อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาค 1 หน้า 186
เวทนาคือทางไปแห่งจิตของสัตว์
ภิกษุ ท. ! คำที่เรากล่าวว่า พึงรู้จักทางไป (แห่งจิต) ของสัตว์ ๓๖ อย่าง ดังนี้นั้น ข้อนั้น เรากล่าวอาศัยหลักเกณฑ์อะไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ข้อนั้นเรากล่าวอาศัยหลักเกณฑ์คือ
ความโสมนัส เนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง ความโสมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง
ความโทมนัส เนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง
ความโทมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง
อุเบกขา เนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง
อุเบกขาเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง.
(โสมนัส)
ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ความโสมนัส เนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เมื่อคนเรามองเห็นการได้ซึ่งรูปอันน่าปรารถนาน่ารักใคร่ น่าพอใจ น่ารื่นรมย์ใจ อันเนื่องในความเป็นเหยื่อโลกในทางตา ว่าเป็นสิ่งที่ตนกำลังได้อยู่ ก็ตาม หรือว่าเมื่อระลึกถึงรูปเช่นนั้น อันตนเคยได้แล้วแต่กาลก่อนซึ่งล่วงแล้ว ดับสิ้น แปรปรวนไปแล้วก็ตาม แล้วเกิดความโสมนัสขึ้น ความโสมนัสใด มีลักษณะเช่นนี้ ความโสมนัสนี้ เรียกว่าความโสมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน (เคหสิตโสมนัส)
(ในกรณีที่เกี่ยวกับเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์อีก๕อย่างก็ตรัสทำนองเดียวกับ ข้อว่ารูปผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น).
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้คือ ความโสมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง.
................................................................
ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ความโสมนัสเนื่องด้วยการหลีก ออกจาก เหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เมื่อคนเรารู้แจ้งถึงความเป็นของไม่เที่ยงของรูปทั้งหลาย ความแปรปรวน ความจางคลายความกำหนัดยินดี และความดับไม่เหลือของรูปทั้งหลาย เห็นอยู่ด้วย ปัญญาอันชอบ ตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ว่า “รูปทั้งหลาย ในกาลก่อน หรือในบัดนี้ ก็ตามรูปทั้งหมดเหล่านั้น เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา” ดังนี้ แล้วเกิดความโสมนัสขึ้น.
ความโสมนัสใด มีลักษณะเช่นนี้ ความโสมนัสนี้ เรียกว่า ความโสมนัสเนื่องด้วย การหลีกออกจากเหย้าเรือน (เนกขัมม-สิตโสมนัส). (ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำนองเดียวกับข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น).
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้คือ ความโสมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง.
(โทมนัส)
ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ความโทมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เมื่อคนเรามองเห็นการไม่ได้ซึ่งรูป อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ น่ารื่นรมย์ใจ อันเนื่องในความเป็นเหยื่อโลก ในทางตา ว่า เป็นสิ่งที่ตนไม่ได้ก็ตาม หรือว่า เมื่อระลึกถึง รูปเช่นนั้น อันตนยังไม่เคยได้แต่กาลก่อน ซึ่งล่วงลับ ดับสิ้นแปรปรวนไปแล้วก็ตาม แล้วเกิดความโทมนัสขึ้น.
ความโทมนัสใดมีลักษณะเช่นนี้ ความโทมนัสนี้ เรียกว่า ความโทมนัสเนื่องด้วย เหย้าเรือน (เคหสิตโทมนัส). (ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำนองเดียวกับข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น).
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้คือ ความโทมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง.
................................................................
ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ความโทมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจาก เหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เมื่อคนเรารู้แจ้งถึงความเป็นของไม่เที่ยงของรูปทั้งหลาย ความแปรปรวน ความจาง-คลายความกำหนัดยินดี และความดับไม่เหลือของรูปทั้งหลาย เห็นอยู่ด้วย ปัญญาอันชอบตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ว่า “รูปทั้งหลาย ในกาลก่อนหรือในบัดนี้ ก็ตามรูปทั้งหมดเหล่านั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา” ดังนี้แล้ว เขา ย่อมเข้าไปตั้งไว้ ซึ่งความกระหยิ่ม ในอนุตตรวิโมกข์ทั้งหลายว่า “เมื่อไรหนอ ! เราจักเข้าถึงซึ่งอายตนะนั้น แล้วแลอยู่ อันเป็นอายตนะที่พระอริยเจ้า ทั้งหลาย เข้าถึงซึ่งอายตนะนั้นแล้วแลอยู่ ในบัดนี้” ดังนี้.
