เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 พระอรหันต์ นิพพานแล้วไปไหน... ท่านรู้ได้หรือไม่ว่า เปลวไฟเมื่อดับ จะดับไปทางทิศใด 1088
 
 


ปัญหา คนธรรมดาตายแล้วย่อมเกิดในภพต่างๆ ตามกรรม
ส่วนพระอรหันต์ผู้สิ้นกรรมแล้ว ไปเกิดที่ไหน?
ดูกรวัจฉะ
  คำว่า จะเกิดดังนี้ ไม่ควรเลย....
  คำว่า ไม่เกิดดังนี้ ก็ไม่ควร....
  คำว่า เกิดก็มี ไม่เกิดก็มี ก็ไม่ควร....
  คำว่า เกิดก็มีใช่ ไม่เกิดก็มิใช่ ก็ไม่ควร

ธรรมนี้เป็นธรรมลุ่มลึก ยากที่จะเห็น ยากที่จะรู้ สงบระงับ ประณีต ไม่ใช่ธรรมที่จะ หยั่งถึงได้ ด้วยความตรึก ละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได

ดูกรวัจฉะ ถ้าใครๆ พึงถามท่านอย่างนี้ว่า ไฟที่ดับไปแล้วต่อหน้าท่านนั้น จะดับไปยังทิศใด...
เปรียบเหมือนมหาสมุทรฉะนั้น ไม่ควรกล่าวว่าเกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าไม่เกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิด ก็มี ไม่เกิดก็มี ไม่ควรจะกล่าวว่า เกิดก็หามิได้ ไม่เกิดก็หามิได้

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 


- ม. ม. ๑๓/๒๔๕-๒๔๗/๒๔๘-๒๕๑.

พระอรหันต์ตายแล้วสูญหรือ?
 

“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ภิกษุผู้มีจิตพ้นวิเศษแล้ว จะไปเกิดในที่ใด ? พระเจ้าข้า !”

วัจฉะ ! ที่ใช้คำพูดว่า จะไปเกิด นั้น ไม่ควรเลย.

“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! ถ้าเช่นนั้น จะไม่ไปเกิดหรือ ?”

วัจฉะ ! ที่ใช้คำพูดว่า จะไม่ไปเกิด นั้นก็ไม่ควร.

“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ถ้าเช่นนั้น บางทีเกิด บางทีไม่เกิด กระนั้นหรือ ?”

วัจฉะ ! ที่ใช้คำพูดว่า บางทีเกิด บางทีไม่เกิด นั้น ก็ไม่ควร.

“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ถ้าเช่นนั้น ภิกษุผู้มีจิตพ้นวิเศษแล้ว จะว่าไปเกิดก็ไม่ใช่ ไม่ไปเกิดก็ไม่ใช่ กระนั้นหรือ ?”

วัจฉะ ! ที่ใช้คำพูดว่า จะไปเกิดก็ไม่ใช่ ไม่ไปเกิดก็ไม่ใช่ แม้กระนั้นก็ไม่ควร.

“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ข้อที่พระองค์ตรัสตอบนี้ ข้าพเจ้าไม่รู้เรื่องเสียแล้วทำให้ ข้าพเจ้าวนเวียนเสียแล้ว แม้ความเลื่อมใสที่ข้าพเจ้ามีแล้ว ต่อพระองค์ในการตรัสไว้ ตอนต้น ๆ บัดนี้ก็ได้ลางเลือนไปเสียแล้ว”.

วัจฉะ ! ที่ท่านไม่รู้เรื่องนั้น ก็สมควรแล้ว ที่ท่านเกิดรู้สึกวนเวียนนั้น ก็สมควรแล้ว เพราะธรรมนี้เป็นของลุ่มลึก ยากที่จะเห็น ยากที่จะรู้ตาม ธรรมนี้เป็นของสงบระงับ ประณีต ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งถึงได้ด้วยการตรึก ธรรมนี้เป็นของละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้.

