เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ           

 หนังสือ ทาน-พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  3 of 4  
 
  หนังสือ ทาน-พุทธวจน   ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
       
  ควรให้ทานที่ใด    
  48 . ควรให้ทานในที่ใด (นัยที่ ๑) 108  
  49 . ควรให้ทานในที่ใด (นัยที่ ๒) 112  
  50 . ไม่ควรห้ามผู้อื่นให้ทาน 114  
  51 . นาดี หรือ นาเลว 116  
  52 . ผู้รับทาน กับผลที่ได้ (นัยที่ ๑) 118  
  53 . ผู้รับทาน กับผลที่ได้ (นัยที่ ๒) 119  
       
  องค์ประกอบของทานที่ให้แล้วมีผลมาก    
  54 . องค์ประกอบของทานที่ให้แล้วมีผลมาก (นัยที่ ๑) 124  
  55 . องค์ประกอบของทานที่ให้แล้วมีผลมาก (นัยที่ ๒) 127  
  56 . การวางจิตเมื่อให้ทาน 129  
  57 . ผลของทานกับผู้รับ 133  
  58 . ผู้ควรรับทักษิณา (นัยที่ ๑) ทักษิณาแปลว่า ของถวายพระในการทำบุญ 138  
  59 . ผู้ควรรับทักษิณา (นัยที่ ๒) 141  
  60 . ผู้ควรรับทักษิณา (นัยที่ ๓) 142  
  61 . ผู้ควรรับทักษิณา (นัยที่ ๔) 143  
  62 . ผู้ควรรับทักษิณา (นัยที่ ๕) 144  
  63 . ผู้ควรรับทักษิณา (นัยที่ ๖) 145  
  64 . ผู้ควรรับทักษิณา (นัยที่ ๗) 146  
  65 . ผู้ควรรับทักษิณา (นัยที่ ๘) 148  
  66 . ผู้ควรรับทักษิณา (นัยที่ ๙) 151  
  67 . ผู้ควรรับทักษิณา (นัยที่ ๑๐) 152  
  68 . ผู้ควรรับทักษิณา (นัยที่ ๑๑) 153  
  69 . ผู้ควรรับทักษิณา (นัยที่ ๑๒) 155  
  70 . ผู้ควรรับทักษิณา (นัยที่ ๑๓) 157  
  71 . ผู้ควรรับทักษิณา (นัยที่ ๑๔) 159  
 

 

   
 
 




ควรให้ทานที่ใด

หน้า 108 

48
ควรให้ทานในที่ใด (นัยที่ ๑)

-บาลี สคาถ. สํ. ๑๕/๑๔๓/๔๐๕.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ทาน บุคคลพึงให้ในที่ไหนหนอ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ทาน บุคคลพึงให้ในที่ไหนหนอ.
มหาราช ! จิตย่อมเลื่อมใสในที่ใด พึงให้ในที่นั้น.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ทานที่ให้แล้วในที่ไหนจึงมีผลมาก.

มหาราช ! ทานพึงให้ในที่ไหนนั่นเป็นข้อหนึ่ง และ
ทานที่ให้แล้วในที่ไหนจึงมีผลมาก นั่นเป็นอีกข้อหนึ่ง.

มหาราช ! ทานที่ให้แล้วแก่ผู้มีศีลแล มีผลมาก
ทานที่ให้แล้วในผู้ทุศีลหามีผลมากไม่.

มหาราช ! ด้วยเหตุนั้น เราจักย้อนถามพระองค์
ในปัญหากรรมข้อนั้นบ้าง พระองค์พอพระทัยอย่างใด
พึงตอบอย่างนั้น.

มหาราช ! พระองค์จะสำคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไร ณ ที่นี้การยุทธพึงปรากฏ เฉพาะหน้าแด่พระองค์ สงครามพึงปะทะกัน ถ้าว่ากุมารที่เป็นกษัตริย์ ... ที่เป็นพราหมณ์ ... ที่เป็นแพศย์ ... ที่เป็นศูทร เป็นผู้ไม่ได้ศึกษาไม่ได้หัดมือ ไม่ได้รับความชำนาญ ไม่ได้ประลองการยิง เป็นคนขลาด เป็นคนมักสั่น เป็นคนมักสะดุ้ง เป็นคนมักวิ่งหนีพึงมาอาสาไซร้ พระองค์ พึงทรงชุบเลี้ยงบุรุษ นั้นหรือ และพระองค์พึงทรงต้องการบุรุษเช่นนั้นหรือ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ไม่พึงชุบเลี้ยงบุรุษนั้น และข้าพระองค์ไม่พึง ต้องการบุรุษเช่นนั้นแล.

มหาราช ! พระองค์จะทรงสำคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไร ณ ที่นี้การยุทธพึง ปรากฏแก่พระองค์ สงครามพึงปะทะกัน ถ้าว่ากุมารที่เป็นกษัตริย์ ... ที่เป็น พราหมณ์ ...ที่เป็นแพศย์ ... ที่เป็นศูทร เป็นผู้ศึกษาดีแล้ว ได้หัดมือแล้วได้รับ ความชำนาญแล้ว ได้ประลองการยิงมาแล้ว ไม่เป็นคนขลาด ไม่เป็นคนสั่น ไม่เป็นคนสะดุ้ง ไม่เป็นคนมักวิ่งหนีพึงมาอาสาไซร้ พระองค์พึงทรงชุบเลี้ยงบุรุษ นั้นหรือ และพระองค์พึงทรงมีพระประสงค์บุรุษเช่นนั้นหรือ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! หม่อมฉันพึงชุบเลี้ยงบุรุษนั้น และหม่อมฉันพึงต้องการ บุรุษเช่นนั้น.

มหาราช ! ฉันนั้นก็เหมือนกัน แม้หากว่า กุลบุตรออกจากเรือน ตระกูลไรๆ เป็นผู้บวชหาเรือนมิได้ และกุลบุตรนั้น เป็นผู้มีองค์ ๕ อันละได้แล้ว เป็นผู้ ประกอบแล้วด้วยองค์ ๕ ทานที่ให้แล้วในกุลบุตรนั้น ย่อมเป็นทานมีผล มากองค์ ๕ อันกุลบุตรนั้นละได้แล้วเป็นอย่างไร.

(1) กามฉันทะอันกุลบุตรนั้นละได้แล้ว
(2) พยาบาทอันกุลบุตรนั้นละได้แล้ว
(3) ถีนมิทธะอันกุลบุตรนั้นละได้แล้ว
(4) อุทธัจจกุกกุจจะอันกุลบุตรนั้นละได้แล้ว
(5) วิจิกิจฉาอันกุลบุตรนั้นละได้แล้ว

เหล่านี้แล องค์ ๕ อันกุลบุตรนั้นละได้แล้ว.

กุลบุตรนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นอย่างไร
(1) เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยกองศีลอันเป็นของพระอเสขะ
(2) เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยกองสมาธิอันเป็นของพระอเสขะ
(3) เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยกองปัญญาอันเป็นของพระอเสขะ
(4) เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยกองวิมุตติอันเป็นของพระอเสขะ
(5) เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะอันเป็นของพระอเสขะ

กุลบุตรนั้น เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยองค์ ๕ เหล่านี้ทานที่ให้แล้วในกุลบุตรผู้มีองค์ ๕ อันละได้แล้ว และเป็น ผู้ประกอบแล้วด้วยองค์ ๕ อย่างนี้ ย่อมมีผลมาก.

