เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
วาทะและทิฏฐิ .. การปฏิบัติที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้ตถาคตก็เคยหลงผิดมาแล้ว 699
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

พราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า

ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยอาหาร
พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า เราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยอาหารเท่าเมล็ดถั่วเขียว... เท่าเมล็ดงา เท่าเมล็ดข้าวสาร ...เราย่อมรู้สึกว่ากินอาหารเท่าเมล็ดข้าวสารเมล็ดเดียวเท่านั้น

ดูกรสารีบุตร เมื่อเรากินอาหารเท่าข้าวสารเมล็ดเดียว ร่างกายก็ถึงความซูบผอมยิ่งนัก     
   - เปรียบเหมือนเถาวัลย์ที่ข้อมาก..
   - ตะโพกของเราเปรียบเหมือนรอยเท้าอูฐ...
   - กระดูกสันหลังของเรานูนขึ้นเป็นปุ่มๆ เหมือนเถาสะบ้า ...
   - กระดูกซี่โครงเหลื่อมขึ้นเหลื่อมลงเห็นปรากฏ ...
   - ดวงตาเราลึกเข้าไปในเบ้าตา เหมือนเงาดวงดาวปรากฏในบ่อน้ำลึก..
   - หนังศีรษะ เมื่อถูกลมแล้วก็เหี่ยวแห้ง เหมือนน้ำเต้าขมที่ถูกตัดขั้ว...
   - จะลูบคลำผิวหนังท้อง ก็คลำถูกกระดูกสันหลังทีเดียว
   - จะลูบคลำกระดูกสันหลัง ก็คลำถูกผิวหนังท้องทีเดียว
   - ผิวหนังท้องของเรา ติดกระดูกสันหลัง
   - จะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะก็ซวนล้ม ณ ที่นั้นเอง
   - เรานั้นเมื่อลูบตัวด้วยฝ่ามือ ขนมีรากเน่าก็หลุดร่วงจากกาย

ดูกรสารีบุตร ด้วยการปฏิบัติอย่างไม่มีใครสู้แม้นั้น ด้วยปฏิปทาแม้นั้น ด้วยความเพียร ที่กระทำ ได้แสนยากนั้น เราก็ไม่ได้บรรลุธรรม อันยิ่งของมนุษย์ ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษ พอแก่ความ เป็นอริยะ เพราะมิใช่ปฏิปทา ที่เป็นเหตุบรรลุปัญญาอันประเสริฐ์ เพื่อนำสัตว์ออกจากทุกข์ได้

วาทะและทิฐิของพราหมณ์ (ที่พระศาสดาโต้แย้งในวาทะเหล่านั้น)

พราหมณ์ : ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยสังสารวัฏ (ยังต้องวนเวียนในสังสารวัฏ)
พระพุทธเจ้า : ก็สังสารวัฏที่เราไม่เคยท่องเที่ยวไป โดยกาลยืดยาวช้านานนี้ ก็คือเทวโลกชั้นสุทธาวาส ถ้าเราพึงท่องเที่ยวไปในเทวโลกชั้นสุทธาวาส เราก็จะไม่พึงมาสู่โลกนี้อีก

พราหมณ์ : ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยอุบัติ (เกิด)
พระพุทธเจ้า : ความอุบัติที่เราไม่เคยเข้าถึงแล้ว (พระองค์ไม่เกิดอีกแล้ว เป็นความบริสุทธิ์ ที่ไม่ต้อง มาเกิดอีก ไม่ต้อง เกิด แก่ เจ็บ ตาย อีกต่อไป)

พราหมณ์ : ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยอาวาส (ที่อยู่ของสัตว์ หรือสัตตาวาส๙)
พระพุทธเจ้า : ก็อาวาสที่เราไม่เคยอยู่ อาศัยแล้ว โดยกาลยืดยาวช้านานนี้ เว้นจากเทวโลกชั้น สุทธาวาส เป็นของหาไม่ได้ง่ายนัก ถ้าเราพึงอยู่อาศัยในเทวโลกชั้นสุทธาวาส เราก็ไม่พึงมาสู่โลกนี้อีก

พราหมณ์ : ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยการบูชายัญ
พระพุทธเจ้า : ตถาคตได้ความหมดจด โดยไม่มีการบูชายัญ

