เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ  

 
  เรื่องการบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ ความดีที่ตถาคตสั่งสมไว้แต่ปางก่อน 967
   
 
(เนื้อหาพอสังเขป)
ความดีที่ตถาคตสั่งสมไว้แต่ปางก่อน

รักษาศีล สร้างกุศล
- สร้างกุศล ถือมั่นในกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต บริจาคทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ
- เว้นจากปาณาติบาต วางศาสตรา และอาชญา เอ็นดู กรุณา เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวง
- เป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์ ด้วยมือก็ตาม ด้วยก้อนดิน ท่อนไม้ ศาสตรา เป็นผู้ไม่ถลึงตา
- เป็นผู้ละเว้นวาจาส่อเสียด กล่าวคำหยาบ กล่าวแต่วาจาที่ไม่มีโทษ เป็นสุขแก่หู
- เป็นผู้ละเว้นการพูดเพ้อเจ้อ กล่าวคำจริง เป็นธรรม มีอรรถ เป็นระเบียบ กล่าวมีที่ตั้ง
- เป็นผู้ละมิจฉาชีพ เลี้ยงชีพชอบ เว้นจากการ ฉ้อโกง หลอกลวงคดโกงด้วยเครื่องชั่ง

เข้าหาสมณะ สร้างความผาสุข เจริญเมตตา
- เข้าหาสมณพราหมณ์ สอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มี
- เป็นผู้ใคร่ต่อประโยชน์ เกื้อกูล ความผาสุก ความเกษมจากโยคะ แก่ชนเป็นอันมาก
- เคยเจริญเมตตาภาวนา ตลอด ๗ ปี ตลอด ๗ สังวัฏฏกัปป์ และ วิวัฏฏกัปป์

เคยเป็นพรหม

- เราเคยเป็นอาภัสสรพรหม ในระหว่างกาลอันเป็นสังวัฏฏกัปป์ นั้น
- เราก็ได้อยู่พรหมวิมานอันว่างเปล่าในกาลวิวัฏฏกัปป์ นั้น
- เราเคยเป็นพรหม ได้เคยเป็นมหาพรหม ผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีใครครอบงำได้
- เราเคยเป็นสักกะ ผู้เป็นจอมแห่งเทวดา นับได้ ๓๖ ครั้ง

เคยเป็นราชาจักรพรรดิ
- เราเคยเป็นราชาจักรพรรดิ ผู้ประกอบด้วยธรรม (เป็นจักรพรรดิ์)
- เราเคยเป็นพระราชาโดยธรรม มีแว่นแคว้น จดมหาสมุทรทั้งสี่ (ลูกน้องจักรพรรดิ์)

เป็นผู้มีฤทธิ์
- วิบากกรรมที่ทำมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากมี ๓ อย่าง คือ ๑.ทาน ๒.ทมะ ๓.สัญญมะ

 
 


พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้าที่ หน้าที่ ๕๘๔ ภาค ๖

เรื่องการบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ

(คัดย่อจากพระสูตรเต็ม)

ความดี ที่ทรงสั่งสมไว้แต่ภพก่อน ๆ


สร้างกุศล ถือมั่นในกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต บริจาคทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ การปฏิบัติมารดาบิดา ต่อสมณพราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้เจริญ และในอธิกุศลธรรม

นำสุขมาสู่มหาชน บรรเทาความสะดุ้ง หวาดเสียว เว้นจาก ปาณาติบาต วางศาสตรา และอาชญา มีความเอ็นดู กรุณา เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวง ให้ทานด้วยเคี้ยว ของบริโภค มีวาจาประกอบด้วยอรรถ ด้วยธรรม

เข้าไปหาสมณพราหมณ์ แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ ทำอย่างใดไม่มีประโยชน์ เป็นทุกข์ไปนาน ทำอย่างใดมีประโยชน์เป็นสุขไปนาน ฯ. ...ได้เป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่มากไปด้วยความแค้น ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่แสดงความโกรธ ความร้ายกาจ ความเสียใจให้ปรากฏ

