เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 ถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวกะท่าน มี ๕ ประการ..โดยกาลอันควร-ไม่ควร เรื่องจริง-ไม่จริง 700
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าว กะท่าน มีอยู่ ๕ ประการคือ

๑. กล่าวโดยกาล อันสมควร หรือ ไม่สมควร
๒. กล่าวด้วย เรื่องจริง หรือ ไม่จริง
๓. กล่าวด้วย คำอ่อนหวาน หรือ คำหยาบคาย
๔. กล่าวด้วยคำ ประกอบด้วยประโยชน์ หรือ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
๕. มีจิตเมตตา หรือ มีโทสะในภายในกล่าว

พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเรา จักไม่แปรปรวน เราจักไม่เปล่งวาจาลามก เราจักมีจิต เมตตา ไม่มีโทสะ เราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น และเราแผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ใหญ่ยิ่ง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทาง ซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้น ดังนี้

เปรียบเหมือนบุรุษ จะทำแผ่นดินอันใหญ่นี้ ไม่ให้เป็นแผ่นดิน
เหมือนบุรุษถือเอาจอบมา แล้วกล่าวว่า เราจักกระทำแผ่นดินอันใหญ่นี้ ไม่ให้เป็นแผ่นดิน ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า ไม่ได้พระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่าแผ่นดิน อันใหญ่นี้ ลึกหาประมาณมิได้

เปรียบเหมือนบุรุษเขียนรูปในอากาศ
เหมือนบุรุษถือเอาครั่งก็ตาม สีเหลือง สีเขียว มาแล้ว กล่าวว่าเราจักเขียนรูปในอากาศ ทำให้เป็นรูป เด่นชัด ภิกษุกราบทูลว่าไม่ได้พระเจ้าข้า เพราะอากาศเป็นของไม่มีรูปร่าง ชี้ให้เห็นไม่ได้

เปรียบเหมือนบุรุษเผาแม่น้ำคงคา

เหมือนบุรุษถือคบหญ้าที่จุดไฟมาแล้ว กล่าวว่าเราจักทำแม่น้ำคงคาให้ร้อนจัด ให้เดือดเป็นควันพลุ่ง ด้วยคบหญ้าที่จุดไฟนี้ ...ข้อนั้นทำไม่ได้พระเจ้าข้า เพราะแม่น้ำคงคาเป็นแม่น้ำที่ลึก สุดจะประมาณ

เปรียบเหมือนตีกระสอบหนังแมวให้มีเสียงดัง

เหมือนกระสอบหนังแมวที่ฟอกดีแล้ว อ่อนดังปุยนุ่น และสำลี ถ้ามีบุรุษพูดขึ้นอย่างนี้ว่าเราจักตีกระสอบ หนังแมว ตีให้เป็นของมีเสียงดังก้องด้วยไม้ ได้หรือ...

เปรียบเหมือนถูกโจรเลื่อยอวัยวะ

หากมีโจรมาเลื่อยอวัยวของพวกเธอ เพื่อให้ทำตามคำสั่ง..จิตเราจักไม่แปรปรวน ไม่เปล่งวาจาลามก เราจักอนุเคราะห์ผู้อื่น มีเมตตาจิต ไม่มีโทสะ เราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทาง

 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๖


ถ้อยคำที่คนอื่นจะพึงกล่าว ๕ ประการ

 

                [๒๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าว กะท่าน มีอยู่ ๕ ประการคือ
        ๑. กล่าวโดย กาลอันสมควร หรือ ไม่สมควร
        ๒. กล่าวด้วยเรื่องจริง หรือ ไม่จริง
        ๓. กล่าวด้วยคำอ่อนหวาน หรือ คำหยาบคาย
        ๔. กล่าวด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์ หรือ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
        ๕. มีจิตเมตตา หรือ มีโทสะในภายในกล่าว


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลอื่นจะกล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควรก็ตาม จะกล่าว ด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริงก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำอ่อนหวานหรือหยาบคายก็ตาม จะกล่าว ถ้อยคำประกอบด้วยประโยชน์ หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ก็ตาม จะมีจิต เมตตา หรือ มีโทสะในภายในกล่าวก็ตาม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ในข้อนั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเรา จักไม่ แปรปรวน เราจักไม่เปล่งวาจาลามก เราจักอนุเคราะห์ด้วยสิ่ง อันเป็น ประโยชน์ เราจักมีจิตเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน เราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น และเราแผ่ เมตตาจิตอันไพบูลย์ ใหญ่ยิ่ง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทาง ซึ่งเป็น อารมณ์ ของจิตนั้น ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึง ศึกษาด้วยอาการ ดังที่กล่าว มานี้แล.

เปรียบเหมือนบุรุษ จะทำแผ่นดินอันใหญ่นี้ ไม่ให้เป็นแผ่นดิน

                [๒๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษ ถือเอาจอบ และ ตะกร้า มาแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า เราจักกระทำแผ่นดินอันใหญ่นี้ ไม่ให้เป็น แผ่นดิน ดังนี้ เขาขุดลงตรงที่นั้นๆ โกยขี้ดินทิ้งในที่นั้นๆ บ้วนน้ำลายลงในที่นั้นๆ ถ่ายปัสสาวะรดใน ที่นั้นๆ แล้วสำทับว่าเองอย่าเป็นแผ่นดินๆ ดังนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจักทำแผ่นดิน อัน ใหญ่นี้ไม่ให้เป็นแผ่นดินได้หรือไม่? ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่ได้ พระเจ้าข้า ข้อนั้น เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่าแผ่นดินอันใหญ่นี้ ลึกหาประมาณมิได้ เขาจะทำ แผ่นดิน อันใหญ่นี้ ไม่ให้เป็นแผ่นดินไม่ได้ง่ายเลย ก็แลบุรุษนั้นจะต้องเหน็ดเหนื่อย ลำบาก เสียเปล่าเป็นแน่แท้ ดังนี้


