หน้า146
๔๙/เจริญสัมมัปปธาน ๔ เพื่อละ อุทธัมภาคิยสัญโญชน์
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๒๒/๑๐๙๗.
ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการ
เหล่านี้ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ รูปราคะ อรูปราคะ
มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล
อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการ.
ภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ อันภิกษุพึงเจริญ
เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ
อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการเหล่านี้ ภิกษุทั้งหลาย
สัมมัปปธาน ๔ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
(1) ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม
ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อบาปอกุศล-
ธรรมที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น
(2) ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม
ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อบาปอกุศล-
ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ให้ละไป
(3) ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม
ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อกุศลธรรม
ที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น
(4) ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม
ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อกุศลธรรม
ที่เกิดขี้นแล้ว ให้ตั้งอยู่ ไม่เลือนหาย ให้มียิ่งๆ ขึ้นไป
ให้ไพบูลย์ ให้เจริญ ให้บริบูรณ์.
ภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้ อันภิกษุ
พึงเจริญ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป
เพื่อละ อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการแล.
หน้า148
๕๐/ เจริญอิทธิบาท ๔ เพื่อละ โอรัมภาคิยสัญโญชน์
-บาลี มหาวาร. ส.ํ ๑๙/๓๗๔/๑๒๔๙ .1
ภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการ
เหล่านี้ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท ภิกษุทั้งหลาย
เหล่านี้แล โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการ.
ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ อันภิกษุพึงเจริญ
เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ
โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการเหล่านี้ ภิกษุทั้งหลาย
อิทธิบาท ๔ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
(1) ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิ2
และปธานสังขาร (ฉนฺทสมาธิปธานสงฺขารสมนฺนาคตํ)
1. ที่มาพระสูตรบาลีได้มีการย่อไว้โดยแสดงที่ -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๗๔/๑๒๔๙-๑๒๕๒.ซึ่งจะต้องเทียบเคียงจาก -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๙๐/349 -๓๕๔.
2. อาศัยฉันทะแล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า ฉันทสมาธิ (-บาลี มหาวาร. สํ.๑๙/๓๔๔/๑๑ ๕๐.) -คณะผู้รวบรวม
(2) ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิ1 และปธานสังขาร
(3) ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิ2 และ ปธานสังขาร
(4) ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิ 3 และ ปธานสังขาร4
ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันภิกษุ
พึงเจริญ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป
เพื่อละ โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการแล.
1. อาศัยวิริยะแล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า วิริยสมาธิ (-บาลี มหาวาร. สํ.๑๙/๓๔๕/๑๑ ๕๑.) -คณะผู้รวบรวม
2. อาศัยจิตแล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า จิตตสมาธิ (-บาลี มหาวาร. สํ.๑๙/๓๔๕/๑๑ ๕๒.) -คณะผู้รวบรวม
3. อาศัยวิมังสาแล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า วิมังสาสมาธิ (-บาลี มหาวาร. สํ.๑๙/๓๔๖/๑๑ ๕๓.) -คณะผู้รวบรวม
4. ปธานสังขาร หมายถึงการยังความพอใจให้เกิดขึ้น พยายามปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น, เพื่อบาปอกุศล-ธรรมที่เกิดขึ้น แล้ว ให้ละไป, เพื่อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิด ขึ้น , เพื่อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ให้ตั้งอยู่ ไม่เลือน หาย ให้มียิ่งๆ ขึ้นไป ให้ไพบูลย์ ให้เจริญ ให้บริบูรณ์(-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๔๖/๑๑ ๕๓.) -คณะผู้รวบรวม
หน้า150
๕๑/ เจริญอิทธิบาท ๔ เพื่อละ อุทธัมภาคิยสัญโญชน์
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๗๔/๑๒๕๑.
ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการ
เหล่านี้ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ รูปราคะ อรูปราคะ
มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล
อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการ.
ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ อันภิกษุพึงเจริญ
เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ
อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการเหล่านี้ ภิกษุทั้งหลาย
อิทธิบาท ๔ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
(1) ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิ
และปธานสังขาร
(2) ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิ
และ ปธานสังขาร
(3) ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิ
และ ปธานสังขาร
(4) ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิ
และ ปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันภิกษุ
พึงเจริญ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป
เพื่อละ อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการแล.
