เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ภาษิตชยสูตรที่ ๕ สงครามโต้ตอบกันด้วยวาทะ ระหว่าง เทวดากับอสูร 582
 
(เนื้อหาพอสังเขป)
    ท้าวสักกะจอมเทพ(ชั้นพรหม) กับท้าวเวปจิตติ(เทพของพวกอสูร) โต้วาทะกัน

   
เรื่องการกำจัดคนพาล
    โดยท้าวเวปจิตติจอมอสูร เห็นว่าคนพาลโกรธ กริ้ว ต้องตัดสินด้วยศาสตรา
    แต่ท้าวสักกะจอมเทพเห็นว่า รู้ว่าผู้อื่นโกรธ แล้วมีสติระงับ อดกลั้น การระงับไว้ได้
    เป็นการตัดรอน คนพาล ผลการตัดสิน(ของทั้งสองฝ่าย) ให้ท้าวสักกะชนะ
    เพราะการอดกลั้น ใช้ขันติ ไม่เกิดการทะเลาะ ไม่มีการใช้ศาสตรา


      พระสูตรอื่นที่เกี่ยวข้อง การชนะความโกรธ ด้วยการไม่โกรธตอบ
 
 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๗


ภาษิตชยสูตรที่ ๕



           [๘๗๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ฯลฯ

           [๘๗๘] พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่าง พวกเทวดา กับอสูร ได้ประชิดกันแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูร ได้ตรัส กะท้าวสักกะ จอมเทวดาว่าแน่จอมเทวดา เราจงเอาชนะกัน ด้วยการกล่าวคำสุภาษิตเถิด

           ท้าวสักกะจอมเทวดาตรัสว่า แน่ะท้าวเวปจิตติ ตกลงเราจงเอาชนะกัน ด้วยการกล่าว คำสุภาษิต ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พวกเทวดา และพวกอสูร ได้ร่วมกัน ตั้งผู้ตัดสินว่า ผู้ตัดสินเหล่านี้ จักรู้ทั่วถึงคำสุภาษิต คำทุพภาษิต

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสกะ ท้าวสักก จอมเทวดาว่า แน่ะจอมเทวดา ท่านจงตรัสคาถา

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวเวปจิตติตรัสเช่นนี้ ท้าวสักกะจอมเทวดา ได้ตรัส กะ ท้าวเวปจิตติ จอมอสูรว่า แน่ะท้าวเวปจิตติ ในเทวโลกนี้ ท่านเป็นเทพ มาก่อนท่าน จงกล่าวคาถาเถิด

           [๘๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวสักกะตรัสเช่นนี้แล้ว ท้าวเวปจิตติ จอมอสูร ได้ตรัสคาถานี้ว่า พวกคนพาลยิ่งกริ้วโกรธ ถ้าหากบุคคลไม่ตัดรอนเสีย ฉะนั้น นักปราชญ์ผู้มีปัญญา จึงควรกำจัดคนพาล เสียด้วยอาญาอันรุนแรง

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสคาถาแล้ว เหล่าอสูร พากัน อนุโมทนา พวกเทวดา ต่างก็พากันนิ่ง

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแลท้าวเวปจิตติจอมอสูร ได้กล่าวกะท้าวสักกะ จอมเทวดา ว่า แน่ะจอมเทวดา ท่านจงกล่าวคาถาเถิด

           [๘๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวเวปจิตติตรัสเช่นนี้แล้ว ท้าวสักกะ จอมเทวดา ได้ตรัสคาถานี้ว่า ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติระงับไว้ได้ เราเห็นว่า การระงับไว้ได้ของผู้นั้น เป็นเครื่องตัดรอนคนพาล

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อท้าวสักกะจอมเทวดาได้ภาษิตคาถาแล้ว พวกเทวดา พากัน อนุโมทนา เหล่าอสูรต่างก็นิ่ง

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทวดาตรัสกะท้าวเวปจิตติ จอมอสูรว่า ดูกรท้าวเวปจิตติ ท่านจงตรัสคาถาเถิด

