หน้า 51
27
ประโยชน์ของการสร้างวิหาร
-บาลี จุลฺล. วิ. ๗/๘๕/๑๙๘-๒๐๓.
ข้าพระพุทธเจ้าต้องการบุญ ต้องการสวรรค์ ได้ให้สร้างวิหาร๖๐ หลังนี้ไว้แล้ว ข้าพระพุทธเจ้าจะพึง ปฏิบัติอย่างไร ในวิหารเหล่านั้นพระพุทธเจ้าข้า !
คหบดี ! ถ้าเช่นนั้นเธอจงถวายวิหารเหล่านั้นแก่สงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง ๔ ทั้งที่มาแล้วและยังไม่มาเถิด.
ราชคหเศรษฐีทูลรับพระพุทธดำรัสแล้ว ได้ถวายวิหารเหล่านั้นแก่สงฆ์ ผู้มาจากทิศทั้ง ๔ ทั้งที่มาแล้ว และยังไม่มา จากนั้นพระผู้มี-พระภาคได้ตรัส คำอนุโมทนา ดังนี้.
วิหารย่อมป้องกันหนาว ร้อน และสัตว์ร้าย นอกจากนั้นยังป้องกันงู และยุง ฝนในสิสิรฤดู นอกจากนั้นวิหาร ยังป้องกันลมและแดดอันกล้าที่เกิดขึ้นได้ การถวายวิหารแก่สงฆ์เพื่อหลีกเร้นอยู่ เพื่อความสุข เพื่อเพ่ง พิจารณาและ เพื่อเห็นแจ้ง พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า เป็นทานอันเลิศ เพราะเหตุนั้นแล คนผู้ฉลาด เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน พึงสร้างวิหารอันรื่นรมย์ให้ ภิกษุทั้งหลาย ผู้พหูสูต อยู่ในวิหารนี้เถิด.
อนึ่ง พึงมีใจเลื่อมใสถวายข้าว น้ำ ผ้า และเสนาสนะอันเหมาะสมแก่พวกเธอ ในพวกเธอผู้ซื่อตรง เพราะพวกเธอย่อมแสดงธรรม อันเป็นเครื่องบรรเทาสรรพทุกข์แก่เขา เขารู้ทั่วถึงแล้ว จะเป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพานในโลกนี้.
หน้า 52
28
จาคานุสสติ
-บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๓๕๕/๒๑๘.
มหาราช ! อีกประการหนึ่ง พระองค์พึงทรงระลึกถึงจาคะของตนว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่เรามีใจปราศจากมลทินคือความตระหนี่ อยู่ครองเรือนมีการบริจาคอันปล่อยอยู่เป็นประจำ มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ เป็นผู้ควรแก่การขอ ยินดีในการให้และการแบ่งปันในหมู่สัตว์ผู้ถูกมลทิน คือความตระหนี่ กลุ้มรุม.
มหาราช ! สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงจาคะ สมัยนั้นจิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูก โทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมดำเนินไปตรง.
มหาราช ! อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภจาคะ ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ปีติย่อมเกิดแก่ อริยสาวกผู้มีความปราโมทย์ กายของ อริยสาวก ผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อมสงบ อริยสาวกผู้มีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข จิตของอริยสาวก ผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น.
มหาราช ! อริยสาวกนี้เรากล่าวกล่าวว่า เป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีความ พยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีความพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรมเจริญจาคานุสสติ.
มหาราช ! พระองค์ พึงเจริญจาคานุสสตินี้ แม้เมื่อเดินอยู่ พึงเจริญ แม้เมื่อยืนอยู่ พึงเจริญ แม้เมื่อนั่งอยู่ พึงเจริญ แม้เมื่อนอนอยู่ พึงเจริญ แม้เมื่อกำลังทำงานอยู่ พึงเจริญ แม้เมื่อนอนเบียดบุตรอยู่บนที่นอน.
เหตุเกิดขึ้นแห่งทาน
หน้า 56
29 เหตุในการให้ทาน (นัยที่ ๑)
-บาลี อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๒๔๐/๑๒๑.
ภิกษุทั้งหลาย ! การให้ ๘ ประการเหล่านี้มีอยู่
๘ ประการเป็นอย่างไร คือ
(1) บางคนหวังได้จึงให้ทาน
(2) บางคนให้ทานเพราะกลัว
(3) บางคนให้ทานเพราะนึกว่าเขาให้แก่เราแล้ว
(4) บางคนให้ทานเพราะนึกว่าเขาจักให้ตอบแทน
(5) บางคนให้ทานเพราะนึกว่าทานเป็นการดี
(6) บางคนให้ทานเพราะนึกว่าเราหุงหากิน ชน
เหล่านี้หุงหากินไม่ได้ เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่ชนเหล่านี้ ผู้ไม่หุงหากินไม่สมควร
(7) บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เมื่อเราให้ทานกิตติศัพท์อันงามย่อมฟุ้งไป
(8) บางคนให้ทานเพื่อประดับจิต ปรุงแต่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล การให้ ๘ ประการ.|
หน้า 57
30
เหตุในการให้ทาน (นัยที่ ๒)
-บาลี อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๒๔๐/๑๒๓.
ภิกษุทั้งหลาย ! ทานวัตถุ ๘ ประการเหล่านี้มีอยู่
๘ ประการเป็นอย่างไร คือ
(1) บางคนให้ทานเพราะชอบพอกัน
(2) บางคนให้ทานเพราะโกรธ
(3) บางคนให้ทานเพราะหลง
(4) บางคนให้ทานเพราะกลัว
(5) บางคนให้ทานเพราะนึกว่าบิดามารดา ปู่ย่าตายาย เคยให้มา เคยทำมา เราไม่ควรทำให้เสียประเพณี
(6) บางคนให้ทานเพราะนึกว่าเราให้ทานนี้แล้ว เมื่อตายไปจักเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์
(7) บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เมื่อเราให้ทานนี้จิตย่อมเลื่อมใส ความเบิกบานใจ ความดีใจ ย่อมเกิดตามลำดับ
(8) บางคนให้ทานเพื่อประดับจิต ปรุงแต่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล ทานวัตถุ ๘ ประการ.
หน้า 58
31
เหตุในการให้ทาน (นัยที่ ๓)
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๔๔/๓๖.
ภิกษุทั้งหลาย ! กาลทาน ๕ ประการเหล่านี้มีอยู่
๕ ประการเป็นอย่างไร คือ
(1) ให้ทานแก่ผู้มาสู่ถิ่นของตน
(2) ให้ทานแก่ผู้เตรียมจะไป
(3) ให้ทานแก่ผู้ป่วยไข้
(4) ให้ทานในสมัยข้าวยากหมากแพง
(5) ให้ข้าวใหม่และผลไม้ใหม่แก่ผู้มีศีลก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล กาลทาน ๕ ประการ.
(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
ผู้มีปัญญารอบรู้และปราศจากความตระหนี่ ย่อมถวายทานตามกาล สมัยในพระ อริยเจ้าทั้งหลาย ผู้ประพฤติ ตรงคงที่เมื่อมีใจเลื่อมใสศรัทธาแล้ว ทักษิณาย่อม มีผลอันไพบูลย์ชนทั้งหลาย เหล่าใดร่วมอนุโมทนา หรือช่วยกระทำการขวน ขวายในทานนี้ ทักษิณานั้น มิได้พร่องไปด้วยเหตุแห่งอ นุโมทนานั้นเลย แม้ชน ผู้ร่วมอนุโมทนา ก็มีส่วนแห่งบุญด้วยเพราะฉะนั้น เมื่อบุคคลไม่มีจิตท้อถอย ในทาน ทานนั้นย่อมมีผลมาก บุญที่ทำแล้ว ย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ในกาลข้างหน้าได้แล.
หน้า 60
32
เหตุในการให้ทาน (นัยที่ ๔)
-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๔๐๓/๒๒๓.
ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุเกิดขึ้นแห่งทาน ๘ ประการนี้
มีอยู่
๘ ประการเป็นอย่างไร คือ
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทาน คือข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟ แก่สมณะหรือพราหมณ์เขาให้สิ่งใด ย่อมหวังสิ่งนั้น เขาเห็นกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคหบดีมหาศาล ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมถูกบำเรออยู่ด้วย กามคุณ ๕
เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า “โอหนอ ! เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความ เป็นสหายแห่งกษัตริย์ มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคหบดีมหาศาล” เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น จิตของเขา นึกน้อมไปในทางเลว ไม่เจริญยิ่งขึ้น ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย เขาย่อมเข้าถึง ความเป็นสหายแห่งกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคหบดีมหาศาล แต่ข้อนั้นเรากล่าวว่า เป็นของ ผู้มีศีล ไม่ใช่ของผู้ทุศีล.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความปรารถนาแห่งใจของบุคคลผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้ เพราะจิตบริสุทธิ์.
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ... และประทีปโคมไฟแก่สมณะ หรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ย่อมหวังสิ่งนั้น เขาได้ฟังมาว่า เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า “โอหนอ ! เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความเป็นสหาย แห่งเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา” เขาตั้งจิตนั้นอธิษฐานจิตนั้นเจริญจิตนั้น จิตของเขานึกน้อมไปในทางที่เลว ไม่เจริญยิ่งขึ้น ภายหลังแต่การตาย เพราะการทำลายแห่งกาย เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดา ชั้นจาตุมหาราชิกา แต่ข้อนั้นเรากล่าวว่าเป็นของผู้มีศีลไม่ใช่ของผู้ทุศีล.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความปรารถนาแห่งใจของบุคคลผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้ เพราะจิตบริสุทธิ์.
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ... และประทีปโคมไฟแก่สมณะ หรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ย่อมหวังสิ่งนั้น เขาได้ฟังมาว่า เทวดาชั้นดาวดึงส์ ... เทวดาชั้นยามา ... เทวดาชั้นดุสิต ... เทวดาชั้นนิมมานรดี ... เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
“โอหนอ ! เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดา ชั้นปรนิม มิตวสวัตตี” เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้นเจริญจิตนั้น จิตของเขานึกน้อมไปใน ทางที่เลว ไม่เจริญยิ่งขึ้น ภายหลังแต่การตาย เพราะการทำลายแห่งกาย เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี แต่ข้อนั้น เรากล่าวว่าเป็นของผู้มีศีล ไม่ใช่ของผู้ทุศีล.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความปรารถนาแห่งใจของบุคคลผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้ เพราะจิต บริสุทธิ์.
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ... และประทีปโคมไฟแก่สมณะ หรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ย่อมหวังสิ่งนั้น เขาได้ฟังมาว่าเทวดาชั้น พรหมกายิกา มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
“โอหนอ ! เมื่อตายไปขอเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดา ชั้น พรหมกายิกา”เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น จิตของเขานึกน้อมไป ในทางที่เลว ไม่เจริญยิ่งขึ้น ภายหลังแต่การตายเพราะ การทำลายแห่งกาย เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมกายิกา แต่ข้อนั้นเรากล่าวว่า เป็น ของผู้มีศีล ไม่ใช่ของผู้ทุศีล.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความปรารถนาแห่งใจของบุคคล
ผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้ เพราะจิตปราศจากราคะ.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล เหตุเกิดขึ้นแห่งทาน ๘ ประการ.
ผล/อานิสงส์ ของทานแบบต่างๆ
หน้า 66
33
ผลแห่งทาน
-บาลี นวก. อํ. ๒๓/๔๐๕/๒๒๔.
คหบดี ! บุคคลให้ทานอันเศร้าหมองหรือประณีตก็ตาม แต่ให้ทานนั้น โดยไม่เคารพ ไม่ให้ด้วยความนอบ น้อมไม่ให้ด้วยมือตนเอง ให้ของที่เหลือ ให้โดยไม่คำนึงผลที่จะมาถึงผลของทานนั้น บังเกิดในที่ใดๆ จิตของผู้ให้ทาน ย่อมไม่น้อมไปเพื่อบริโภคอาหารอย่างดี ย่อมไม่น้อมไปเพื่อบริโภคผ้าอย่างดี ย่อมไม่น้อมไปเพื่อบริโภคยานอย่างดี ย่อมไม่น้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ อย่างดีแม้บริวารชนของผู้ให้ทานนั้นคือ บุตร ภรรยา ทาส คนใช้คนทำงาน ก็ไม่เชื่อฟัง ไม่เงี่ยหูฟัง ส่งจิตไปที่อื่นเสีย.
ข้อนั้นเพราะเหตุไร ทั้งนี้เป็นเพราะผลแห่งกรรมที่ตนกระทำโดยไม่เคารพ.
คหบดี ! บุคคลให้ทานอันเศร้าหมองหรือประณีตก็ตาม แต่ให้ทานนั้นโดยเคารพ ให้ด้วยความนอบน้อม ให้ด้วยมือตนเอง ให้ของที่ไม่เหลือ ให้โดยคำนึงผลที่จะ มาถึงผลของทานนั้น บังเกิดในที่ใดๆ จิตของ ผู้ให้ทาน ย่อมน้อมไปเพื่อบริโภค อาหารอย่างดี ย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคผ้าอย่างดี ย่อมน้อมไปเพื่อบริโภค ยาน อย่างดี ย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ อย่างดี แม้บริวารชนของผู้ให้ทานนั้น คือ บุตร ภรรยา ทาส คนใช้ คนทำงานก็เชื่อฟังดี เงี่ยหูฟัง ไม่ส่งจิตไปที่อื่น.
ข้อนั้นเพราะเหตุไร ทั้งนี้เป็น เพราะผลของกรรมที่ตนกระทำโดยเคารพ.
คหบดี ! เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพราหมณ์ชื่อเวลามะพราหมณ์ผู้นั้นได้ให้ทาน เป็น มหาทานอย่างนี้ คือ ได้ให้ถาดทองเต็มด้วยรูปิยะ ๘๔,๐๐๐ ถาด ถาดรูปิยะเต็ม ด้วยทอง ๘๔,๐๐๐ ถาด ถาดสำริดเต็มด้วยเงิน ๘๔,๐๐๐ ถาดให้ช้าง ๘๔,๐๐๐ เชือก
มีเครื่องประดับล้วนเป็นทอง มีธงทองคลุมด้วยข่ายทอง ให้รถ ๘๔,๐๐๐ คัน หุ้มด้วยหนังราชสีห์ หนังเสือโคร่ง หนังเสือเหลือง ผ้ากัมพลเหลือง มีเครื่อง ประดับล้วนเป็นทอง มีธงทอง คลุมด้วยข่ายทอง ให้แม่โคนม ๘๔,๐๐๐ ตัว มีน้ำนมไหลสะดวก ใช้ภาชนะเงินรองน้ำนม ให้หญิงสาว ๘๔,๐๐๐ คน ประดับด้วยแก้วมณี และแก้วกุณฑล
ให้บัลลังก์ ๘๔,๐๐๐ ที่ ลาดด้วยผ้าโกเชาว์ลาดด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาด มีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ มีเครื่องลาดอย่างดี ทำด้วยหนังชะมด มีเครื่องลาด เพดาน มีหมอนข้างแดงทั้งสอง ให้ผ้า ๘๔,๐๐๐ โกฏิ เป็นผ้าเปลือกไม้ ผ้าแพร ผ้าฝ้าย เนื้อละเอียด จะป่วยการกล่าวไปไยถึงข้าว น้ำของเคี้ยว ของบริโภค เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่ให้ดุจไหลไปเหมือนแม่น้ำ.
คหบดี ! ท่านพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า สมัยนั้น ผู้อื่นเป็นเวลามพราหมณ์ผู้ที่ให้ ทาน เป็นมหาทานนั้น.
คหบดี ! แต่ท่านไม่ควรเห็นอย่างนี้ สมัยนั้นเราเป็นเวลามพราหมณ์ เราได้ให้ทาน นั้น เป็นมหาทาน ก็ในทานนั้น ไม่มีใครเป็นทักขิเณยยบุคคล ใครๆ ไม่ชำระ ทักขิณานั้นให้หมดจด.
