หน้า266
๙๔ อานิสงส์ ของการเจริญสัญญาแบบต่างๆ
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๗๙/๖๔๑.
ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา (สัญญาในกระดูก) อันเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วย อัฏฐิกสัญญา อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ
ย่อมเจริญ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ … ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ … ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ … ย่อมเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ … ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ … ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วย อัฏฐิกสัญญา อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ.
ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันเจริญแล้วอย่างนี้
กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
----------------------------------------------------
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออัฏฐิกสัญญา อันเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วพึงหวังผล ได้ ๒ อย่าง
อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมี อุปาทื เหลืออยู่ ก็จะเป็น
อนาคามี
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออัฏฐิกสัญญา อันเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้ว อย่างไร พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง
อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมี
อุปาทิเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วย อัฏฐิกสัญญา อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ …
ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วย อัฏฐิกสัญญา อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ.
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออัฏฐิกสัญญา อันเจริญแล้วอย่างนี้
กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใด
อย่างหนึ่ง คืออรหัตตผลในปัจจุบันหรือเมื่อยังมี อุปาทิ
เหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี.
----------------------------------------------------
ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาอันเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ประโยชน์มาก ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มาก แล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเจริญ
สติสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วย อัฏฐิกสัญญา อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ …
ย่อมเจริญ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ.
ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันเจริญแล้วอย่างนี้
กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก.
----------------------------------------------------
ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันเจริญแล้ว กระทำ
ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเกษมจากโยคะใหญ่
ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้
มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะใหญ่.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ
สติสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วย อัฏฐิกสัญญา อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ … ย่อมเจริญ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ.
ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันเจริญแล้วอย่างนี้
กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจาก โยคะใหญ่.
----------------------------------------------------
ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความสังเวชมาก
ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร
ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวชมาก.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ
สติสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วย อัฏฐิกสัญญา อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ … ย่อมเจริญ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ.
ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันเจริญแล้วอย่างนี้
กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวชมาก.
----------------------------------------------------
ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันเจริญแล้ว กระทำให้
มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ อยู่เป็นผาสุกมาก ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันเจริญแล้วอย่างไร กระทำ ให้มากแล้วอย่างไร
ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นผาสุกมาก.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ
สติสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วย อัฏฐิกสัญญา อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ … ย่อมเจริญ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ.
ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นผาสุกมาก.
----------------------------------------------------
ภิกษุทั้งหลาย ปุฬวกสัญญา (ซากศพมีหนอน) …1
ภิกษุทั้งหลาย วินีลกสัญญา (ซากศพมีสีเขียวคล้ำ) …
ภิกษุทั้งหลาย วิจฉิททกสัญญา (ซากศพที่ขาดจากกัน) …
ภิกษุทั้งหลาย อุทธุมาตกสัญญา (ซากศพที่เน่าพอง) …
ภิกษุทั้งหลาย เมตตา อันเจริญแล้ว …
ภิกษุทั้งหลาย กรุณา อันเจริญแล้ว …
ภิกษุทั้งหลาย มุทิตา อันเจริญแล้ว …
ภิกษุทั้งหลาย อุเบกขา อันเจริญแล้ว …
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันเจริญแล้ว …
ภิกษุทั้งหลาย อสุภสัญญา อันเจริญแล้ว …
ภิกษุทั้งหลาย มรณสัญญา อันเจริญแล้ว …
ภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญา …
ภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเก อนภิรตสัญญา …
ภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา …
ภิกษุทั้งหลาย อนิจเจทุกขสัญญา …
1. พึงขยายข้อความท้าย … โดยเทียบเคียงเนื้อความที่ปรากฏในอัฏฐิกสัญญา.-คณะผู้รวบรวม
ภิกษุทั้งหลาย ทุกเขอนัตตสัญญา …
ภิกษุทั้งหลาย ปหานสัญญา …
ภิกษุทั้งหลาย วิราคสัญญา …
ภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา อันเจริญแล้ว กระทำให้
มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก …
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อนิโรธสัญญา อันเจริญแล้ว กระทำ
ให้มากแล้วพึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จะเป็น
อนาคามี …
ภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญาอันเจริญแล้ว กระทำให้
มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก …
ภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา อันเจริญแล้ว กระทำ
ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะใหญ่ …
ภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา อันเจริญแล้ว กระทำให้
มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวชมาก …
ภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา อันเจริญแล้ว กระทำให้
มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นผาสุกมาก
ภิกษุทั้งหลาย
นิโรธสัญญา อันเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร
ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นผาสุกมาก.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ
สติสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วย นิโรธสัญญา อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ ย่อมเจริญ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ … ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ … ย่อมเจริญปีติ สัมโพชฌงค์ … ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ …
ย่อมเจริญสมาธิ สัมโพชฌงค์ … ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อันประกอบด้วยนิโรธสัญญา อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ.
ภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา อันเจริญแล้วอย่างนี้
กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นผาสุกมาก.
หน้า276
๙๕/ความพรากจากโยคะ ๔
-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๔/๑๐.
ภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากโยคะ ๔ ประการนี้
๔ ประการเป็นอย่างไร คือ
(1) ความพรากจากกามโยคะ (กามโยควิสํโยโค) 1
(2) ความพรากจากภวโยคะ (ภวโยควิสํโยโค)
(3) ความพรากจากทิฏฐิโยคะ (ทิฏฺฐิโยควิสํโยโค)
(4) ความพรากจากอวิชชาโยคะ (อวิชฺชาโยควิสํโยโค)
ภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากกามโยคะเป็นอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อ มรู้ชัดซึ่งเหตุเกิด(สมทุ ย) ความต้ังอยู่ไม่ได้ (อตฺถงฺคม) รสอร่อย (อสฺสาท) โทษ (อาทีนว) และอุบายเครื่องออกไปพ้น (นิสฺสรณ) แห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อเขารู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความตั้งอยู่ไม่ได้ รสอร่อย โทษและอุบายเครื่องออกไป พ้น แห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
กามทั้งหลาย ความกำหนัดในกาม (กามราโค) ความ
เพลิดเพลินในกาม (กามนนฺทิ) ความเยื่อใยในกาม (กามสิเนโห) ความหมกมุ่นในกาม (กามมุจฺฉา) ความกระหายในกาม
(กามปิปาสา) ความเร่าร้อนในกาม (กามปริฬาโห) ความหยั่งลง
ในกาม (กามชฺโฌสานํ) และความอยากในกาม (กามตณฺหา)
1. มีคำ ที่มีความหมายใกล้เคียงกัน สามารถใช้แทนกันได้ เช่น กามโยควิสํยุตฺโต,กาเมสุ กามฉนฺทํ วิราเชตฺวา -คณะผู้รวบรวม
ย่อมไม่เกิดขึ้น ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าความพราก
จากกามโยคะ ความพราก จากกามโยคะเป็นดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากภวโยคะเป็นอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความตั้งอยู่ไม่ได้
รสอร่อย โทษ และอุบายเครื่องออกไปพ้น แห่งภพทั้งหลาย
ตามความเป็นจริง
เมื่อเขารู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความตั้งอยู่ไม่ได้
รสอร่อย โทษ และอุบายเครื่องออก ไปพ้น แห่งภพทั้งหลาย
ตามความเป็นจริง ภพทั้งหลาย ความกำหนัดในภพ ความเพลิดเพลินในภพ ความเยื่อใยในภพ ความหมกมุ่นในภพ
ความกระหาย ในภพ ความเร่าร้อนในภพ ความหยั่งลงในภพ
และความอยากในภพ ย่อมไม่เกิดขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย
นี้เราเรียกว่า ความพรากจากภวโยคะ ความพรากจาก
กามโยคะ ความพรากจากภวโยคะเป็นดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากทิฏฐิโยคะเป็นอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความตั้งอยู่
ไม่ได้ รสอร่อย โทษ และอุบายเครื่องออก ไปพ้นแห่ง
ทิฏฐิทั้งหลายตามความเป็นจริง เมื่อเขารู้ชัดซึ่งเหตุเกิด
ความตั้งอยู่ ไม่ได้ รสอร่อย โทษ และอุบายเครื่องออกไปพ้น แห่งทิฏฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
ทิฏฐิทั้งหลาย
ความกำหนัดในทิฏฐิ ความเพลิดเพลินในทิฏฐิ ความเยื่อใย
ในทิฏฐิ ความหมกมุ่นในทิฏฐิ ความกระหายในทิฏฐิ
ความเร่าร้อนในทิฏฐิ ความหยั่งลงในทิฏฐิ และความอยากในทิฏฐิ ย่อมไม่เกิดขึ้น ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า
ความพรากจากทิฏฐิโยคะ ความพรากจากกามโยคะ ความ
พรากจากภวโยคะ ความพรากจากทิฏฐิโยคะ เป็นดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากอวิชชาโยคะเป็นอย่างไร บุคคลบางคน ในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความตั้งอยู่ไม่ได้ รสอร่อย โทษ และอุบายเครื่อง ออกไปพ้น
แห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง เมื่อเขารู้ชัดซึ่งเหตุเกิด
ความตั้งอยู่ไม่ได้ รสอร่อย โทษ และอุบายเครื่องออกไป
พ้นแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง
ความไม่รู้ ความไม่หยั่งรู้ในผัสสายตนะ ๖ ย่อมไม่เกิดข้นึ (ฉสุ ผสสฺ ายตเนสุ
อวิชฺชา อญฺญาณํ สา นานุเสติ) ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า
ความพรากจาก อวิชชาโยคะ ความพรากจากกามโยคะ
ความพรากจากภวโยคะ ความพรากจาก ทิฏฐิโยคะ ความพราก
จากอวิชชาโยคะ เป็นดังนี้.
