เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  พระมหากัปปินเถระ ดำริจะไม่ทำอุโบสถ ถูกพระพุทธเจ้าตำหนิ 586
 
  พระมหากัปปินเถระ
พระอรหันต์ กำลังลังเลใจว่า จะลงอุโบสถดีหรือไม่ จะร่วมทำสังฆกรรมกับภิกษุดีหรือไม่ เพราะคิดว่า ตนเองสำเร็จ เป็นอรหันต์แล้ว ขณะที่กัปปินะ คิดอยู่นั้น พระพุทธเจ้าล่วงรู้ถึงวาระจิตของกัปปินะ จึงหายตัว มาปรากฏต่อหน้า แล้วตรัสว่า หากภิกษุ ไม่เคารพนับถือบูชาการลงอุโบสถแล้ว ใครเล่าจะเคารพบูชาฯ พร้อมตรัสให้กัปปินะ ไปทำอุโบสถเสีย ไม่ไปไม่ได้


มหากัปปินสูตร (ว่าด้วยพระมหากัปปินะ)
เป็นภิกษุที่ทำสมาธิได้เป็นเยี่ยม กายไม่ไหวหรือเอนเอียง พระศาสดาตรัสว่าการที่จิตไม่ไหวหรือดิ้นรน เพราะสมาธิ อย่างไหนที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้วคือ การที่กายไม่ไหวหรือเอนเอียง หรือการที่จิต ไม่ไหว หรือดิ้นรน เพราะอานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว

(พระมหากัปปีนะ เอตทัคคะ(ลำดับที่ 38) ด้านการสอนภิกษุ)

(พระมหากัปปินะ ภิกษุอรหันต์ผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก)
 
 


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑

เรื่องพระมหากัปปินเถระดำริจะไม่ทำอุโบสถ

             [๑๕๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่าน พระมหากัปปินะ พักอยู่ ณ มัททกุจฉิ มฤคทายวัน เขตพระนครราชคฤห์. คราวหนึ่งท่านไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ได้มีความ ปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้น อย่างนี้ว่า เราควรไปทำอุโบสถ หรือไม่ควรไป ควรไปทำ สังฆกรรม หรือไม่ควรไป โดยที่แท้เราเป็นผู้หมดจดแล้วด้วยความหมดจดอย่างยิ่ง

             ทีนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกแห่งจิต ของท่าน พระมหากัปปินะ ด้วยพระทัยของพระองค์ แล้วได้ทรงหายพระองค์ไปใน คิชฌกูฏบรรพต มาปรากฏอยู่ตรงหน้า ท่านพระมหากัปปินะ ณ มัททกุจฉิม ฤคทายวัน เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้ แขนที่เหยียด ฉะนั้น แล้วพระองค์ประทับนั่งเหนือพุทธอาสนะที่เขาจัดถวาย ฝ่ายท่านพระมหากัปปินะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง

             พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสคำนี้กะท่านพระมหากัปปินะผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่งว่า ดูกรกัปปินะ เธอไปในที่สงัด หลีกเร้นอยู่ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้น อย่างนี้ว่า เราควรไป ทำอุโบสถ หรือไม่ควรไป ควรไปทำสังฆกรรม หรือไม่ควรไป โดยที่แท้ เราเป็นผู้หมดจดแล้ว ด้วยความหมดจดอย่างยิ่ง ดังนี้มิใช่หรือ?

             ท่านพระมหากัปปินะทูลรับว่า เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ทั้งหลาย ถ้าพวกเธอไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ซึ่งอุโบสถ เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครเล่าจักสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ซึ่งอุโบสถ ดูกรพราหมณ์ เธอจงไปทำอุโบสถ จะไม่ไป ไม่ได้ จงไปทำสังฆกรรม จะไม่ไปไม่ได้

             ท่านพระมหากัปปินะรับสนองพระพุทธพจน์ว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า

             ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ท่านพระมหากัปปินะเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วได้ทรงหายพระองค์ไปในที่ตรงหน้า ท่านพระมหากัปปินะ ณ มัททกุจฉิมฤคทายวัน มาปรากฏ ณ คิชฌกูฏบรรพต โดยรวดเร็ว เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น



สวดปาติโมกข์ในวันอุโบสถ

             [๑๕๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรง อนุญาตการ สวดปาติโมกข์แล้ว จึงสวดปาติโมกข์ทุกวัน. ภิกษุทั้งหลายพากัน กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวด ปาติโมกข์ทุกวัน รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ในวันอุโบสถ

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการสวด ปาติโมกข์ ในวันอุโบสถแล้ว จึงสวดปาติโมกข์ปักษ์ละ ๓ ครั้ง คือ ในวัน ๑๔ ค่ำ วัน ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค

พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวด ปาติโมกข์ ปักษ์ละ ๓ ครั้ง รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ ปักษ์ละ ๑ ครั้ง คือ ในวัน ๑๔ ค่ำ หรือวัน ๑๕ ค่ำ



เรื่องพระฉัพพัคคีย์สวดปาติโมกข์

             [๑๕๒] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์สวดปาติโมกข์แก่บริษัทเท่าที่มีอยู่ คือเฉพาะ บริษัทของตนๆ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาครับสั่งกะ ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวด ปาติโมกข์แก่บริษัทเท่าที่มีอยู่ คือเฉพาะ บริษัทของตนๆ รูปใดสวดต้องอาบัติ ทุกกฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอุโบสถกรรมแก่ภิกษุทั้งหลายผู้พร้อมเพรียงกัน