คหบดี ! ทานที่บุคคลถวายให้ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ (โสดาบัน) ผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่า ทานที่เวลาม-พราหมณ์ให้แล้ว.
ทานที่บุคคลถวายให้พระสกทาคามีผู้เดียวบริโภคมีผลมากกว่า ทานที่บุคคล ถวายให้ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ๑๐๐ ท่านบริโภค.
ทานที่บุคคลถวายให้พระอนาคามีผู้เดียวบริโภคมีผลมากกว่า ทานที่บุคคลถวาย ให้พระสกทาคามี ๑๐๐ ท่านบริโภค.
ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ผู้เดียวบริโภคมีผลมากกว่า ทานที่บุคคลถวาย ให้พระอนาคามี ๑๐๐ ท่านบริโภค.
ทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปเดียวบริโภค มีผลมากกว่า ทานที่ บุคคลถวายให้พระอรหันต์ ๑๐๐รูปบริโภค.
ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภค มีผลมากกว่า ทานที่ บุคคลถวายให้พระปัจเจก พุทธเจ้า๑๐๐ รูปบริโภค.
ทานที่บุคคลถวายให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขบริโภค มีผลมากกว่า ทานที่บุคคลถวายให้พระ อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภค.
การที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง ๔ มีผลมากกว่าทาน ที่บุคคล ถวายให้ภิกษุสงฆ์มี พระพุทธเจ้าเป็นประมุขบริโภค.
การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ มีผล มากกว่า ทานที่บุคคล สร้างวิหารถวายสงฆ์ อันมาจากทิศทั้ง ๔.
การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คืองดเว้นจากปาณาติบาต ... จากการดื่มน้ำเมา คือสุราและ เมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะ.
การที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม มีผลมากกว่า การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใส สมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต ...และ การที่บุคคลเจริญอนิจจสัญญาแม้เพียงเวลาลัดนิ้วมือ มีผลมากกว่า การที่บุคคลเจริญ เมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม.
หน้า 71
34
มหาทาน
-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๒๔๙/๑๒๙.
ภิกษุทั้งหลาย ! ห้วงบุญห้วงกุศล ๘ ประการนี้นำสุขมาให้ มีอารมณ์เลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ห้วงบุญห้วงกุศล ๘ ประการเป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศลประการที่ ๑ นำสุขมาให้ มีอารมณ์เลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความ สุข.
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ นี้เป็นห้วงบุญห้ว งกุศลประการที่ ๒ ...
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ นี้เป็นห้วงบุญห้วง กุศลประการที่ ๓ ...
ภิกษุทั้งหลาย ! ทาน ๕ ประการนี้ เป็นมหาทานอันบัณฑิตพึงรู้ว่าเป็นเลิศ มีมานาน เป็นเชื้อสายแห่งพระอริยะเป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคย กระจัดกระจาย อันบัณฑิตไม่รังเกียจอยู่ จักไม่รังเกียจ อันสมณพราหมณ์ผู้เป็น วิญญูไม่เกลียด
ทาน ๕ ประการเป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละปาณาติบาต งดเว้นจาก ปาณาติบาต ภิกษุทั้งหลาย !อริยสาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ชื่อว่าให้ความ ไม่มีภัยความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์ หาประมาณมิได้ครั้นให้ความ ไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้แล้ว ย่อมเป็น ผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัยความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียน หาประมาณมิได้
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นทานประการที่ ๑ ที่เป็นมหาทาน บัณฑิตพึงรู้ว่าเป็นเลิศ มีมานาน เป็นเชื้อสาย แห่งพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคย กระจัดกระจาย อันบัณฑิตไม่รังเกียจ อันสมณพราหมณ์ผู้เป็นวิญญูไม่เกลียด
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๔ ... .อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละอทินนาทาน งดเว้นจากอทินนาทาน ... นี้เป็นทานประการที่ ๒ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๕ ... .อีกประการหนึ่ง อริยสาวก ละ กาเมสุมิจฉาจารงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ... นี้เป็นทานประการที่ ๓ ...นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๖ ... .
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละมุสาวาท งดเว้นจากมุสาวาท ... นี้เป็นทาน ประการที่ ๔ ... นี้เป็นห้วงบุญห้วง กุศลประการที่ ๗ ... .
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่ง ความประมาท งดเว้นจาก การดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความ ประมาท
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็น ที่ตั้งแห่งความประมาทแล้ว ชื่อว่าให้ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียด เบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้ ครั้นให้ความไม่มีภัย ความไม่มีเวรความไม่เบียด เบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้แล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ความไม่มี เวร ความไม่เบียดเบียนหาประมาณมิได้
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นทานประการที่ ๕ที่เป็นมหาทาน บัณฑิตพึงรู้ว่าเป็นเลิศ มีมานาน เป็นเชื้อสาย แห่งพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคย กระจัดกระจายอันบัณฑิตไม่รังเกียจ จักไม่รังเกียจ อันสมณพราหมณ์ผู้เป็นวิญญู ไม่เกลียด
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๘ นำสุขมาให้ มีอารมณ์อันเลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข.
ภิกษุทั้งหลาย ! ห้วงบุญห้วงกุศล ๘ ประการนี้แลนำสุขมาให้ มีอารมณ์เลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข.
หน้า 75
35
สัดส่วนของทาน ศีล ภาวนา
-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๒๔๕/๑๒๖.
ภิกษุทั้งหลาย ! บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการนี้มีอยู่
๓ ประการเป็นอย่างไร คือ
(1) บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยทาน
(2) บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยศีล
(3) บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยภาวนา
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญ-กิริยาวัตถุ ที่สำเร็จด้วยทาน นิดหน่อย ทำบุญกิริยาวัตถุ ที่สำเร็จด้วยศีลนิดหน่อย ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุ ที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาย่อมเข้าถึง ความเป็นผู้มีส่วนชั่ว ในมนุษย์.
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญ-กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทาน พอประมาณ ทำบุญกิริยาวัตถุ ที่สำเร็จด้วยศีลพอประมาณ ไม่เจริญบุญกิริยา วัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาย่อมเข้าถึง ความเป็นผู้มีส่วนดี ในมนุษย์.
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญ-กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทาน มีประมาณยิ่ง ทำบุญกิริยาวัตถุ ที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยา วัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาย่อมเข้าถึง ความเป็นสหายแห่ง เทวดาเหล่าจาตุมหาราชิกา.
ภิกษุทั้งหลาย ! มหาราชทั้ง ๔ นั้น เพราะทำบุญ-กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทาน เป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุ ที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ย่อมก้าวล่วงพวกเทวดา เหล่าจาตุมหาราชิกาโดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์วรรณทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์ อธิปไตยทิพย์ รูปทิพย์เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ โผฏฐัพพทิพย์.
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญ-กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทาน มีประมาณยิ่ง ทำบุญกิริยา วัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยา วัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่ง เทวดาเหล่าดาวดึงส์.
ภิกษุทั้งหลาย ! ท้าวสักกะจอมเทพในดาวดึงส์นั้น กระทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จ ด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยา-วัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ย่อมก้าวล่วง พวกเทวดาเหล่าดาวดึงส์โดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ … โผฏฐัพพทิพย์.
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญ-กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทาน มีประมาณยิ่ง ทำบุญกิริยาวัตถุ ที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยา วัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่ง เทวดาเหล่ายามา.
ภิกษุทั้งหลาย ! ท้าวสยามเทพบุตรในยามานั้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย ทาน เป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุ ที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ย่อมก้าวล่วง พวกเทวดาเหล่ายามาโดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ … โผฏฐัพพทิพย์.
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญ-กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทาน มีประมาณยิ่ง ทำบุญกิริยาวัตถุ ที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริย าวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่ง เทวดาเหล่าดุสิต.