เรื่องปริยายนี้ ตัวท่านมีความเห็นมาก่อนหน้านี้ เป็นอย่างอื่น มีความพอใจที่จะฟัง ให้เป็นอย่างอื่น มีความชอบใจจะให้พยากรณ์เป็นอย่างอื่น เคยปฏิบัติทำความเพียร เพื่อได้ผลเป็นอย่างอื่น ท่านเองได้มีครูบาอาจารย์เป็นอย่างอื่น ฉะนั้นท่านจึงรู้ได้ยาก

วัจฉะ ! ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านดู ท่านเห็นควรอย่างใด จงกล่าวแก้อย่างนั้น.

วัจฉะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน ถ้าไฟลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่าน ท่านจะพึงรู้ได้หรือ ว่าไฟนี้ลุกโพลง ๆ อยู่ต่อหน้าเรา ?”

“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าพึงรู้ได้ พระเจ้าข้า !”

วัจฉะ ! หากมีคนถามท่านว่า ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านนี้ มันอาศัยอะไรจึงลุกได้ เมื่อถูกถามอย่างนี้ ท่านจะกล่าวแก้เขาว่าอย่างไร ?

“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ไฟที่ลุกโพลงๆ อยู่ต่อหน้านี้ มันอาศัยหญ้าหรือไม้เป็นเชื้อ มันจึงลุกอยู่ได้ พระเจ้าข้า !”

วัจฉะ ! หากไฟนั้นดับไปต่อหน้าท่าน ท่านจะพึงรู้หรือ ว่าไฟได้ดับไปต่อหน้าเรา ?

“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าพึงรู้ได้ พระเจ้าข้า !”

วัจฉะ ! หากมีคนถามท่านว่า ไฟที่ดับไปต่อหน้าท่านนั้น มันไปทางทิศไหนเสีย ทิศตะวันออกหรือตะวันตก ทิศเหนือหรือใต้ เมื่อถูกถามอย่างนี้ ท่านจะกล่าวแก้เขา ว่าอย่างไร ?

“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ข้อนั้นไม่ควรกล่าวอย่างนั้น เพราะไฟนั้นอาศัยเชื้อ คือหญ้าหรือไม้จึงลุกขึ้นได้ แต่ถ้าเชื้อนั้นมันสิ้นไปแล้ว ทั้งไม่มีอะไรอื่นเป็นเชื้ออีก ไฟนั้นก็ควรนับว่าไม่มีเชื้อดับไปแล้ว”.

ฉันใดก็ฉันนั้นนั่นแล วัจฉะเอย ! เมื่อไปบัญญัติอะไรขึ้นมาให้เป็นสัตว์ (ตถาคต) โดยถือเอา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ กลุ่มใดขึ้นมา มันก็ได้ แต่ความยึดถือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สำหรับกลุ่มนี้ ตถาคตเองละได้ขาดแล้ว ถอนขึ้นได้จนถึงรากเง่าของมันแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วนเสียแล้ว ถึงความยกเลิกไม่มีอีก ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปแล้ว.

วัจฉะเอย ! ตถาคตอยู่นอกเหนือการนับว่าเป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นเสียแล้ว มันเป็นเรื่องลึกซึ้ง ที่ใครๆ ไม่พึงประมาณได้ หยั่งถึงได้ยาก เหมือนดั่ง ห้วงมหาสมุทรฉะนั้น.

วัจฉะเอย ! ข้อนี้จึงไม่ควรจะกล่าวว่าเกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าไม่เกิด ไม่ควรจะกล่าวว่า บางทีก็เกิด บางทีก็ไม่เกิด และไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็ไม่ใช่ ไม่เกิดก็ไม่ใช่ ดังนี้แล.

(- ม. ม. ๑๓/๒๔๕-๒๔๗/๒๔๘-๒๕๑.)

ประมาณเครื่องกำหนด (คือเกณฑ์ที่ใช้วัดสอบทุกชนิด) ไม่มีทางที่จะเอามาใช้ แก่บุคคลผู้ถึงซึ่งความดับแห่งการยึดถือตัวตน ท่านผู้เช่นนั้น เป็นคนที่ไม่มีเหตุหรือ คุณลักษณะอะไรๆ ที่ใครๆจะกล่าวว่าท่านเป็นอะไร ได้อีกต่อไป.