เป็นผู้ใคร่ต่อประโยชน์ต่อความเกื้อกูล ความผาสุก ความเกษมจากโยคะ แก่ชนเป็นอันมาก ว่า ไฉนหนอ ชนเหล่านี้ พึงเจริญด้วยศรัทธา ศีล การศึกษา ความรู้ ความเผื่อแผ่ ธรรม ปัญญา ทรัพย์ และ ข้าวเปลือก นาและสวน สัตว์สองเท้า สี่เท้า บุตรภรรยา ทาส กรรมกร และด้วย ญาติมิตรพวกพ้อง

เป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ด้วยมือก็ตาม ด้วยก้อนดิน  ท่อนไม้ ศาสตรา เป็นผู้ไม่ถลึงตา ค้อนควัก จ้องลับหลัง เป็นผู้แช่มชื่น มองดูตรง ๆ มองดูผู้อื่นด้วย สายตาอันแสดงความรัก ฯ. ...ได้เป็น หัวหน้าของชนเป็นอันมาก ในกุศลกิจทั้งหลาย ได้เป็นประธานของหมู่ชน ผู้ประกอบ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต

เป็นผู้ละเว้นวาจาส่อเสียด (คือพูดยุให้เขาแตกกัน เว้นการกล่าวคำหยาบ กล่าวแต่ วาจาที่ไม่มีโทษ เป็นสุขแก่หู เป็นที่ตั้งแห่งความรักซึมซาบถึงใจ เป็นคำพูด ของ ชาวเมือง เป็นที่พอใจ และชอบใจของชนเป็นอันมาก

เป็นผู้ละเว้นการพูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้กล่าวควรแก่เวลา กล่าวคำจริง กล่าวเป็นธรรม กล่าวมีอรรถ กล่าวเป็นระเบียบ กล่าวมีที่ตั้ง มีหลักฐาน ประกอบด้วยประโยชน์. ...เป็นผู้ละมิจฉาชีพ มีการเลี้ยงชีพชอบ เว้นจากการ ฉ้อโกง การหลอกลวงคดโกง ด้วยเครื่องชั่ง เครื่องตวง เครื่องวัด เว้นจากการตัด การฆ่า การผูกมัด การทำร้าย การปล้น การกรรโชก

ตถาคตได้เคยเจริญเมตตาภาวนา ตลอด ๗ ปี จึงไม่เคยมาบังเกิดในโลกมนุษย์นี้ ตลอด ๗ สังวัฏฏกัปป์ และ วิวัฏฏกัปป์. ในระหว่างกาลอันเป็นสังวัฏฏกัปป์นั้น เราได้บังเกิดใน อาภัสสรพรหม. ในระหว่างกาลอันเป็นวิวัฏฏกัปป์นั้น เราก็ได้อยู่ พรหมวิมานอันว่างเปล่าแล้ว.

เราได้เคยเป็นพรหม ได้เคยเป็นมหาพรหม ผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีใครครอบงำได้ เป็นผู้เห็น สิ่งทั้งปวงโดยเด็ดขาด เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด.

เราได้เคยเป็นสักกะ ผู้เป็นจอมแห่งเทวดา นับได้ ๓๖ ครั้ง เราได้เคยเป็นราชา จักรพรรดิ ผู้ประกอบด้วยธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม มีแว่นแคว้น จดมหาสมุทรทั้งสี่ เป็นที่สุด

วิบากกรรมที่ทำให้เราเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากถึงอย่างนี้ ความรู้สึกได้เกิด ขึ้นแก่เราว่า ผลวิบากแห่งกรรม ๓ อย่างนี้ คือ
   ๑.ทาน(การให้)
   ๒.ทมะ (การบีบบังคับใจ)
   ๓.สัญญมะ (การสำรวมระวัง)

(คัดย่อจากพระสูตรเต็ม)

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์