ภิกษุทั้งหลาย ! ท้าวสันดุสิตเทพบุตรในดุสิตนั้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย ทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุ ที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ย่อมก้าวล่วงพวก เทวดาเหล่าดุสิตโดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ ... โผฏฐัพพทิพย์.
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญ-กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทาน มีประมาณยิ่ง ทำบุญกิริยาวัตถุ ที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยา วัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่ง เทวดาเหล่านิมมานรดี.
ภิกษุทั้งหลาย ! ท้าวสุนิมมิตเทพบุตรในนิมมานรดีนั้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จ ด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญ-กิริยาวัตถุ ที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ย่อมก้าวล่วง พวกเทวดาเหล่านิมมานรดีโดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ ..โผฏฐัพพทิพย์.
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญ-กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทาน มีประมาณยิ่ง ทำบุญกิริยาวัตถุ ที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยา วัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาย่อมเข้าถึงความเป็น สหายแห่ง เทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัตตี.
ภิกษุทั้งหลาย ! ท้าวปรนิมมิตวสวัตตีเทพบุตรในปรนิมมิตวสวัตตีนั้น ทำบุญกิริยา วัตถุ ที่สำเร็จด้วยทาน เป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็น อดิเรก ย่อม ก้าวล่วงพวกเทวดาเหล่า ปรนิมมิตวสวัตตี โดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ ... โผฏฐัพพทิพย์.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการ.
หน้า 79
36
ความสงสัยในทานของเทวดา
-บาลี สคาถ. สํ. ๑๕/๔๔/๑๓๗-๑๓๘.
-บาลี สคาถ. สํ. ๑๕/๔๖/๑๔๕-๑๔๖.
เทวดาทูลถามว่า บุคคลให้สิ่งอะไรชื่อว่าให้กำลัง ให้สิ่งอะไรชื่อว่าให้วรรณะ ให้สิ่งอะไรชื่อว่าให้ความสุข ให้สิ่งอะไรชื่อว่าให้จักษุ และบุคคลเช่นไรชื่อว่าให้ ทุกสิ่งทุกอย่าง ข้าพระองค์ทูลถามพระองค์ ขอพระองค์ตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ ด้วยเถิด.
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า บุคคลให้อาหารชื่อว่าให้กำลัง ให้ผ้าชื่อว่าให้วรรณะ ให้ยานพาหนะชื่อว่าให้ความสุข ให้ประทีปโคมไฟชื่อว่าให้จักษุ และผู้ที่ให้ ที่อยู่อาศัย ชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง ส่วนผู้ที่พร่ำสอนธรรมชื่อว่าให้อมตะ.
เทวดาทูลถามว่า ชนพวกไหนมีบุญ เจริญในกาลทุกเมื่อทั้งกลางวันและกลางคืน ชนพวกไหนตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นผู้ไปสวรรค์.
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ชนเหล่าใดสร้างอารามปลูกหมู่ไม้ สร้างสะพาน และชนเหล่าใดให้โรงน้ำ เป็นทานและบ่อน้ำ ทั้งบ้านที่พักอาศัย ชนเหล่านั้น ย่อมมีบุญ เจริญในกาลทุกเมื่อ ทั้งกลางวันและกลางคืน ชนเหล่านั้นตั้งอยู่ใน ธรรมสมบูรณ์ด้วยศีล เป็นผู้ไปสวรรค์.
หน้า 80
37
ผู้ประสบบุญเป็นอันมาก
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๗๑/๑๙๙.
ภิกษุทั้งหลาย ! นักบวชผู้มีศีล เข้าไปสู่สกุลใดมนุษย์ทั้งหลายในสกุลนั้น ย่อมประสบบุญเป็นอันมาก ด้วยฐานะ ๕ อย่าง ๕ อย่างเป็นอย่างไร คือ
(1) ในสมัยใด จิตของมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมเลื่อมใสเพราะได้เห็นนักบวชผู้มีศีล ซึ่งเข้าไปสู่สกุล ในสมัยนั้นสกุลนั้นชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อสวรรค์
(2) ในสมัยใด มนุษย์ทั้งหลาย พากันต้อนรับกราบไหว้ ให้อาสนะแก่นักบวช ผู้มีศีล ซึ่งเข้าไปสู่สกุล ในสมัยนั้นสกุลนั้นชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อ การเกิดในสกุลสูง
(3) ในสมัยใด มนุษย์ทั้งหลาย กำจัดมลทินคือความตระหนี่เสียได้ ในนักบวช ผู้มีศีล ซึ่งเข้าไปสู่สกุล ในสมัยนั้น สกุลนั้นชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไป เพื่อการได้เกียรติศักดิ์อันใหญ่
(4) ในสมัยใด มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมแจกจ่ายทานตามสติ ตามกำลังในนักบวช ผู้มีศีล ซึ่งเข้าไปสู่สกุล ในสมัยนั้น สกุลนั้นชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไป เพื่อการได้โภคทรัพย์ใหญ่
(5) ในสมัยใด มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมไต่ถามสอบสวน ย่อมฟังธรรมในนักบวช ผู้มีศีล ซึ่งเข้าไปสู่สกุล ในสมัยนั้น สกุลนั้นชื่อว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นไป เพื่อการได้ปัญญาใหญ่
ภิกษุทั้งหลาย ! นักบวชผู้มีศีล เข้าไปสู่สกุลใดมนุษย์ทั้งหลายในสกุลนั้น ย่อมประสบบุญเป็นอันมากด้วยฐานะ ๕ อย่างเหล่านี้แล.
หน้า 82
38
ผลของการต้อนรับบรรพชิต ด้วยวิธีที่ต่างกัน
-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๔๐๓/๒๒๓.
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ในราตรีนี้ เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้วเทวดาเป็นอันมาก มีผิวพรรณงดงาม ยังวิหารเชตวัน ทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้วยืนอยู่ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะเราว่า
“ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !บรรพชิตทั้งหลายเข้ามายังเรือนของ ข้าพระองค์ ทั้งหลาย เมื่อเป็นมนุษย์อยู่ ในกาลก่อน ข้าพระองค์เหล่านั้น ลุกรับแต่ไม่กราบ ไหว้ ข้าพระองค์เหล่านั้น มีการงานยังไม่บริบูรณ์ มีความกินแหนงใจ มีความเดือด ร้อนตามในภายหลัง เข้าถึงหมู่เทวดาชั้นเลว”.
ภิกษุทั้งหลาย ! เทวดาอีกพวกหนึ่งเป็นอันมาก เข้ามาหาเราแล้วได้กล่าวว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บรรพชิตทั้งหลายเข้ามายังเรือนของข้าพระองค์ ทั้งหลาย เมื่อเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อนข้าพระองค์เหล่านั้น ลุกรับ กราบไหว้ แต่ไม่ให้อาสนะข้าพระองค์เหล่านั้นมีการงานไม่บริบูรณ์ มีความกินแหนงใจ มีความ เดือดร้อนตามในภายหลัง เข้าถึงหมู่เทวดาชั้นเลว”.
“...ข้าพระองค์เหล่านั้น ลุกรับ กราบไหว้และให้อาสนะ แต่ไม่แบ่งปันของให้ตาม สามารถ ตามกำลัง ...”.
“...ข้าพระองค์เหล่านั้น ลุกรับ กราบไหว้ ให้อาสนะและแบ่งปันของให้ตาม สามารถ ตามกำลัง แต่ไม่เข้าไปนั่งใกล้เพื่อฟังธรรม ...”.
“...ข้าพระองค์เหล่านั้น ลุกรับ กราบไหว้ ให้อาสนะแบ่งปันของให้ตามสามารถ ตามกำลัง และเข้าไปนั่งใกล้ เพื่อฟังธรรม แต่ไม่เงี่ยโสตลงฟังธรรม ...”.
“...ข้าพระองค์เหล่านั้น ลุกรับ กราบไหว้ ให้อาสนะแบ่งปันของให้ตามสามารถ ตามกำลัง เข้าไปนั่งใกล้ เพื่อฟังธรรม และเงี่ยโสตลงฟังธรรม แต่ฟังแล้วไม่ทรงจำธรรมไว้ ...”.
