไป แห่งตัณหา ความจางคลาย ความดับ เป็นนิพพาน ดังนี้

เธอดำรงอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลาย ถ้าไม่ถึง ความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอำนาจแห่งธัมมราคะ ธัมมนันทิ และ เพราะโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ สิ้นไป ย่อมเป็นโอปปาติกะ ผู้ปรินิพพานในภพ นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา อานนท์ นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไป เพื่อการละ โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕.

อานนท์ อีกประการหนึ่งพราะสงบ วิตก วิจาร เสียได้ จึงบรรลุทุติยฌาน อันเป็น เครื่องผ่องใสแห่งจิตในภายใน สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มี วิตก วิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรม ทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ อันมีอยู่ ในธรรมนั้น โดยความเป็น ของไม่เที่ยง … อานนท์ นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อการละ โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕.

อานนท์ อีกประการหนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่ง ปีติ จึงอยู่อุเบกขา มีสติ สัมปชัญญะ และย่อมเสวยสุขด้วยกาย จึงบรรลุตติยฌาน เธอย่อมพิจารณา เห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณอันมีอยู่ใน ธรรมนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง … อานนท์ นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อการ ละ โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕.

อานนท์ อีกประการหนึ่ง เพราะ ละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไป แห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งหลาย ในกาลก่อน จึงบรรลุจตุตถฌาน เธอย่อม พิจารณา เห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ อันมี อยู่ในธรรม นั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เธอพิจารณาเห็นธรรม เหล่านั้น โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง … อานนท์ นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อการละ โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕.

อานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเพราะก้าวล่วง รูปสัญญาเสียได้โดยประการ ทั้งปวง เพราะความดับไปแห่ง ปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา บรรลุ อากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า อากาศไม่มีที่สิ้นสุด ดังนี้แล้ว แลอยู่

เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ1 เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ อันมีอยู่ในธรรมนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดัง หัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของผู้อื่น เป็นของแตก สลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา
1. ข้อสังเกต ในสมาธิระดับนี้เป็นต้นไป จะไม่มีรูป -คณะผู้รวบรวม

เธอดำรงจิตด้วยธรรมเหล่านั้น แล้วจึงน้อมจิต ไปสู่อมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่น ประณีต นั่นคือ ความสงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง ความสลัดคืน ซึ่งอุปธิทั้งปวง ความสิ้นไป แห่งตัณหา ความจางคลาย ความดับ เป็นนิพพาน ดังนี้

เธอดำรงอยู่ ในอากาสานัญจายตนะนั้น ย่อมถึงความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึง ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอำนาจแหง่ ธัมมราคะ ธัมมนันทิ และ เพราะโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ สิ้นไป ย่อมเป็นโอปปาติกะ ผู้ปรินิพพาน ในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้น เป็นธรรมดา อานนท์ นี้มรรค นี้ปฏิปทาเป็นไป เพื่อการละโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕.

อานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเพราะก้าวล่วง อากาสานัญจายตนะเสียได้ โดยประการทั้งปวง บรรลุ วิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า วิญญาณ ไม่มีที่สุด ดังนี้แล้วแลอยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ อันมีอยู่ ในธรรมนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง … อานนท์ นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อการละโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕.

อานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเพราะก้าวล่วง วิญญาณัญจายตนะ เสียได้ โดยประการทั้งปวง บรรลุ อากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่าไม่มีอะไร แล้วแลอยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ อันมีอยู่ ในธรรมนั้น โดยความเป็น ของไม่เที่ยง …
อานนท์ นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อ การละโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้ามรรคนี้ ปฏิปทานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อละ โอรัมภาคิย-สัญโญชน์ ๕ เมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร ภิกษุบางพวก ในธรรมวินัยนี้ จึงเป็นเจโตวิมุตติ บางพวกเป็นปัญญาวิมุตติเล่า.

อานนท์ ในเรื่องนี้ เรากล่าวความต่างกันแห่งอินทรีย์ ของภิกษุเหล่านั้น.


หน้า233

๘๔/ การน้อมใจเพื่อตัดโอรัมภาคิยสัญโญชน์
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๘/๑๐๘.