 (คาถาผนวกท้ายพระสูตร)

ศิลปะการยิงแม่น กำ ลังเข้มแข็ง และความกล้าหาญมีอยู่ในชายหนุ่มผู้ใด พระราชาผู้ทรงพระประสงค์ ด้วยการยุทธพึงทรงชุบเลี้ยงชายหนุ่มเช่นนั้น ไม่พึงทรงชุบเลี้ยงชายหนุ่มผู้ไม่กล้าหาญ เพราะเหตุ แห่งชาติฉันใดธรรมะ คือขันติ และโสรัจจะ ตั้งอยู่แล้วในบุคคลใดบุคคลพึงบูชาบุคคลนั้น ผู้มีปัญญา มีความประพฤติเยี่ยงพระอริยะแม้มีชาติทราม ฉันนั้นเหมือนกัน

พึงสร้างอาศรมอันเป็นที่รื่นรมย์ ยังผู้พหูสูตทั้งหลายให้สำนักอยู่ ณ ที่นั้น พึงสร้างบ่อน้ำไว้ในป่าที่กันดาร น้ำ และสะพานในที่เป็นหล่ม พึงถวายข้าว น้ำ ของเคี้ยว ผ้า และเสนาสนะในท่านผู้ซื่อตรงทั้งหลาย ด้วยน้ำใจอันผ่องใส เมฆมีสายฟ้าแลบแปลบปลาบ มียอดตั้งร้อยกระหึ่มอยู่ ยังแผ่นดินให้โชกชุ่มอยู่ ย่อมยังที่ดอนและที่ลุ่มให้เต็ม แม้ฉันใด

ทายกผู้มีศรัทธา เป็นบัณฑิตได้ฟังแล้ว ย่อมจัดหาโภชนาหารมาเลี้ยงวณิพก ด้วยข้าว น้ำให้อิ่มหนำ บันเทิงใจเที่ยวไปในโรงทาน สั่งว่าท่านทั้งหลายจงให้ ท่านทั้งหลายจงให้ดังนี้ และทายกนั้นบันลือเสียง เหมือนเสียงกระหึ่มแห่งเมฆ เมื่อฝนกำลังตก ฉะนั้น ธารแห่งบุญอันไพบูลย์นั้น ย่อมยังทายกให้ชุ่มชื่น.



หน้า 122


49
ควรให้ทานในที่ใด (นัยที่ ๒)

-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๓๖-๔๓๘/๓๓๐.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ทานประจำ สกุลวงศ์ข้าพระองค์ยังให้อยู่แต่ว่าทานนั้นข้าพระองค์ให้เฉพาะหมู่ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ หรือปฏิบัติ อรหัตตมรรค ที่อยู่ป่า ที่ถือบิณฑบาต ที่ถือผ้าสุกุลเป็นวัตร.

คหบดี ! ข้อที่จะรู้ว่าคนเหล่านี้เป็นพระอรหันต์ หรือปฏิบัติอรหัตตมรรคนั้น เป็นสิ่งที่รู้ ได้ยากสำหรับท่านผู้เป็นคฤหัสถ์ ผู้บริโภคกาม ผู้ยังมีการนอนเบียดบุตร บริโภคใช้ สอยกระแจะจันทน์ และผ้าจากเมืองกาสี ทัดทรงมาลาเครื่องกลิ่น และเครื่องผัดทา ยินดีอยู่ด้วยทองและเงิน.

คหบดี ! ถึงแม้ภิกษุจะเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ถ้าเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ถือตัว กลับกลอก พูดมาก มีวาจาไม่แน่นอน มีสติลืมหลง ปราศจากสัมปชัญญะ ไม่มีสมาธิ มีจิตหมุนไป ผิดมีอินทรีย์อันปล่อยแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุนั้น ควรถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ.

คหบดี ! ถึงแม้ภิกษุจะเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ถ้าเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตัว ไม่กลับกลอก ไม่พูดมาก มีวาจาแน่นอน มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีสมาธิ มี เอกัคคตาจิต (จิตมีอารมณ์เดียว) สำรวมอินทรีย์ ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุนั้นอันใครๆ ควรสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ.

คหบดี ! ถึงแม้ภิกษุจะเป็นผู้อยู่ใกล้บ้านก็ดี ...บิณฑบาตเป็นวัตรก็ดี ... ฉันในที่ นิมนต์ก็ดี ... ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรก็ดี ... นุ่งห่มคหบดีจีวรก็ดี ถ้าเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ถือตัวกลับกลอก พูดมาก มีวาจาไม่แน่นอน มีสติลืมหลง ปราศจาก สัมปชัญญะ ไม่มีสมาธิ มีจิตหมุนไปผิด มีอินทรีย์อันปล่อยแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุนั้น ควรถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ.

คหบดี ! ถึงแม้ภิกษุจะเป็นผู้อยู่ใกล้บ้านก็ดี ...บิณฑบาตเป็นวัตรก็ดี ... ฉันในที่ นิมนต์ก็ดี ... ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรก็ดี ... นุ่งห่มคหบดีจีวรก็ดี ถ้าเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตัว ไม่กลับกลอก ไม่พูดมาก มีวาจาแน่นอน มีสติตั้งมั่นมีสัมป ชัญญะ มีสมาธิ มีเอกัคคตาจิต สำรวมอินทรีย์ ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุนั้นอันใครๆ ควรสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ.

เอาละ คหบดี ! ท่านจงถวายทานในสงฆ์เถิด เมื่อท่านถวายทานในสงฆ์อยู่ จิตจัก เลื่อมใส ท่านเป็นผู้มีจิต อันเลื่อมใสแล้ว ภายหลังแต่การตาย เพราะการทำลาย แห่งกายจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! จำ เดิมแต่วันนี้ไป ข้าพระองค์จะถวายทานในสงฆ์.

หน้า 114

50
ไม่ควรห้ามผู้อื่นให้ทาน

-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๒๐๕/๔๙๗.

วัจฉะ ! ผู้ใดห้ามผู้อื่นซึ่งให้ทาน ผู้นั้นชื่อว่าเป็นอมิตร ผู้ทำอันตรายต่อสิ่ง ๓ สิ่ง คือ
(1) ทำอันตรายต่อบุญของทายก (ผู้ให้)
(2) ทำอันตรายต่อลาภของปฏิคาหก (ผู้รับ)
(3) และตัวเองก็ขุดรากตัวเอง กำจัดตัวเองเสีย
ตั้งแต่แรกแล้ว

วัจฉะ ! ผู้ที่ห้ามผู้อื่นซึ่งให้ทาน ชื่อว่าเป็นอมิตรผู้ทำอันตรายสิ่ง ๓ สิ่ง ดังนี้แล.