“...ข้าพระองค์เหล่านั้น ลุกรับ กราบไหว้ ให้อาสนะแบ่งปันของให้ตามสามารถ ตามกำลัง เข้าไปนั่งใกล้เพื่อฟังธรรม เงี่ยโสตลงฟังธรรม และฟังแล้วทรงจำธรรม ไว้ แต่ไม่พิจารณา เนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ ...”.
“...ข้าพระองค์เหล่านั้น ลุกรับ กราบไหว้ ให้อาสนะแบ่งปันของให้ตามสามารถ ตามกำลัง เข้าไปนั่งใกล้ เพื่อฟังธรรม เงี่ย โสตลงฟังธรรม ฟังแล้วทรงจำ ธรรมไว้ และพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ แต่ไม่รู้ทั่วถึงอรรถ ไม่รู้ทั่วถึ งธรรม และไม่ได้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ข้าพระองค์เหล่านั้นมีการงาน ไม่บริบูรณ์ มีความกินแหนงใจ มีความเดือดร้อนตามในภายหลัง เข้าถึงหมู่เทวดา ชั้นเลว”.
ภิกษุทั้งหลาย ! เทวดาอีกพวกหนึ่งเป็นอันมากเข้ามาหาเราแล้วได้กล่าวว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บรรพชิตทั้งหลายเข้ามายังเรือนของข้าพระองค์ ทั้งหลาย เมื่อยังเป็นมนุษย์ ในกาลก่อน ข้าพระองค์เหล่านั้นลุกรับ กราบไหว้ ให้อาสนะแบ่งปันสิ่งของให้ตามสามารถ ตามกำลัง เข้าไปนั่งใกล้เพื่อฟังธรรม เงี่ยโสตลงฟังธรรม ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้พิจารณาเนื้อความแห่งธรรม ที่ทรงจำไว้ และรู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึงธรรม แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ข้าพระองค์เหล่านั้นมีการงาน บริบูรณ์ ไม่มีความกินแหนงใจ ไม่มีความเดือดร้อน ตามในภายหลัง เข้าถึงหมู่เทวดาชั้นประณีต”.
ภิกษุทั้งหลาย !นั่น โคนไม้ทั้งหลายนั่น เรือนว่างทั้งหลายพวกเธอทั้งหลาย จงเพียรเผากิเลส อย่าได้ประมาทอย่าได้เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจในภายหลัง เหมือนเทวดาพวกต้นๆ เหล่านั้น.
หน้า 85
39
ทานที่ให้แล้วมีผลน้อย
-บาลี มหาวิ. วิ. ๕/๒๐๗/๑๕๔.
-บาลี สคาถ. สํ. ๑๕/๒๖,๒๗/๙๑,๙๓.
สตรีใดให้ข้าวและน้ำ มีใจเบิกบาน สมบูรณ์ด้วยศีลเป็นสาวิกาของพระสุคต ครอบงำความตระหนี่ บริจาคทานอันเป็นเหตุแห่งสวรรค์ เป็นเครื่องบรรเทา ความโศก นำมาซึ่งความสุข สตรีนั้นอาศัยมรรค ปฏิบัติ ปราศจากธุลี ไม่มีกิเลส เครื่องยั่วใจ ย่อมได้กำลังและอายุที่เป็นทิพย์ สตรีผู้ประสงค์บุญนั้น เป็นคนมีสุข สมบูรณ์ด้วยอนามัย ย่อมปลื้มใจในสวรรค์สิ้นกาลนาน.
บุคคลแม้ใด ย่อมประพฤติธรรม ประพฤติสะอาดเป็นผู้เลี้ยงภริยา และเมื่อของ มีน้อยก็ให้ได้ เมื่อบุรุษแสนหนึ่ง บูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือบริจาคทรัพย์พันกหาปณะ การบูชาของบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่ถึงส่วนร้อยของบุคคลอย่างนั้น.
บุคคลเหล่าหนึ่ง ตั้งอยู่ในกรรมปราศจากความสงบ(ปราศจากธรรม) โบยเขา ฆ่าเขา ทำให้เขาเศร้าโศกแล้ว ให้ทานทานนั้น จัดว่าทานมีหน้าอันนองด้วย น้ำตา จัดว่าทานเป็นไปกับด้วยอาชญา จึงย่อมไม่เท่าถึงส่วนแห่งทานที่ให้ ด้วยความสงบ (ประพฤติธรรม) เมื่อบุรุษแสนหนึ่งบูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือบริจาค ทรัพย์พันกหาปณะ การบูชาของบุรุษเหล่านั้นย่อมไม่ถึงส่วนร้อย ของบุคคลอย่างนั้น โดยนัยอย่างนี้.
ทานของอสัปบุรุษ และสัปบุรุษ
หน้า 88
40
ทานของคนไม่ดีหรือทานของคนดี
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๙๒/๑๔๗.
ภิกษุทั้งหลาย ! อสัปปุริสทาน ๕ ประการนี้มีอยู่
๕ ประการเป็นอย่างไร คือ
(1) ให้โดยไม่เคารพ
(2) ให้โดยไม่อ่อนน้อม
(3) ไม่ให้ด้วยมือตนเอง
(4) ให้ของที่เป็นเดน
(5) ให้โดยไม่คำนึงผลที่จะมาถึง (อนาคมนทิฏฐิ)
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล อสัปปุริสทาน ๕ ประการ.
ภิกษุทั้งหลาย ! สัปปุริสทาน ๕ ประการนี้มีอยู่
๕ ประการเป็นอย่างไร คือ
(1) ให้โดยเคารพ
(2) ให้โดยอ่อนน้อม
(3) ให้ด้วยมือตนเอง
(4) ให้ของไม่เป็นเดน
(5) ให้โดยคำนึงผลที่จะมาถึง (อาคมนทิฏฐิ)
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล สัปปุริสทาน ๕ ประการ.
หน้า 89
41
ทานของคนดี (นัยที่ ๑)
-บาลี อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๒๔๘/๑๒๗.
ภิกษุทั้งหลาย ! สัปปุริสทาน ๘ ประการนี้มีอยู่
๘ ประการเป็นอย่างไร คือ
(๑) ให้ของสะอาด
(๒) ให้ของประณีต
(๓) ให้ตามกาล
(๔) ให้ของสมควร
(๕) เลือกให้
(๖) ให้เนืองนิตย์
(๗) เมื่อให้จิตผ่องใส
(๘) ให้แล้วดีใจ
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล สัปปุริสทาน ๘ ประการ.
(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
สัปบุรุษย่อมให้ทาน คือ ข้าวและน้ำที่สะอาด ประณีตตามกาลสมควร เนืองนิตย์ ในผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เป็นเขตดี สละของมากแล้วก็ไม่รู้สึกเสียดาย ท่านผู้มีปัญญาเห็นแจ้งย่อมสรรเสริญทาน ที่สัปบุรุษให้แล้ว อย่างนี้ผู้มีปัญญา มีศรัทธา เป็นบัณฑิต มีใจพ้นจากความตระหนี่ ครั้นบำเพ็ญทานอย่างนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกที่เป็นสุขไม่มีความเบียดเบียน.
หน้า 90
42
ทานของคนดี (นัยที่ ๒)
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๙๒/๑๔๘.
-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๒๔๐/๑๒๒.
ภิกษุทั้งหลาย ! สัปปุริสทาน ๕ ประการนี้มีอยู่
๕ ประการเป็นอย่างไร คือ
(1) ย่อมให้ทานด้วยศรัทธา
(2) ย่อมให้ทานโดยเคารพ
(3) ย่อมให้ทานโดยกาลอันควร
(4) เป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้ทาน
(5) ย่อมให้ทานไม่กระทบตนและไม่กระทบผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย ! สัปบุรุษครั้นให้ทานด้วยศรัทธาแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีรูปสวยงาม น่าดู น่าเลื่อมใสประกอบด้วยผิวพรรณงามยิ่งนักในที่ที่ทานนั้นให้ผล.