หน้า152
๕๒/ผลของการเจริญอิทธิบาท ๔
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๖๕/๑๒๑๗.
ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อิทธิบาท ๔
เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
(1) ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย ฉันทสมาธิ
และ ปธานสังขาร
(2) ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย วิริยสมาธิ
และ ปธานสังขาร
(3) ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย จิตตสมาธิ
และ ปธานสังขาร
(4) ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย วิมังสาสมาธิ
และ ปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล อิทธิบาท ๔.
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออิทธิบาท ๔ 1 เหล่านี้ อันเจรืญ
กระทำให้มากแล้ว พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง
คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน (ทิฏฺเฐวธมฺเม อญฺญา สติ) หรือ เมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี (อุปาทิเสเส อนาคามิตาติ).
1. ผลของการเจริญอิทธิบาท ๔ ยังได้ตรัสไว้อีกหลายนัย เช่น ได้ผล ๗ อานิสงส์ ๗(สตฺต ผลา สตฺตานิสํสา) -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๖๖/๑๒๑๙. -คณะผู้รวบรวม
หน้า153
๕๓/เจริญอินทรีย์ ๕เพื่อละ โอรัมภาคิยสัญโญชน์
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๑๖/๑๐๘๔.1
ภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการ
เหล่านี้ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท ภิกษุทั้งหลาย
เหล่านี้แล โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการ.
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ อันภิกษุพึงเจริญ
เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการเหล่านี้ ภิกษุทั้งหลาย
อินทรีย์ ๕ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
(1) ย่อมเจริญ สัทธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ (ความสละลง)
(2) ย่อมเจริญ วิริยินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ (โวสฺสคฺคปริณามึ)
(3) ย่อมเจริญ สตินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ
(4) ย่อมเจริญ สมาธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ
(5) ย่อมเจริญ ปัญญินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปเพื่อละ โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการแล.
1. ที่มาพระสูตรบาลีได้มีการย่อไว้โดยแสดงที่ -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๑๖/๑๐๘๒-๑๐๘๙.ซึ่งจะต้องเทียบเคียงจาก -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๙๐/349 -๓๕๔.
หน้า155
๕๔/ เจริญอินทรีย์ ๕เพื่อละ อุทธัมภาคิยสัญโญชน์
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๑๖/๑๐๘๔.
ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการ
เหล่านี้ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ รูปราคะ อรูปราคะ
มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล
อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการ.
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ อันภิกษุพึงเจริญ
เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการเหล่านี้ ภิกษุทั้งหลาย
อินทรีย์ ๕ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
(1) ย่อมเจริญ สัทธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ
(2) ย่อมเจริญ วิริยินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ
(3) ย่อมเจริญ สตินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ
(4) ย่อมเจริญ สมาธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ
(5) ย่อมเจริญ ปัญญินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันภิกษุ
พึงเจริญ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป
เพื่อละ อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการแล.
[ในสูตรอื่นตรัสว่า ให้เจริญอินทรีย์ ๕ มีอันกำ จัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำ จัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำ จัดโมหะเป็นที่สุดเพื่อละอุทธัมภาคิยสัญโญชน์ -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๑๗/๑๐๘๘.
ตรัสว่า เจริญอินทรีย์ ๕ เป็นไปเพื่อละสัญโญชน์ เพื่อถอนอนุสัยเพื่อกำหนดรู้อัทธานะ (ทางไกล หรือ อวิชชา) เพื่อความสิ้นอาสวะ-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๑๑/๑๐๖๗. -คณะผู้รวบรวม]
หน้า 157
๕๕/ผลของการเจริญอินทรีย์ ๕
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๑๒/๑๐๖๘.
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อินทรีย์ ๕ เป็น
อย่างไร คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล อินทรีย์ ๕.
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออินทรีย์ ๕ 1 เหล่านี้ อันเจริญ
กระทำให้มากแล้ว พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง
คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน (ทิฏฺเฐวธมฺเม อญฺญา สติ) หรือเมื่อ
ยังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี (อุปาทิเสเส อนาคามิตาติ).