เมื่อเขาเข้าไปตั้งไว้ ซึ่งความกระหยิ่ม ในอนุตตรวิโมกข์ทั้งหลาย อยู่ดังนี้ ย่อมเกิดความโทมนัสขึ้น เพราะความ กระหยิ่มนั้นเป็นปัจจัย. ความโทมนัสใด มีลักษณะเช่นนี้ ความโทมนัสนี้ เรียกว่าความโทมนัสเนื่องด้วยการ หลีกออกจากเหย้าเรือน (เนกขัมมสิตโทมนัส) (ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำนองเดียวกับข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น).
ภิกษุ ท. !เหล่านี้คือ ความโทมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง.
(อุเบกขา)
ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น อุเบกขาเนื่องด้วยเหย้าเรือน (เคหสิตอุเบกขา) ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เพราะเห็นรูปด้วยตาแล้วอุเบกขาก็เกิดขึ้นแก่คนพาล ผู้หลง ผู้เขลา ผู้บุถุชน ผู้ยังไม่ชนะกิเลส ผู้ยังไม่ชนะวิบาก ผู้ไม่เห็นโทษ ผู้ไม่ได้ยินได้ฟัง. อุเบกขาใด ซึ่งเป็นอุเบกขาของบุถุชน อุเบกขานั้น ไม่อาจจะเป็นไปล่วง ซึ่งวิสัยแห่งรูป เพราะเหตุนั้น เราเรียกอุเบกขานั้น ว่า อุเบกขาเนื่องด้วย เหย้าเรือน. (ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียงกลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำนองเดียว กับข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อเรียกเท่านั้น).
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้คือ อุเบกขาเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง.
................................................................
ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น อุเบกขาเนื่องด้วยการหลีกออกจาก เหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เมื่อคนเรารู้แจ้งถึงความเป็นของไม่เที่ยงของรูปทั้งหลาย ความแปรปรวน ความจางคลายความกำหนัดยินดี และความดับไม่เหลือของรูปทั้งหลาย เห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า “รูปทั้งหลาย ในกาลก่อน หรือในบัดนี้ ก็ตามรูปทั้งหมดเหล่านั้น เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา”ดังนี้ แล้วเกิดอุเบกขาขึ้น.
อุเบกขาใด มีลักษณะเช่นนี้ อุเบกขานั้น ไม่อาจจะเป็นไปล่วง ซึ่งวิสัยแห่งรูป เพราะเหตุนั้น เราเรียกอุเบกขานั้น ว่าอุเบกขาเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน (เนกขัมมสิตอุเบกขา). (ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำนองเดียวกับข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อเรียกเท่านั้น).
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้คือ อุเบกขาเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่างแล.
ภิกษุ ท. ! คำใดที่เรากล่าวว่า “พึงรู้จักทางไป (แห่งจิต) ของสัตว์๓๖ อย่าง” ดังนี้นั้น คำนั้น เรากล่าวอาศัยความข้อนี้แล.
|
เวทนา คือทางไปแห่งจิตของสัตว์ ๓๖ อย่าง |
|
|
มิจฉาทิฐิ (ปุถุชน) |
สัมมาทิฐิ (อริยะ) |
|
|
เวทนา เนื่องด้วย
เหย้าเรือน
(เคหสิต) |
เวทนา เนื่องด้วยการ
หลีกออกจากเหย้าเรือน
(เนกขัมม-สิต) |
|
อายตนะ 6 |
เคหสิตโสมนัส(สุข) |
เคหสิต
โทมนัส(ทุกข์) |
เคหสิตอุเบกขา |
เนกขัมมสิต
โสมนัส |
เนกขัมมสิต
โทมนัส |
เนกขัมมสิต
อุเบกขา |
1 |
รูป |
|
|
|
|
|
|
2 |
เสียง |
|
|
|
|
|
|
3 |
กลิ่น |
|
|
|
|
|
|
4 |
รส |
|
|
|
|
|
|
5 |
สัมผัส |
|
|
|
|
|
|
6 |
ธรรมารมณ์ |
|
|
|
|
|
|
|
รวม |
6 |
6 |
6 |
6 |
6 |
6 |
|
|
เวทนาด้วยเหย้าเรือน |
18 |
เวทนา-หลีกออกเหย้าเรือน |
18 |
|
|
ทางไปแห่งจิตของสัตว์ (เวทนา 36 อย่าง) |
36 |
|
|
เคหสิต แปลว่า เหย้าเรือน.. เนกขัมม-สิต คือ ออกจากเหย้าเรือน |
|
|