เมื่อภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้ว่า ถ้าเราไม่พึงมี ของเรา ก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่มี ของเราก็จักไม่มี ดังนี้ ภิกษุนั้น พึงตัดโอรัมภาคิยสัญโญชน์ได้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้ว่า ถ้าเราไม่พึงมี ของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่มี ของเราก็จักไม่มี ดังนี้ พึงตัดโอรัมภาคิยสัญโญชน์ได้อย่างไร พระเจ้าข้า.

(ยังไม่ได้สดับ)

ภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่ได้เห็น พระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรม ของพระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำ ในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของ สัปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ
ย่อมตามเห็นรูปเป็นตน ตามเห็นตนเป็นรูป
ตามเห็นรูปมีในตน ตามเห็นตนมีในรูป
ย่อมตามเห็นเวทนา เป็นตน …
ย่อมตามเห็นสัญญา เป็นตน …
ย่อมตามเห็นสังขาร เป็นตน …
ย่อมตามเห็นวิญญาณ เป็นตน
ตามเห็นตน เป็นวิญญาณ
ตามเห็นวิญญาณ มีในตน
ตามเห็นตน มีในวิญญาณ.

เธอย่อม
ไม่รู้ชัดซึ่งรูป อันไม่เที่ยง ตามความเป็นจริง ว่าไม่เที่ยง ย่อมไม่รู้ชัด ซึ่งเวทนา … ซึ่งสัญญา … ซึ่งสังขาร … ซึ่งวิญญาณ อันไม่เที่ยง ตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง

ไม่รู้ชัดซึ่งรูป อันเป็นทุกข์ ตามความเป็นจริง ว่า เป็นทุกข์ ไม่รู้ชัดซึ่งเวทนา … ซึ่งสัญญา … ซึ่งสังขาร … ซึ่งวิญญาณ อันเป็นทุกข์ ตามความเป็นจริงว่า เป็นทุกข์

ไม่รู้ชัดซึ่งรูป อันเป็นอนัตตา ตามความเป็นจริง
ว่า เป็นอนัตตา ไม่รู้ชัดซึ่ง เวทนา … ซึ่งสัญญา … ซึ่งสังขาร.. ซึ่งวิญญาณ อันเป็นอนัตตา ตามความ เป็นจริงว่า เป็น อนัตตา

ไม่รู้ชัดซึ่งรูป อันปัจจัยปรุงแต่ง ตามความเป็นจริง ว่า ปัจจัยปรุงแต่ง ไม่รู้ชัดซึ่ง เวทนา ... ซึ่งสัญญา ... ซึ่ง สังขาร ... ซึ่งวิญญาณ อันปัจจัยปรุงแต่ง ตามความ เป็นจริง ว่า ปัจจัยปรุงแต่ง

ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่าแม้รูป (รูปํปิ)1 จักเป็นไป (ภวิสฺสตีติ) 2 ไม่รู้ชัดตาม ความเป็นจริงว่าแม้เวทนา … แม้ สัญญา … แม้สังขารทั้งหลาย … แม้วิญญาณ จักเป็นไป3.

1. บาลีฉบับสยามรัฐ ใช้ รูปํปิ ส่วนบาลีฉบับมอญ และสมาคมบาลีปกรณ์ฯ ใช้ รูปํ
วิภวิสฺสตีติ -คณะผู้รวบรวม
2. บาลีฉบับสยามรัฐ ใช้ ภวิสฺสตีติ ส่วนบาลีฉบับมอญ และสมาคมบาลีปกรณ์ฯ ใช้รูปํ วิภวิสฺสตีติ ซึ่งภาษาอังกฤษแปลว่า Form will be exterminated หมายถึงรูปจะถูกทำ ลาย -คณะผู้รวบรวม
3. บาลี ภวิสฺสติ มีหลายสำ นวนแปล เช่น พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ และฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. ๒๕๔๙ เล่ม ๑๘ ข้อ ๑๐๑ -คณะผู้รวบรวม

(ได้สดับแล้ว)

ภิกษุ
ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของ พระอริยะ ได้รับการแนะนำดีในธรรมของ พระอริยะ ได้เห็นสัปบุรุษ ฉลาดในธรรมของ สัปบุรุษ ได้รับ การแนะนำดีในธรรมของสัปบุรุษ
ย่อมไม่ตามเห็นรูปเป็นตน
ไม่ตามเห็นตนเป็นรูป
ไม่ตามเห็นรูปมีในตน
ไม่ตามเห็นตนมีในรูป