1. ผลของการเจริญอินทรีย์ ๕ ยังได้ตรัสไว้อีกหลายนัย เช่น ได้ผล ๗ อานิสงส์ ๗(สตฺต ผลา สตฺตานิสํสา) -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๑๒/๑๐๖๙. -คณะผู้รวบรวม
หน้า 158
๕๖ เจริญพละ ๕ เพื่อละ โอรัมภาคิยสัญโญชน์
-บาลี มหาวาร. ส. ๑๙/๓๒๓/๑๑๐๑.1
ภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการ
เหล่านี้ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท ภิกษุทั้งหลาย
เหล่านี้แล โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการ.
ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อ
ความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ
โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการเหล่านี้ ภิกษุทั้งหลาย
พละ ๕ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
(1) ย่อมเจริญสัทธาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ (ความสละลง)
(2) ย่อมเจริญวิริยพละ อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ (โวสฺสคฺคปริณามึ)
(3) ย่อมเจริญสติพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ
(4) ย่อมเจริญสมาธิพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ
(5) ย่อมเจริญปัญญาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อ โวสสัคคะภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการแล.
1. ที่มาพระสูตรบาลีได้มีการย่อไว้โดยแสดงที่ -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๑๖/๑๐๘๒-๑๐๘๙.ซึ่งจะต้องเทียบเคียงจาก -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๙๐/349 -๓๕๔.
หน้า 160
๕๗/ เจริญพละ ๕ เพื่อละ อุทธัมภาคิยสัญโญชน์
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๒๓/๑๑๐๒.
ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการ
เหล่านี้ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ รูปราคะ อรูปราคะ
มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล
อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการ.
ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อ
ความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ
อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการเหล่านี้ ภิกษุทั้งหลาย
พละ ๕ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
(1) ย่อมเจริญ สัทธาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ
(2) ย่อมเจริญ วิริยพละ อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ
(3) ย่อมเจริญ สติพละ อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ
(4) ย่อมเจริญ สมาธิพละ อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ
(5) ย่อมเจริญ ปัญญาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป เพื่อโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ
เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ
อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการแล.
(ในสูตรอื่นตรัสว่า ให้เจริญพละ ๕ มีอันกำ จัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำ จัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำ จัดโมหะเป็นที่สุดเพื่อละอุทธัมภาคิยสัญโญชน์ -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๒๕/๑๑๐๖.
-คณะผู้รวบรวม)
หน้า 162
๕๘/อินทรีย์ ๕ กับ พละ ๕
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๙๐/๙๗๖.
ภิกษุทั้งหลาย
ปริยายที่อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้ว เป็นพละ ๕
ที่พละ ๕ อาศัยแล้ว เป็นอินทรีย์ ๕ มีอยู่
ปริยายที่อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้ว เป็นพละ ๕
ที่พละ ๕ อาศัยแล้ว เป็นอินทรีย์ ๕ เป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย
สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็น
สัทธาพละ
สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็น สัทธินทรีย์
สิ่งใด
เป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็น วิริยพละ
สิ่งใดเป็นวิริยพละ สิ่งนั้น
เป็น วิริยินทรีย์
สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็น สติพละ
สิ่งใด
เป็นสติพละ สิ่งนั้นเป็น สตินทรีย์
สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็น สมาธิพละ
สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็น สมาธินทรีย์
สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็น ปัญญาพละ
สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็น ปัญญินทรีย์.
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำ ซึ่งไหลไปทางทิศตะวันออก หลั่งไปทาง ทิศตะวันออก บ่าไปทางทิศตะวันออก
ที่ตรงกลางแม่น้ำนั้น มีเกาะ ปริยายที่กระแส แห่งแม่น้ำนั้น
อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่า กระแสเดียว มีอยู่ อนึ่ง ปริยาย
ที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่า สองกระแส มีอยู่.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น
อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่า กระแสเดียว เป็นอย่างไร
คือ น้ำในที่สุดด้านตะวันออก และในที่สุดด้านตะวันตก
แห่งเกาะนั้น ปริยายนี้แล ที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว
ย่อมถึงซึ่ง ความนับว่า กระแสเดียว.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น
อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่า สองกระแส เป็นอย่างไร
คือ น้ำในที่สุดด้านเหนือ และในที่สุดด้านใต้แห่งเกาะ นั้น
ปริยายนี้แล ที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่ง
ความนับว่า สองกระแส ฉันใด. ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นก็เหมือนกัน
สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์
สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ
สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์
สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ
สิ่งใดเป็นวิริยพละ สิ่งนั้นเป็นวิริยินทรีย์
สิ่งใดเป็นสตินทรีย์
สิ่งนั้นเป็นสติพละ
สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์
สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ
สิ่งใดเป็นสมาธิพละ
สิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์
สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็น
ปัญญาพละ
สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕ อันเจริญ
กระทำให้มากแล้ว ภิกษุจึงกระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
หน้า 164
๕๙/เจริญโพชฌงค์ ๗
เพื่อละ โอรัมภาคิยสัญโญชน์
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๘๔/๖๖๘.1
ภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการ
เหล่านี้ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท ภิกษุทั้งหลาย
เหล่านี้แล โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการ.
