เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ทางไปแห่งจิต 36อย่าง สัตตบท 36 อธัมมยตา การออกไปจากทางเดินแห่งจิต 804
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

ในบรรดาทางไป (แห่งจิต) ของสัตว์ทั้งสามสิบหก(สัตตบท ๓๖) นั้น
โสมนัส อาศัยการ หลีกออกจากเรือน (เนกขัมมสิตโสมนัส) 6 อย่าง
โทมนัส อาศัยการ หลีกออกจากเรือน (เนกขัมมสิตโทมนัส) 6 อย่าง
อุเบกขา อาศัยการ หลีกออกจากเรือน (เนกขัมมสิตอุเบกขา) 6 อย่าง
โสมนัส อาศัยการ หลีกออกจากเรือน (เนกขัมมสิตโสมนัส) 6 อย่าง
อุเบกขา อาศัยการ หลีกออกจากเรือน (เนกขัมมสิตอุเบกขา) 6 อย่าง

ภิกษุ ท. !
อุเบกขามีภาวะต่างๆ (นานัตตอุเบกขา) อาศัยภาวะต่างๆ ก็มีอยู่.
อุเบกขามีภาวะอย่างเดียว (เอกัตตอุเบกขา) อาศัยภาวะอย่างเดียว ก็มีอยู่.

ภิกษุ ท. ! อุเบกขามีภาวะต่าง ๆ อาศัยภาวะต่าง ๆ เป็นอย่างไรเล่า ?
อุเบกขาในรูป ทั้งหลาย มีอยู่
อุเบกขาในเสียง ท. มีอยู่
อุเบกขาในกลิ่น ท. มีอยู่
อุเบกขาในรส ท. มีอยู่
อุเบกขาในโผฏฐัพพะ ท. มีอยู่.
ภิกษุ ท. ! นี้คือ อุเบกขามีภาวะต่าง ๆ อาศัยภาวะต่างๆ

ภิกษุ ท. ! อุเบกขามีภาวะอย่างเดียว อาศัยภาวะอย่างเดียวเป็นอย่างไรเล่า ?
อุเบกขาอาศัย อากาสานัญจายตนะ มีอยู่
อุเบกขาอาศัย วิญญาณัญจายตนะ มีอยู่
อุเบกขาอาศัย อากิญจัญญายตนะ มีอยู่
อุเบกขาอาศัย เนวสัญญานาสัญญายตนะ มีอยู่.
ภิกษุ ท. ! นี้คือ อุเบกขามีภาวะอย่างเดียว อาศัยภาวะอย่างเดียว.

ดูคลิป



 
 


อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า 793

การออกไปเสียได้จากทางเดินแห่งจิตของสัตว์บุถุชน

 
(ทางเดินแห่งจิตของสัตว์ มีอยู่ ๓๖ อย่าง(สัตตบท ๓๖) มีอยู่ที่หัวข้อว่า “เวทนาคือ ทางไปแห่งจิต ของสัตว์” ในภาค ๑ ที่ว่าด้วย ทุกขอริยสัจ หน้า ๑๘๖แห่งหนังสือเล่มนี้. ข้อความต่อไปนี้ แสดงการออกมาเสียได้ จากทางเดินแห่งจิต ของสัตว์เหล่านั้น โดยอาศัยธรรมที่เป็นคู่ปรับแก่กันเป็นคู่ๆ ละฝ่ายที่ควรละเสีย จนกระทั่งออกมาเสียได้ จากทางแห่งทุกข์ถึงที่สุดโดยประการทั้งปวง ดังต่อไปนี้)

ภิกษุ ท. ! คำ ที่เรากล่าวว่า “จงอาศัยทางนี้ แล้วละทางนี้เสีย” ดังนี้ นั้น เรากล่าวอาศัยหลักเกณฑ์อะไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เรากล่าวอาศัยหลักเกณฑ์ คือ

(1) ภิกษุ ท. ! ในบรรดาทางไป (แห่งจิต) ของสัตว์ทั้งสามสิบหก(สัตตบท ๓๖) นั้น โสมนัสอาศัยการ หลีกออกจากเรือน (เนกขัมมสิตโสมนัส) หกอย่างมีอยู่ เธอจง อาศัยแล้ว ๆ ซึ่งโสมนัสอาศัยการหลีกออกจากเรือนนั้น ละเสียก้าวล่วงเสียซึ่งโสมนัส อาศัยเรือนหกอย่าง. การละเสียได้ การก้าวล่วงเสียได้ ซึ่งโสมนัสอาศัยเรือน หกอย่าง เหล่านั้น ย่อมมีด้วยอาการเหล่านี้.