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ อุโบสถกรรม แก่ภิกษุทั้งหลายผู้พร้อมเพรียงกัน ดังนี้ แล้วมีความดำริต่อไปว่า ความพร้อมเพรียงมีเพียง เท่าไรหนอแล มีเพียงอาวาสหนึ่ง หรือทั่วทั้งแผ่นดิน แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตความพร้อมเพรียง เพียงชั่วอาวาสเดียวเท่านั้น


จากหนังสือ อริยวินัย พุทธวจน หน้า293-295

วิธีทำอุโบสถ  อย่าง


สวดปาติโมกข์ 

ก็โดยสมัยนั้นแลในอาวาสแห่งหนึ่งถึงวันอุโบสถ มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๔ รูป จึงภิกษุ เหล่านั้นได้ มีความปริวิตกว่าพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุต้องทำ อุโบสถดังนี้ ก็พวกเรามีอยู่ เพียง ๔ รูปจะพึงทำอุโบสถอย่างไรหนอ… ตรัสว่า

367. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ๔ รูป สวดปาติโมกข์.


ทำปาริสุทธิอุโบสถ (แจ้งความบริสุทธิ์ของกันและกัน)

368. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ๓ รูป ทำปาริสุทธิอุโบสถแก่กัน.

วิธีทำปาริสุทธิอุโบสถสำหรับภิกษุ
  รูป

369ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงทำปาริสุทธิอุโบสถ อย่างนี้.ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ภิกษุเหล่านั้นทราบ ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้

• ญัตติกรรมวาจา
 
ท่านทั้งหลายเจ้าข้า ขอจงฟังข้าพเจ้า อุโบสถวันนี้ที่ ๑๕ ถ้าความพร้อมพรั่งของท่าน ทั้งหลายถึงที่แล้ว เราทั้งหลายพึงทำปาริสุทธิอุโบสถแก่กันเถิด. ภิกษุผู้เถระพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วบอกความ บริสุทธิ์ของตน ต่อภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า คำบอกความบริสุทธิ์
ฉันบริสุทธิ์แล้ว
 เธอ ขอเธอจำฉันว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว
ฉันบริสุทธิ์แล้ว
 เธอ ขอเธอจำฉันว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว
ฉันบริสุทธิ์แล้ว
 เธอ ขอเธอจำฉันว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว.

ภิกษุผู้นวกะพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลีแล้วบอกความบริสุทธิ์ของตน ต่อภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
ผมบริสุทธิ์แล้ว
 ขอรับ ขอท่านทั้งหลายจำผมว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว
ผมบริสุทธิ์แล้ว
 ขอรับ ขอท่านทั้งหลายจำผมว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว
ผมบริสุทธิ์แล้ว
 ขอรับ ขอท่านทั้งหลายจำผมว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว.

370. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ๒ รูป ทำปาริสุทธิอุโบสถ.

วิธีทำปาริสุทธิอุโบสถสำหรับภิกษุ
  รูป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงทำปาริสุทธิอุโบสถอย่างนี้ภิกษุผู้เถระพึงห่มผ้าอุตราสงค์ เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลีแล้วบอกความบริสุทธิ์ของตน ต่อภิกษุผู้นวกะ อย่างนี้ว่า คำบอกความบริสุทธิ์
ฉันบริสุทธิ์แล้ว
 เธอ ขอเธอจำฉันว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว
ฉันบริสุทธิ์แล้ว
 เธอ ขอเธอจำฉันว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว
ฉันบริสุทธิ์แล้ว
 เธอ ขอเธอจำฉันว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว.

ภิกษุผู้นวกะพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลีแล้ว บอกความ บริสุทธิ์ของตน ต่อภิกษุผู้เถระอย่างนี้ว่า คำบอกความบริสุทธิ์
ผมบริสุทธิ์แล้ว
 ขอรับ ขอท่านจำผมว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว
ผมบริสุทธิ์แล้ว
 ขอรับ ขอท่านจำผมว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว
ผมบริสุทธิ์แล้ว
 ขอรับ ขอท่านจำผมว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว.


หน้า 295
อธิษฐานอุโบสถ 

371…ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ มีภิกษุในศาสนานี้ อยู่รูปเดียว ภิกษุนั้นพึงกวาดสถานที่เป็นที่ไปมาแห่งภิกษุทั้งหลาย คือจะเป็น โรงฉัน มณฑป หรือโคนต้นไม้ก็ตาม แล้วตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ ปูอาสนะ ตามประทีปไว้ แล้วนั่งรอ อยู่. ถ้ามีภิกษุเหล่าอื่นมา พึงทำ อุโบสถร่วมกับพวกเธอถ้าไม่มีมา พึงอธิษฐานว่าวันนี้ เป็นวันอุโบสถของเรา ถ้าไม่อธิษฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ.

372ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๔ รูป จะนำปาริสุทธิของภิกษุ รูปหนึ่งมา แล้ว ๓ รูปสวดปาติโมกข์ไม่ได้ ถ้าขืนสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.

373. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๓ รูป จะนำปาริสุทธิของภิกษุ รูปหนึ่งมา แล้ว ๒ รูปทำ ปาริสุทธิอุโบสถไม่ได้ ถ้าขืนทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

374. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๒ รูป จะนำปาริสุทธิของภิกษุ รูปหนึ่งมา แล้วอีกรูปหนึ่งอธิษฐานไม่ได้ถ้าขืนอธิษฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ.

 

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์