บุคคลผู้พรากจากอกุศลธรรมอันเป็นบาป อันเป็น
เครื่องเศร้าหมอง เป็นเหตุให้ เกิดในภพใหม่ มีความ
กระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก มีชาติ ชรา และมรณะ
ต่อไปอีก ฉะนั้น เราจึงเรียกว่า ผู้เกษมจากโยคะ.
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล ความพรากจากโยคะ
๔ ประการ.
หน้า276
๙๖/อานิสงส์การฟังธรรม และการใคร่ครวญ
เนื้อความแห่งธรรม โดยกาลอันควร
-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๒๔/๓๒๗.
ก็สมัยนั้น ท่านพระผัคคุณะอาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก พระผู้มีพระภาคได้เสด็จ เข้าไปเยี่ยมท่านพระผัคคุณะ ถึงที่อยู่ แล้วได้ทรงชี้แจง
ด้วยธรรมีกถา ให้ท่าน พระผัคคุณะเห็นแจ้ง ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง
แล้วเสด็จลุกจากอาสนะ หลีกไป ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จไปแล้ว
ไม่นาน ท่านพระผัคคุณะได้กระทำ กาละ และในเวลาตายอินทรีย์ของท่าน
พระผัคคุณะนั้น ผ่องใสยิ่งนัก.
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากมาไม่นาน ท่านพระผัคคุณะ
ก็กระทำ กาละ และ ในเวลาตายอินทรีย์ของท่านพระผัคคุณะผ่องใสยิ่งนัก
(อินฺทฺริยานิ วิปฺปสีทึสูติ 1).
อานนท์ ก็อินทรีย์ของผัคคุณภิกษุจักไม่ผ่องใส
ได้อย่างไร (อินฺทฺริยานิ น วิปฺปสีทิสฺสนฺติ) จิตของผัคคุณภิกษุ
ยังไม่หลุดพ้นจากสัญโญชน์ อันเป็นไปใน ส่วนเบื้องต่ำ ๕
เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น จิตของผัคคุณภิกษุนั้น
ก็หลุดพ้นแล้วจากสัญโญชน์ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕2 (ตสฺส ตํ ธมฺมเทสนํ สุตฺวา ปญฺจหิ โอรมฺภาคิเยหิ สญฺโญชเนหิ จิตฺตํ วิมุตฺตํ).
1. วิปฺปสีทึสุ หมายถึง ผ่องใส, เลื่อมใส -คณะผู้รวบรวม
2. ปญฺจหิ โอรมฺภาคิเยหิ สญฺโญชเนหิ บาลีนี้ มีหลายสำ นวนแปล -คณะผู้รวบรวม
อานนท์ อานิสงส์ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ใน
การใคร่ครวญเนื้อความ แห่งธรรมโดยกาลอนั ควร ๖ ประการนี้
๖ ประการเป็นอย่างไร คือ
(1) อานนท์ จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังไม่
หลุดพ้นจากสัญโญชน์อันเป็นไป ในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ในเวลา
ใกล้ตาย (มรณกาเล) เธอได้เห็นตถาคต ตถาคต ย่อมแสดง
ธรรมอันงามในเบื้องต้น อันงามในท่ามกลาง อันงาม
ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้ง
พยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง1 แก่เธอ เพราะได้ฟัง
ธรรมเทศนานั้น จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสัญโญชน์
อันเป็นไปในส่วนเบื้อง่ตำ ๕ (ตสฺส ตํ ธมฺมเทสนํ สุตฺวา ปญฺจหิ
โอรมภฺ าคเิ ยหิ สญโฺ ญชเนหิ จติ ตฺ ํ วมิ จุ จฺ ติ) อานนท์ นี้เป็นอานิสงส์
ข้อที่ ๑ ในการฟังธรรม โดยกาลอันควร.
