เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
   ธาต ๖ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ 999
 
  (ความย่อ

(1) ปฐวีธาตุเป็นไฉน (ธาตุดิน ของแข็งในกาย-นอกกาย)
ได้แก่สิ่งที่แค่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ผม ขนเล็บ ฟันหนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่

(2) อาโปธาตุเป็นไฉน (ธาตน้ำ ของเหลวในกาย-นอกกาย)
ได้แก่สิ่งที่เอิบอาบ ซึมซาบไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก

(3) เตโชธาตุเป็นไฉน (ธาตุไฟ ความอบอุ่นในกาย-นอกกาย)
ได้แก่สิ่งที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อนกำหนดได้ มีในตน อาศัยตนคือ ธาตุที่เป็น เครื่อง ยังกายให้ อบอุ่น ยังกายให้ทรุดโทรม ยังกาย ให้กระวนกระวาย แ

(4) วาโยธาตุเป็นไฉน (ธาตุลม ลมในกาย-นอกกาย)
ได้แก่สิ่งที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตนคือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ  ลมใน ท้อง ลมในลำไส้ ลมแล่นไป ตามอวัยวะ

(5) อากาสธาตุเป็นไฉน (ช่องว่างในกาย-นอกกาย)
ได้แก่สิ่งที่ว่าง ปรุโปร่งกำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปากซึ่งเป็นทางให้ กลืน ของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว

(6) วิญญาณเป็นไฉน (ธาตุรู้)
วิญญาณ อันบริสุทธิ์ผุดผ่อง บุคคลย่อม รู้อะไรๆได้ด้วยวิญญาณ นั้น คือรู้ชัดว่า สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุข บ้าง

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ หน้าที่ ๓๒๗


ธาตุวิภังค์สูตร

ธาตุ๖


ดูกรภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ฯ

(1)  ปฐวีธาตุเป็นไฉน (ธาตุดิน ของแข็งในกาย-นอกกาย)
คือปฐวีธาตุภายในก็มี ภายนอก ก็มี ก็ปฐวีธาตุภายในเป็นไฉน  ได้แก่สิ่งที่แค่นแข็ง  กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ผม ขนเล็บ ฟันหนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก  ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือแม้สิ่งอื่น ไม่ว่า ชนิดไรๆ ที่แค่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตนนี้เรียกว่า ปฐวีธาตุภายใน  ก็ปฐวีธาตุ ทั้งภายใน และ ภายนอกนี้แล เป็นปฐวีธาตุทั้งนั้น
พึงเห็นปฐวีธาตุนั้น ด้วยปัญญาชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตา ของเรา ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่าย ปฐวีธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัด ปฐวีธาตุได้ ฯ (เป็นการพิจารณา สักกายทิฐิ เพื่อละปฐวีธาตุ)


(2)
 อาโปธาตุเป็นไฉน  (ธาตน้ำ ของเหลวในกาย-นอกกาย)
คืออาโปธาตุภายในก็มี ภายนอกก็มี ก็อาโปธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่เอิบอาบ ซึมซาบไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่เอิบอาบ ซึมซาบไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายใน ก็อาโปธาตุทั้ง ภายใน และภายนอก นี้แล เป็นอาโปธาตุทั้งนั้น
พึงเห็นอาโปธาตุนั้นด้วย ปัญญาชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่าย อาโปธาตุ และจะให้ จิต คลายกำหนัดอาโปธาตุได้ ฯ


(3)
เตโชธาตุเป็นไฉน  (ธาตุไฟ ความอบอุ่นในกาย-นอกกาย)
คือ เตโชธาตุภายในก็มี ภายนอกก็มี ก็เตโชธาตุภายใน เป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อนกำหนดได้ มีในตน อาศัยตนคือ ธาตุที่เป็น เครื่อง ยังกายให้ อบอุ่น ยังกายให้ทรุดโทรม ยังกาย ให้กระวนกระวาย และธาตุที่เป็น เหตุให้ ของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม แล้วถึงความ ย่อย ไปด้วยดี หรือแม้ สิ่งอื่น ไม่ว่าชนิดไรๆ ที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อนกำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า เตโชธาตุภายใน ก็เตโชธาตุ ทั้งภายในและภายนอก นี้แลเป็นเตโชธาตุทั้งนั้น
พึงเห็นเตโชธาตุนั้น ด้วยปัญญา ชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตา (ตัวตน) ของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่าย เตโชธาตุ  และ จะให้จิตคลายกำหนัด เตโชธาตุได้ ฯ


(4)
วาโยธาตุเป็นไฉน
 (ธาตุลม ลมในกาย-นอกกาย)
คือ วาโยธาตุภายในก็มี ภายนอกก็มี ก็วาโยธาตุภายใน เป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตนคือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมแล่นไป ตามอวัยวะ น้อยใหญ่  ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า  หรือแม้ สิ่งอื่นไม่ว่า ชนิดไรๆ ที่พัดผันไป กำหนดได้  มีในตน อาศัยตนนี้เรียกว่า วาโยธาตุ ภายใน ก็วาโยธาตุ ทั้งภายใน และภายนอก นี้แลเป็นวาโยธาตุทั้งนั้น พึงเห็นวาโยธาตุ นั้น ด้วยปัญญา ชอบตาม ความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตา(ตัวตน)ของเรา ครั้นเห็นแล้วจะ เบื่อหน่ายวาโยธาตุและจะให้จิต คลายกำหนัดวาโยธาตุได้ ฯ


(5)
อากาสธาตุเป็นไฉน  (ช่องว่างในกาย-นอกกาย)
คือ อากาสธาตุภายในก็มี ภายนอกก็มี ก็อากาสธาตุ ภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่ว่าง ปรุโปร่งกำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปากซึ่งเป็นทางให้กลืน ของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม เป็นที่ตั้งของ ที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม และเป็นทาง ระบาย ของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้วออก ทางเบื้องล่าง หรือแม้สิ่งอื่น ไม่ว่าชนิดไรๆ  ที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้ มีในตน  อาศัยตน นี้เรียกว่า อากาสธาตุ ภายใน ก็อากาสธาตุ ทั้งภายใน และภายนอกนี้แล เป็นอากาสธาตุทั้งนั้น 
พึงเห็นอากาสธาตุนั้นด้วยปัญญา ชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตา(ตัวตน) ของเรา ครั้นเห็นแล้ว  จะเบื่อหน่ายอากาสธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัด อากาสธาตุได้ ฯ

(6) วิญญาณเป็นไฉน (ธาตุรู้)
วิญญาณ  อันบริสุทธิ์ผุดผ่อง บุคคลย่อม รู้อะไรๆได้ด้วยวิญญาณ นั้น คือรู้ชัดว่า สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุข บ้าง

พระสูตรเต็ม ตรัสกับ ปุกกุสาติ ที่โรงนา

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์