วัจฉะ ! เราเองย่อมกล่าวอย่างนี้ว่า “ผู้ใด เทน้ำล้างหม้อหรือน้ำล้างชามก็ตามลงใน หลุมน้ำครำ หรือทางน้ำโสโครก ซึ่งมีสัตว์มีชีวิตเกิดอยู่ในนั้น ด้วยคิดว่าสัตว์ในนั้น จะได้อาศัยเลี้ยงชีวิต ดังนี้แล้ว เราก็ยังกล่าวว่า นั่นเป็นทางมาแห่ง บุญ เพราะการ ทำแม้เช่นนั้น ไม่ต้องกล่าวถึงการให้ทานแก่มนุษย์ด้วยกัน” ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง เรากล่าวว่าทานที่ให้แก่ผู้มีศีล เป็นทานมีผลมาก ทานที่ให้แก่ผู้ทุศีล หาเป็นอย่างนั้นไม่ และผู้มีศีลนั้น เป็นผู้ละเสียซึ่งองค์ ๕ และประกอบอยู่ด้วยองค์ ๕.

ละองค์ ๕ คือ
(1) ละกามฉันทะ
(2) ละพยาบาท
(3) ละถีนมิทธะ (หดหู่ซึมเซา)
(4) ละอุทธัจจกุกกุจจะ (ฟุ้งซ่านรำคาญ)
(5) ละวิจิกิจฉา (ลังเลสงสัย)

ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
(1) ประกอบด้วยกองศีลชั้นอเสขะ (คือชั้นพระอรหันต์)
(2) ประกอบด้วยกองสมาธิชั้นอเสขะ
(3) ประกอบด้วยกองปัญญาชั้นอเสขะ
(4) ประกอบด้วยกองวิมุตติชั้นอเสขะ
(5) ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะชั้นอเสขะ

เรากล่าวว่าทานที่ให้ในบุคคลผู้ละองค์ ๕ และประกอบด้วยองค์ ๕ ด้วยอาการ อย่างนี้ มีผลมาก ดังนี้.

หน้า 116

51
นาดี หรือ นาเลว

-บาลี อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๒๔๑/๑๒๔.

ภิกษุทั้งหลาย ! พืชที่หว่านลงในนาที่ประกอบด้วยลักษณะ ๘ อย่าง ย่อมไม่ให้ผล มาก ไม่ให้ความพอใจมาก ไม่ให้กำไรมาก ประกอบด้วยลักษณะ ๘ อย่างเป็น อย่างไร คือนาในกรณีนี้ พื้นที่ลุ่มๆ ดอนๆ เต็มไปด้วยก้อนหินและ ก้อนกรวด ดินเค็ม ไถให้ลึกไม่ได้ ไม่มีทางน้ำเข้า ไม่มีทางน้ำออก ไม่มีเหมือง ไม่มีหัวคันนา นี้ฉันใด.

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทานที่บุคคลให้ในสมณพราหมณ์ ที่ประกอบด้วย องค์ ๘ อย่างเหล่านี้ เป็นทานไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่มีความรุ่งเรืองมากไม่แผ่ไพศาลมาก ประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างเป็นอย่างไร คือสมณพราหมณ์ในกรณีนี้ เป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิ มีมิจฉา-สังกัปปะ มีมิจฉาวาจา มีมิจฉากัมมันตะ มีมิจฉาอาชีวะ มีมิจฉาวายามะ มีมิจฉาสติ มีมิจฉาสมาธิ

ภิกษุทั้งหลาย !ทานที่บุคคลให้ในสมณพราหมณ์ที่ประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างอย่างนี้ เป็นทาน ไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่มีความรุ่งเรืองมาก ไม่แผ่ไพศาลมาก.

ภิกษุทั้งหลาย ! พืชที่หว่านลงในนาที่ประกอบด้วยลักษณะ ๘ อย่าง ย่อมให้ผลมาก ให้ความพอใจมาก ให้กำไรมาก ประกอบด้วยลักษณะ ๘ อย่างเป็นอย่างไร คือนาใน กรณีนี้ พื้นที่ไม่ลุ่มๆ ดอนๆ ไม่เต็มไปด้วยก้อนหินและก้อนกรวด ดินไม่เค็ม ไถให้ลึก ได้ มีทางน้ำเข้ามีทางน้ำออก มีเหมือง มีหัวคันนา นี้ฉันใด.

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทานที่บุคคลให้ในสมณพราหมณ์ ที่ประกอบ ด้วยองค์ ๘ อย่างเหล่านี้ เป็นทานมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก ประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างเป็นอย่างไร คือสมณพราหมณ์ในกรณีนี้ เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ มีสัมมา-สังกัปปะ มีสัมมาวาจา มีสัมมากัมมันตะ มีสัมมาอาชีวะ มีสัมมาวายามะ มีสัมมาสติ มีสัมมาสมาธิ

ภิกษุทั้งหลาย ! ทานที่บุคคลให้ในสมณพราหมณ์ที่ประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างอย่างนี้เป็นทานมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมากแผ่ไพศาลมาก.

หน้า 118

52
ผู้รับทาน กับผลที่ได้ (นัยที่ ๑)

-บาลี มู. ม. ๑๒/๔๓๓/๔๐๓.

ลำดับนัน้ สัจจกนคิ รนถ์ทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึงบอกพวกเจ้า ลิจฉวีเหล่านั้นว่า เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย จงฟังข้าพเจ้า พระโคดมพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ข้าพเจ้านิมนต์แล้วเพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ พวกท่านจะนำอาหารใดมาเพื่อข้าพเจ้า จงเลือกอาหารที่ควรแก่พระโคดมเถิด.

เมื่อล่วงราตรีนั้นแล้ว เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น ได้นำภัตตาหารประมาณห้าร้อยสำรับ ไปให้แก่สัจจกนิครนถ์ สัจจกนิครนถ์ ให้จัดของเคี้ยวของฉันอันประณีต ในอารามของ ตนเสร็จแล้ว จึงให้ทูลบอกกาลแด่พระผู้มีพระภาคว่าข้าแต่พระโคดม เวลานี้เป็นกาล อันควร ภัตตาหารสำเร็จแล้ว .

ครั้งนั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก แล้วทรงถือบาตรจีวรเสด็จ ไปสู่อารามแห่งสัจจกนิครนถ์ ประทับบนอาสนะที่ปูลาดไว้ถวาย พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์.

ครั้งนั้น สัจจกนิครนถ์ถวายภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ด้วยของเคี้ยวของ ฉัน อันประณีต ด้วยมือของตน ให้อิ่มหนำสำราญแล้วเมื่อพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จ นำพระหัตถ์ออกจากบาตรแล้ว สัจจกนิครนถ์จึงถือเอาอาสนะต่ำ นั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่งได้ทูลว่า

ข้าแต่พระโคดม ! ขอบุญและผลบุญในทานนี้ จงมีเพื่อความสุขแก่ทายกทั้งหลาย เถิด.

อัคคิเวสสนะ ! บุญและผลบุญในทานนี้ อาศัยทักขิเณยยบุคคลที่ยังไม่สิ้นราคะ โทสะ โมหะ เช่นกับท่านจักมีแก่ ทายกทั้งหลาย ส่วนบุญและผลบุญอาศัย ทักขิเณยย-บุคคล ที่สิ้นราคะ โทสะ โมหะ เช่นกับเรา จักมีแก่ท่าน ฉะนี้แล.

หน้า 119

53
ผู้รับทาน กับผลที่ได้ (นัยที่ ๒)

-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๓๑๗/๕๓๙.