ภิกษุทั้งหลาย ! สัปบุรษครั้นให้ทานโดยเคารพแล้วย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีบุตรภรรยา ทาส คนใช้หรือคนงาน เป็นผู้เชื่อฟัง เงี่ยโสตลงฟังคำสั่ง ตั้งใจใคร่รู้ ในที่ที่ทานนั้นให้ผล.
ภิกษุทั้งหลาย ! สัปบุรุษครั้นให้ทานโดยกาลอันควรแล้วย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพ ย์มาก มีโภคะมาก และย่อมเป็นผู้มีความต้องการที่เกิดขึ้นตามกาลบริบูรณ์ ในที่ที่ทานนั้นให้ผล.
ภิกษุทั้งหลาย ! สัปบุรุษครั้นเป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้ทานแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีจิตน้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ สูงยิ่งขึ้น ในที่ที่ทานนั้นให้ผล.
ภิกษุทั้งหลาย ! สัปบุรุษ ครั้นให้ทานไม่กระทบตน และผู้อื่นแล้วย่อมเป็นผู้มังคั่ง มีทรัพย์มากมีโภคะมาก และย่อมเป็นผู้มีโภคทรัพย์ไม่มีภยันตรายมาแต่ที่ไหนๆ คือ จากไฟ จากน้ำ จากพระราชา จากโจร จากคนไม่เป็นที่รัก หรือจากทายาท ในที่ที่ทานนั้นให้ผล.
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล สัปปุริสทาน ๕ ประการ.
(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
ธรรม ๓ ประการนี้ คือ การให้ทานด้วยศรัทธาการให้ทานด้วยหิริ การให้ทานอันหาโทษมิได้อันสัปบุรุษ ดำเนินตามแล้ว บัณฑิตกล่าวว่า เป็นทางไปสู่สวรรค์ ชนทั้งหลายย่อมไปสู่เทวโลกด้วยทางนี้ แล.
หน้า 92
43
ประโยชน์เกื้อกูลของสัปบุรุษ
-บาลี สคาถ. สํ. ๑๕/๓๓๕/๙๐๗.
-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๒๔๘/๑๒๘.
ภิกษุทั้งหลาย ! สัปบุรุษเมื่อเกิดในตระกูล ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชน เป็นอันมากคือ ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่มารดาบิดา แก่บุตรภรรยา แก่หมู่คนผู้เป็นทาสกรรมกร แก่มิตร อำมาตย์ แก่ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว แก่พระราชาแก่เทวดาทั้งหลาย แก่สมณ พราหมณ์.
ภิกษุทั้งหลาย ! มหาเมฆเมื่อตกให้ข้าวกล้าเจริญงอกงาม ย่อมตกเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ชนเป็นอันมาก ฉันใด สัปบุรุษก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเกิดในตระกูล ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็น อันมาก คือ ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลเพื่อความสุขแก่มารดาบิดา แก่บุตรภรรยา แก่หมู่คนผู้เป็นทาสกรรมกร แก่มิตรอำมาตย์ แก่ญาติที่ล่วงลับ ไปแล้วแก่พระราชา แก่เทวดาทั้งหลาย แก่สมณพราหมณ์.
(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
สัปบุรุษผู้มีปัญญาอยู่ครองเรือน เป็นผู้ไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืนกลางวัน บำเพ็ญตนเพื่อประโยชน์แก่ชน เป็นอันมากในชั้นต้นระลึกถึงอุปการะ ที่ท่าน ทำไว้ก่อน ย่อมบูชามารดาบิดาโดยชอบธรรมสัปบุรุษ ผู้มีศรัทธาตั้งมั่นแล้ว และมีศีลเป็นที่รักทราบธรรมแล้ว ย่อมบูชาบรรพชิตผู้ไม่ครองเรือน ผู้ไม่มีบาป ประพฤติ พรหมจรรย์สัปบุรุษนั้น เป็นผู้เกื้อกูลต่อพระราชา ต่อเทวดาต่อญาติ และสหายทั้งหลาย ตั้งมั่นแล้ว ในสัทธรรม เป็นผู้เกื้อกูลแก่คนทั้งปวงสัปบุรุษนั้น กำจัดมลทินคือความตระหนี่ได้แล้ว ย่อมประสบโลก อันเกษม.
เทวดาชั้นดาวดึงส์ กล่าวถึงนรชน ผู้เป็นบุคคลเลี้ยงมารดาบิดา มีปกติประพฤติ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ ในตระกูล เจรจาอ่อนหวาน กล่าวแต่คำสมานมิตรสหาย ละคำส่อเสียดประกอบในอุบายเป็นเครื่องกำจัด ความตระหนี่ มีวาจาสัตย์ ครอบงำความโกรธได้ นั้นแลว่า เป็นสัปบุรุษ ดังนี้.
หน้า 94
44
กลิ่นที่หอมทวนลม
-บาลี เอก. อํ. ๒๐/๒๙๐/๕๑๙.
อานนท์ ! สตรีหรือบุรุษในบ้านหรือนิคมใดในโลกนี้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาด จากการลักทรัพย์เว้นขาดจาก การประพฤติผิด ในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เป็นคนมีศีล มีกัลยาณธรรม มีใจปราศจากมลทินคือความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีการบริจาคอันปล่อยอยู่ เป็นประจำ มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ เป็นผู้ควรแก่ การขอ ยินดีในการให้และการแบ่งปัน
สมณพราหมณ์ทุกทิศย่อมกล่าวสรรเสริญคุณของเขาว่า สตรีหรือบุรุษในบ้าน หรือนิคมแห่งโน้น ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์ เป็นสรณะ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการ ประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการดื่ม น้ำเมาคือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เป็นคนมีศีล มีกัลยาณธรรม มีใจปราศจากมลทิน คือความตระหนี่อยู่ครองเรือน เป็นผู้ควรแก่การขอ ยินดีในการให้ และการแบ่งปัน
แม้เทวดาทั้งหลายก็กล่าวสรรเสริญคุณของเขาว่าสตรี หรือบุรุษในบ้านหรือนิคม แห่งโน้น ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิด ในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอัน เป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเป็นคนมีศีล มีกัลยาณธรรม มีใจปราศจากมลทิน คือความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีการบริจาคอันปล่อยอยู่เป็นประจำมีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ เป็นผู้ควรแก่การขอ ยินดีในการให้และการแบ่งปัน.
อานนท์ ! กลิ่นหอมนี้นั้นแล ฟุ้งไปตามลมก็ได้ฟุ้งไปทวนลมก็ได้ ฟุ้งไปทั้งตามลม และทวนลมก็ได้.
(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
กลิ่นดอกไม้ฟุ้งทวนลมไปไม่ได้กลิ่นจันทน์ กลิ่นกฤษณา หรือกลิ่นกระลำพัก ก็ฟุ้งทวนลมไปไม่ได้ ส่วนกลิ่นสัปบุรุษ ฟุ้งทวนลมไปได้เพราะสัปบุรุษ ฟุ้งไปทุกทิศ.
ผลกระทบทั้งดีและไม่ดีจากการให้ทานมีไหม
หน้า 98
45
สังคมเลว เพราะคนดีอ่อนแอ
-บาลี ทุก. อํ. ๒๐/๘๗/๒๘๔.
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด พวกโจรมีกำลัง สมัยนั้นพระราชาย่อมเสื่อมกำลัง คราวนั้นทั้งพระราชาเอง ก็หมดความผาสุกที่จะเข้าใน ออกนอก หรือที่จะออก คำสั่งไปยังชนบทชายแดน ถึงแม้พวกพราหมณ์ และคหบดี ก็หมดความสะดวก ที่จะเข้าใน ออกนอก หรือที่จะอำนวยการงานนอกเมืองข้อนี้ฉันใด.