ย่อมไม่ตามเห็นเวทนาเป็นตน …
ย่อมไม่ตามเห็นสัญญาเป็นตน …
ย่อมไม่ตามเห็นสังขารเป็นตน …

ย่อมไม่ตามเห็นวิญญาณเป็นตน
ไม่ตามเห็นตน เป็นวิญญาณ
ไม่ตามเห็นวิญญาณ มีในตน
ไม่ตามเห็นตน มีในวิญญาณ
1

1.การแปลมีหลายสำ นวน ในที่นี้เลือกใช้สำ นวนแปลที่เหมาะสมตามบาลี-คณะผู้รวบรวม

เธอย่อมรู้ชัดซึ่งรูป อันไม่เที่ยง ตามความเป็นจริง ว่าไม่เที่ยง ย่อมรู้ชัดซึ่งเวทนา … ซึ่งสัญญา … ซึ่งสังขาร … ซึ่งวิญญาณ อันไม่เที่ยง ตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง

ย่อมรู้ชัดซึ่งรูป อันเป็นทุกข์
ตามความเป็นจริงว่า เป็นทุกข์ ย่อมรู้ชัด ซึ่งเวทนา … ซึ่งสัญญา … ซึ่งสังขาร … ซึ่งวิญญาณ อันเป็นทุกข์ ตามความ เป็นจริง ว่า เป็นทุกข์

ย่อมรู้ชัดซึ่งรูป อันเป็นอนัตตา
ตามความเป็นจริง ว่า เป็นอนัตตา ย่อมรู้ชัดซึ่ง เวทนา … ซึ่งสัญญา … ซึ่ง สังขาร … ซึ่งวิญญาณ อันเป็นอนัตตา ตามความ เป็นจริง ว่า เป็นอนัตตา

ย่อมรู้ชัดซึ่งรูป อันปัจจัยปรุงแต่ง
ตามความเป็นจริง ว่า ปัจจัยปรุงแต่ง ย่อมรู้ชัด ซึ่งเวทนา … ซึ่งสัญญา … ซึ่งสังขาร … ซึ่งวิญญาณ อันปัจจัยปรุงแต่ง ตามความเป็นจริง ว่าปัจจัยปรุงแต่ง

ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่าแม้รูปจักเป็นไป ย่อม รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า แม้เวทนา … แม้สัญญา … แม้ สังขารทั้งหลาย … แม้วิญญาณ จักเป็นไป

ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงเช่นนั้น เพราะเห็นความเป็นต่าง ๆ ของรูป ของเวทนา ของสัญญา ของสังขาร ทั้งหลาย ของวิญญาณ.

ภิกษุ เมื่อภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้ว่า
ถ้าเราไม่พึงมี ของเราก็ไม่พึงมี
ถ้าเราจักไม่มี ของเราก็จักไม่มี ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงตัดโอรัมภาคิยสัญโญชน์ได้ ด้วยอาการอย่างนี้ แล.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุน้อมใจไปอยู่อย่างนี้ พึงตัดโอรัมภาคิยสัญโญชน์ เสียได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร อาสวะ ทั้งหลายจึงจะสิ้นไปในกาลเป็นลำดับ.

(ไม่สดับ ย่อมสะดุ้ง)

ภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่ได้เห็น พระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำ ในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาด ในธรรม ของสัปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมถึงความสะดุ้ง ในฐานะอันไม่ควรสะดุ้ง ภิกษุก็ปุถุชนผู้ไม่ได้ สดับแล้ว ย่อมมีความสะดุ้ง ดังนี้ว่า ถ้าเราไม่พึงมี ของเราก็ ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่มี ของเราก็จักไม่มี ดังนี้.

(สดับแล้ว ย่อมไม่สะดุ้ง)

ภิกษุ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรม ของพระอริยะ ได้รับการแนะนำดีในธรรม ของพระอริยะ ได้เห็นสัปบุรุษ ฉลาดในธรรมของ สัปบุรุษ ได้รับการแนะนำดีในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมไม่ถึงความสะดุ้งในฐานะ อันไม่ควรสะดุ้ง ภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ไม่มีความสะดุ้งดังนี้ว่า ถ้าเราไม่พึงมี ของเรา ก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่มี ของเราก็จักไม่มี ดังนี้.