ภิกษุทั้งหลาย ! ผ้าทอด้วยเปลือกปอ ถึงจะยังใหม่อยู่ สีก็ไม่งาม นุ่งห่มเข้าก็เจ็บเนื้อ ราคาก็ถูก แม้จะกลางใหม่ กลางเก่าแล้ว สีก็ยังไม่งาม นุ่งห่มเข้าก็ยังเจ็บเนื้อ ราคาก็ถูกมาก แม้จะเก่าคร่ำแล้ว สีก็ยังไม่งาม นุ่งห่มเข้าก็ยังเจ็บเนื้อ ราคาก็ถูกมาก อยู่นั่นเอง ผ้าเปลือกปอ ที่เก่าคร่ำแล้วมีแต่จะถูกใช้เช็ดหม้อข้าว หรือทิ้งอยู่ตามกอง ขยะมูลฝอย นี้ฉันใด.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุที่ทุศีล มีความเป็นอยู่เลวทรามก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้เพิ่งบวช ใหม่ เราก็กล่าวว่า มีผิวพรรณไม่งาม เหมือนผ้าเปลือกปอ ที่มีสีไม่งามนั้นนั่นแหละ เรากล่าวภิกษุนี้ว่า มีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ.

อนึ่ง ชนเหล่าใด คบหา สมาคม เข้าใกล้ ทำตามเยี่ยงอย่างของภิกษุนั้น ข้อนั้น จะเป็นทางให้เกิดสิ่งอัน ไม่เป็นประโยชน์ เป็นทุกข์แก่ชนเหล่านั้นเอง ตลอดกาลนาน เราจึงกล่าวภิกษุนั้นว่า ใครใกล้ชิดเข้าก็เจ็บเนื้อ เหมือนผ้าเปลือกปอ นุ่งห่มเข้าก็เจ็บเนื้อ ฉะนั้น เรากล่าวภิกษุนี้ว่ามีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ.

อนึ่ง ภิกษุนั้น รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และยากับเครื่องใช้ในการรักษาโรค ของชนเหล่าใด ทานนั้นย่อม ไม่มีผลใหญ่ ไม่มีอานิสงส์ใหญ่แก่ชนเหล่านั้น เรากล่าวภิกษุนั้นว่า มีค่าน้อย เหมือนผ้าเปลือกปอมีราคาถูก ฉะนั้นเรากล่าวภิกษุนี้ ว่า มีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้ภิกษุ มัชฌิมภูมิ (ยังไม่เป็นเถระ)เมื่อเป็นคนทุศีล มีความ เป็นอยู่เลวทราม ก็เป็นอย่างเดียวกันเรา กล่าวว่า มีผิวพรรณไม่งาม เหมือนผ้าเปลือก ปอ ที่มีสีไม่งามนั้นนั่นแหละ เรากล่าวภิกษุนี้ว่า มีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ.

อนึ่ง ชนเหล่าใด คบหา สมาคม เข้าใกล้ ทำตามเยี่ยงอย่างของภิกษุนั้น ข้อนั้น จะเป็นทางให้เกิดสิ่งอัน ไม่เป็นประโยชน์ เป็นทุกข์แก่ชนเหล่านั้นเอง ตลอดกาล นานเราจึงกล่าวภิกษุนั้นว่า ใครใกล้ชิดเข้าก็เจ็บเนื้อ เหมือนผ้าเปลือกปอ นุ่งห่มเข้าก็เจ็บเนื้อ ฉะนั้น เรากล่าวภิกษุนี้ว่ามีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ.

อนึ่ง ภิกษุนั้น รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ ยากับเครื่องใช้ในการรักษาโรค ของชน เหล่าใด ทานนั้นย่อมไม่มี ผลใหญ่ ไม่มีอานิสงส์ใหญ่แก่ชนเหล่านั้น เรากล่าวภิกษุนั้นว่า มีค่าน้อย เหมือนผ้าเปลือกปอ มีราคาถูก ฉะนั้น เรากล่าวภิกษุนี้ ว่า มีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้ภิกษุ ผู้เป็นเถระ เมื่อเป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่เลวทราม ก็เป็น อย่างเดียวกัน เรากล่าวว่าม ีผิวพรรณไม่งาม เหมือนผ้าเปลือกปอ ที่มีสีไม่งามนั้น นั่นแหละ เรากล่าวภิกษุนี้ว่า มีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ.

อนึ่ง ชนเหล่าใด คบหา สมาคม เข้าใกล้ ทำตามเยี่ยงอย่างของภิกษุนั้น ข้อนั้น จะเป็นทางให้เกิดสิ่งอัน ไม่เป็นประโยชน์ เป็นทุกข์แก่ชนเหล่านั้นเอง ตลอดกาล นานเราจึงกล่าวภิกษุนั้นว่า ใครใกล้ชิดเข้าก็เจ็บเนื้อ เหมือนผ้าเปลือกปอ นุ่งห่มเข้าก็เจ็บเนื้อ ฉะนั้น เรากล่าวภิกษุนี้ว่ามีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ.

อนึ่ง ภิกษุนั้น รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และยากับเครื่องใช้ในการรักษาโรค ของชนเหล่าใด ทานนั้นย่อมไม่มี ผลใหญ่ ไม่มีอานิสงส์ใหญ่แก่ชนเหล่านั้น เรากล่าวภิกษุนั้นว่า มีค่าน้อย เหมือนผ้าเปลือกปอ มีราคาถูก ฉะนั้นเรากล่าวภิกษุ นี้ว่า มีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ.

อนึ่ง ภิกษุเถระชนิดนี้ กล่าวอะไรขึ้นในท่ามกลางสงฆ์ภิกษุทั้งหลายก็จะว่าให้ว่า “ประโยชน์อะไรด้วยคำพูดของท่าน ซึ่งเป็นคนพาล คนเขลา คนอย่างท่านหรือ จะรู้จักสิ่งที่ควรพูด”ดังนี้

ภิกษุเถระนั้น ถูกเขาว่าให้ก็โกรธ แค้นใจ กล่าววาจาหยาบออกมา โดยอาการ ที่ทำให้ตนต้องถูกสงฆ์ ลงอุกเขปนียกรรม ในภายหลัง จึงเป็นเหมือนผ้าเปลือกปอ เก่าคร่ำ ที่เขาทิ้งเสียตามกองขยะมูลฝอย ฉะนั้นแล.

องค์ประกอบของทานที่ให้แล้วมีผลมาก

หน้า 124

54
องค์ประกอบของทาน ที่ให้แล้วมีผลมาก (นัยที่ ๑)

-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๗๕/๓๐๘.

ภิกษุทั้งหลาย ! อุบาสิกาชื่อนันทมารดาชาวเมืองเวฬุ-กัณฑกะนั้นถวายทักษิณา อันประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ ในภิกษุสงฆ์มีสารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นประมุข ก็ทักษิณาอันประกอบด้วยองค์ ๖ ประการเป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย ! องค์ ๓ ของผู้ให้ (ทายก) และ องค์ ๓ ของผู้รับ (ปฏิคาหก).
องค์ ๓ ของผู้ให้เป็นอย่างไร คือ
(๑) ก่อนให้เป็นผู้ดีใจ
(๒) กำลังให้อยู่ย่อมยังจิตให้เลื่อมใส
(๓) ครั้นให้แล้วย่อมปลื้มใจ
นี้แล องค์ ๓ ของผู้ให้.