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุพึงเจริญ
เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ
โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการเหล่านี้ ภิกษุทั้งหลาย
โพชฌงค์ ๗ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
(1) ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ (ความสละลง)
(2) ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ(โวสฺสคฺคปริณามึ)
1. ที่มาพระสูตรบาลีได้มีการย่อไว้โดยแสดงที่ -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๘๔/๖๖๘-๖๗๑.ซึ่งจะต้องเทียบเคียงจาก -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๙๐/349 -๓๕๔.
(3) ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ
(4) ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ
(5) ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ
(6) ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ
(7) ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ อันภิกษุ
พึงเจริญ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป
เพื่อละ โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการแล.
หน้า 166
๖๐/เจริญโพชฌงค์ ๗ เพื่อละ อุทธัมภาคิยสัญโญชน์
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๘๔/๖๖๙.
ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการ
เหล่านี้ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ รูปราคะ อรูปราคะ
มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล
อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการ.
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุพึงเจริญ
เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ
อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการเหล่านี้ ภิกษุทั้งหลาย
โพชฌงค์ ๗ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
(1) ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ
(2) ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ
(3) ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ
(4) ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ
(5) ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ
(6) ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ
(7) ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ อันภิกษุ พึงเจริญ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป
เพื่อละ อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการแล.
(ในสูตรอื่นตรัสว่า ให้เจริญโพชฌงค์ ๗ มีอันกำ จัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำ จัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำ จัดโมหะเป็นที่สุด หรือเจริญโพชฌงค์ ๗ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด หรือเจริญโพชฌงค์ ๗ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพานโอนไปสู่นิพพาน -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๘๗/๖๗๗. -คณะผู้รวบรวม)
หน้า 168
๖๑/ เจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมเป็นไปเพื่อละ
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๒๕/๔๕๕.
ภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่มองเห็นธรรมอื่น แม้อย่างหนึ่ง
อันเจริญ กระทำ ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละธรรมเป็น
ที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ เหมือนโพชฌงค์ ๗ นี้เลย
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เป็นอย่างไร คือ
สติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์.
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ อันเจริญ กระทำ
ให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไป เพื่อ ละธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง
สัญโญชน์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
(1) ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป เพื่อโวสสัคคะ
(2) ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ …
(3) ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ …
(4) ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ …
(5) ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ …
(6) ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ …
(7) ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ อันเจริญ กระทำให้มาก
แล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ ละธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์.
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ตั้ง แห่งสัญโญชน์ เป็นอย่างไร.
ตา เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ เครื่องผูก
เครื่องจองจำ คือ สัญโญชน์ เหล่านั้น ย่อมเกิดที่ตานี้
หู เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ...
จมูก เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ...
ลิ้น เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ...
กาย1 เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ...
ใจ เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ เครื่องผูก
เครื่องจองจำ คือ สัญโญชน์ เหล่านั้น ย่อมเกิดที่ใจนี้
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง
สัญโญชน์.
1. บาลีสยามรัฐ พ.ศ. ๒๔๗๐ ไม่มีตัวย่อให้ทราบเหมือนบาลีสยามรัฐ พ.ศ. ๒๕๓๘-คณะผู้รวบรวม
--------------------------------------------------------------------------------------------------------
บทถัดไป บ ๖๒ ผลของการเจริญโพชฌงค์ ๗ (นัยที่ ๑) หน้า 170
|
|
Top |
|
Next |
|