เมื่อสิ่งทั้งปวงถูกเพิกถอนความยึดถือเสียแล้ว วาทบถ คือ คลองแห่งถ้อยคำ สำหรับเรียกสิ่งนั้นทั้งหมด ก็พลอยถูกเพิกถอน คือไร้ความหมายไปด้วยทั้งสิ้น.

(- สุตฺต. ขุ. ๒๕/๕๓๙/๔๓๐.)

 



ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
หน้าที่ ๑๙๑

(อัคคิวัจฉโคตตสูตร)
ปัญหาว่าด้วยผู้หลุดพ้น



             [๒๔๘] ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ภิกษุผู้มีจิตพ้นวิเศษแล้วอย่างนี้ จะเกิดในที่ไหน?
ดูกรวัจฉะ คำว่า จะเกิด ดังนี้ ไม่ควรเลย.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น จะไม่เกิดขึ้นหรือ?
ดูกรวัจฉะ คำว่า ไม่เกิด ดังนี้ ก็ไม่ควร.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น เกิดก็มี ไม่เกิดก็มีหรือ?
ดูกรวัจฉะ คำว่า เกิดก็มี  ไม่เกิดก็มี ดังนี้ ก็ไม่ควร.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น เกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่หรือ?
ดูกรวัจฉะ คำว่า เกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่ ดังนี้ ก็ไม่ควร.

             [๒๔๙] พระองค์อันข้าพเจ้าทูลถามว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ภิกษุผู้มีจิตพ้น วิเศษแล้วอย่างนี้ จะเกิดในที่ไหน ก็ตรัสตอบว่า ดูกรวัจฉะ คำว่าจะเกิด ดังนี้ ไม่ควร. ฯลฯ พระองค์อันข้าพเจ้าทูลถามว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น เกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่หรือ ก็ตรัสตอบว่าดูกรวัจฉะ คำว่า เกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่ ดังนี้ ก็ไม่ควร.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ในข้อนี้ข้าพเจ้าถึงความไม่รู้ ถึงความหลงแล้ว แม้เพียงความ เลื่อมใสของข้าพเจ้าที่ได้มีแล้ว เพราะพระวาจาที่ตรัสไว้ในเบื้องแรก ของท่าน พระโคดม บัดนี้ได้หายไปเสียแล้ว.

             [๒๕๐] ดูกรวัจฉะ ควรแล้วที่ท่านจะไม่รู้ ควรแล้วที่ท่านจะหลง เพราะว่า ธรรมนี้เป็นธรรมลุ่มลึก ยากที่จะเห็น ยากที่จะรู้ สงบระงับ ประณีต ไม่ใช่ธรรมที่จะ หยั่งถึงได้ ด้วยความตรึก ละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้ ธรรมนั้นอันท่านผู้มีความเห็น เป็นอย่างอื่น มีความพอใจเป็นอย่างอื่น มีความชอบใจเป็นอย่างอื่น มีความเพียร ในทางอื่น อยู่ในสำนักของอาจารย์อื่นรู้ได้โดยยาก

ดูกรวัจฉะ ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในข้อนี้ ท่านเห็นควรอย่างใด ก็พึง
พยากรณ์อย่างนั้น ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าไฟลุกโพลงอยู่ ต่อหน้าท่าน ท่านจะพึงรู้หรือว่า ไฟนี้ลุกโพลงต่อหน้าเรา.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าไฟลุกโพลงต่อหน้าข้าพเจ้า ข้าพเจ้าพึงรู้ว่า ไฟนี้ลุกโพลง อยู่ต่อหน้าเรา.

ดูกรวัจฉะ ถ้าใครๆ พึงถามท่านอย่างนี้ว่า ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านนี้ อาศัยอะไรจึงลุกโพลง ท่านถูกถามอย่างนี้แล้วจะพึงพยากรณ์ว่าอย่างไร?

ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าใครๆ ถามข้าพเจ้าอย่างนี้ว่า ไฟที่ลุกโพลงต่อหน้าท่านนี้ อาศัยอะไรจึงลุกโพลง ข้าพเจ้าถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าเรานี้ อาศัยเชื้อ คือหญ้าและไม้ จึงลุกโพลงอยู่.

ดูกรวัจฉะ ถ้าไฟนั้นพึงดับไปต่อหน้าท่าน ท่านพึงรู้หรือว่า ไฟนี้ดับไปต่อหน้าเราแล้ว?

ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าไฟนั้นดับไปต่อหน้าข้าพเจ้า ข้าพเจ้าพึงรู้ว่าไฟนี้ดับไปต่อหน้าเราแล้ว.

ดูกรวัจฉะ ถ้าใครๆ พึงถามท่านอย่างนี้ว่า ไฟที่ดับไปแล้วต่อหน้าท่านนั้น ไปยัง ทิศไหนจากทิศนี้ คือทิศบูรพา ทิศปัศจิม ทิศอุดร หรือทิศทักษิณ ท่านถูกถามอย่างนี้ แล้ว จะพึงพยากรณ์ว่าอย่างไร?

ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้อนั้นไม่สมควร เพราะไฟนั้นอาศัยเชื้อ คือหญ้าและไม้จึงลุก แต่เพราะเชื้อนั้นสิ้นไป และเพราะไม่มีของอื่นเป็นเชื้อ ไฟนั้นจึงถึงความนับว่าไม่มีเชื้อ ดับไปแล้ว.


การละขันธ์ ๕

             [๒๕๑] ฉันนั้นเหมือนกัน วัจฉะ บุคคลเมื่อบัญญัติว่าเป็นสัตว์ พึงบัญญัติ เพราะรูปใด รูปนั้นตถาคตละได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีมีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตพ้นจากการนับว่ารูป มีคุณอันลึก อันใครๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก.

เปรียบเหมือนมหาสมุทรฉะนั้น ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าไม่เกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี ไม่ควรจะกล่าวว่า เกิดก็หามิได้ ไม่เกิดก็หามิได้.

บุคคลเมื่อบัญญัติว่าเป็นสัตว์ พึงบัญญัติเพราะเวทนาใด  ...  เพราะสัญญาใด  ...  เพราะสังขารเหล่าใด  ...  เพราะวิญญาณใด  ...  วิญญาณนั้น ตถาคตละได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้วทำให้ดุจเป็นตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไป เป็นธรรมดา ตถาคตพ้นจากการนับว่าวิญญาณ มีคุณอันลึก อันใครๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก.

เปรียบเหมือนมหาสมุทรฉะนั้น ไม่ควรกล่าวว่าเกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าไม่เกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี ไม่ควรจะกล่าวว่า เกิดก็หามิได้ ไม่เกิดก็หามิได้.


ปริพาชกวัจฉโคตรถึงสรณคมน์

             [๒๕๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว วัจฉโคตตปริพาชกได้ทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม เปรียบเหมือนต้นสาละใหญ่ ในที่ใกล้บ้าน หรือนิคม กิ่ง ใบ เปลือกสะเก็ด และกระพี้ ของต้นสาละใหญ่นั้น จะหลุดร่วง กะเทาะไป เพราะเป็นของไม่เที่ยง

            สมัยต่อมา ต้นสาละใหญ่นั้นปราศจาก กิ่ง ใบ เปลือก สะเก็ด และกระพี้แล้ว คงเหลืออยู่แต่แก่นล้วนๆ ฉันใด พระพุทธพจน์ของท่านพระโคดมก็ฉันนั้น ปราศจาก กิ่ง ใบ เปลือกสะเก็ด และกระพี้ คงเหลืออยู่แต่คำ อันเป็นสาระล้วนๆ.

             ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน

            ข้าพระองค์นี้ถึงท่านพระโคดม พระธรรมและภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่าน พระโคดม จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป ดังนี้แล.



 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์