องค์ ๓ ของผู้รับเป็นอย่างไร คือ
(๑) เป็นผู้ปราศจากราคะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ
(๒) เป็นผู้ปราศจากโทสะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ
(๓) เป็นผู้ปราศจากโมหะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะ

นี้แล องค์ ๓ ของผู้รับ.
อย่างนี้แล องค์ ๓ ของผู้ให้ และ องค์ ๓ ของผู้รับ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ทักษิณาที่ประกอบด้วยองค์ ๖ประการ ย่อมมี ด้วยประการอย่างนี้แล การถือประมาณบุญแห่ง ทักษิณาที่ประกอบด้วยองค์ ๖ ประการอย่างนี้ว่าห้วงบุญห้วง กุศลมีประมาณเท่านี้ นำสุขมาให้ มีอารมณ์เลิศมีสุข เป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อสิ่งน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข ดังนี้ ไม่ใช่ทำได้ง่าย โดยที่แท้บุญแห่งทักษิณานั้น ย่อมถึงการนับว่าเป็นห้วงบุญห้วง กุศลที่จะนับไม่ได้ประมาณไม่ได้ เป็นกองบุญใหญ่ทีเดียว

เปรียบเหมือนการถือเอาประมาณแห่งน้ำในมหาสมุทรว่า เท่านี้อาฬหกะ เท่านี้ร้อยอาฬหกะ เท่านี้พันอาฬหกะ หรือเท่านี้แสนอาฬหกะ ไม่ใช่ทำได้ง่าย โดยที่แท้น้ำในมหาสมุทรย่อมถึงการนับว่า เป็นห้วงน้ำที่จะนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ เป็นห้วงน้ำใหญ่ทีเดียวฉะนั้น.

 (คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
ผู้ให้ก่อนแต่จะให้เป็นผู้ดีใจ กำลังให้อยู่ย่อมยังจิตให้เลื่อมใส ครั้นให้แล้วย่อมปลื้มใจ นี้เป็นความถึงพร้อมแห่งยัญ ผู้รับเป็นผู้สำรวมประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย คือท่านผู้ ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ไม่มีอาสวะ ย่อมเป็นเขตที่สมบูรณ์ แห่งการให้ ทายกต้อนรับปฏิคาหกด้วยตนเอง ถวายทานด้วยมือตนเอง ยัญนั้นย่อมมี ผลมาก เพราะตน และเพราะผู้อื่นผู้มีปัญญา มีศรัทธา เป็นบัณฑิต มีใจพ้นจากความ ตระหนี่ ครั้นบำเพ็ญทานอย่างนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกที่เป็นสุขไม่มีความเบียดเบียน.

หน้า 127

55
องค์ประกอบของทาน ที่ให้แล้วมีผลมาก (นัยที่ ๒)

-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๐๔/๗๘.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณานี้มี๔ อย่าง ๔ อย่างเป็นอย่างไร คือ
(1) ทักษิณาบางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายทายก (ผู้ให้)ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก (ผู้รับ)
(2) บางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก
(3) บางอย่างฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์
(4) บางอย่างบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายกไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในข้อนี้ทายกมีศีล มีธรรมงามปฏิคาหกเป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันบาป อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่า บริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก เป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในข้อนี้ทายกเป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเป็นบาป ปฏิคาหกเป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม อย่างนี้แลทักษิณา ชื่อว่า บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ทักษิณาชื่อว่าฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์ เป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในข้อนี้ทายกก็เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเป็นบาป ปฏิคาหกก็เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเป็นบาปอย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่า ฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหก ก็ไม่บริสุทธิ์.

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก และฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในข้อนี้ ทายกก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม ปฏิคาหกก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม อย่างนี้แลทักษิณาชื่อว่า บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา๔ อย่าง.

หน้า 129

56
การวางจิตเมื่อให้ทาน

-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๖๐/๔๙.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เครื่องให้ทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มากอะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เครื่องให้ทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยมีความหวังผล ให้ทานโดยมีจิตผูกพัน ในผล ให้ทานโดยมุ่งการสั่งสม (บุญ) ให้ทานโดยคิดว่า “เราตายไปจักได้เสวยผล ของทานนี้” เขาจึงให้ทาน คือ ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่มยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัยและประทีปโคมไฟแก่สมณะหรือพราหมณ์ ...
เขาให้ทานนั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความ เป็นสหายแห่งเทวดาเหล่า จาตุ มหาราชิกา เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความ เป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้. (มาสู่คติ5 ไม่พ้นนรก อบาย)

สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล ให้ทานโดยไม่มีจิต ผูกพันในผล ให้ทานโดยไม่มุ่ง การสั่งสม (บุญ) ให้ทานโดยไม่คิดว่า “เราตายไป จักได้เสวยผลของทานนี้” แต่เขาให้ทานด้วยคิดว่า “การให้ทานเป็นการดี” เขาจึงให้ ทาน คือ ข้าว น้ำ … ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่าดาวดึงส์ ขาสิ้น กรรมสิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมาคือ มาสู่ความเป็น อย่างนี้. (มาสู่คติ5 ไม่พ้นนรก อบาย)

สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล … ไม่ได้ให้ทาน ด้วยคิดว่า “การให้ทานเป็นการดี” แต่ให้ทานด้วยคิดว่าบิดามารดา ปู่ย่า ตายายเคย ให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี เขาให้ทานคือ ข้าว น้ำ … ย่อมเข้าถึง ความเป็นสหายแห่ง เทวดาเหล่ายามา เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็น ใหญ่แล้วยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้. (มาสู่คติ5 ไม่พ้นนรก อบาย)

สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยไมมี่ความหวังผล … ไม่ได้ให้ทาน ด้วย คิดว่าบิดามารดา ปู่ย่าตายาย เคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำห้เสียประเพณี แต่ให้ ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากิน สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้ ไม่หุงหากิน เราหุง หากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่หุงหา ไม่สมควร เขาให้ทาน คือข้าว น้ำ …ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่าดุสิต เขาสิ้นกรรมสิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้วยังเป็นผู้ กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้. (มาสู่คติ5 ไม่พ้นนรก อบาย)


สารีบุตร !
บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล ... ไม่ได้ให้ทาน ด้วยคิดว่า เราหุงหากินได้สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านี้หุงหากินไม่ได้ เราหุงหากิน ได้จะไม่ให้ทานแก่สมณะ หรือพราหมณ์ผู้หุงหากินไม่ได้ไม่สมควร แต่ให้ทานด้วย คิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษีภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี บูชามหายัญ เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ … ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่านิมมานรดี เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้. (มาสู่คติ5 ไม่พ้นนรก อบาย)

สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล … ไม่ได้ให้ทาน ด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนก แจกทาน เหมือนอย่างฤาษีแต่ครั้งก่อน คืออัฏฐกฤาษี …ภคุฤาษี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใส เกิดความ ปลื้มใจ และโสมนัสเขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ … ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่ง เทวดาเหล่า ปรนิมมิตวสวัสดี เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศหมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้.(มาสู่คติ5 ไม่พ้นนรก อบาย)

สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล … ไม่ได้ให้ทาน ด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจ และโสมนัสแต่ให้ ทานเป็นเครื่องประดับจิต ปรุงแต่งจิต (จิตฺตาลงฺการํ จิตฺตปริกฺขารํ) เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ … ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่าพรหมกายิกา เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มา สู่ความเป็นอย่างนี้. (เป็นอริยบุคคล พ้นนรก อบาย)

สารีบุตร ! นี้แล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ทานเช่นนั้นที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก และเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเช่นนั้นที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้วมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

หน้า 133

57
ผลของทานกับผู้รับ

-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๔๕๘-๔๖๒/๗๑๑-๗๑๙.