(2) ภิกษุ ท. ! ในบรรดาทางไป (แห่งจิต) ของสัตว์ทั้งสามสิบหกนั้น โทมนัสอาศัย การหลีกออกจากเรือน (เนกขัมมสิตโทมนัส) หกอย่างมีอยู่ เธอจง อาศัยแล้ว ๆ ซึ่งโทมนัสอาศัยการหลีกออกจากเรือนนั้น ละเสียก้าวล่วงเสียซึ่งโทมนัส อาศัยเรือน หกอย่าง. การละเสียได้ การก้าวล่วงเสียได้ ซึ่งโทมนัสอาศัยเรือน หกอย่าง เหล่านั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

(3) ภิกษุ ท. ! ในบรรดาทางไป (แห่งจิต) ของสัตว์ทั้งสามสิบหกนั้น อุเบกขา อาศัยการ หลีกออกจากเรือน (เนกขัมมสิตอุเบกขา) หกอย่างมีอยู่ เธอจงอาศัยแล้ว ๆ ซึ่งอุเบกขาอาศัยการหลีกออกจากเรือนนั้น ละเสียก้าวล่วงเสีย ซึ่งอุเบกขาอาศัย เรือนหกอย่าง. การละเสียได้ การก้าวล่วงเสียได้ ซึ่งอุเบกขาอาศัยเรือนหกอย่าง เหล่านั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

(4) ภิกษุ ท. ! ในบรรดาทางไป (แห่งจิต) ของสัตว์ทั้งสามสิบหกนั้น โสมนัสอาศัย การหลีกออกจากเรือน (เนกขัมมสิตโสมนัส) หกอย่างมีอยู่ เธอจงอาศัยแล้ว ๆ ซึ่งโทมนัสอาศัยการหลีกออกจากเรือนนั้น ละเสียก้าวล่วงเสีย ซึ่งโทมนัสอาศัยการ หลีกออกจากเรือนหกอย่าง. การละเสียได้ การก้าวล่วงเสียได้ ซึ่งโทมนัสอาศัยการ หลีกออกจากเรือนหกอย่างเหล่านั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

(5) ภิกษุ ท. ! ในบรรดาทางไป (แห่งจิต) ของสัตว์ทั้งสามสิบหกนั้น อุเบกขาอาศัย การหลีกออกจากเรือน (เนกขัมมสิตอุเบกขา) หกอย่างมีอยู่ เธอจงอาศัยแล้ว ๆ ซึ่งอุเบกขาอาศัยการหลีกออกจากเรือนนั้น ละเสียก้าวล่วงเสีย ซึ่งโสมนัสอาศัยการ หลีกออกจากเรือนหกอย่าง. การละเสียได้ การก้าวล่วงเสียได้ ซึ่งโสมนัสอาศัยการ หลีกออกจากเรือนหกอย่างเหล่านั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุ ท. !
อุเบกขามีภาวะต่างๆ (นานัตตอุเบกขา) อาศัยภาวะต่างๆ ก็มีอยู่. อุเบกขามีภาวะอย่างเดียว (เอกัตตอุเบกขา) อาศัยภาวะอย่างเดียว ก็มีอยู่.

