เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ           

 หนังสือ ทาน-พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  4 of 4  
 
  หนังสือ ทาน-พุทธวจน   ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
       
  72 . ผู้ควรรับทักษิณา (นัยที่ ๑๕) 160  
  73 . ลักษณะของภิกษุผู้มีศีล 166  
       
  การให้ทานอันเป็นอริยะ    
  74 . ธรรมทานเลิศกว่าอามิสทาน 174  
  75 . ธรรมทานเลิศกว่าทานทั้งหลาย 175  
  76 . การให้ทานอันเป็นอริยะ (นัยที่ ๑) 180  
  77 . การให้ทานอันเป็นอริยะ (นัยที่ ๒) 181  
  78 . การให้ทานอันเป็นอริยะ (นัยที่ ๓) 183  
  79 . สิ่งที่ประเสริฐกว่าทาน 186  
       
  ภาคผนวก    
  80 . เจริญเมตตาจิตมีผลมากกว่าให้ทาน 188  
  81 . ผลของการเจริญเมตตา 189  
  82 . วิธีการเจริญเมตตาและการเจริญพรหมวิหาร 190  
  83 . การรับที่ไม่เป็นธรรม หรือ การรับที่เป็นธรรม 194  
  84 . การเกี่ยวข้องกับเงินทองของภิกษุ 196  
  85 . ข้อปฎิบัติในการอนุโมทนาของภิกษุ 200  
  86 . ข้อปฏิบัติในการขอสิ่งของ ต่อผู้ปวารณาของภิกขุ 201  
  87 . เหตุให้ค้าขายได้กำไร หรือ ขาดทุน 202  
  88 . เหตุแห่งความเจริญขึ้นและความถูกทำลายแห่งสกุล 204  
       
  ทาน จบ    
 

 

   
 
 





หน้า 160

72
ผู้ควรรับทักษิณา (นัยที่ ๑๕)

-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๐๗/๖๕.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการย่อมเป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
ธรรม ๗ ประการเป็นอย่างไร คือ
(1) ธัมมัญญู รู้จักธรรม
(2) อัตถัญญู รู้จักอรรถ
(3) อัตตัญญู รู้จักตน
(4) มัตตัญญู รู้จักประมาณ
(5) กาลัญญู รู้จักกาล
(6) ปริสัญญู รู้จักบริษัท
(7) ปุคคลปโรปรัญญู รู้จักเลือกคบคน

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นธัมมัญญูเป็นอย่างไร คือภิกษุย่อมรู้ธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทานอิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ หากภิกษุไม่พึงรู้จัก ธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ เราก็ไม่พึงเรียกว่า เป็นธัมมัญญูแต่เพราะภิกษุรู้ธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นธัมมัญญู ด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นอัตถัญญูเป็นอย่างไร

คือภิกษุย่อมรู้จักเนื้อความแห่งภาษิตนั้นๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ๆ หากภิกษุ ไม่พึงรู้เนื้อความแห่งภาษิตนั้นๆ ว่านี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ๆ เราก็ไม่พึงเรียกว่า เป็นอัตถัญญู แต่เพราะภิกษุรู้เนื้อความแห่งภาษิตนั้นๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิต นี้ๆ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นอัตถัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู ด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นอัตตัญญูเป็นอย่างไร คือภิกษุย่อมรู้จักตนว่า เราเป็นผู้มี ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญาปฏิภาณ เพียงเท่านี้ ถ้าภิกษุไม่พึงรู้จักตนว่า เราเป็น ผู้มีศรัทธาศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เพียงเท่านี้ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นอัตตัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จักตนว่า เราเป็นผู้มีศรัทธาศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เพียงเท่านี้ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นอัตตัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญูด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นมัตตัญญูเป็นอย่างไร คือภิกษุย่อมรู้จักประมาณ ในการรับ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และยากับเครื่องใช้ในการรักษาโรค หากภิกษุไม่พึงรู้จัก ประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และยากับเครื่องใช้ในการรักษาโรค เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นมัตตัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จักประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และยากับเครื่องใช้ในการรักษาโรค ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นมัตตัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญูด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นกาลัญญูเป็นอย่างไร คือภิกษุย่อมรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลออกหลีกเร้น หากภิกษุไม่พึงรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถามนี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลออกหลีกเร้น เราไม่พึงเรียกว่าเป็นกาลัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบความเพียรนี้เป็นกาลออกหลีกเร้น ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นกาลัญญูภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู กาลัญญูด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นปริสัญญูเป็นอย่างไร คือภิกษุย่อมรู้จักบริษัทว่า นี้บริษัท กษัตริย์ นี้บริษัทคหบดี นี้บริษัทสมณะ ในบริษัทนั้น เราพึงเข้าไปหาอย่างนี้ พึงยืน อย่างนี้ พึงทำอย่างนี้ พึงนั่งอย่างนี้ พึงนิ่งอย่างนี้ หากภิกษุไม่รู้จักบริษัทว่า นี้บริษัท กษัตริย์ ... พึงนิ่งอย่างนี้ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นปริสัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จักบริษัทว่า นี้บริษัทกษัตริย์ ... พึงนิ่งอย่างนี้ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นปริสัญญูภิกษุเป็น ธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู กาลัญญูปริสัญญู ด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นปุคคลปโรปรัญญูอย่างไรภิกษุเป็นผู้รู้จักบุคคลโดยส่วน ๒ คือ บุคคล ๒ จำพวก คือพวกหนึ่งต้องการเห็นพระอริยะ พวกหนึ่งไม่ต้องการเห็น พระอริยะ บุคคลที่ไม่ต้องการเห็นพระอริยะ พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ ต้องการเห็นพระอริยะ พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ.

บุคคลที่ต้องการเห็นพระอริยะก็มี ๒ จำพวก คือพวกหนึ่งต้องการจะฟังสัทธรรม พวกหนึ่งไม่ต้องการฟังสัทธรรม บุคคลที่ไม่ต้องการฟังสัทธรรม พึงถูกติเตียนด้วย เหตุนั้นๆ บุคคลที่ต้องการฟังสัทธรรม พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ.

บุคคลที่ต้องการฟังสัทธรรมก็มี ๒ จำพวก คือพวกหนึ่งตั้งใจฟังธรรม พวกหนึ่งไม่ ตั้งใจฟังธรรม บุคคลที่ไม่ตั้งใจฟังธรรม พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ตั้งใจ ฟังธรรม พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ.

บุคคลที่ตั้งใจฟังธรรมก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ พวกหนึ่ง ฟังแล้วไม่ทรงจำธรรมไว้บุคคลที่ฟังแล้วไม่ทรงจำธรรมไว้ พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้  พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ.