(2) อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้น
จากสัญโญชน์อันเป็นไปในส่วน เบื้องต่ำ ๕ ในเวลาใกล้
ตาย เธอไม่ได้เห็นตถาคตเลย แต่ได้เห็นสาวกของ ตถาคต
สาวกของตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น อันงาม
ในท่ามกลาง อันงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้ง พยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ
1. เป็นความหมายของสุคตวินโย -บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๔๔/๑๖๐. -คณะผู้รวบรวม
เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจาก
สัญโญชน์อันเป็นไปใน ส่วนเบื้องต่ำ ๕ อานนท์ นี้เป็น
อานิสงส์ข้อที่ ๒ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร.
(3) อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้น
จากสัญโญชน์ อันเป็นไปใน ส่วนเบื้องต่ำ ๕ ในเวลาใกล้ตาย
เธอไม่ได้เห็นตถาคต และไม่ได้เห็นสาวกของ ตถาคตเลย
แต่เธอย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา
ได้เรียนมา เมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา
ได้เรียนมาอยู่ จิตของเธอ ย่อมหลุดพ้นจากสัญโญชน์
อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ อานนท์ นี้เป็นอานิสงส์
ข้อที่ ๓ ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร.
(4) อานนท์ จติ ของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้หลุดพ้น
จากสัญโญชน์อันเป็นไปใน ส่วนเบื้องต่ำ ๕ แต่จิตของเธอยัง
ไม่หลุดพ้นไปในธรรม อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ อันหาธรรมอื่น
ยิ่งกว่ามิได้ ในเวลาใกล้ตาย เธอได้เห็นตถาคต ตถาคต
ย่อมแสดง ธรรมอันงามในเบื้องต้นอันงามในท่ามกลาง อันงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่เธอ เพราะได้ฟังธรรม
เทศนานั้น จิตของเธอย่อมหลุดพ้นไปในธรรม อันเป็นที่
สิ้นไปแหง่ อุปธิ อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ อานนท์ นี้เป็น
อานิสงส์ข้อที่ ๔ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร.
(5) อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุหลุดพ้นแล้วจาก
สัญโญชน์ อันเป็นไปในส่วน เบื้องต่ำ ๕ แต่จิตของเธอยังไม่
หลุดพ้นไปในธรรม อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ อันหาธรรมอื่น
ยิ่งกว่ามิได้ ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นตถาคตเลย แต่ได้
เห็นสาวกของตถาคต สาวกของตถาคตย่อมแสดงธรรมอัน
งามในเบื้องต้น อันงามในท่ามกลาง อันงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้ง พยัญชนะ บริสุทธิ์
บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น จิต
ของเธอ ย่อมหลุดพ้นไปในธรรม อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ
อันหาธรรมอื่น ยิ่งกว่ามิได้ อานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕
ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร.
(6) อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุหลุดพ้นแล้วจาก
สัญโญชน์อันเป็นไปในส่วน เบื้องต่ำ ๕ แต่จิตของเธอยังไม่
หลุดพ้นไปในธรรม อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ อันหาธรรมอื่น
ยิ่งกว่ามิได้ ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นตถาคต และไม่ได้
เห็นสาวกของตถาคตเลย แต่เธอย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจ
ซึ่งธรรมตามที่ ได้ฟังมา ได้เรียนมา เมื่อเธอตรึกตรองเพ่ง
ด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา ได้เรียนมาอยู่ จิตของเธอย่อมหลุดพ้นไปในธรรม อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ อันหา
ธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ อานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๖ ใน
การใคร่ครวญเนื้อความ แห่งธรรมโดยกาลอันควร.
อานนท์ เหล่านี้แล อานิสงส์ในการฟังธรรมโดยกาล
อันควร ในการใคร่ครวญ เนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร ๖ ประการ.
หน้า281
๙๗/ประโยชน์ของการฟังกุศลธรรม
-บาลี สุตฺต. ขุ. ๒๕/๔๗๓/๓๙๐.
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าจะพึงมีผู้ถามเธอทั้งหลายอย่างนี้
ว่า จะมีประโยชน์อะไร เพื่อการฟังกุศลธรรมอันเป็น
อริยะ เป็นเครื่องนำออก อันให้ถึงปัญญาเป็นเครื่อง ตรัสรู้
เธอทั้งหลายพึงตอบเขาอย่างนี้ว่า มีประโยชน์เพื่อรู้ธรรมอัน
เป็นธรรม ๒ อย่างตามความเป็นจริง ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า
ท่านทั้งหลายกล่าวอะไรว่า เป็นธรรม ๒ อย่าง
เธอทั้งหลาย
พึงตอบเขาอย่างนี้ว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ (อนุปสฺสนา) ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้เป็นอย่างที่ ๑
การพิจารณา
เห็นเนืองๆ (อนุปสฺสนา) ว่า นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี
ปฏิปทา นี้เป็นอย่างที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณา
เห็นธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบเนือง ๆ อย่างนี้
เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ พึงหวังผล
ได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน
หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี.