(ที่ตั้งของวิญญาณ)

ภิกษุ วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอารูป ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็น อารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.

ภิกษุ วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาเวทนา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีเวทนา เป็นอารมณ์ มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.

ภิกษุ วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสัญญา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณ ที่มีสัญญา เป็นอารมณ์ มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.

ภิกษุ วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสังขาร ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณ ที่มีสังขาร เป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้.

(การบัญญัติวิญญาณ)

ภิกษุ ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติการมา การไป การจุติ การอุบัติ หรือความเจริญ ความงอกงาม ความไพบูลย์แห่งวิญญาณ โดยเว้นจาก รูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร ดังนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

ภิกษุ ถ้าราคะในรูปธาตุ เป็นอันภิกษุละได้แล้ว (ราโค ปหีโน) เพราะละราคะนั้น ได้ อารมณ์สำหรับวิญญาณย่อม ขาดลง ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี

ถ้าราคะในเวทนาธาตุ เป็นอันภิกษุละได้แล้ว เพราะละราคะนั้นได้ อารมณ์สำหรับวิญญาณ ย่อมขาดลง ที่ตั้ง แห่งวิญญาณย่อมไม่มี

ถ้าราคะในสัญญาธาตุ เป็นอันภิกษุละได้แล้ว เพราะ ละราคะนั้นได้ อารมณ์สำหรับวิญญาณ ย่อมขาดลง ที่ตั้ง แห่งวิญญาณย่อมไม่มี

ถ้าราคะในสังขารธาตุ เป็นอันภิกษุละได้แล้ว เพราะ ละราคะนั้นได้ อารมณ์สำหรับวิญญาณ ย่อมขาดลง ที่ตั้ง แห่งวิญญาณย่อมไม่มี

ถ้าราคะในวิญญาณธาตุ เป็นอันภิกษุละได้แล้ว เพราะละราคะนั้นได้
อารมณ์ สำหรับวิญญาณย่อมขาดลง ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี

(วิญญาณไม่มีที่ตั้งย่อมหลุดพ้น)

วิญญาณอันไม่มีที่ตั้ง นั้น ก็ไม่งอกงาม ไม่ถูกปรุงแต่ง ย่อมหลุดพ้นไป1 (ตทปฺปติฏฺฐิตํ วิญฺญาณํ อวิรูฬฺหํ อนภิสงฺขจฺจ วิมุตฺตํ)
เพราะหลุดพ้นแล้ว จึงดำรงอยู่ (วิมุตฺตตฺตา ฐิตํ)
เพราะดำรงอยู่แล้ว จึงยินดี (ฐิตตฺตา สนฺตุสิตํ)
เพราะยินดีแล้ว จึงไม่สะดุ้ง (สนฺตุสิตตฺตา น ปริตสฺสติ)
เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนนั่นเทียว (อปริตสฺสํ ปจฺจตฺตญฺเญว ปรินิพฺพายติ)

เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี.

ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล
อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไป ในกาลเป็นลำดับ.

1. ในสูตรอื่นตรัสว่า จิตย่อมจางคลายในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ย่อมหลุดพ้น จากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น -บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๗/๙๓. -คณะผู้รวบรวม



หน้า240
๘๕/สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา

-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑/๑.

ภิกษุทั้งหลาย ตาไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอ ทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม)
นั่นไม่ใช่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ)
นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา)

หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจ ไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอ ทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในตา ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในหู ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในจมูก ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในลิ้น ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในใจ

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด (นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ)
เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น (วิราคา วิมุจฺจติ)
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณ หยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่ จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี.
---------------------------------------------------------------------

ภิกษุทั้งหลาย ตาเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา 
นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา 

หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในตา ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในหู ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในจมูก ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในลิ้น ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในใจ

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย กำหนัด
เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ ว่าหลุดพ้นแล้ว
เธอย่อม รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

---------------------------------------------------------------------

ภิกษุทั้งหลาย ตาเป็นอนัตตา
สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลาย พึงเห็น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความ เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจเป็น อนัตตา
สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน ของเรา.

