เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 มหากัปปินสูตร (ว่าด้วยพระมหากัปปินะ) อานาปานสติ กระทำให้มาก กายและจิตย่อมไม่ไหวเอน 1087
 
 

พระมหากัปปินะ
พระผู้มีพระภาค ทอดพระเนตรเห็น ท่านพระมหากัปปินะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะ หน้า ณ ที่ไม่ไกล แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า
“ เธอทั้งหลายเห็นกายของภิกษุนั้น ไหว หรือ เอนเอียงไหม”

ภ. ตอบว่า เวลาใดข้าพระองค์ ทั้งหลาย เห็นท่านผู้มีอายุนั้น นั่งในท่ามกลางสงฆ์ หรือนั่งในที่ สงัดตามลำพัง เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย ไม่เห็นกายของท่านผู้มีอายุนั้นไหวหรือเอนเอียง”

พ. เพราะสมาธิใดที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว สมาธินั้นภิกษุนั้นได้ตามความ ปรารถนาได้โดย ไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก การที่กายไม่ไหว หรือเอนเอียง หรือการที่จิตไม่ไหว หรือดิ้นรน เพราะ อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 


ฉบับมหาจุฬา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙
หน้าที่ ๔๕๙

๗ มหากัปปินสูตร (ว่าด้วยพระมหากัปปินะ)

             [๑๓๒๑] [๙๘๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระมหากัปปินะ นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ณ ที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระมหากัปปินะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะ หน้า ณ ที่ไม่ไกล แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า

             “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นกายของภิกษุนั้น ไหว หรือ เอนเอียงไหม”

             ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลาใดข้าพระองค์ ทั้งหลาย เห็นท่านผู้มีอายุนั้นนั่งในท่ามกลางสงฆ์ หรือนั่งในที่สงัดตามลำพัง เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย ไม่เห็นกายของท่านผู้มีอายุนั้นไหวหรือเอนเอียง”

             “ภิกษุทั้งหลาย การที่กายไม่ไหวหรือเอนเอียง หรือการที่จิตไม่ไหว หรือ ดิ้นรน เพราะสมาธิใดที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว สมาธินั้นภิกษุนั้นได้ตามความ ปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก

             การที่กายไม่ไหวหรือเอนเอียง หรือการที่จิตไม่ไหวหรือดิ้นรน เพราะสมาธิ อย่างไหนที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้วคือ การที่กายไม่ไหวหรือเอนเอียง หรือการที่จิต ไม่ไหว หรือดิ้นรน เพราะอานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว

             เมื่ออานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว การที่กายไม่ไหว หรือ เอนเอียง หรือการที่จิตไม่ไหวหรือดิ้นรน เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่า ก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้ บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ฯลฯ สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า สำเหนียกว่าจะพิจารณาเห็น ความสละคืน หายใจออก

             ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มาก แล้ว อย่างนี้ การที่กายไม่ไหวหรือเอนเอียง หรือการที่จิตไม่ไหวหรือดิ้นรน เป็นอย่างนี้แล”

มหากัปปินสูตรที่ ๗ จบ

---------------------------------------------------------------------------------------------

ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค หน้าที่ ๒๘๖


๑๑. กัปปินสูตร ( ฉบับหลวง)


             [๗๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัปปินะเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาค ถึงที่ประทับ ฯ

             [๗๒๓] พระผู้มีพระภาค ได้ทอดพระเนตรเห็น ท่านพระมหากัปปินะ ผู้มา แต่ไกล แล้วจึงเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเห็นภิกษุที่กำลังมานั่นหรือไม่ เป็นผู้ขาวโปร่ง จมูกโด่งฯ

             ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า ฯ

             พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั่นแลมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก แต่เธอไม่ได้ สมาบัติ ที่เธอไม่เคยเข้าง่ายนัก เธอกระทำให้แจ้ง ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อัน ยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญา อันยิ่งด้วย ตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ฯ

             [๗๒๔] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้ แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า ในชุมนุมชนที่ยังรังเกียจกันด้วยโคตรกษัตริย์ เป็น ผู้ประเสริฐในเทวดาและมนุษย์ ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ประเสริฐ พระอาทิตย์ ย่อมแผดแสงในกลางวัน พระจันทร์ส่องสว่างในกลางคืน กษัตริย์ผู้ผูก สอดเครื่องรบ ย่อมมีสง่าพราหมณ์ผู้เพ่งฌาน ย่อมรุ่งเรือง ส่วนพระพุทธเจ้า ย่อมรุ่งโรจน์ ด้วยเดชานุภาพ ตลอดวันและคืนทั้งหมด ดังนี้ ฯ

----------------------------------------------------------------------------------------------

ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค หน้าที่ ๓๒๒

กัปปินสูตร
(ฉบับหลวง)
ว่าด้วยอานาปานสติสมาธิ



             [๑๓๒๑] พระนครสาวัตถี. ก็สมัยนั้น ท่านพระมหากัปปินะ นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค.

             [๑๓๒๒] พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตร เห็นท่านมหากัปปินะ นั่งคู้ บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ครั้นแล้วได้ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นความไหวหรือความเอนเอียง แห่งกาย ของภิกษุนั้น หรือหนอ?

             [๑๓๒๓] ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายเห็นท่านผู้มีอายุนั้น นั่งอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ หรือนั่งในที่ลับ รูปเดียว ในเวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมิได้เห็นความไหว หรือความเอนเอียง แห่งกาย ของท่าน ผู้มีอายุนั้นเลย.

             [๑๓๒๔] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไหวหรือความเอนเอียงแห่งกายก็ดี ความหวั่นไหว หรือความกวัดแกว่งแห่งจิตก็ดี ย่อมไม่มี เพราะได้เจริญ ได้กระทำ ให้มาก ซึ่งสมาธิใดภิกษุนั้นได้สมาธินั้นตามความปรารถนาได้ โดยไม่ยากไม่ลำบาก.

             [๑๓๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความไหวหรือความเอนเอียงแห่งกายก็ดี ความหวั่นไหวหรือความกวัดแกว่งแห่งจิตก็ดี ย่อมไม่มี เพราะได้เจริญ กระทำให้มาก ซึ่ง สมาธิ เป็นไฉน?

             เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิ.

             [๑๓๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ความไหวหรือความเอนเอียงแห่งกายก็ดี ความหวั่นไหว หรือความกวัดแกว่งแห่งจิตก็ดี ย่อมไม่มี? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า

(พึงขยายเนื้อความให้พิสดารตลอดถึง ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ พิจารณา เห็นโดย ความสละคืนหายใจออกย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความสละคืน หายใจเข้า)

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญ กระทำให้มาก แล้ว อย่างนี้แล ความไหวหรือความเอนเอียงแห่งกายก็ดี ความหวั่นไหวหรือความ กวัดแกว่ง แห่งจิตก็ดี ย่อมไม่มี.



 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์