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า การพิจารณา
เห็นธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบเนือง ๆ จะพึงมีโดย
ปริยายอย่างอื่นอีกบ้างไหม ให้ตอบเขาว่า พึงมี ถ้าเขาถาม
ต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่า ให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็น
เนือง ๆ ว่า ทุกข์ใด ๆ ที่เกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้น
เพราะอุปธิเป็น ปัจจัย1 (อุปธิปจฺจยาติ) นี้เป็น อย่างที่ ๑
การ
พิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่า เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่
เหลือแห่ง อุปธินั่นเอง ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นอย่างที่ ๒ ภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็น เนือง ๆ ซึ่งธรรมอันเป็นธรรม
๒ อย่าง โดยชอบอย่างนี้ … พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่าง
ใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทิ
(อุปาทิเสเส) เหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี.
ภิกษุทั้งหลาย … ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่า
ให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่า ทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้น
ทุกข์ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
(อวิชฺชาปจฺจยาติ) นี้เป็นอย่างที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนือง ๆ
ว่า เพราะความจางคลาย ดับไปโดยไม่เหลือแห่ง อวิชชา
นั่นเอง ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นอย่างที่ ๒ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณา เห็นเนือง ๆ ซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดย
ชอบอย่างนี้ … พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง
1. ข้อสังเกต พระองค์ทรงนำ มากล่าวก่อนอวิชชา -คณะผู้รวบรวม.
คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี.
ภิกษุทั้งหลาย … ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่า
ให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่า ทุกข์ใด ๆ ที่เกิดขึ้น
ทุกข์ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะสังขารเป็นปัจจัย
นี้เป็นอย่างที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่าเพราะความ
จางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งสังขาร นั่นเอง ทุกข์จึงไม่เกิด
นี้เป็นอย่างที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็น
เนือง ๆ ซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่าง โดยชอบ อย่างนี้ …
พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผล
ในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมี อุปาทิ เหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี.
ภิกษุทั้งหลาย … ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่า
ให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่า ทุกข์ใด ๆ ที่เกิดขึ้น
ทุกข์ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้น เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
นี้เป็นอย่างที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่า เพราะความจาง
คลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งวิญญาณนั่นเอง ทุกข์จึงไม่เกิด
นี้เปน็ อย่างที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนือง ๆ
ซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่าง โดยชอบอย่างนี้ … พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผล ในปัจจุบัน
หรือเมื่อยังมี อุปาทิ เหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี.
ภิกษุทั้งหลาย … ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่า
ให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่า ทุกข์ใด ๆ ที่เกิดขึ้น
ทุกข์ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้น เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
นี้เป็นอย่างที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่า เพราะความ
จางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งผัสสะ นั่นเอง ทุกข์จึงไม่เกิด
นี้เป็น อย่างที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนือง ๆ
ซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ … พึงหวังผล
ได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน
หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี.
ภิกษุทั้งหลาย … ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่า
ให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้น
ทุกข์ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้น เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
นี้เป็นอย่างที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่าเพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่ง เวทนา นั่นเอง ทุกข์จึงไม่เกิด
นี้เป็น อย่างที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผูพิจารณาเห็นเนืองๆ
ซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดย ชอบอย่างนี้ … พึงหวังผล
ได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลใน ปัจจุบัน
หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี.
ภิกษุทั้งหลาย … ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่า
ให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้น
ทุกข์ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้น เพราะ ตัณหาเป็นปัจจัย
นี้เป็นอย่างที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่าเพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งตัณหา นั่นเอง ทุกข์ จึงไม่เกิด
นี้เป็น อย่างที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนือง ๆ
ซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบ อย่างนี้ … พึงหวังผล
ได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน
หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี.
ภิกษุทั้งหลาย … ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่า
ให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้น
ทุกข์ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้น เพราะ อุปาทานเป็นปัจจัย
นี้เป็นอย่างที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะความจาง
คลายดับไปโดยไม่เหลือแห่ง อุปาทานนั่นเอง ทุกข์จึงไม่เกิด
นี้เป็น อย่างที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ
ซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่าง โดยชอบอย่างนี้ … พึงหวังผล
ได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผล ในปัจจุบัน
หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จะเป็นอนาคามี.