บุคคลที่ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ก็มี ๒ จำพวก คือพวกหนึ่งพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ พวกหนึ่งไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ บุคคลที่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้  พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ.

บุคคลที่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ก็มี๒ จำพวก คือพวกหนึ่งรู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พวกหนึ่งหารู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ บุคคลที่หารู้อรรถรู้ธรรมปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่  พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ.

บุคคลที่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของตนไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น พวกหนึ่งปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น บุคคลที่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน และเพื่อประโยชน์ผู้อื่น พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้รู้จักบุคคลโดยส่วน ๒อย่างนี้ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็น ปุคคลปโรปรัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู กาลัญญู ปริสัญญูปุคคลปโรปรัญญู ด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

หน้า 166

73
ลักษณะของภิกษุผู้มีศีล

-บาลี สี. ที. ๙/๘๙-๙๒/๑๑๔-๑๒๑.

มหาราช ! อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วย ศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพ ด้วยเดรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือทำนายอวัยวะ ทำนายตำหนิ ทำนายลางดีลางร้าย ทำนายฝัน ทำนายลักษณะ ทำนายหนูกัดผ้า ทำพิธีบูชาไฟ ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟ ทำพิธีซัดรำบูชาไฟทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ ทำพิธีเสกเป่าบูชาไฟ ทำพลีกรรมด้วยโลหิต เป็นหมอดูอวัยวะ ดูลักษณะที่บ้าน ดูลักษณะที่นา เป็นหมอปลุกเสก เป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน เป็นหมองู เป็นหมอยาพิษ เป็นหมอแมลงป่อง เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด เป็นหมอทายเสียงนก เป็นหมอทายเสียงกา เป็นหมอทายอายุ เป็นหมอเสกกันลูกศร เป็นหมอทายเสียงสัตว์.

ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิต โดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉาน วิชา เห็นปานนี้เสียแล้ว แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพ ด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทายลักษณะแก้วมณี ทายลักษณะผ้า ทายลักษณะไม้พลอง ทายลักษณะศัสตรา ทายลักษณะดาบ ทายลักษณะศร ทายลักษณะธนูทายลักษณะอาวุธ ทายลักษณะสตรี ทายลักษณะบุรุษ ทายลักษณะกุมาร ทายลักษณะกุมารี ทายลักษณะทาส ทายลักษณะทาสี ทายลักษณะช้าง ทายลักษณะม้า ทายลักษณะกระบือ ทายลักษณะโคอุสภะ ทายลักษณะโค ทายลักษณะแพะ ทายลักษณะแกะ ทายลักษณะไก่ ทายลักษณะนกกระทา ทายลักษณะเหี้ย ทายลักษณะตุ่น ทายลักษณะเต่าทายลักษณะมฤค.

ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิต โดยมิจฉาชีพด้วย เดรัจฉาน วิชา เห็นปานนี้เสียแล้ว แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

อีกอย่างหนึ่งเมื่อสมณะ หรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วย เดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ดูฤกษ์ ยาตราทัพว่าพระราชาจักยกออก พระราชาจักไม่ยกออก พระราชาภายในจักยกเข้าประชิด พระราชาภายนอกจักถอย พระราชาภายนอกจักยกเข้าประชิด พระราชาภายในจักถอย พระราชาภายในจักมีชัย พระราชาภายนอกจักปราชัย พระราชาภายนอกจักมีชัย พระราชาภายในจักปราชัย พระราชาพระองค์นี้จักมีชัย พระราชาพระองค์นี้จักปราชัย เพราะเหตุนี้ๆ.

ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิต โดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชา เห็นปานนี้เสียแล้ว แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทำนายว่า จักมีจันทรคราส จักมีสุริยคราส จักมีนักษัตรคราส ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักโคจร ถูกทาง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักโคจรผิดทาง ดาวนักษัตรจักโคจรถูกทาง ดาวนักษัตรจักโคจรผิดทาง จักมีอุกกาบาต จักมีดาวหาง จักมีแผ่นดินไหว จักมีฟ้าร้อง

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตร จักขึ้น จักตก จักมัวหมองจักกระจ่าง จันทรคราส จักมีผลเป็นอย่างนี้ สุริยคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ นักษัตรคราสจักมีผล เป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์โคจรถูกทาง จักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร ์ดวงอาทิตย์ โคจรผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้

ดาวนักษัตรโคจรถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตรโคจรผิดทาง จักมีผลเป็น อย่างนี้ มีอุกกาบาตจักมีผลเป็นอย่างนี้ มีดาวหางจักมีผลเป็นอย่างนี้ แผ่นดินไหว จักมีผลเป็นอย่างนี้ ฟ้าร้องจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ และดาวนัก ษัตรขึ้น ตกมัวหมอง กระจ่าง จักมีผลเป็นอย่างนี้.

ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิต โดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชา เห็นปานนี้เสียแล้ว แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทำนายว่า จักมีฝนดี จักมีฝนแล้ง จักมีอาหารหาได้ง่าย จักมีอาหารหาได้ยากจักมีความเกษม จักมีภัย จักเกิดโรค จักมีความสำราญหาโรคมิได้ หรือคำนวณฤกษ์ยาม คำนวณ ดวงชะตา จับยามแต่งกาพย์ โลกายตศาสตร์.

ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพ ด้วยเดรัจฉานวิชา เห็นปานนี้เสียแล้ว แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ให้ฤกษ์อาวาห มงคล ให้ฤกษ์วิวาหมงคล ดูฤกษ์เรียงหมอน ดูฤกษ์หย่าร้าง ดูฤกษ์เก็บทรัพย์ ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์ ดูโชคดี ดูเคราะห์ร้าย ให้ยาผดุงครรภ์ ร่ายมนต์ให้ลิ้นกระด้าง ร่ายมนต์ให้คางแข็งร่ายมนต์ให้มือสั่น ร่ายมนต์ไม่ให้หู ได้ยินเสียง เป็นหมอทรงกระจก เป็นหมอทรงหญิงสาว เป็นหมอทรงเจ้า บวงสรวง พระอาทิตย์ บวงสรวงท้าวมหาพรหม ร่ายมนต์พ่นไฟ ทำพิธีเชิญขวัญ.

ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชา เห็นปานนี้เสียแล้ว แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกันบ้านเรือน ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยาแก้ลมตีขึ้นเบื้องบน ปรุงยาแก้ลมตีลงเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทาให้กัด ปรุงยาทาให้สมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล.

ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิต โดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชา เห็นปานนี้เสียแล้ว แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

มหาราช ! ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เลย เพราะศีลสังวร นั้นเปรียบเหมือนกษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษก 1 กำจัดราชศัตรูได้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัย แต่ไหนๆ เพราะราชศัตรูนั้น.

มหาราช ! ภิกษุก็ฉันนั้น สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะ ศีลสังวรนั้น ภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์นี้ ย่อมได้เสวยสุขอันปราศจากโทษ ในภายใน.

มหาราช ! ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.

1. นํ้ารด พระเศียรในงานราชาภิเษกหรือพระราชพิธีอื่นๆ

 

การให้ทานอันเป็นอริยะ

หน้า 174

74
ธรรมทานเลิศกว่าอามิสทาน

-บาลี ขุ. ขุ. ๒๕/๓๐๕/๒๗๘.

ภิกษุทั้งหลาย ! ทาน ๒ อย่างนี้ คือ
(1) อามิสทาน
(2) ธรรมทาน
ภิกษุทั้งหลาย ! บรรดาทาน ๒ อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ.

ภิกษุทั้งหลาย ! การแจกจ่าย ๒ อย่างนี้ คือ
(1) การแจกจ่ายอามิส
(2) การแจกจ่ายธรรม

ภิกษุทั้งหลาย ! บรรดาการแจกจ่าย ๒ อย่างนี้ การแจกจ่ายธรรมเป็นเลิศ
ภิกษุทั้งหลาย ! การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ คือ
(1) การอนุเคราะห์ด้วยอามิส
(2) การอนุเคราะห์ด้วยธรรม

ภิกษุทั้งหลาย ! บรรดาการอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ การอนุเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ.

หน้า 175

75
ธรรมทานเลิศกว่าทานทั้งหลาย

นวก. อํ. ๒๓/๔๓๙/๒๐๙.

ภิกษุทั้งหลาย ! กำลัง ๔ ประการเหล่านี้มีอยู่
๔ ประการเป็นอย่างไร คือ
(1) กำลัง คือ ปัญญา
(2) กำลัง คือ ความเพียร
(3) กำลัง คือ การงานอันไม่มีโทษ
(4) กำลัง คือ การสงเคราะห์

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็กำลัง คือ ปัญญาเป็นอย่างไรธรรมเหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล ธรรมเหล่าใดมีโทษ นับว่ามีโทษธรรม เหล่าใดไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมดำ นับว่าเป็นธรรมดำ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมขาวนับว่าเป็นธรรมขาว

ธรรมเหล่าใดไม่ควรเสพ นับว่าไม่ควรเสพ ธรรมเหล่าใดควรเสพ นับว่าควรเสพ ธรรมเหล่าใดไม่สามารถทำความเป็นอริยะ นับว่าไม่สามารถทำความเป็นอริยะ ธรรมเหล่าใดสามารถทำความเป็นอริยะ นับว่าสามารถทำความเป็นอริยะธรรม เหล่านั้นเป็นธรรมอันบุคคลเห็นแจ้ง ประพฤติได้ด้วยปัญญา

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กำลัง คือ ปัญญา.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็กำลัง คือ ความเพียรเป็นอย่างไรธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็น อกุศล ธรรมเหล่าใดมีโทษ นับว่ามีโทษ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมดำนับว่า เป็นธรรมดำ ธรรมเหล่าใดไม่ควรเสพ นับว่าไม่ควรเสพ ธรรมเหล่าใดไม่สามารถทำความเป็นอริยะ นับว่าไม่สามารถทำความเป็นอริยะ บุคคลย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อละธรรมเหล่านั้น

ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ธรรมเหล่าใดไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมขาว นับว่าเป็นธรรมขาว ธรรมเหล่าใดควรเสพ นับว่าควรเสพ ธรรมเหล่าใดสามารถทำความเป็นอริยะ นับว่าสามารถทำความเป็นอริยะบุคคล ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อให้ได้ธรรมเหล่านั้น

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กำลัง คือ ความเพียร.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็กำลัง คือ การงานอันไม่มีโทษเป็นอย่างไร อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันหาโทษมิได้

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กำลัง คือ การงานอันไม่มีโทษ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็กำลัง คือ การสงเคราะห์เป็นอย่างไร ได้แก่
สังคหวัตถุ ๔ ประการนี้ คือ
(1) ทาน (การให้)
(2) เปยยวัชชะ (การพูดถ้อยคำอันเป็นที่รัก)
(3) อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์)
(4) สมานัตตตา (ความมีตนเสมอกัน)

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมทานเลิศกว่าทานทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! การแสดงธรรมบ่อยๆ แก่บุคคลผู้ต้องการ ผู้เงี่ยโสตลงสดับ นี้เลิศกว่าการพูดถ้อยคำอันเป็นที่รัก.

ภิกษุทั้งหลาย ! การชักชวนคนผู้ไม่มีศรัทธาให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศรัทธาสัมปทา ชักชวนผู้ทุศีลให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในสีลสัมปทา ชักชวนผู้ตระหนี่ให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในจาคสัมปทา ชักชวนผู้มีปัญญาทรามให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในปัญญาสัมปทา นี้เลิศกว่าการประพฤติประโยชน์ทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! พระโสดาบันมีตนเสมอกับพระโสดาบัน พระสกทาคามีมีตนเสมอกับ พระสกทาคามี พระอนาคามีมีตนเสมอกับพระอนาคามี พระอรหันต์มีตนเสมอกับ พระอรหันต์ นี้เลิศกว่าความมีตนเสมอทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้เรียกว่ากำลัง คือ การสงเคราะห์.
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล คือ กำลัง ๔ ประการ.
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้ประกอบด้วยกำลัง ๔ ประการเหล่านี้

ย่อมก้าวล่วงภัย ๕ ประการ คือ
(1) อาชีวิตภัย1 (ภัยอันเนื่องด้วยชีวิต)
(2) อสิโลกภัย (ภัยคือการติเตียน)
(3) ปริสสารัชภัย (ภัยคือความครั่นคร้ามในบริษัท)
(4) มรณภัย (ภัยคือความตาย)
(5) ทุคติภัย (ภัยคือทุคติ)

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกนั้น ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราไม่กลัวต่อภัยอัน เนื่องด้วย ชีวิต ไฉนเราจักต้องกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วย ชีวิตเล่า เพราะเรามีกำลัง ๔ ประการคือ กำลังปัญญา กำลังความเพียร กำลังการ งานอันไม่มีโทษกำลัง การสงเคราะห์