อานนท์ ! บุคคล

-ให้ทานในสัตว์เดรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ ร้อยเท่า
-ให้ทานใน ปุถุชนผู้ทุศีล พึงหวังผลทักษิณา ได้ พันเท่า
-ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้ แสนเท่า
-ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ราศจากความกำหนัดในกาม พึงหวังผลทักษิณา ได้ แสนโกฏิเท่า
-ให้ทานในท่าน ผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณา นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้
ไม่ต้องกล่าวถึงการให้ทาน
ใน พระโสดาบัน
ใน ท่านผู้ปฏิบัติ เพื่อทำสกทาคามิผล ให้แจ้ง
ใน พระสกทาคามี
ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง
ใน พระอนาคามี
ในท่านผู้ปฏิบัติ เพื่อทำอรหัตตผลให้แจ้ง
ใน สาวกของตถาคตผู้เป็น พระอรหันต์
ใน พระปัจเจกพุทธะ และ
ในตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธะ.

อานนท์ ! ก็ทักษิณาที่ให้แล้วในสงฆ์มี ๗ อย่าง คือ ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขนี้ เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์
ประการที่ ๑ ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์

ประการที่ ๒ ให้ทานในภิกษุสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์

ประการที่ ๓ ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์

ประการที่ ๔ แจ้งต่อสงฆ์ว่าขอได้โปรดจัดภิกษุ และภิกษุณีจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์ แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์

ประการที่ ๕ 1 แจ้งต่อสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณา ที่ถึงแล้วในสงฆ์

ประการที่ ๖ แจ้งต่อสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุณีจำนวนเท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณา ที่ถึงแล้วในสงฆ์ ประการที่ ๗

อานนท์ ! ก็ในอนาคตกาล จักมีแต่เหล่าภิกษุโคตรภู มีผ้ากาสาวะ (จีวร) พันคอ เป็นคนทุศีล มีบาปธรรมคนทั้งหลายจักถวายทาน เฉพาะสงฆ์ได้ในเหล่าภิกษุทุศีลนั้น.
1. หมายเหตุ : เป็นข้อสังเกตให้ทราบว่า ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์นั้นจะมีภิกษุ หรือภิกษุณีจำนวนกี่รูปก็ได้

อานนท์ ! ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์แม้ในเวลานั้น เราก็กล่าวว่า มีผลนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ แต่ว่าเราไม่กล่าวปาฏิปุคคลิกทาน (การถวายเจาะจงบุคคล) ว่ามีผลมากกว่าทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์โดยปริยาย ไรๆ เลย.

อานนท์ ! ก็ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณานี้มี ๔ อย่าง

๔ อย่างเป็นอย่างไร คือ
(1) ทักษิณาบางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายทายก (ผู้ให้)ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก (ผู้รับ)
(2) ทักษิณาบางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก
(3) ทักษิณาบางอย่างฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์
(4) ทักษิณาบางอย่างบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก

อานนท์ ! ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร.

อานนท์ ! ในข้อนี้ทายกมีศีล มีธรรมงาม ปฏิคาหกเป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่า บริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก.

อานนท์ ! ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก เป็นอย่างไร.

อานนท์ ! ในข้อนี้ทายกเป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรมปฏิคาหกเป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก.

อานนท์ ! ก็ทักษิณาชื่อว่าฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์ เป็นอย่างไร.

อานนท์ ! ในข้อนี้ทายกก็เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรมปฏิคาหกก็เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าฝ่าย ทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์.

อานนท์ ! ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก และฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร.

อานนท์ ! ในข้อนี้ทายกก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมงามปฏิคาหกก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก.

อานนท์ ! นี้แล ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ อย่าง.

(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
(1) ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดีเชื่อกรรมและผลแห่งกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคนทุศีลทักษิณาของผู้นั้นชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก

(2) ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่เป็นธรรม มีจิตไม่เลื่อมใส ไม่เชื่อกรรมและผล ของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคนมีศีล ทักษิณาของผู้นั้นชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก

(3) ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่เป็นธรรม มีจิตไม่เลื่อมใส ไม่เชื่อกรรมและผลของ กรรม อย่างยิ่ง ให้ทานในคนทุศีล เราไม่กล่าวทานของผู้นั้นว่ามีผลไพบูลย์

(4) ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคนมีศีล เรากล่าวทานของผู้นั้นแลว่ามีผลไพบูลย์

(5) ผู้ใดปราศจากราคะแล้ว ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลของ กรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในผู้ปราศจากราคะ ทานของผู้นั้นนั่นแล เลิศกว่าอามิสทาน ทั้งหลาย.


หน้า 138

58
ผู้ควรรับทักษิณา (นัยที่ ๑)

-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๑๙๐-๒๐๑/๒๘๒-๒๙๑.


(ทักษิณาแปลว่า ของถวายพระในการทำบุญ)

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุบริษัทนี้ ไม่เหลวไหลเลย ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุบริษัทนี้ไม่เหลวแหลกเลย ภิกษุบริษัทนี้ตั้งอยู่แล้ว ในธรรมที่เป็นสาระล้วน.

ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทเช่นใด มีลักษณะเป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญควรแก่การ ทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า หมู่ภิกษุนี้ก็มีลักษณะเช่นนั้น ภิกษุบริษัทนี้ก็มีลักษณะเช่นนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทเช่นใด มีลักษณะที่ทานอันบุคคลให้น้อย แต่กลับมีผลมาก ทานที่ให้มาก ก็มีผลมากทวียิ่งขึ้น หมู่ภิกษุนี้ก็มีลักษณะเช่นนั้น ภิกษุบริษัทนี้ก็มี ลักษณะเช่นนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทเช่นใด มีลักษณะยากที่ชาวโลกจะได้เห็น หมู่ภิกษุนี้ก็มีรูป ลักษณะเช่นนั้น ภิกษุบริษัทนี้ก็มี ลักษณะเช่นนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทเช่นใด มีลักษณะที่ควรจะไปดู ไปเห็น แม้จะต้องเดินสิ้น หนทางนับด้วยโยชน์ๆ ถึงกับต้องเอา ห่อเสบียงไปด้วยก็ตาม หมู่ภิกษุนี้ก็มีลักษณะ เช่นนั้น ภิกษุบริษัทนี้ก็มีลักษณะเช่นนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งเป็นพระอรหันต์ ผู้สิ้นอาสวะแล้ว ผู้อยู่จบ พรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว มีภาระปลงลงได้แล้ว มีประโยชน์ ของตนเองบรรลุแล้วโดยลำดับ มีสัญโญชน์ในภพสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ทั่วถึง โดยชอบ พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งสิ้นสัญโญชน์เบื้องต่ำห้า เป็น โอปปาติกะแล้ว จักปรินิพพานในที่นั้น ไม่เวียนกลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งสิ้นสัญโญชน์สาม และมีความเบาบาง ไปของราคะ โทสะ โมหะเป็น สกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วจัก กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ พวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ ก็มีอยู่ใน หมู่ภิกษุนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งสิ้นสัญโญชน์สาม เป็นโสดาบัน มีอันไม่ ตกต่ำเป็นธรรมดาผู้เที่ยงแท้ ต่อนิพพาน จักตรัสรู้ได้ในกาลเบื้องหน้า พวกภิกษุแม้ เห็นปานนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่ภิกษุนี้ มีพวกภิกษุซึ่งประกอบความเพียรเป็นเครื่อง ต้องทำ เนืองๆ ในการอบรมสติปัฏฐานสี่ สัมมัปปธานสี่ อิทธิบาทสี่ อินทรีย์ห้าพละห้า โพชฌงค์เจ็ด อริยมรรคมีองค์แปด เมตตา กรุณามุทิตา อุเบกขา อสุภะ อนิจจสัญญา และอานาปานสติพวกภิกษุแม้เห็นปานนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุนี้.