พราหมณ์ : ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยการบำเรอไฟ
พระพุทธเจ้า : ตถาคตได้ความบริสุทธิ์ โดยไม่ต้องบำเรอไฟ

พราหมณ์ : ผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด คือบุรุษวัยหนุ่ม
พระพุทธเจ้า : ก็บัดนี้เราเป็นคนแก่ อายุของเราแปดสิบปีเข้านี่แล้ว อริยสาวกทั้ง ๔ ของเราในธรรมวินัย นี้ มีอายุถึงร้อยปี ประกอบด้วย สติ คติ ธิติ อันยอดเยี่ยม และปัญญาเฉลียวฉลาดอย่างยิ่ง
(ปัญญาและความฉลาดทางธรรม ไม่เกี่ยวกับวัย แต่ขึ้นอยู่กับความเพียร)

 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๑๐

วาทะและทิฏฐิ

                [๑๘๖] ดูกรสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฏฐิ อย่างนี้ว่า

         ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยอาหาร พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า
เราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วย [อาหารเท่าเมล็ด] ถั่วเขียว ฯลฯ
พวกเราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วย [อาหารเท่าเมล็ด] งา ฯลฯ
พวกเราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วย [อาหารเท่าเมล็ด] ข้าวสาร ดังนี้
พวกเขาเคี้ยวกิน [อาหารเท่าเมล็ด] ข้าวสารบ้างข้าวสารป่นบ้าง ดื่มน้ำ [ประมาณเท่าเมล็ด] ข้าวสาร ย่อมบริโภค [อาหารเท่าเมล็ด] ข้าวสารที่จัดทำให้แปลก มีประการมิใช่น้อยบ้าง

           ดูกรสารีบุตร เราย่อมรู้สึกว่ากิน [อาหารเท่าเมล็ด] ข้าวสารเมล็ดเดียวเท่านั้น

         ดูกรสารีบุตร เธอจะพึงมีความสำคัญว่า ข้าวสารในสมัยนั้น ชะรอยจะเมล็ด ใหญ่เป็นแน่ ข้อนี้ เธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น แม้ในกาลนั้น ข้าวสารที่เป็นขนาดใหญ่ นั้นเทียว ก็มีเมล็ดเท่าข้าวสารในบัดนี้ (เมล็ดข้าวในสมัยก่อนกับสมัยนี้มีขนาดเท่ากัน)

         ดูกรสารีบุตร เมื่อเรากิน [อาหารเท่าเมล็ด] ข้าวสารเมล็ดเดียวเท่านั้น
ร่างกาย ก็ถึงความซูบผอมยิ่งนัก อวัยวะน้อยใหญ่ของเรา เปรียบเหมือนเถาวัลย์ ที่ข้อมาก และข้อดำ เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง

         ตะโพกของเรา เปรียบเหมือนรอยเท้าอูฐ เพราะความที่เรามีอาหารน้อย นั่นเอง กระดูก สันหลังของเรา นูนขึ้นเป็นปุ่มๆ เหมือนเถาสะบ้า เพราะความ ที่เรามีอาหารน้อย นั่นเอง

         กระดูกซี่โครงของเราเหลื่อมขึ้นเหลื่อมลงเห็นปรากฏ เหมือนกลอนแห่ง ศาลาเก่า เหลื่อมกัน ฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง

         ดวงตาของเราลึกเข้าไปในเบ้าตา เหมือนเงาดวงดาวปรากฏในบ่อน้ำ อันลึก ฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง

         หนังศีรษะของเราอันลมถูกต้องแล้ว ก็เหี่ยวแห้ง เปรียบเหมือนน้ำเต้าขม ที่ถูกตัด ขั้ว แต่ยังอ่อน อันลมแดดสัมผัสแล้ว ย่อมเป็นของเหี่ยวแห้งไป ฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง

         ดูกรสารีบุตร เรานั้นแล คิดว่าจะลูบคลำผิวหนังท้อง ก็คลำถูกกระดูก สันหลัง ทีเดียว คิดว่า จะลูบคลำกระดูกสันหลัง ก็คลำถูกผิวหนังท้องทีเดียว ดูกรสารีบุตร ผิวหนังท้องของเรา ติดกระดูกสันหลัง เพราะความที่เรามีอาหารน้อย นั่นเอง

         เรานั้นคิดว่า จะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะก็ซวนล้ม ณ ที่นั้นเอง เพราะความ ที่เรา มีอาหารน้อยนั่นเอง

*เรานั้นเมื่อจะยังร่างกายให้คล่องแคล่วก็ลูบตัวด้วยฝ่ามือ เมื่อเราลูบตัวด้วยฝ่ามือ ขนตั้งหลาย มีรากอันเน่าก็หลุดร่วงจากกาย เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง.