ภิกษุทั้งหลาย … ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่า
ให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้น
ทุกข์ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้น เพราะความริเริ่มเป็นปัจจัย (อารมฺภปจฺจยาติ) นี้เป็นอย่างที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนืองๆ
ว่า เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ แห่งความ ริเริ่ม
นั่นเอง ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นอย่างที่ ๒ ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้พิจารณาเห็น เนืองๆ ซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่าง
โดยชอบอย่างนี้ … พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่าง
หนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่
ก็จะเป็นอนาคามี.
ภิกษุทั้งหลาย … ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่า
ให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้น
ทุกข์ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้น เพราะอาหารเป็นปัจจัย
นี้เป็นอย่างที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะความ
จางคลายดับไปโดยไม่เหลือ แห่ง อาหารทั้งหมดนั่นเองทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นอย่างที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดย
ชอบอย่างนี้ … พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง
คือ อรหัตตผล ในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่
ก็จะเป็นอนาคามี.
ภิกษุทั้งหลาย … ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า พึงมีอย่างไรเล่า
ให้ตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้น
ทุกข์ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้น เพราะความหวั่นไหวเป็น ปัจจัย
(อิญฺชิตปจฺจยาติ) นี้เป็นอย่างที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า
เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ แห่งความ หวั่นไหวทั้ง
หลายนั่นเอง ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นอย่างที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมอันเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบ อย่างนี้ … พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่าง
หนึ่ง คอื อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือ เมือ ยัง มีอุปาทิเหลืออยู่
ก็จะเป็นอนาคามี.
(สำหรับพระสูตรนี้มีเนื้อหาค่อนข้างยาว จึงได้นำ มาใส่ไว้บางส่วนผู้สนใจพึงตามอ่าน เนื้อความ เต็มได้จากที่มาของพระสูตร. -คณะผู้รวบรวม)
หน้า 288
๙๘/ผลของการพิจารณาเห็นสังขาร
โดยความไม่เที่ยง
-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๙๑/๓๖๙.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารใดๆ (กญจิ สงขฺาร) โดยความเปน็ ของเทยี่ ง จกั เปน็ ผปู้ ระกอบด้วย
ขันติที่สมควร (อนุโลมิกาย ขนฺติยา) ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะ
มีได้ เธอไม่ประกอบด้วยขันติที่สมควรแล้ว จักก้าวลงสู่
สัมมัตตนิยาม1
ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ก้าวลง
สู่สัมมัตตนิยามแล้ว จักกระทำให้ แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหันต์ (โสตาปตฺติผลํ วา
สกทาคามิผลํ วา อนาคามิผลํ วา อรหตฺตํ วา) ข้อนั้นย่อมไม่เป็น
ฐานะที่จะมีได้.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวง (สพฺพสงฺขาเร) โดยความเป็น ของไม่เที่ยง จักเป็นผู้ประกอบด้วย
ขันติที่สมควร ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เธอประกอบด้วย
ขันติ ที่สมควรแล้ว จัก ก้าวลงสู่ สัมมัตตนิยาม ข้อนนั้นย่อมเป็น
ฐานะที่จะมีได้ เมื่อก้าวลงสู่ สัมมัตตนิยาม แล้ว จัก กระทำให้
แจ้งซึ่งโสดา ปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหันต์
ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้.
1. สัมมัตตนิยาม หมายถึง ระบบแห่งความถูกต้อง -คณะผู้รวบรวม
หน้า289
๙๙/ผลของการพิจารณาเห็นสังขาร
โดยความเป็นทุกข์
-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๙๒/๓๗๐.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารใดๆ โดย
ความเป็นสุข จักเป็นผู้ ประกอบด้วยขันติที่สมควร ข้อนั้น
ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เธอไม่ประกอบด้วย ขันติที่สมควร
แล้ว จักก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะ
มีได้ เมื่อไม่ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามแล้ว จักกระทำให้แจ้งซึ่ง
โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหันต์ ข้อนั้น
ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงโดย
ความเป็นทุกข์ จักเป็น ผู้ประกอบด้วยขันติที่สมควร ข้อนั้น
ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เธอประกอบด้วย ขันติที่สมควรแล้ว
จักก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อ
ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามแล้ว จักกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติ
ผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหันต์ ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้.