หน้า 141

59
ผู้ควรรับทักษิณา (นัยที่ ๒)

-บาลี อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๓๐๑/๑๔๙.

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล ๘ จำพวกนี้ ย่อมเป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การ ทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า๘ จำพวกเป็นอย่างไร คือ

(1) พระโสดาบัน
(2) ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล

(3) พระสกทาคามี
(4) ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำ ให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล

(5) พระอนาคามี
(6) ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล

(7) พระอรหันต์
(8) ท่านผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล ๘ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การ ทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

ผู้ปฏิบัติแล้ว ๔ จำพวก และผู้ตั้งอยู่ในผลแล้ว ๔ จำพวกนี่แหละสงฆ์ เป็นคนตรง เป็นผู้ตั้งมั่นแล้วในปัญญา และศีล ย่อมกระทำให้เกิดบุญอื่น เนื่องด้วยอุปธิ แก่มนุษย์ทั้งหลาย ผู้มีความต้องการด้วยบุญ กระทำการบูชาอยู่ ทานที่ให้แล้ว ในสงฆ์จึงมีผลมาก.

หน้า 142

60
ผู้ควรรับทักษิณา (นัยที่ ๓)

-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๐/๑๔.

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล ๗ จำพวกนี้ ย่อมเป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การ ทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า๗ จำพวกเป็นอย่างไร คือ
(1) อุภโตภาควิมุตติ
(2) ปัญญาวิมุตติ
(3) กายสักขี
(4) ทิฏฐิปัตตะ
(5) สัทธาวิมุตติ
(6) ธัมมานุสารี
(7) สัทธานุสารี

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล ๗ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การทำ อัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

หน้า 143

61
ผู้ควรรับทักษิณา (นัยที่ ๔)

-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๕๒/๑๐๗.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการย่อมเป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของ ทำบุญ ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ

(1) เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
(2) เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ
(3) เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
(4) เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ
(5) เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของ ทำบุญ ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

หน้า 144

62
ผู้ควรรับทักษิณา (นัยที่ ๕)

-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๑๔/๒๗๔.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ประการ ย่อมเป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลกไม่มี นาบุญอื่นยิ่งกว่า
ธรรม ๖ ประการเป็นอย่างไร คือ
(1) สัทธินทรีย์ อินทรีย์คือศรัทธา
(2) วิริยินทรีย์ อินทรีย์คือวิริยะ
(3) สตินทรีย์ อินทรีย์คือสติ
(4) สมาธินทรีย์ อินทรีย์คือสมาธิ
(5) ปัญญินทรีย์ อินทรีย์คือปัญญา
(6) กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ภิกษุทั้งหลาย !

ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของ ต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

หน้า 145

63
ควรรับทักษิณา (นัยที่ ๖)
-บาลี ม. ม. ๑๓/๑๗๗/๑๗๔.

ภัททาลิ ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการย่อมเป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
ธรรม ๑๐ ประการเป็นอย่างไร คือ
(1) ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ อันเป็นของพระอเสขะ
(2) ประกอบด้วยสัมมาสังกัปปะ ...
(3) ประกอบด้วยสัมมาวาจา ...
(4) ประกอบด้วยสัมมากัมมันตะ ...
(5) ประกอบด้วยสัมมาอาชีวะ ...
(6) ประกอบด้วยสัมมาวายามะ ...
(7) ประกอบด้วยสัมมาสติ ...
(8) ประกอบด้วยสัมมาสมาธิ ...
(9) ประกอบด้วยสัมมาญาณะ ...
(10 ) ประกอบด้วยสัมมาวิมุตติ ...

ภัททาลิ ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แลเป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

หน้า 146

64
ผู้ควรรับทักษิณา (นัยที่ ๗)

-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๓๑/๑๘๑.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมเป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของ ทำบุญ ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
ธรรม ๔ ประการเป็นอย่างไร คือ
(1) เป็นผู้ฉลาดในฐานะ
(2) เป็นผู้ยิงได้ไกล
(3) เป็นผู้ยิงได้เร็ว
(4) ทำลายข้าศึกหมู่ใหญ่ได้

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในฐานะเป็นอย่างไร คือ ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวม ด้วยปาติโมกขสังวรถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษ ทั้งหลาย แม้มีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในฐานะด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ยิงได้ไกลเป็นอย่างไรคือ ภิกษุย่อมเห็นด้วยปัญญา อันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีตอนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ทั้งไกล และใกล้ รูปทั้งหมดนั้น ไม่ใช่ของเราไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ย่อมเห็นด้วย ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

เวทนา อย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญา อย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขาร อย่างใดอย่างหนึ่ง ...
วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน เป็นภายในหรือ ภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ทั้งไกล และใกล้ วิญญาณทั้งหมดนั้น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็น ผู้ยิงได้ไกลด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ยิงได้เร็วเป็นอย่างไร คือภิกษุย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง ว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ยิงได้เร็วด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ทำลายข้าศึกหมู่ใหญ่ได้เป็นอย่างไร คือ ภิกษุย่อม ทำลายกองอวิชชาใหญ่เสียได้

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ทำลายข้าศึกหมู่ใหญ่ได้ด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

หน้า 148

65
ผู้ควรรับทักษิณา (นัยที่ ๘)

-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๘๑/๑๔๐.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการย่อมเป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
ธรรม ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ
(1) เป็นผู้เชื่อฟัง
(2) เป็นผู้ฆ่าได้
(3) เป็นผู้รักษาได้
(4) เป็นผู้อดทนได้
(5) เป็นผู้ไปได้