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในตา ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในหู ย่อม เบื่อหน่าย แม้ในจมูก ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในลิ้น ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในใจ

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณ หยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว
เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

(ในสูตรอื่น ทรงแสดงโดยอายตนะภายนอก ๖ -บาลี สฬา. สํ.๑๘/๓/๔).



หน้า243
๘๖/สิ่งใดเป็นอนัตตาสิ่งนั้นจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๒/๑๒๗.

ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ก็หากรูปนี้จักเป็น อัตตาแล้วไซร้ รูปก็คงไม่เป็น ไป เพื่ออาพาธ ทั้งสัตว์ย่อมจะได้ตามความปรารถนาในรูปว่า ขอรูปของเรา จงเป็น อย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย แต่เพราะรูปเป็น อนัตตา ดังนั้น รูปจึงเป็นไป เพื่ออาพาธ และสัตว์ย่อมไม่ได้ ตามความ ปรารถนาในรูปว่าขอรูป ของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้ เป็นอย่าง นั้นเลย.

ภิกษุทั้งหลาย เวทนาเป็นอนัตตา ก็หากเวทนานี้ จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ เวทนา ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งสัตว์ย่อมจะได้ตามความปรารถนาในเวทนาว่า ขอเวทนา ของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย แต่เพราะ เวทนาเป็นอนัตตา ดังนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และ สัตว์ย่อมไม่ได้ ตามความปรารถนาในเวทนาว่า ขอเวทนา ของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้ เป็นอย่างนั้นเลย.

ภิกษุทั้งหลาย สัญญาเป็นอนัตตา ก็หากสัญญานี้ จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ สัญญา ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งสัตว์ย่อมจะได้ตามความปรารถนา ในสัญญาว่า ขอสัญญา ของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย แต่เพราะ เหตุที่สัญญาเป็นอนัตตา ดังนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และสัตว์ ย่อมไม่ได้ ตามความปรารถนาในสัญญาว่า ขอสัญญา ของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็น อย่างนั้นเลย.

ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ก็หาก สังขารทั้งหลายนี้ จักเป็น อัตตา แล้วไซร้ สังขารทั้งหลายก็คงไม่ เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งสัตว์ย่อมจะได้ ตาม ความปรารถนาใน สังขารทั้งหลายว่า ขอสังขารทั้งหลายของเรา จงเป็น อย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย แต่เพราะเหตุที่สังขารทั้งหลายเป็น อนัตตา ดังนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และสัตว์ ย่อมไม่ได้ตาม ความปรารถนา ในสังขารทั้งหลายว่า ขอสังขาร ทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้ เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเป็นอนัตตา ก็หากวิญญาณนี้ จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ วิญญาณก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งสัตว์ ย่อมจะได้ตามความปรารถนา ในวิญญาณว่า ขอวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย แต่เพราะเหตุที่ วิญญาณเป็นอนัตตา ดังนั้น วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และ สัตว์ย่อมไม่ได้ตามความปรารถนาในวิญญาณว่า ขอวิญญาณ ของเรา จงเป็น อย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

(ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา..นั่นไม่ใช่ของเรา)

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ ว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็น ธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา.
ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ว่า อย่างไร เวทนา … สัญญา … สังขารทั้งหลาย … วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็น ธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา.
ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

(ขันธ์ ๕ อันเป็น อดีต อนาคต ปัจจุบัน ก็ไม่ใช่ของเรา)

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ รูปอย่างใด อย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียด ก็ตาม เลวหรือ ประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่าง นี้ว่า นั่น ไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

ภิกษุทั้งหลาย เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน ก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอก ก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีต ก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม เวทนาทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วย ปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

ภิกษุทั้งหลาย สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็น อดีต อนาคต หรือปัจจุบัน ก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอก ก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือ ประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม สัญญาทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือ ปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือ ภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือ ประณีต ก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม สังขารทั้งหลายทั้งหมดนั้น
เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน ของเรา
.

ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็น อดีต อนาคต หรือ ปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอก ก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือ ประณีต ก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม วิญญาณทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วย ปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน สังขารทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว
เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว
กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

--------------------------------------------------------------------------------------------------------
บทถัดไป บทที่ ๘๗ / ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา หน้า 251

  Top Next