คนที่มีปัญญาทราม จึงกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วย ชีวิตคนเกียจคร้าน จึงกลัวต่อภัยอัน เนื่องด้วยชีวิตคนมีการงานทางกาย ทางวาจาและ ทางใจที่มีโทษ จึงกลัวต่อภัยคือ ทุคติ คนที่ไม่สงเคราะห์ใคร จึงกลัวภัยคือทุคติ

เราไม่กลัวต่อภัยคือการติเตียน ...
เราไม่กลัวต่อภัยคือความครั่นคร้ามในบริษัท ...
เราไม่กลัวต่อภัยคือความตาย ...
เราไม่กลัวต่อภัยคือทุคติ ไฉนเราจักต้องกลัวต่อ ภัยคือทุคติเล่า
เพราะเรามีกำลัง ๔ ประการ คือ กำลังปัญญา กำลังความเพียร กำลังการงานอันไม่มีโทษ กำลังการสงเคราะห์ คนที่มีปัญญาทราม จึงกลัวต่อภัยคือ ทุคติคนเกียจคร้าน จึงกลัวต่อภัยคือทุคติ คนมีการงานทางกายทางวาจา และทางใจ ที่มีโทษ จึงกลัวต่อภัยคือทุคติ คนที่ไม่สงเคราะห์ใคร จึงกลัวภัยคือทุคติ.


ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้ประกอบด้วยกำลัง ๔ ประการนี้แล ย่อมก้าวล่วงภัย ๕ ประการเหล่านี้.

1. ไตรปิฎกฉบับมอญ มีบาลีคำ นี้ว่า อาชีวิกภยํ ซึ่งแปลว่า ภัยอันเนื่องด้วยการ เลี้ยงชีพ

หน้า 180

76
การให้ทานอันเป็นอริยะ (นัยที่ ๑)

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๔๐/๑๔๕๑.

ช่างไม้ทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดาเป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า
ธรรม ๔ ประการเป็นอย่างไร คือ
(1) ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า
(2) ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม
(3) ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์
(4) มีใจปราศจากมลทินคือความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีการบริจาคอันปล่อยอยู่เป็นประจำ  มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ เป็นผู้ควรแก่การขอ ยินดีในการให้ และการแบ่งปัน

ช่างไม้ทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็น พระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

หน้า 181

77
การให้ทานอันเป็นอริยะ (นัยที่ ๒)

-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๖๐/๔๙.

สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล ให้ทานโดยไม่มีจิต ผูกพันในผล ให้ทานโดยไม่มุ่งการสั่งสม (บุญ) ให้ทานโดยไม่คิดว่า “เราตายไป จักได้เสวยผลของทานนี้” ให้ทานโดยไม่คิดว่า “การให้ทานเป็นการดี” ให้ทานโดย ไม่คิดว่า “บิดามารดา ปู่ย่า ตายายเคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี” ให้ทานโดยไม่คิดว่า “เราหุงหากิน สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้ไม่หุงหากิน เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่หุงหา ไม่สมควร”

ให้ทานโดยไม่คิดว่า “เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสา-มิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐ-ฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี บูชามหายัญให้ทานโดย ไม่คิดว่า “เมื่อเราให้ทานอย่างนี้จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส” แต่ให้ทานเป็นเครื่องประดับจิต ปรุงแต่งจิต (จิตฺตาลงฺการํ จิตฺตปริกฺขารํ)

เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟแก่สมณะหรือพราหมณ์ … เขาให้ทานนั้นแล้ว เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดา เหล่าพรหมกายิกาเขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้วเป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็น อย่างนี้.

หน้า 183

78
การให้ทานอันเป็นอริยะ (นัยที่ ๓)

-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๔๔๔/๖๙๑.

ภิกษุ ! เปรียบเหมือนประทีปน้ำ มัน เพราะอาศัยน้ำมนั และไส้แล้วจึงลุกโพลงอยู่ได้ เมื่อหมดน้ำมันและหมดไส้พร้อมกับไม่เติมน้ำมันและไส้อีก ย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ แล้วดับไป

ภิกษุ ! ฉันใดก็ฉันนั้น บุคคลนั้น เมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุดรอบ ย่อมรู้ชัดว่าเรา เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุดรอบเมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุดรอบ ย่อมรู้ชัดว่าเรา เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุดรอบ และย่อมรู้ชัดว่าเวทนาทั้งปวง อันเราไม่เพลิดเพลิน แล้ว จักเป็นของเย็นในอัตภาพนี้นั่นเทียว จนกระทั่งถึงที่สุดรอบแห่งชีวิต เพราะการ แตกทำลายแห่งกายดังนี้

เพราะเหตุนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้สึกอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา อันเป็นธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจเป็นอย่างยิ่งด้วยประการอย่างนี้ก็ปัญญานี้ คือ ความรู้ใน ความสิ้นทุกข์ทั้งปวง เป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความหลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ ในสัจจะ เป็นคุณไม่กำเริบ

ภิกษุ !เพราะสิ่งที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดานั้นเท็จ ส่วนสิ่งที่ไม่เลอะเลือน เป็น ธรรมดา ได้แก่นิพพานนั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อม ด้วยสัจจะ อันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่ง ด้วยประการอย่างนี้ก็สัจจะนี้ คือ นิพพาน มีความไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง

อนึ่ง บุคคลนั้นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิ เข้าไว้อุปธิเหล่านั้น อันเขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำ ให้เหมือนตาลยอดด้วน แล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อม ด้วยการสละอย่างนี้ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ (การบริจาค) อันเป็นธรรมควร ตั้งไว้ ในใจอย่างยิ่ง ด้วยประการอย่างนี้ก็จาคะนี้ คือความสลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นจาคะ อันประเสริฐยิ่ง

อนึ่ง บุคคลนั้นแลยังไม่ทราบในกาลก่อนจึงมีความโลภ (อภิชฌา) ความพอใจ (ฉันทะ) ราคะกล้า(สาราคะ) ความอาฆาต (อาฆาตะ) ความพยาบาท (พยาปาทะ) ความคิดประทุษร้าย (สัมปะโทโส) ความไม่รู้ (อวิชชา)ความหลงพร้อม (สัมโมโห) ความหลงงมงาย (สัมปะโมโห) อกุศลธรรมนั้นๆ เป็นอันเขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้น แล้วทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไป เป็นธรรมดา

เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยความสงบอย่างนี้ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปสมะ (ความสงบ) อันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ก็อุปสมะนี้ คือ ความเข้าไป สงบ ราคะ โทสะ โมหะเป็นอุปสมะอันประเสริฐอย่างยิ่ง ข้อที่เรากล่าว ดังนี้ ว่าไม่พึง ประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะพึงเพิ่มพูนจาคะพึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่นเราอาศัย เนื้อความนี้กล่าวแล้ว.