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้เชื่อฟังเป็นอย่างไร คือภิกษุย่อมตั้งใจ ใส่ใจ สำรวมใจ เงี่ยโสตลงฟังธรรม เมื่อผู้อื่นแสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้เชื่อฟังอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ฆ่าได้เป็นอย่างไร คือภิกษุย่อมอดกลั้น ละ บรรเทา กำจัด ทำให้สิ้นไป ให้ถึงซึ่งความไม่มีแห่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ... พยาบาทวิตกที่เกิดขึ้น แล้ว... วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมอดกลั้น ละ บรรเทา กำจัดทำให้สิ้นไป ให้ถึง ซึ่งความไม่มีแห่งอกุศลธรรม อันเป็นบาปทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ฆ่าได้อย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้รักษาได้เป็นอย่างไรคือ ภิกษุเห็นรูปด้วยตา ได้ฟังเสียง ด้วยหู ได้ดมกลิ่นด้วยจมูก ได้ลิ้มรสด้วยลิ้น ได้สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกาย และ ได้รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่ถือเอาทั้งหมด หรือย่อมไม่ถือเอาโดยเป็นส่วนๆ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์นั้นไว้อันเป็นสิ่งที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้ธรรม อันเป็นบาปอกุศล คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
ภิกษุทั้งหลาย !ภิกษุเป็นผู้รักษาได้อย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้อดทนได้เป็นอย่างไรคือ ภิกษุเป็นผู้อดทนได้ต่อเย็น ร้อน หิว ระหาย สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เป็นผู้อดทนได้ต่อคำ หยาบคาย เป็นผู้อดทนได้ต่อทุกขเวทนาทางร่างกายที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันกล้า แข็ง เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ชื่นใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ สามารถปลิดชีพเสียได้
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้อดทนได้อย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ไปได้เป็นอย่างไร คือภิกษุย่อมเป็นผู้ไปสู่ทิศที่ไม่เคยไป ตลอดกาลนาน นี้คือธรรมเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สำรอก เป็นที่ดับหาเครื่องเสียบแทงมิได้ โดยเร็วพลัน ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ไปได้อย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

หน้า 151

66
ผู้ควรรับทักษิณา (นัยที่ ๙)

-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๕๓/๑๑๒.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมเป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๔ ประการเป็นอย่างไร คือ
(1) ความซื่อตรง
(2) ความเร็ว
(3) ความอดทน
(4) ความสงบเสงี่ยม

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

หน้า 152

67
ผู้ควรรับทักษิณา (นัยที่ ๑๐ )

-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๗๖/๒๐๓.

... ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ประการ ย่อมเป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลกไม่มี นาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ
(1) ความซื่อตรง
(2) ความเร็ว
(3) ความอ่อนโยน
(4) ความอดทน
(5) ความสงบเสงี่ยม

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

หน้า 153

68
ผู้ควรรับทักษิณา (นัยที่ ๑๑ )

-บาลี อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๑๙๓/๑๐๓.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการย่อมเป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๘ ประการเป็นอย่างไร คือ

(1) เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย

(2) เขาถวายโภชนะใดๆ แก่เธอ เศร้าหมองหรือประณีตก็ตาม เธอฉันโภชนะนั้นๆ โดยเคารพเอื้อเฟื้อ ไม่เดือดร้อนกระวนกระวาย

(3) เป็นผู้เกลียดต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตเกลียดต่อการถึงพร้อมด้วย อกุศลธรรม อันเป็นบาปทั้งหลาย

(4) เป็นผู้ยินดีในความสงบ มีการอยู่ร่วมกันเป็นสุขไม่ทำภิกษุเหล่าอื่นให้หวาดกลัว

(5) เป็นผู้เปิดเผยความโอ้อวด ความโกง ความพยศความคดของเธอในพระศาสดา หรือในเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นวิญญูชน ตามเป็นจริง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้วิญญูชนเหล่านั้น ย่อมพยายามเพื่อกำจัดโทษเหล่านั้น ของเธอเสีย

(6) เป็นผู้มีสิกขา ตั้งจิตว่า “ภิกษุเหล่าอื่นจะศึกษาหรือไม่ศึกษาก็ตาม เราจักศึกษา ในบทแห่งการศึกษานั้นๆ”ดังนี้

(7) เมื่อเธอไปก็ไปตรง นี้คือทางตรงในกรณีนั้นคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

(8) เป็นผู้มีความเพียรอันปรารภแล้วว่า “หนัง เอ็นกระดูก จักเหลืออยู่ เนื้อและเลือด ในสรีระจะเหือดแห้งไปก็ตามที ประโยชน์ใดอันบุคคลจะพึงลุได้ด้วยกำลัง ด้วย ความเพียร ความบากบั่นของบุรุษ ถ้ายังไม่บรรลุถึงประโยชน์นั้นแล้ว จักหยุด ความเพียรเสียเป็นไม่มี” ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

หน้า 155

69
ผู้ควรรับทักษิณา (นัยที่ ๑๒)

-บาลี อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๓๐๐/๑๔๘.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการย่อมเป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๘ ประการเป็นอย่างไร คือ

(1) เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็น เป็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบท ทั้งหลาย

(2) เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่าใดงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ที่เป็นการประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ ธรรมมีลักษณะเห็นปานนั้น อันเขาสดับแล้วมาก ทรงไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ

(3) เป็นผู้ปรารภความเพียร มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ทั้งหลาย

(4) เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ในเสนาสนะอันสงัด

(5) เป็นผู้อดกลั้นต่อความไม่ยินดีและความยินดีระงับเสียได้ ซึ่งความไม่ยินดี ที่เกิดขึ้นแล้ว

(6) เป็นผู้อดกลั้นความกลัวต่อภัยเสียได้ ระงับเสียได้ซึ่งความกลัวต่อภัยที่เกิดขึ้น แล้ว

(7) มีปกติได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากซึ่งฌานทั้ง ๔ ซึ่งเป็นจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน

(8) กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลาย สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

หน้า 157

70
ผู้ควรรับทักษิณา (นัยที่ ๑๓ )

-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๘๐/๑๓๙.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการย่อมเป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
ธรรม ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ

(1) อดทนต่อรูป
(2) อดทนต่อเสียง
(3) อดทนต่อกลิ่น
(4) อดทนต่อรส
(5) อดทนต่อโผฏฐัพพะ

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อรูปเป็นอย่างไร คือ ภิกษุเห็นรูปด้วยตาแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในรูปที่ชวนให้กำหนัด สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบ ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อรูปอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อเสียงเป็นอย่างไร คือ ภิกษุฟังเสียงด้วยหูแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในเสียงที่ชวนให้กำหนัด สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบ ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อเสียงอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อกลิ่นเป็นอย่างไร คือ ภิกษุดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในกลิ่นที่ชวนให้กำหนัด สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบ ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อกลิ่นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อรสเป็นอย่างไร คือ ภิกษุลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในรสที่ชวนให้กำหนัด สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบ ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อรสอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อโผฏฐัพพะเป็นอย่างไร คือ ภิกษุถูกต้อง โผฏฐัพพะ ด้วยกายแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในโผฏฐัพพะที่ชวนให้กำหนัด สามารถ ตั้งจิตไว้โดยชอบ ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อโผฏฐัพพะอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

หน้า 159

71
ผู้ควรรับทักษิณา (นัยที่ ๑๔ )

-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๗๖/๒๐๓.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการย่อมเป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
ธรรม ๖ ประการเป็นอย่างไร คือ
(1) อดทนต่อรูป
(2) อดทนต่อเสียง
(3) อดทนต่อกลิ่น
(4) อดทนต่อรส
(5) อดทนต่อโผฏฐัพพะ
(6) อดทนต่อธัมมารมณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.