หน้า290
๑๐๐/ผลของการพิจารณาเห็นธรรม
โดยความเป็นอนัตตา
-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๙๒/๓๗๑.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นธรรมใดๆ โดย
ความเป็นอัตตา จักเป็นผู้ ประกอบด้วยขันติที่สมควร ข้อนั้น
ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เธอไม่ประกอบด้วย ขันติที่สมควร
แล้ว จักก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะ
มีได้ เมื่อไม่ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามแล้ว จักกระทำให้แจ้งซึ่ง
โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหันต์ ข้อนั้น
ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นธรรมทั้งปวงโดย
ความเป็นอนัตตา จักเป็น ผู้ประกอบด้วยขันติที่สมควร ข้อนั้น
ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เธอประกอบด้วยขันติ ที่สมควร
แล้ว จักก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะ
ที่จะมีได้ เมื่อก้าวลง สู่สัมมัตตนิยามแล้ว จักกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรือ
อรหันต์ ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้.
หน้า291
๑๐๑/ผลของการพิจารณาเห็นนิพพาน
โดยความเป็นสุข
-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๙๒/๓๗๒.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นนิพพานโดย
ความเป็นทุกข์ จักเป็นผู้ประกอบ ด้วย ขันติที่สมควร ข้อนั้น
ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เธอไม่ประกอบด้วย ขันติ ที่สมควร
แล้ว จักก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะ
มีได้ เมื่อไม่ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามแล้ว จักกระทำให้แจ้งซึ่ง
โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหันต์ ข้อนั้น
ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นนิพพานโดย
ความเป็นสุข จักเป็นผู้ประกอบ ด้วยขันติที่สมควร ข้อนั้น
ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เธอประกอบด้วยขันติที่สมควร
แล้ว จักก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะ
ที่จะมีได้ เมื่อก้าวลงสู่ สัมมัตตนิยามแล้ว จักกระทำ
ให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหันต์ ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้.
หน้า292
๑๐๒/ผลของการเจริญอนิจจสัญญา
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๘๙/๒๖๓.
ภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา อันเจริญแล้ว กระทำให้
มากแล้ว ย่อมครอบงำ กามราคะ ได้ทั้งหมด ย่อมครอบงำ
รูปราคะได้ทั้งหมด ย่อมครอบงำภวราคะ ได้ทั้งหมด ย่อมครอบงำอวิชชาได้ทั้งหมด ย่อมถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะ1ได้
ทั้งหมด ภิกษุทั้งหลาย ในสรทสมัย (ฤดูใบไม้ร่วง) ชาวนา
เมื่อไถนาด้วย ไถคันใหญ่ ย่อมไถทำลายความสืบต่อแห่งราก
ทุกชนิด แม้ฉันใด อนิจจสัญญา อันเจริญแล้ว กระทำให้
มากแล้ว ย่อมครอบงำกามราคะได้ทั้งหมด (สพฺพ ํ กามราค) ย่อมครอบงำรูปราคะได้ทั้งหมด (สพฺพํ รูปราคํ) ย่อมครอบงำภวราคะ
ได้ทั้งหมด (สพฺพํ ภวราคํ) ย่อมครอบงำอวิชชาได้ทั้งหมด (สพฺพํ
อวิชฺชํ) ย่อมถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะได้ทั้งหมด (สพฺพํ อสฺมิมานํ) ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
ภิกษุทั้งหลาย คนเกี่ยวหญ้ามุงกระต่าย เกี่ยวหญ้า
มุงกระต่ายแล้ว จับปลาย เขย่า ฟาด สลัดออก แม้ฉันใด
อนิจจสัญญา อันเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว … ย่อมถอนขึ้น
ซึ่งอัสมิมานะได้ทั้งหมด ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
1. ข้อสังเกต พระองค์ทรงยกอัสมมิมานะต่อ จากอวิชชา ให้ดู เทียบเคียงเรื่อง ความไม่มั่น หมายใน ขันธ์์ ธาตุ อายตนะ และนิพพาน ใน -บาลี มู ม. ๑๒/๑/๒. และ-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๒๖/๓๓. -คณะผู้รวบรวม
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวงมะม่วงขาดจากขั้ว ในมะม่วง
เหล่านั้น มะม่วงเหล่าใด เนื่องด้วยขั้ว มะม่วงเหล่านั้นทั้งหมด
ย่อมเป็นของหลุดไปตามขั้วมะม่วงนั้น แม้ฉันใด อนิจจสัญญา
อันเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว … ย่อมถอนขึ้นซึ่ง อัสมิมานะ
ได้ทั้งหมด ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
ภิกษุทั้งหลาย กลอนใดๆ แห่งเรือนยอด กลอน
ทั้งหมดนั้นไปสู่ยอด (กูฏงฺคมา) น้อมไปสู่ยอด (กูฏนินฺนา) ประชุมลงสู่ยอด (กูฏสโมสรณา) ยอดเรือน ชน ทั้งหลาย กล่าวว่า
เลิศกว่ากลอนเหล่านั้น แม้ฉันใด อนิจจสัญญา อันเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว … ย่อมถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะได้ทั้งหมด
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
ภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่รากใดๆ ไม้กะลำพัก1 ชนทั้งหลายกล่าวว่า เลิศกว่า ไม้มีกลิ่นที่รากเหล่านั้น แม้ฉันใด
อนิจจสัญญา อันเจริญแล้ว… ก็ฉันนั้น เหมือนกัน.