หน้า 186

79
สิ่งที่ประเสริฐกว่าทาน

-บาลี สคาถ. สํ. ๑๕/๓๐/๑๐๑.

ก็การให้ทานด้วยศรัทธาอันบัณฑิตสรรเสริญแล้ว โดยส่วนมากก็แต่บทแห่งธรรม (นิพพาน) นั้นแหละประเสริฐกว่าการให้ทานทั้งหลายเพราะว่าสัปบุรุษทั้งหลาย ผู้มีปัญญาในกาลก่อนก็ดี ในกาลก่อนกว่าก็ดีบรรลุซึ่งนิพพานแล้ว.

ภาคผนวก

หน้า 188

80
เจริญเมตตาจิตมีผลมากกว่าให้ทาน

-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๓๐๘/๖๖๗.

ภิกษุทั้งหลาย !

ผู้ใดพึงให้ทานประมาณ ๑๐๐ หม้อใหญ่ในเวลาเช้า
ผู้ใดพึงให้ทานประมาณ ๑๐๐ หม้อใหญ่ในเวลาเที่ยง
ผู้ใดพึงให้ทานประมาณ ๑๐๐ หม้อใหญ่ในเวลาเย็น

ผู้ใดพึงเจริญเมตตาจิตในเวลาเช้าโดยที่สุดแม้เพียงชั่วการหยดน้ำนมแห่งแม่โค หรือผู้ใดพึงเจริญเมตตาจิตในเวลาเที่ยงโดยที่สุดแม้เพียงชั่วการหยดน้ำนมแห่งแม่โค
หรือผู้ใดพึงเจริญเมตตาจิตในเวลาเย็นโดยที่สุดแม้เพียงชั่วการหยดน้ำนมแห่งแม่โค

การเจริญเมตตาจิตนี้มีผลมากกว่าทานที่บุคคลให้แล้ว ๓ ครั้งในวันหนึ่ง นั้น
เพราะเหตุนั้นในเรืิ่องนี้ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเจริญ เมตตาเจโตวิมุตติ กระทำให้มาก กระทำให้เป็นดุจยานที่เทียมดีแล้ว กระทำให้เป็นของ ที่อาศัยได้ กระทำให้มั่นคง ประพฤติสั่งสมเนืองๆ ปรารภสม่ำเสมอด้วยดี.

ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.

หน้า 189

81
ผลของการเจริญเมตตา

-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๓๐๘/๖๖๘-๙.

ภิกษุทั้งหลาย ! หอกมีใบอันคม ถ้าบุรุษพึงมากล่าวว่า เราจักงอเข้า จักพับ จักม้วน ซึ่งหอกมีใบอันคมนี้ด้วยฝ่ามือหรือด้วยกำ มือ ดังนี้ เธอจะสำ คัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเป็นผู้สามารถเพื่อจะงอเข้า เพื่อจะพับ เพื่อจะม้วนซึ่งหอกมีใบอันคมโน้น ด้วยฝ่ามือหรือด้วยกำมือได้หรือหนอ.

เป็นไปไม่ได้ พระเจ้าข้า.

ข้อนั้นเพราะเหตุไร.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะว่าการที่จะงอเข้า จะพับและจะม้วนซึ่งหอกมีใบอันคม ด้วยฝ่ามือหรือด้วยกำมือ กระทำไม่ได้ง่าย ก็แหละ บุรุษนั้นพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความ เหน็ดเหนื่อยลำบากถ่ายเดียว.

ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุใดเจริญเมตตาเจโตวิมุตติ กระทำให้มาก กระทำให้เป็นประดุจยานกระทำให้เป็นที่ตั้งอาศัยให้มั่นคง สั่งสม ปรารภด้วยดี ถ้าอมนุษย์จะพึงกระทำจิตของภิกษุนั้นให้ฟุ้งซ่าน

อมนุษย์นั้นพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเหน็ดเหนื่อย ลำบากถ่ายเดียวเพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเจริญเมตตาเจโตวิมุตติ กระทำให้ มาก กระทำให้เป็นดุจยานที่เทียมดีแล้ว กระทำให้เป็นของที่อาศัยได้ กระทำให้มั่นคง ประพฤติสั่งสมเนืองๆ ปรารภสม่ำเสมอด้วยดี.

ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.

หน้า 190

82
วิธีการเจริญเมตตาและการเจริญพรหมวิหาร

-บาลี มู. ม. ๑๒/๕๑๔/๔๘๒.
-บาลี อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๓๐๙/๑๖๐.
-บาลี เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๗๐/๒๒๒.

เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีในภายใน และธรรมอันเป็น บาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วจักไม่ครอบงำจิตได้ เมื่อใด จิตของเธอเป็นจิตตั้งมั่น ดำรงอยู่ ด้วยดีแล้วในภายใน และธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ครอบงำจิตได้

เมื่อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเจริญกระทำให้มาก ซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติ กรุณาเจโตวิมุตติมุทิตาเจโตวิมุตติ อุเบกขาเจโตวิมุตติ ทำให้เป็นดุจยานทำให้เป็น ที่ตั้ง ให้มั่นคง สั่งสม ปรารภดีแล้ว.

เมื่อเธอพิจารณาเห็นตนบริสุทธิ์ พ้นแล้วจากบาป-อกุศลที่เกิดขึ้น ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อเธอเกิดปราโมทย์แล้วปีติก็เกิด เมื่อเธอมีใจประกอบด้วยปีติแล้ว กายก็สงบรำงับ ผู้มีกายสงบรำงับย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิ.

เธอ มีจิตประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่งทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือนอย่างนั้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างและเบื้องขวาง เธอแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง แก่สัตว์ ทั้งหลายทั่วหน้าเสมอกัน ด้วยจิตอันประกอบด้วยเมตตา เป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทแล้วแลอยู่.

มีจิตประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่ง ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือนอย่างนั้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างและเบื้องขวาง เธอแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง แก่สัตว์ ทั้งหลายทั่วหน้าเสมอกัน ด้วยจิตอันประกอบด้วยกรุณา เป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทแล้วแลอยู่.

มีจิตประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่ง ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือนอย่างนั้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างและเบื้องขวาง เธอแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง แก่สัตว์ทั้งหลายทั่วหน้าเสมอกัน ด้วยจิตอันประกอบด้วยมุทิตา เป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทแล้วแลอยู่.

มีจิตประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่ง ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือนอย่างนั้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างและเบื้องขวาง เธอแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง แก่สัตว์ทั้งหลายทั่วหน้าเสมอกัน ด้วยจิตอันประกอบด้วยอุเบกขา เป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทแล้วแลอยู่.

สระโบกขรณี มีน้ำใสจืด เย็น สะอาด มีท่าอันดี น่ารื่นรมย์ ถ้าบุรุษมาแต่ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือทิศใต้ และจากที่ไหนๆ อันความร้อนแผดเผา เร่าร้อนลำบาก ระหาย อยากดื่มน้ำ เขามาถึงสระโบกขรณีนั้นแล้วก็บรรเทาความอยากดื่มน้ำ และความกระวนกระวายเพราะความร้อนเสียได้ แม้ฉันใด

เธอมาถึงธรรมวินัย ที่ตถาคตประกาศแล้ว เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา อย่างนั้นย่อมได้ความสงบจิต ณ ภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เรากล่าวว่าเป็นผู้ปฏิบัติ ข้อปฏิบัติอันดียิ่ง.

เปรียบเหมือนคนเป่าสังข์ผู้มีกำลัง ย่อมเป่าสังข์ให้ได้ยินได้ทั้งสี่ทิศโดยไม่ยาก ฉันใด ในเมตตาเจโตวิมุตติกรุณาเจโตวิมุตติ... มุทิตาเจโตวิมุตติ... อุเบกขาเจโต-วิมุตติ... ที่เจริญแล้วอย่างนี้ กรรมชนิดที่ทำอย่างมีขีดจำกัดย่อมไม่มีเหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในนั้น ก็ฉันนั้น.

เมื่อใดเธอเจริญสมาธินี้อย่างนี้ เจริญดีแล้ว เมื่อนั้นเธอจักเดินไปทางใดๆ ก็จักเดินเป็น สุขในทางนั้นๆ ยืนอยู่ในที่ใดๆ ก็จักยืนเป็นสุขในที่นั้นๆ นั่งอยู่ในที่ใดๆ ก็จักนั่งอยู่ เป็นสุขในที่นั้นๆ นอนอยู่ที่ใดๆ ก็จักนอนเป็นสุขในที่นั้นๆ.

เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติอันบุคคลเสพมาแต่แรก ให้เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น ดุจยานที่เทียมดีแล้วทำให้เป็นที่ตั้ง ประพฤติสั่งสมเนืองๆ ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ อย่าง คือ

(1) หลับเป็นสุข
(๒) ตื่นเป็นสุข
(๓) ไม่ฝันร้าย
(๔) เป็นที่รักของพวกมนุษย์
(๕) เป็นที่รักของพวกอมนุษย์
(๖) เทวดารักษา
(๗) ไฟก็ดี ยาพิษก็ดี ศัสตราก็ดี ไม่ต้องบุคคลนั้น
(๘) จิตตั้งมั่นได้รวดเร็ว
(๙) สีหน้าผุดผ่อง
(๑๐) ไม่หลงทำกาละ
(11 )  เมื่อยังไม่บรรลุคุณวิเศษที่ยิ่งขึ้นไป ย่อมเกิดในพรหมโลก เมื่อเมตตา เจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพมาแต่แรก ให้เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ที่เทียมดีแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้ง ประพฤติสั่งสมเนืองๆ ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ อย่างนี้แล.

หน้า 194

83
การรับที่ไม่เป็นธรรม หรือการรับที่เป็นธรรม

-บาลี ปริวาร. วิ. ๘/๔๙๕/๑๑๗๓.

อุบาลี ! การรับที่ไม่เป็นธรรม (อธัมมิกา ปฏิคคห)

มี ๕ อย่าง คือ
(1) ของเขาให้ด้วยกาย ไม่รับด้วยกาย
(2) ของเขาให้ด้วยกาย ไม่รับด้วยของเนื่องด้วยกาย
(3) ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย ไม่รับด้วยกาย
(4) ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกายไม่รับด้วยของเนื่องด้วยกาย
(5) ของเขาให้ด้วยโยนให้ ไม่รับด้วยกายหรือด้วยของเนื่องด้วยกาย

อุบาลี ! เหล่านี้แล การรับที่ไม่เป็นธรรม ๕ อย่าง.
อุบาลี ! การรับที่เป็นธรรม (ธมฺมิกา ปฏิคคห)

มี ๕ อย่าง คือ
(1) ของเขาให้ด้วยกาย รับด้วยกาย
(2) ของเขาให้ด้วยกาย รับด้วยของเนื่องด้วยกาย
(3) ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย รับด้วยกาย
(4) ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกายรับด้วยของเนื่องด้วยกาย
(5) ของเขาให้ด้วยโยนให้รับด้วยกายหรือด้วยของเนื่องด้วยกาย
อุบาลี ! เหล่านี้แล การรับที่เป็นธรรม ๕ อย่าง.

หน้า 196

84
การเกี่ยวข้องกับเงินทองของภิกษุ

-บาลี มหาวิ. วิ. ๒/๕๔/๗๐., -บาลี มหาวิ. วิ. ๒/๙๐,๙๔,๙๙/๑๐๕,๑๑๐,๑๑๓.,
-บาลี มหา. วิ. ๕/๑๒๐/๘๕., สฬา. สํ. ๑๘/๔๐๑/๖๒๕.

วินัยบัญญัติ ที่มาในสิกขาบทปาติโมกข์อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทองเงิน หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้ก็ดี เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ อนึ่งภิกษุใด ถึงความ แลกเปลี่ยนด้วยรูปิยะมีประการต่างๆ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์

อนึ่ง ภิกษุใด ถึงการซื้อและการขายมีประการต่างๆ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์อนึ่ง พระราชาก็ดี ราชอำมาตย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดีคหบดีก็ดี ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร ไปด้วยทูตเฉพาะภิกษุว่า เจ้าจงจ่ายจีวรด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจ่ายจีวรนี้แล้วยัง ภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวรถ้าทูตนั้นเข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ทรัพย์สำหรับ จ่ายจีวรนี้นำมาเฉพาะท่าน ขอท่านจงรับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรภิกษุนั้น

พึงกล่าวต่อทูตนั้นอย่างนี้ว่า
พวกเราหาได้รับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไม่ พวกเรารับแต่จีวรอันเป็นของควรโดยกาล ถ้าทูตนั้น กล่าวต่อภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ก็ใครๆ ผู้เป็นไวยาวัจกรของท่านมี หรือภิกษุผู้ ต้องการจีวรพึงแสดงชน ผู้ทำการในอารามหรืออุบาสกให้เป็น ไวยาวัจกร ด้วยคำว่า คนนั้นแลเป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย

ถ้าทูตนั้นสั่งไวยาวัจกรนั้นให้เข้าใจแล้ว เข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า คนที่ท่าน แสดงเป็นไวยาวัจกรนั้น ข้าพเจ้าสั่งให้เข้าใจแล้ว

ท่านจงเข้าไปหา เขาจักให้ท่านครองจีวรตามกาล

ภิกษุผู้ต้องการจีวรเข้าไปหา ไวยาวัจกรแล้ว พึงทวงพึงเตือนสองสามครั้งว่า รูปต้องการ จีวร ภิกษุทวงอยู่ เตือนอยู่สองสามครั้ง ยังไวยาวัจกรนั้น ให้จัดจีวร สำเร็จได้ การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้

นั่นเป็นการดีถ้าให้สำเร็จไม่ได้ พึงยืนนิ่งต่อหน้า ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง๖ ครั้ง เป็นอย่างมาก เธอยืนนิ่งต่อหน้า ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง๖ ครั้ง เป็นอย่างมาก ยังไวยาวัจกรนั้นให้จัดจีวร สำเร็จได้ การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็นการดีถ้าให้สำเร็จไม่ได้

ถ้าเธอพยายามให้ยิ่งกว่านั้น ยังจีวรนั้นให้สำเร็จ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ถ้าให้สำเร็จ ไม่ได้ พึงไปเองก็ได้ ส่งทูตไปก็ได้ในสำนักที่ส่งทรัพย์ สำหรับจ่ายจีวรมาเพื่อเธอ บอกว่า ท่านส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปเฉพาะภิกษุใด ทรัพย์นั้นหาสำเร็จประโยชน์ น้อยหนึ่ง แก่ภิกษุนั้นไม่ ท่านจงทวงเอาทรัพย์ของท่านคืน ทรัพย์ของท่านอย่าได้ ฉิบหายเสียเลย นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น.

ธรรมะแวดล้อม ที่มาในสูตรอื่นๆ
... เมณฑกะคหบดีผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “มีอยู่ พระพุทธเจ้าข้า หนทางกันดารอัตคัดน้ำอัตคัดอาหาร ภิกษุไม่มีเสบียง จะเดินทางไป ทำไม่ได้ง่าย ขอประทานพระวโรกาส ขอพระองค์โปรดทรงอนุญาต เสบียงเดินทาง แก่ภิกษุทั้งหลายด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงทำ ธรรมีกถาใน เพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งแก่ภิกษุ ทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาตโครส ๕ คือ นมสด นมส้ม เปรียง เนยข้น เนยใส.

ภิกษุทั้งหลาย ! หนทางกันดาร อัตคัดน้ำ อัตคัดอาหาร ภิกษุไม่มีเสบียงจะเดินทางไป ทำไม่ได้ง่าย เราจึงอนุญาตให้แสวงหาเสบียงได้ คือ ภิกษุต้องการข้าวสาร พึงแสวงหา ข้าวสาร ต้องการถั่วเขียวพึงแสวงหาถั่วเขียว ต้องการถั่วราชมาส พึงแสวงหาถั่วราชมาส ต้องการเกลือพึงแสวงหาเกลือ ต้องการน้ำอ้อย พึงแสวงหาน้ำอ้อย ต้องการน้ำมันพึงแสวงหาน้ำมัน ต้องการเนยใส พึงแสวงหาเนยใส.

ภิกษุทั้งหลาย ! ชาวบ้านที่มีศรัทธาเลื่อมใส เขามอบเงินทองไว้ในมือกัปปิยการก สั่งว่า “สิ่งใดควรแก่พระผู้เป็นเจ้า ขอท่านจงถวายสิ่งนั้นด้วยกัปปิยภัณฑ์นี้ ”.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาตให้ยินดีของอันเป็นกัปปิยะจากกัปปิยภัณฑ์นั้นได้ แต่เรามิได้กล่าวว่า พึงยินดีพึงแสวงหาทองและเงินโดยปริยายไรๆ เลย.

 “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อราชบริษัทนั่งประชุมกันในพระราชวังสังสนทนากันว่า ทองและเงินย่อมควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมยินดีทองและเงิน เมื่อราชบริษัทกล่าวอย่างนี้ ข้าพระองค์ได้กล่าวกะบริษัทนั้นว่า ท่านผู้เจริญ อย่าได้ กล่าวอย่างนี้ ทองและเงินย่อมไม่ควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมไม่ยินดี ทองและเงิน ย่อมไม่รับทองและเงิน สมณศากยบุตรห้ามแก้วมณีและทอง ปราศจาก ทองและเงิน

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ไม่อาจให้บริษัทนั้นยินยอมได้ เมื่อข้าพระองค์ พยากรณ์อย่างนี้ เป็นอันกล่าวตามคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ไม่กล่าวตู่พระผู้มี พระภาคด้วยคำไม่จริง เป็นการพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม และสหธรรมิกบางคน ที่กล่าวตาม ก็จะไม่พลอยกลายเป็นผู้ที่ถูกตำหนิไปด้วยหรือ พระเจ้าข้า.”

ดีละ คามณิ ! เมื่อท่านพยากรณ์อย่างนี้ เป็นอันกล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว ไม่กล่าว ตู่เราด้วยคำไม่จริง เป็นการพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม และสหธรรมิกบางคน ที่กล่าวตามก็ จะไม่พลอยกลายเป็นผู้ถูกตำหนิไปด้วย เพราะว่าทองและเงินไม่ควรแก่ สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมไม่ยินดีทองและเงิน สมณศากยบุตรห้ามแก้วมณี และทอง ปราศจากทองและเงิน

คามณิ ! ทองและเงินควรแก่ผู้ใด เบญจกามคุณก็ควรแก่ผู้นั้น เบญจกามคุณควร แก่ผู้ใด ทองและเงินก็ควรแก่ผู้นั้น

คามณิ ! ท่านพึงทรงความที่ควรแก่เบญจกามคุณนั้นโดยส่วนเดียวว่า ไม่ใช่ธรรมของ สมณะ ไม่ใช่ธรรมของศากยบุตรอนึ่ง เรากล่าวอย่างนี้ว่า ผู้ต้องการหญ้าพึงแสวงหา หญ้า ผู้ต้องการไม้พึงแสวงหาไม้ ผู้ต้องการเกวียนพึงแสวงหาเกวียน ผู้ต้องการบุรุษ พึงแสวงหาบุรุษ เรามิได้กล่าวว่า สมณศากยบุตรพึงยินดีพึงแสวงหาทอง และเงินโดย ปริยายไรๆ เลย.