           [๘๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวสักกะตรัสเช่นนี้ ท้าวเวปจิตติจอมอสูร ได้ตรัส คาถานี้ว่า ดูกรท้าววาสวะ เราเห็นโทษของการ อดกลั้นนี่แหละ เพราะว่า เมื่อใด คนพาลสำคัญเห็นผู้นั้นว่า ผู้นี้อดกลั้นต่อเรา เพราะความกลัว เมื่อนั้นคนพาล ผู้ทราม ปัญญายิ่ง ข่มขี่ผู้นั้นเหมือนโคยิ่งข่มขี่โคตัวแพ้ที่หนีไปฉะนั้น

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวเวปจิตติจอมอสูรภาษิตคาถาแล้ว เหล่าอสูร พากัน อนุโมทนาพวกเทวดา ต่างก็นิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ท้าวเวปจิตติ จอมอสูรได้ตรัสกะ ท้าวสักกะ จอมเทวดาว่า แน่ะ จอมเทวดา ท่านจงตรัสคาถาเถิด

           [๘๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวเวปจิตติจอมอสูรตรัสเช่นนี้ ท้าวสักกะ จอมเทวดา ได้ตรัสคาถาเหล่านี้ ว่า บุคคลจงสำคัญ เห็นว่า ผู้นี้อดกลั้นต่อเรา เพราะความกลัวหรือหาไม่ก็ตาม ทีประโยชน์ทั้งหลาย มีประโยชน์ของตน เป็นอย่างยิ่ง ประโยชน์ยิ่งกว่า ขันติไม่มี ผู้ใดแลเป็นคนมีกำลังอดกลั้น ต่อคนทุรพล ไว้ได้ ความอดกลั้นไว้ได้ของผู้นั้น บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เป็นขันติ อย่างยิ่ง คนทุรพลย่อมจะอดทนอยู่เป็นนิตย์

           บัณฑิตทั้งหลายเรียกกำลัง ของผู้ที่มีกำลังอย่างคนพาลว่ามิใช่กำลัง ไม่มีผู้ใดที่จะ กล่าวโต้ ต่อผู้ที่มีกำลัง อันธรรมคุ้มครองแล้วได้เลย เพราะความโกรธ นั้น โทษอันลามก จึงมีแก่ผู้ที่โกรธตอบผู้ที่โกรธแล้ว บุคคล ผู้ไม่โกรธ ตอบผู้ที่ โกรธแล้ว ย่อมชื่อว่าชนะสงครามซึ่งเอาชนะได้ยาก ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติ ระงับไว้ได้ ผู้นั้นชื่อว่า ประพฤติประโยชน์ แก่ทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายตนและคนอื่น คนผู้ที่ไม่ฉลาด ในธรรม ย่อมสำคัญเห็นผู้ที่รักษาประโยชน์ ของทั้งสองฝ่าย คือ ของตนและคนอื่น ว่าเป็นคนโง่ ดังนี้

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวสักกะจอมเทวดาได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ แล้วพวก เทวดา พากันอนุโมทนา เหล่าอสูรต่างก็นิ่ง

           [๘๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ผู้ตัดสินทั้งของพวกเทวดา และ พวกอสูร ได้กล่าวคำนี้ว่า ท้าวเวปจิตติจอมอสูร ได้ตรัสคาถาทั้งหลายแล้วแล แต่คาถาเหล่านั้น มีความเกี่ยวเกาะด้วยอาชญา มีความเกี่ยวเกาะ ด้วยศาตรา เพราะเหตุเช่นนี้ จึงมีความหมายมั่นความแก่งแย่ง ความทะเลาะวิวาท ท้าวสักกะ จอมเทวดา ได้ตรัสคาถาทั้งหลายแล้วแล ก็คาถาเหล่านั้น ไม่เกี่ยวเกาะด้วย อาชญา ไม่เกี่ยวเกาะ ด้วยศาสตรา เพราะเหตุเช่นนี้ จึงมีความไม่หมายมั่น ความไม่แก่งแย่งความ ไม่ทะเลาะ วิวาท ท้าวสักกะจอมเทวดาชนะเพราะได้ตรัส คำสุภาษิต

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชัยชนะ ด้วยการกล่าวคำสุภาษิตได้เป็น ของท้าวสักกะ จอมเทวดา ด้วยประการฉะนี้แล

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์