เปรียบเหมือนบุรุษเขียนรูปในอากาศ


[๒๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษ ถือเอาครั่งก็ตาม สีเหลืองสีเขียว หรือสีเหลืองแก่ก็ตามมาแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า เราจักเขียนรูปต่างๆ ในอากาศนี้ กระทำให้เป็นรูปเด่นชัด ดังนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะเขียนรูปต่างๆ ในอากาศนี้ กระทำให้เป็นรูปเด่นชัดได้หรือไม่? ไม่ได้พระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะ เหตุ อะไร? เพราะธรรมดาอากาศนี้ ย่อมเป็นของไม่มีรูปร่าง ชี้ให้เห็นไม่ได้ เขาจะเขียนรูป ในอากาศนั้นทำให้เป็นรูปเด่นชัดไม่ได้ง่ายเลย ก็แหละบุรุษ นั้นจะต้องเหน็ดเหนื่อย ลำบากเสียเปล่าเป็นแน่แท้ดังนี้

เปรียบเหมือนบุรุษเผาแม่น้ำคงคา

                [๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษ ถือเอาคบหญ้าที่จุดไฟ มาแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า เราจักทำแม่น้ำคงคาให้ร้อนจัด ให้เดือดเป็นควันพลุ่ง ด้วยคบหญ้าที่จุดไฟแล้วนี้ ดังนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจักทำแม่น้ำคงคาให้ ร้อนจัดให้เดือดเป็นควันพลุ่ง ด้วยคบหญ้าที่จุดไฟแล้วได้หรือไม่? ไม่ได้พระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะแม่น้ำคงคาเป็นแม่น้ำที่ลึก สุดที่จะประมาณ เขาจะทำ แม่น้ำคงคานั้นให้ร้อนจัด ให้เดือดเป็นควันพลุ่ง ด้วยคบหญ้าที่จุดไฟแล้วไม่ได้ง่าย เลย ก็แลบุรุษนั้นจะต้องเหน็ด เหนื่อยลำบากเสียเปล่าเป็นแน่แท้ ดังนี้

เปรียบเหมือนกระสอบหนังแมว

                [๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนกระสอบหนังแมวที่นายช่าง หนังฟอกดีเรียบร้อยแล้ว อ่อนนุ่มดังปุยนุ่นและสำลี เป็นกระสอบที่ตีได้ไม่ดังก้อง ถ้ามีบุรุษถือเอาไม้หรือกระเบื้องมา พูดขึ้นอย่างนี้ว่า เราจักทำกระสอบหนังแมว ที่เขา ฟอกไว้ดีเรียบร้อยแล้ว อ่อนนุ่มดังปุยนุ่นและสำลี ที่ตีได้ไม่ดังก้องนี้ ให้เป็นของมีเสียง ดังก้องด้วยไม้หรือกระเบื้อง ดังนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะทำกระสอบ หนังแมวที่เขาฟอกไว้ดีเรียบร้อยแล้ว อ่อนนุ่มดังปุยนุ่มและสำลี ที่ตีได้ไม่ดังก้องนี้ ให้กลับมีเสียงดังก้องขึ้นด้วยไม้หรือ กระเบื้องได้หรือไม่? ไม่ได้พระเจ้าข้า ข้อนั้น เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า กระสอบหนังแมวนี้เขาฟอกดี เรียบร้อยแล้ว อ่อนนุ่มดัง ปุยนุ่น และสำลี ซึ่งเป็นของที่ตีได้ไม่ดังก้อง เขาจะทำ กระสอบหนังแมวนั้น ให้กลับเป็นของมีเสียงดังก้องขึ้นด้วยไม้หรือ กระเบื้อง ไม่ได้ ง่ายเลย บุรุษคนนั้น จะต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากเสียเปล่าเป็นแน่แท้ ดังนี้

พระโอวาทแสดงการเปรียบด้วยเลื่อย

                [๒๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากจะมีพวกโจรผู้มีความประพฤติต่ำช้า เอาเลื่อยที่มีที่จับทั้งสองข้าง เลื่อยอวัยวะใหญ่น้อยของพวกเธอ แม้ในเหตุนั้นภิกษุ หรือภิกษุณีรูปใดมีใจคิดร้ายต่อโจรเหล่านั้น ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้น ไม่ชื่อว่าเป็นผู้ทำ ตามคำสั่งสอนของเรา เพราะเหตุที่อดกลั้นไม่ได้นั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ในข้อนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่ แปรปรวน เราจักไม่เปล่งวาจาที่ลามก เราจักอนุเคราะห์ผู้อื่นด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์ เราจักมีเมตตาจิตไม่มีโทสะในภายใน เราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น และเราจัก แผ่เมตตาอันไพบูลย์ใหญ่ยิ่ง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทาง ซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้น ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษา ด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล.

                [๒๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พวกเธอควรใส่ใจถึงโอวาท แสดงการ เปรียบด้วยเลื่อยนี้เนืองนิตย์เถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะไม่มองเห็นทางแห่ง ถ้อยคำที่มีโทษน้อย หรือโทษมาก ที่พวกเธอจะอดกลั้นไม่ได้ หรือยังจะมีอยู่บ้าง ไม่มีพระเจ้าข้า เพราะเหตุนั้นแหละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงใส่ใจถึงโอวาท แสดงการเปรียบด้วยเลื่อยนี้เนืองนิตย์เถิด ข้อนั้นจักเป็นประโยชน์และความสุข แก่พวกเธอสิ้นกาลนาน ดังนี้แล.

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์