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด พวกภิกษุเลวทรามมีกำลังสมัยนั้น หมู่ภิกษุผู้มีศีล เป็นที่รัก ย่อมเสื่อมกำลัง คราวนั้นหมู่ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก จำต้องเป็นผู้นิ่ง เงียบ เชียบอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ หรือถึงกับต้องไปอยู่ตาม ชนบทชายแดนฉันนั้น เหมือนกัน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ย่อมไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่มหาชนทั้งหลาย ไม่เป็นไป เพื่อความสุข เป็นความเสียหายแก่มหาชนเป็นอันมาก และไม่เป็นไปเพื่อความ เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ทั้งแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด พระราชามีกำลัง สมัยนั้นพวกโจรย่อมเสื่อมกำลัง คราวนั้นทั้งพระราชาเอง ก็มีความผาสุกที่จะเข้าใน ออกนอก หรือที่จะออกคำสั่ง ไปยังชนบทชายแดน แม้พวกพราหมณ์และคหบดี ก็มีความสะดวกที่จะเข้าใน ออกนอก หรือที่จะอำนวยการงานนอกเมือง ข้อนี้ฉันใด.
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด หมู่ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักมีกำลัง สมัยนั้นพวกภิกษุเลว ทรามย่อมเสื่อมกำลัง คราวนั้น พวกภิกษุเลวทราม จำต้องเป็นผู้นิ่ง เงียบเชียบ อยู่ในท่ามกลางสงฆ์ หรือเป็นพวกที่ต้องหล่น ไปเอง ฉันนั้นเหมือนกัน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่มหาชนทั้งหลาย ให้มหาชน มีความสุข เป็นความเจริญ แก่มหาชนเป็นอันมาก และเป็นไปเพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุขทั้งแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
หน้า 100
46
หลักการกำจัดเสี้ยนหนาม (คนไม่ดี)
-บาลี สี. ที. ๙/๑๗๑/๒๐๖.
(พระพุทธเจ้าตรัสกับกูฏทันตพราหมณ์ เล่าถึงเรื่องของพระเจ้ามหาวิชิตราช ที่เรียกพราหมณ์ปุโรหิตมาเฝ้า เพื่อให้สอนวิธีการบูชามหายัญญ์)
พราหมณ์ ! ปุโรหิตได้ทูลสนองพระดำรัสนั้นว่า แว่นแคว้นของพระองค์ ยังมี เสี้ยนหนาม ยังมีการเบียดเบียน กัน การปล้นฆ่าในหมู่บ้านก็ยังปรากฏ การปล้น ฆ่าในนิคมก็ยังปรากฏ การปล้นฆ่าในนครก็ยังปรากฏ การแย่งชิงตามระยะหนทาง ก็ยังปรากฏ และถ้าพระองค์จะให้เลิกเก็บส่วยในขณะที่แว่นแคว้น เป็นไป ด้วยเสี้ยนหนาม เต็มไปด้วยการเบียดเบียนเช่นนี้ ก็จะได้ชื่อว่าทำกิจไม่ควรทำ
อีกประการหนึ่งพระองค์อาจทรงพระดำริว่า เรากำจัดเสี้ยนหนาม คือ โจรผู้ร้าย เสียได้ด้วยการประหาร การจองจำ การริบทรัพย์ การประจาน หรือการเนรเทศ ดังนี้
ข้อนี้ก็ไม่ชื่อว่าเป็นการกำจัดได้ราบคาบด้วยดี เพราะผู้ที่ยังเหลือจากการถูก ประหาร ก็ยังมีชนพวกนี้จะเบียดเบียนชนบทของพระองค์ในภายหลัง แต่ว่ามีอุบายที่จะกำจัดเสี้ยนหนามเหล่านั้น ให้ราบคาบด้วยดีได้ คือ
(1) ชนเหล่าใดอุตสาหะในการทำเกษตรกรรมและปศุสัตว์ ขอพระองค์จง ประทานพืชพันธุ์ และอาหาร แก่ชนเหล่านั้น
(2) ชนเหล่าใดอุตสาหะในพาณิชยกรรม ขอพระองค์จงเพิ่มทุนให้ชนเหล่านั้น
(3) ข้าราชการเหล่าใดอุตสาหะ ขอพระองค์จงประทานเบี้ยเลี้ยง และเงินเดือน แก่ชนเหล่านั้นในโอกาส อันสมควรชนเหล่านั้นนั่นแหละ จักเป็นผู้ขวนขวาย ในการงานของตน ไม่เบียดเบียนแว่นแคว้นของพระองค์ และพระคลังก็จะเพิ่ม พูนมากมาย แว่นแคว้นจะตั้งอยู่ด้วยความเกษม ปราศจากเสี้ยนหนาม และการ เบียดเบียน พวกมนุษย์จะร่าเริงบันเทิง นอนชูบุตรให้เต้นฟ้อนอยู่บนอก แม้จักไม่ปิดประตูเรือนในเวลา ค่ำคืน ก็เป็นอยู่ได้.
หน้า 102
47
กรณีศึกษา เรื่องภิกษุชาวกรุงโกสัมพีแตกสามัคคีกัน
-บาลี มหา. วิ. ๕/๓๑๒/๒๓๘.
เรื่องมีอยู่ว่าภิกษุ ๒ รูปทะเลาะกัน คือรูปหนึ่งหาว่าอีกรูปหนึ่งต้องอาบัติแล้ว ไม่เห็นอาบัติ จึงพาพวกมา ประชุมสวดประกาศลงอุกเข-ปนียกรรม แก่ภิกษุรูปนั้น แต่ละรูปต่างก็มีเพื่อนฝูงมากด้วยกันทั้งสองฝ่าย และต่างก็หาว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ทำไมถู่ก ถึงกับสงฆ์แตกกันเป็นสองฝ่าย และแยกทำอุโบสถ แม้ พระผู้พระภาค จะทรงแนะนำตักเตือน ให้ประนีประนอมกันก็ไม่ฟัง ในที่สุดถึงกับทะเลาะวิวาท และแสดงอาการทางกายทางวาจา ที่ไม่สมควรต่อกัน พระผู้มีพระภาคจึงทรง ตักเตือน.
ภิกษุทั้งหลาย ! พอที พวกเธอทั้งหลาย อย่าหมายมั่นกันเลย อย่าทะเลาะ กันเลย อย่าโต้เถียงกันเลย อย่าวิวาทกันเลย.
มีภิกษุบางรูปทูลขึ้นว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นธรรมสามี !ขอพระองค์จง หยุดไว้ก่อนเถิดพระเจ้าข้า ขอจงทรงขวนขวายน้อยเถิดพระเจ้าข้า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ขอจงทรงประกอบในสุขวิหารในทิฏฐธรรมอยู่เถิด พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์ ทั้งหลายจักทำให้เห็นดำเห็นแดงกัน ด้วยการหมาย มั่นกัน ด้วยการทะเลาะกัน ด้วยการโต้เถียงกันด้วยการ วิวาทกัน อันนี้เอง”.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคำนี้แก่ภิกษุเหล่านั้นเป็นคำรบ ๒ ว่าภิกษุทั้งหลาย ! พอที พวกเธอทั้งหลาย อย่าหมายมั่นกันเลย อย่าทะเลาะกันเลย อย่าโต้เถียงกันเลย อย่าวิวาทกันเลย.
มีภิกษุบางรูปทูลคำนี้ขึ้นเป็นคำรบ ๒ ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นธรรม สามี ! ขอพระองค์จงหยุดไว้ก่อนเถิดพระเจ้าข้า ขอจงทรงขวนขวายน้อยเถิด พระเจ้าข้า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ขอจงทรงประกอบในสุขวิหารในทิฏฐธรรมอยู่เถิด พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์ทั้งหลาย จักทำให้เห็นดำเห็นแดงกัน ด้วยการหมาย มั่นกัน ด้วยการทะเลาะกัน ด้วยการโต้เถียงกัน ด้วยการวิวาทกัน อันนี้เอง”.