1. กะลำ พัก มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า สลัดได. -คณะผู้รวบรวม
ภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่แก่นใดๆ จันทน์แดง
ชนทั้งหลายกล่าวว่าเลิศกว่า ไม้มีกลิ่นที่แก่นเหล่านั้น แม้ฉันใด
อนิจจสัญญา อันเจริญแล้ว … ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
ภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่ดอกใดๆ มะลิ ชนทั้งหลาย
กล่าวว่าเลิศกว่าไม้มีกลิ่น ที่ดอกเหล่านั้น แม้ฉันใด อนิจจสัญญา
อันเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว … ย่อมถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะ
ได้ทั้งหมด ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
ภิกษุทั้งหลาย พระราชาผู้น้อยใดๆ ทั้งหมดนั้น ย่อม
เป็นผู้เสด็จไปตาม (คล้อยตาม) พระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าจักรพรรดิ ชนทั้งหลายกล่าวว่าเลิศกว่า พระราชาผู้น้อยเหล่านั้น
แม้ฉันใด อนิจจสัญญา อันเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว …
ย่อมถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะได้ทั้งหมด ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
ภิกษุทั้งหลาย แสงดาวทั้งหลาย ชนิดใดชนิดหนึ่ง
แสงดาวทั้งหมดนั้นไม่ถึง เสี้ยวที่ ๑๖ แห่งแสงพระจันทร์
แสงพระจันทร์ ชนทั้งหลายกล่าวว่า เลิศกว่า แสงดาวเหล่านั้น
แม้ฉันใด อนิจจสัญญา อันเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
… ย่อมถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะได้ทั้งหมด ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
ภิกษุทั้งหลาย ในสรทสมัย ท้องฟ้าบริสุทธิ์ ปราศจาก
เมฆ พระอาทิตย์ขึ้นไปสู่ ท้องฟ้า ย่อมส่องแสงและแผดแสง
ไพโรจน์ กำจัดความมืดอันอยู่ในอากาศ ทั่วไปแม้ฉันใด
อนิจจสัญญา อันเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมครอบงำ
กามราคะได้ทั้งหมด ย่อมครอบงำรูปราคะได้ทั้งหมด ย่อม
ครอบงำภวราคะ ได้ทั้งหมด ย่อมครอบงำอวิชชาได้ทั้งหมด
ย่อมถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะได้ทั้งหมด ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
ภิกษุทั้งหลาย ก็อนิจจสัญญา อันเจริญแล้วอย่างไร
กระทำให้มากแล้วอย่างไร จึงครอบงำกามราคะได้ทั้งหมด
ครอบงำรูปราคะได้ทั้งหมด ครอบงำภวราคะ ได้ทั้งหมด
ครอบงำอวิชชาได้ทั้งหมด ถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะได้ทั้งหมด
อนิจจสัญญา อันเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ว่า
รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้
ความตั้งอยู่ไม่ได้ (อตฺถงฺคโม) แห่งรูปเป็นอย่างนี้
เวทนาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้น แห่งเวทนาเป็นอย่างนี้
ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งเวทนาเป็นอย่างนี้
สัญญาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้
ความตั้งอยู่ไม่ได้ แห่งสัญญาเป็นอย่างนี้
สังขารเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นอย่างนี้
ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งสังขารเป็นอย่างนี้
วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่ง วิญญาณเป็น
อย่างนี้ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา อันเจริญแล้ว กระทำ
ให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมครอบงำกามราคะได้ทั้งหมด
ย่อมครอบงำรูปราคะได้ทั้งหมด ย่อมครอบงำ ภวราคะได้ทั้งหมด
ย่อมครอบงำอวิชชาได้ทั้งหมด ย่อมถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะ
ได้ทั้งหมด.
--------------------------------------------------------------------------------------------------------
บทถัดไป บทที่ ๑๐๓ / การเห็นเพื่อละสัญโญชน์ หน้า 296
|
|
Top |
|
Next |
|