ภิกษุ ท. ! อุเบกขามีภาวะต่าง ๆ อาศัยภาวะต่าง ๆ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษ ท. !
อุเบกขาในรูป ทั้งหลาย มีอยู่
อุเบกขาในเสียง ท. มีอยู่
อุเบกขาในกลิ่น ท. มีอยู่
อุเบกขาในรส ท. มีอยู่
อุเบกขาในโผฏฐัพพะ ท. มีอยู่.
ภิกษุ ท. ! นี้คือ อุเบกขามีภาวะต่าง ๆ อาศัยภาวะต่างๆ

ภิกษุ ท. ! อุเบกขามีภาวะอย่างเดียว อาศัยภาวะอย่างเดียว เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. !
อุเบกขาอาศัยอากาสานัญจายตนะมีอยู่
อุเบกขาอาศัยวิญญาณัญจายตนะมีอยู่
อุเบกขาอาศัยอากิญจัญญายตนะมีอยู่
อุเบกขาอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะมีอยู่.
ภิกษุ ท. ! นี้คือ อุเบกขามีภาวะอย่างเดียว อาศัยภาวะอย่างเดียว.

ภิกษุ ท. ! ในบรรดาอุเบกขาเหล่านั้น เธอจงอาศัยแล้ว ๆ ซึ่งอุเบกขามี ภาวะอย่าง เดียว อาศัยภาวะอย่างเดียว ละเสียก้าวล่วงเสียซึ่งอุเบกขามีภาวะต่าง ๆ อาศัยภาวะ ต่าง ๆ นั้น. การละเสียได้ การก้าวล่วงเสียได้ ซึ่งอุเบกขามีภาวะต่าง ๆ อาศัยภาวะ ต่าง ๆ นั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุ ท. ! เธอจง อาศัยแล้ว ๆ ซึ่ง อตัมมยตา ละเสียก้าวล่วงเสีย ซึ่งอุเบกขา มีภาวะอย่างเดียว อาศัยภาวะอย่างเดียวนั้น. การละเสียได้ การก้าวล่วงเสียได้ ซึ่งอุเบกขามีภาวะอย่างเดียว อาศัยภาวะอย่างเดียวกัน ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุ ท. ! คำใดที่เรากล่าวว่า “จงอาศัยทางนี้ แล้วละทางนี้เสีย”ดังนี้ นั้น คำนั้นเรา กล่าวอาศัยหลักเกณฑ์อย่างนี้แล.

- อุปริ. ม. ๑๔/๔๐๖/๖๓๑-๖๓๒.

คลิปเสียง ลำดับที่ 543


(นี้แสดงว่า การอาศัยทางอย่างหนึ่งละทางอย่างหนึ่งเสียนั้น เป็นนิโรธอย่างหนึ่ง ๆ ซึ่งควรจะมองให้เห็นว่าเป็นนิโรธ ๗ ขั้นตอน ดังนี้คือ
อาศัย เนกขัมมสิตโสมนัส ละ เคหสิตโสมนัส คู่หนึ่ง
อาศัย เนกขัมมสิตโสมนัส ละ เนกขัมมสิตโทมนัส คู่หนึ่ง
อาศัย เนกขัมมสิตโทมนัส ละ เคหสิตโทมนัส คู่หนึ่ง
อาศัย เนกขัมมสิตอุเบกขา ละ เคหสิตอุเบกขา คู่หนึ่ง
อาศัย เนกขัมมสิตอุเบกขา ละ เนกขัมมสิตโสมนัส คู่หนึ่ง
อาศัย เอกัตตอุเบกขา ละ นานัตตอุเบกขา คู่หนึ่ง
อาศัย อตัมมยตา ละ เอกัตตอุเบกขา (คู่หนึ่ง).

๑. อตัมมยตา คำนี้ ยากที่จะแปลออกมาตรง ๆ และไม่ควรจะแปลออกมา ให้ใช้ ทับศัพท์จนกลายเป็นคำในภาษาไทย เหมือนคำสำคัญอื่น ๆ เช่นคำว่า นิพพาน เป็นต้นก็แล้วกัน. สำหรับความหมายของคำ ว่า อตัมมยตา นั้น หมายถึงภาวะ ที่ไม่ต้องเนื่องหรืออาศัยปัจจัยอะไร ๆ ได้แก่อสัขตธรรมอันเป็นธรรม ที่ปราศจาก ตัณหาเป็นต้น อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้นั่นเอง.

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์