พระผู้มีพระภาคจึงทรงสั่งสอนให้ดูตัวอย่างทีฆาวุกุมาร แห่งแคว้นโกศล ผู้คิด แก้แค้น พระเจ้าพรหมทัตแห่ง แคว้นกาสีในการที่จับพระราชบิดาของพระองค์ คือพระเจ้าทีฆีติไปทรมานประจาน และประหารชีวิต เมื่อมีโอกาสจะแก้แค้นได้ ก็ยังระลึกถึงโอวาทของบิดา ที่ไม่ให้เห็นแก่ยาว (คือไม่ให้ผูกเวรจองเวรไว้นาน) ไม่ให้เห็นแก่สั้น (คือไม่ให้ตัดไมตรี) และให้สำนึกว่า เวรย่อมระงับด้วยการ ไม่จองเวร จึงไว้ชีวิต พระเจ้าพรหมทัต แล้วกลับได้ราชสมบัติที่เสียไปคืน พร้อมทั้งได้พระราชธิดาของพระเจ้าพรหมทัตด้วย.
ทรงสรุปว่า พระราชาที่จับศัสตราวุธยังทรงมีขันติและโสรัจจะได้ จึงควรที่ ภิกษุทั้งหลายผู้บวช ในธรรมวินัยนี้จะมีความอดทน และความสงบเสงี่ยม แต่ภิกษุเหล่านั้นก็มิได้เชื่อฟัง.
กาลนั้นแล ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงครองจีวร ถือบาตร เสด็จเข้าไป สู่เมืองโกสัมพี เพื่อบิณฑบาต ครั้นทรงเที่ยวบิณฑบาตในเมืองโกสัมพีแล้ว ภายหลังภัตตกาล กลับจากบิณฑบาตแล้ว ทรงเก็บบริขารขึ้นมาถือไว้ แล้วประทับยืน ตรัสคาถานี้ว่าคนไพร่ๆ ด้วยกัน ส่งเสียงเอ็ดตะโร แต่หามีคนไหน สำคัญตัวว่า เป็นพาลไม่ เมื่อหมู่แตกกัน ก็หาได้มีใครรู้สึกเป็นอย่างอื่น ให้ดีขึ้น ไปกว่านั้นได้ไม่.
พวกบัณฑิตลืมตัว สมัครที่จะพูดตามทางที่ตนปรารถนาจะพูดอย่างไร ก็พูดพล่ามไปอย่างนั้น หาได้นำพา ถึงกิเลสที่เป็นเหตุแห่งการทะเลาะกันไม่.
พวกใด ยังผูกใจเจ็บอยู่ว่า ‘ผู้นั้นได้ด่าเรา ได้ทำร้ายเรา ได้เอาชนะเรา ได้ลัก ทรัพย์ของเรา’ เวรของพวกนั้น ย่อมระงับไม่ลง.
พวกใด ไม่ผูกใจเจ็บว่า ‘ผู้นั้นได้ด่าเรา ได้ทำร้ายเรา ได้เอาชนะเรา ได้ลัก ทรัพย์ของเรา’ เวรของพวกนั้น ย่อมระงับได้.
ในยุคไหนก็ตาม เวรทั้งหลาย ไม่เคยระงับได้ด้วยการผูกเวรเลย แต่ระงับได้ ด้วยไม่มีการผูกเวร ธรรมนี้เป็นของเก่าที่ใช้ได้ตลอดกาล.
คนพวกอื่น ไม่รู้สึกว่า ‘พวกเราจะแหลกลาญก็เพราะเหตุนี้’ พวกใด สำนึกตัวได้ ในเหตุที่มีนั้น ความมุ่งร้ายกัน ย่อมระงับได้ เพราะความรู้สึกนั้น.
ความกลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ยังมีได้แม้แก่พวกคนกักขฬะเหล่านั้น ที่ปล้นเมืองหักแข้งขา ชาวบ้านฆ่าฟันผู้คน แล้วต้อนม้า โค และขนเอาทรัพย์ไป แล้วทำไมจะมีแก่พวกเธอไม่ได้เล่า.
ถ้าหากไม่ได้สหายที่พาตัวรอด เป็นปราชญ์ ที่มีความเป็นอยู่ดี เป็นเพื่อนร่วม ทางแล้วไซร้ ก็จงทำตัวให้เหมือนพระราชาที่ละแคว้น ซึ่งพิชิตได้แล้วไปเสีย แล้วเที่ยวไปคนเดียวดุจช้างมาตังคะ เที่ยวไปในป่าตัวเดียว ฉะนั้น.
การเที่ยวไปคนเดียว ดีกว่า เพราะไม่มีความเป็นสหายกันได้กับคนพาล พึงเที่ยวไปคนเดียว และไม่ทำบาป เป็นคนมักน้อย ดุจช้างมาตังคะ เป็นสัตว์ มักน้อย เที่ยวไปในป่า ฉะนั้น.
ครั้นแล้วจึงเสด็จไปจากที่นั้นสู่พาลกโลณการกคาม สู่ป่าชื่อปาจีนวังสะโดยลำดับ ได้ทรงพบปะ กับ พระเถระ ต่างๆ ในที่ที่เสด็จไปนั้นในที่สุดได้เสด็จไปพำนักอยู่ ณ โคนไม้สาละอันร่มรื่น ณ ป่าชื่อ ปาริเลยยกะ และได้มีพญาช้างชื่อ ปาริเลยยกะ มาอุปัฏฐากดูแลพระผู้มีพระภาค ต่อจากนั้นจึงได้ เสด็จไปยัง กรุงสาวัตถี.
ครั้งนั้น อุบาสกอุบาสิกาชาวพระนครโกสัมพีได้หารือกันดังนี้ว่า พระคุณเจ้าเหล่า ภิกษุชาวพระนครโกสัมพี นี้ ทำความพินาศใหญ่โตให้พวกเรา พระผู้มีพระภาค ถูกท่านเหล่านี้รบกวนจึงเสด็จหลีกไปเสีย เอาละพวกเรา ไม่ต้องอภิวาท ไม่ต้อง ลุกรับ ไม่ต้องทำอัญชลีกรรม สามีจิกรรมไม่ต้องทำสักการะ ไม่ต้องเคารพ ไม่ต้องนับถือ ไม่ต้องบูชา ซึ่งพระคุณเจ้าเหล่าภิกษุชาวพระนครโกสัมพี แม้เข้า มาบิณฑบาต ก็ไม่ต้องถวายบิณฑบาตท่านเหล่านี้ ถูกพวกเราไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา เป็นผู้ไม่มีสักการะอย่างนี้ จักหลีกไปเสีย หรือจักสึก เสีย หรือจักให้พระผู้มีพระภาคทรงโปรด
ครั้นแล้วไม่อภิวาท ไม่ลุกรับ ไม่ทำอัญชลีกรรม สามีจิกรรมไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ซึ่งพวกภิกษุชาวพระนครโกสัมพี แม้เข้ามาบิณฑบาต ก็ไม่ ถวายบิณฑบาต.
ครั้งนั้น พวกภิกษุชาวพระนครโกสัมพี ถูกอุบาสกอุบาสิกาชาวพระนครโกสัมพี ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา เป็นผู้ไม่มีสักการะจึงพูดกันอย่างนี้ว่า
อาวุโสทั้งหลาย ! มิฉะนั้น พวกเราพึงไปพระนครสาวัตถีแล้ว ระงับอธิกรณ์นี้ใน สำนักพระผู้มีพระภาค ครั้นแล้ว เก็บงำเสนาสนะถือบาตร จีวร พากันเดินทางไป พระนครสาวัตถี.
ภิกษุเหล่านั้นได้รับความลำบากก็รู้สึกสำนึกผิด จึงพากันเดินทางไปกรุงสาวัตถี และยอมตกลงระงับ ข้อวิวาทแตกแยกกัน โดยภิกษุรูปที่เป็นต้นเหตุ ยอมแสดง อาบัติ ภิกษุฝ่ายที่สวดประกาศลงโทษ ยอมถอนประกาศ พระผู้มีพระภาคจึงตรัส ให้ประชุมสงฆ์สวดประกาศ ระงับเรื่องนั้น เป็นสังฆสามัคคี ด้วยทุติยกรรมวาจา เสร็จแล้วให้สวดปาติโมกข์.
|