*(หนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ แปลไว้ดังนี้ : ราชกุมาร ! ตถาคตหวังจะให้กายมี ความสุขบ้าง จึงลูบไปตามตัวด้วยฝุามือ ขนมีรากอันเน่าหลุดตกลงจากกาย)

     ดูกรสารีบุตร ด้วยการปฏิบัติอย่างไม่มีใครสู้แม้นั้น ด้วยปฏิปทาแม้นั้นด้วยความ เพียรที่กระทำได้แสนยากนั้น เราก็ไม่ได้บรรลุธรรมอันยิ่ง ของมนุษย์ ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษพอแก่ความเป็นอริยะ

(การอดอาหารที่ทำได้ยากแสนยาก แต่ก็ยังไม่บรรลุธรม จึงเป็นเหตุให้พระองค์ตัดสินใจมา กินอาหารหยาบ คือข้าวสุก และขนมสด อ่านพระสูตรเต็ม)

ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?

         เพราะมิใช่ปฏิปทาที่เป็นเหตุบรรลุปัญญาอันประเสริฐปัญญานี้แล ที่ซึ่งเราได้ บรรลุแล้ว เป็นของประเสริฐ นำสัตว์ออกจากทุกข์ได้ เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบ แห่ง บุคคลผู้ กระทำอยู่ตามนั้น.

                [๑๘๗] ดูกรสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ อย่างนี้ ว่า ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยสังสารวัฏ ดูกรสารีบุตร ก็สังสารวัฏที่เรา ไม่เคย ท่องเที่ยวไป โดยกาลยืดยาวช้านานนี้ เว้นแต่เทวโลกชั้นสุทธาวาส เป็นสิ่งที่ หาไม่ได้ง่าย นัก ดูกรสารีบุตร ถ้าเราพึงท่องเที่ยวไปในเทวโลกชั้นสุทธาวาส เราก็จะ ไม่พึงมาสู่โลกนี้ อีก.

                [๑๘๘] ดูกรสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ อย่าง นี้ว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยอุบัติ ดูกรสารีบุตร ความอุบัติที่เราไม่เคย เข้าถึงแล้ว โดยกาลยืดยาวช้านานนี้ เว้นจากเทวโลกชั้นสุทธาวาส เป็นของหาไม่ได้ ง่ายนัก ดูกรสารีบุตร ถ้าเราพึงอุบัติในเทวโลกชั้นสุทธาวาส เราก็ไม่พึงมาสู่โลกนี้อีก.

                [๑๘๙] ดูกรสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ อย่างนี้ว่าความหมดจดย่อมมีได้ด้วยอาวาส ดูกรสารีบุตร ก็อาวาสที่เราไม่เคยอยู่ อาศัยแล้ว โดยกาลยืดยาวช้านานนี้ เว้นจากเทวโลกชั้นสุทธาวาส เป็นของหาไม่ได้ ง่ายนัก ดูกรสารีบุตร ถ้าเราพึงอยู่อาศัยในเทวโลกชั้นสุทธาวาส เราก็ไม่พึงมาสู่โลก นี้อีก.

                [๑๙๐] ดูกรสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ อย่างนี้ ว่า ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยการบูชายัญ ดูกรสารีบุตร ก็ยัญที่เราไม่เคย บูชาแล้ว โดยกาลยืดยาวช้านานนี้ เป็นของหาไม่ได้ง่ายนัก แต่ยัญนั้นอันเราเป็น พระราชา ผู้เป็น กษัตริย์ได้มูรธาภิเษก หรือเป็นพราหมณ์ผู้มหาศาลจึงบูชา.

                [๑๙๑] ดูกรสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ อย่างนี้ว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยการบำเรอไฟ ดูกรสารีบุตร ก็ไฟที่เราไม่เคย บำเรอแล้ว โดยกาลยืดยาวช้านานนี้ เป็นของหาไม่ได้ง่ายนัก แต่ไฟนั้น อันเราเป็น พระราชาผู้เป็น กษัตริย์ได้มูรธาภิเษก หรือเป็นพราหมณ์ผู้มหาศาลจึงบำเรอ.