หน้า 200

85
ข้อปฎิบัติในการอนุโมทนาของภิกษุ

-บาลี จุลฺล. วิ. ๗/๒๒๓/๔๒๐-๔๒๓.

สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่อนุโมทนาในที่ฉัน คนทั้งหลายจึงเพ่งโทษติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ไม่อนุโมทนาในที่ฉัน ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาอยู่จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค  ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้นในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า

ภิกษุทั้งหลาย !
เราอนุญาต ให้อนุโมทนาในที่ฉัน เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระอนุโมทนาในที่ฉัน ..
เราอนุญาต ให้ภิกษุเถระ อนุเถระ ๔-๕ รูป รอ (เป็นเพื่อน) อยู่ในที่ฉัน ...

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อมีกิจที่จะพึงทำ เราอนุญาตให้บอกลาภิกษุผู้นั่งอยู่ในลำดับ (ใกล้ๆ) แล้วไปได้.

หน้า 201

86
ข้อปฏิบัติในการขอสิ่งของ
ต่อผู้ปวารณาของภิกขุ
-บาลี มหา. วิ. ๒/๓๗๑/๕๕๖.

ภิกษุมิใช่ผู้อาพาธ พึงยินดีปวารณาด้วยปัจจัยเพียง๔ เดือน เว้นไว้แต่ปวารณาอีก เว้นไว้แต่ปวารณาเป็นนิตย์ถ้าเธอยินดียิ่งกว่านั้น เป็นปาจิตตีย์.

หน้า 202

87
เหตุให้ค้าขายได้กำไร หรือ ขาดทุน

-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๐๕/๗๙.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อะไรหนอเป็นเหตุปัจจัยเครื่องให้บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำการค้าขายขาดทุน อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำการค้าขายไม่ได้กำไรตามที่ประสงค์ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้บุคคล บางคนในโลกนี้ ทำการค้าขายได้กำไรตามที่ประสงค์ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่อง ให้บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำการค้าขายได้กำไรยิ่งกว่าที่ประสงค์.

(1) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้ว ย่อม ปวารณาว่า “ขอท่านจงบอกปัจจัยที่ท่านประสงค์” เขากลับไม่ถวายปัจจัยที่เขา ปวารณา ถ้าเขาเคลื่อนจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นอย่างนี้ เขาทำการค้าขาย อย่างใดๆ เขาย่อมขาดทุน.

(2) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้ว ย่อม ปวารณาว่า “ขอท่านจงบอกปัจจัยที่ท่านประสงค์” แต่เขาถวายปัจจัยที่ปวารณาไว้ ไม่เป็นไป ตามประสงค์ ถ้าเขาเคลื่อนจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นอย่างนี้ เขาทำการค้าขาย อย่างใดๆ เขาย่อมไม่ได้กำไรตามที่ประสงค์.

(3) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้ว ย่อม ปวารณาว่า “ขอท่านจงบอกปัจจัยที่ต้องประสงค์” เขาถวายปัจจัยที่ปวารณาไว้ ตามที่ประสงค์ ถ้าเขาเคลื่อนจากอัตภาพนั้น มาสู่ความเป็นมนุษย์นี้เขาทำการค้าขาย อย่างใดๆ เขาย่อมได้กำไรตามที่ประสงค์.

(4) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้ว ย่อม ปวารณา ว่า “ขอท่านจงบอกปัจจัยที่ต้องประสงค์” เขาถวายปัจจัยที่ปวารณาไว้ยิ่งกว่า ที่ประสงค์ ถ้าเขาเคลื่อนจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้ เขาทำ การค้าขาย อย่างใดๆ เขาย่อมได้กำ ไรยิ่งกว่าที่ประสงค์.

สารีบุตร ! นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำการค้าขาย ขาดทุน นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำการค้าขายไม่ได้กำไร ตามที่ประสงค์นี้ เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำการค้าขายได้ กำไรตามที่ประสงค์นี้ เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำการ ค้าขายได้กำไรยิ่งกว่าที่ประสงค์.

หน้า 204

88
เหตุแห่งความเจริญขึ้น และความถูกทำลายแห่งสกุล

-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๔๐๐/๖๒๒.

คามณิ ! ตลอดเวลาล่วงมา ๙๑ กัปป์ นับแต่กัปนี้เราระลึกไม่ได้ว่าเราเคยเข้าไป ทำลายตระกูลใดๆ เพราะการรับเอาข้าวสุกมา โดยที่แท้นั้นตระกูลใดๆ ที่เป็นตระกูล มั่งคั่งมีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก สกุลทั้งปวงนั้นเจริญขึ้นเพราะการ ให้ทาน เพราะสัจจะและสัญญมะ (การบีบบังคับใจ).

คามณิ ! เหตุปัจจัย ๘ อย่างเพื่อการทำลายแห่งสกุลคือ

(1) สกุลทั้งหลายถึงการถูกทำลาย เพราะพระราชา
(2) สกุลทั้งหลายถึงความถูกทำลาย เพราะโจร
(3) สกุลทั้งหลายถึงความถูกทำลาย เพราะไฟ
(4) สกุลทั้งหลายถึงความถูกทำลาย เพราะน้ำ
(5) สกุลทั้งหลายถึงความถูกทำลาย เพราะทรัพย์ที่ฝังไว้เคลื่อนจากที่
(6) สกุลทั้งหลายถึงความถูกทำลาย เพราะการงานที่ประกอบไม่ดี
(7) คนในสกุลใช้จ่ายโภคทรัพย์เหล่านั้นฟุ่มเฟือยให้พินาศสูญหายไป
(8) ความไม่เที่ยงเป็นที่ ๘

คามณิ ! เหล่านี้แลคือเหตุปัจจัย ๘ อย่าง เพื่อการทำลายแห่งสกุลทั้งหลาย เมื่อเหตุปัจจัย ๘ อย่างเหล่านี้มีอยู่ผู้ใดพึงกล่าวหาเราอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาค ปฏิบัติเพื่อให้สกุลขาดสูญ เพื่อให้สกุลเสื่อม เพื่อให้สกุลคับแค้น ดังนี้ผู้นั้นยังไม่ละ วาจานั้น ยังไม่ละความคิดนั้น ยังไม่สละทิฏฐินั้นต้องดิ่งลงในนรกแน่แท้.