                [๑๙๒] ดูกรสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ อย่างนี้ ว่า บุรุษรุ่นหนุ่มผู้เจริญนี้ มีเกศาดำสนิท ประกอบด้วยวัยหนุ่มอันเจริญ ประกอบด้วย ปัญญาเฉลียวฉลาดอย่างยิ่งสมกับวัยต้น ต่อมา บุรุษผู้เจริญนี้ เป็นคนแก่ เป็นคนเฒ่า ถือเอาซึ่งความเป็นผู้ใหญ่ล่วงกาลผ่านวัยโดยลำดับ คือ มีอายุถึง ๘๐ ปีบ้าง ๙๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง โดยชาติ ย่อมเสื่อมจากปัญญาความ เฉลียวฉลาดนั้น ในภายหลัง

         ดูกรสารีบุตร ข้อนี้ เธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ก็บัดนี้เราเป็นคนแก่ เป็นคนเฒ่า ถือเอาซึ่ง ความเป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยโดยลำดับ อายุของเราแปดสิบปีเข้านี่แล้ว สาวก บริษัททั้ง ๔ ของเราในธรรมวินัยนี้ มีอายุถึงร้อยปี เป็นอยู่ได้ตั้งร้อยปี ประกอบด้วย สติ คติ ธิติ อันยอดเยี่ยม และปัญญาเฉลียวฉลาดอย่างยิ่ง

         ดูกรสารีบุตร เปรียบเหมือนนักธนูมั่นคง ได้รับการฝึกหัดแล้ว ช่ำชอง ชำนิ ชำนาญ เคยแสดงฝีมือมาแล้ว พึงยิงงวงตาลโดยขวางให้ตกลง ด้วยลูกศร ขนาดเบา โดย ง่ายดาย แม้ฉันใด สาวกบริษัท ๔ ของเราเป็นผู้มีสติอันยิ่ง มีคติอันยิ่ง มีปัญญา ทรงจำ อันยิ่ง ประกอบ ด้วยปัญญาเฉลียวฉลาดอย่างยิ่ง ฉันนั้น

         พวกเธอพึงถามปัญหาอิง สติปัฏฐาน ๔ กะเรา เราถูกถามปัญหาแล้วๆ พึงพยากรณ์ แก่พวกเธอ พวกเธอพึงทรงจำคำที่เราพยากรณ์แล้ว โดยเป็นคำ พยากรณ์ มิได้สอบถาม เราให้ยิ่งกว่า ๒ ครั้ง เว้นจากการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม เว้นจาก การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ เว้นจากการหลับและบรรเทาความเมื่อยล้า

         ดูกรสารีบุตร ธรรมเทศนาของตถาคตนั้นไม่รู้จักจบสิ้น บทและพยัญชนะ แห่งธรรม ของ ตถาคตนั้นไม่รู้จักจบสิ้น ความแจ่มแจ้งแห่งปัญหาของตถาคตนั้น ไม่รู้จักจบสิ้น เมื่อเป็น ดังนั้นสาวกบริษัท ๔ ของเราเหล่านั้น จึงมีอายุตั้ง ๑๐๐ ปี เป็นอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี พึงกระทำกาละโดยล่วงไปแห่ง ๑๐๐ ปี

         ดูกรสารีบุตร ถ้าแม้พวกเธอจะพึงหามเราไปด้วยเตียงน้อย ความเป็นอย่างอื่น แห่งปัญญา เฉลียวฉลาดของตถาคต ย่อมไม่มีเลย

         ดูกรสารีบุตร บุคคลเมื่อจะกล่าว โดยชอบพึงกล่าวคำใดว่า สัตว์ผู้มีความไม่ ลุ่มหลง เป็นธรรมดา บังเกิดขึ้นในโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล แก่ชนเป็นมาก เพื่อความสุข แก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์ โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าว คำนั้น กะเราเท่านั้นว่าสัตว์ ผู้มีความไม่ลุ่มหลงเป็นธรรมดา บังเกิดขึ้นในโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล แก่ชนเป็น อันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์ โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ดังนี้.

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์