เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  เวปจิตติสูตรที่ ๔ เรื่องชนะความโกรธ ด้วยความอดกลั้น (ชนะความโกรธ) 581
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

การชนะความโกรธ ความอดกลั้น
   - คำด่าบริภาษ ด้วยวาจาอันหยาบคาย มิใช่วาจาของสัตบุรุษ
   - สัตบุรุษย่อมอดทนถ้อยคำอันหยาบคาย
   - ผู้ใดมีความอดกลั้น คำด่าบริภาษ ด้วยวาจาอันหยาบคาย บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่าเป็นขันติอย่างยิ่ง
   - บุคคลผู้ไม่โกรธตอบต่อผู้ที่โกรธ ย่อมชื่อว่า ชนะสงครามซึ่งเอาชนะได้ยาก
   - ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติ ระงับไว้ได้ผู้นั้น ชื่อว่าประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย


พระสูตรอื่นที่เกี่ยวข้อง-ชนะความโกรธ
 
 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค หน้าที่ ๒๖๕


เวปจิตติสูตรที่ ๔


[๘๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถ บิณฑิกเศรษฐี ฯลฯ

[๘๖๘] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมี มาแล้ว สงครามระหว่างเทวดา กับอสูรประชิดกันแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลายครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรตรัสกะพวกอสูรว่า ดูกรท่าน ผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเมื่อสงคราม ระหว่างเทวดากับอสูรประชิดกัน พวกอสูรพึงชนะ พวกเทวดาพึงปราชัยไซร้ ท่านทั้งหลายพึงมัดท้าวสักกะจอมเทวดา ด้วยการมัด ห้าแห่ง อันมีคอเป็นที่ ๕ แล้วพึงนำมายังอสูรบุรี ในสำนักของเรา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ท้าวสักกะจอมเทวดา ก็บัญชากะเทวดาชั้นดาวดึงส์ทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ ทั้งหลาย ถ้าเมื่อสงคราม ระหว่างเทวดา กับอสูรประชิดกัน พวกเทวดาพึงชนะ พวกอสูรถึงปราชัยไซร้ ท่านทั้งหลายพึงมัดท้าวเวปจิตติจอมอสูร ด้วยการ มัดห้าแห่งอันมีคอเป็นที่ ๕ แล้วพึงนำมายังสุธรรมาสภา ในสำนักของเรา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลในสงครามครั้งนั้น พวกเทวดาชนะ พวกอสูรปราชัย ครั้งนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์ ได้จับท้าวเวปจิตติ จอมอสูร มัดด้วยการมัดห้าแห่ง อันมีคอเป็นที่ ๕ แล้วนำมายังสุธรรมาสภา ในสำนักของท้าวสักกะจอมเทวดา

[๘๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ทราบว่า ในครั้งนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูร ถูกมัดด้วยการมัดห้าแห่งอันมี คอเป็นที่ ๕ ได้ด่าบริภาษท้าวสักกะจอมเทวดา ซึ่งกำลังเสด็จเข้า และออกยังสุธรรมาสภา ด้วยวาจาอันหยาบคาย มิใช่ของสัตบุรุษ

[๘๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล มาตลีเทพบุตร ผู้สงเคราะห์ ได้ทูลถามท้าว สักกะจอมเทวดา ด้วยคาถาว่าข้าแต่ท้าวสักกะมฆวาฬ พระองค์ได้ทรงสดับถ้อยคำ อันหยาบคายเฉพาะหน้าของท้าวเวปจิตติจอมอสูร ยังทรงอดทนได้ เพราะความกลัว หรือเพราะไม่มีกำลัง พระเจ้าข้า

[๘๗๑] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า เราอดทนถ้อยคำอันหยาบคายของท้าวเวปจิตติได้ เพราะความกลัว หรือเพราะไม่มีกำลังก็หาไม่ วิญญูชนผู้เช่นเราไฉนจะพึงโต้ตอบ กับคนพาลเล่า

[๘๗๒] มาตลีเทพบุตร กราบทูลว่า คนพาลพึงทำลายได้อย่างยิ่ง ถ้าไม่พึงเกียดกัน เสียก่อน เพราะฉะนั้นธีรชน พึงเกียดกันคนพาล ด้วยอาชญาอย่างรุนแรง

[๘๗๓] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า ผู้ใดรู้ว่าคนอื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติสงบระงับได้ เราเห็นว่า การสงบระงับได้ ของผู้นั้นแล เป็นการเกียดกันคนพาลละ

[๘๗๔] มาตลีเทพบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่ท้าววาสวะ ข้าพระองค์เห็นโทษในความ อดทนนี้แลเมื่อใด คนพาลย่อมสำคัญ บุคคลนั้นว่าผู้นี้ย่อมอดกลั้น ต่อเราเพราะ ความกลัวเมื่อนั้น คนมีปัญญาทราม ยิ่งข่มขี่ผู้นั้น เหมือนโคยิ่งข่มขี่โค ตัวที่แพ้หนีไป ฉะนั้น

[๘๗๕] ท้าวสักกะตรัสตอบว่าบุคคลจงสำคัญเห็นว่า ผู้นี้อดกลั้นต่อเราเพราะความ กลัว หรือหาไม่ก็ตามที ประโยชน์ทั้งหลาย มีประโยชน์ของตน เป็นอย่างยิ่ง ประโยชน์ ยิ่งกว่าขันติไม่มี ผู้ใดแลเป็นคนมีกำลัง อดกลั้นต่อคนผู้ทุรพลไว้ได้ ความอดกลั้น ของผู้นั้น บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่าเป็นขันติอย่างยิ่งคนทุรพล จำต้องอดทนอยู่ เป็นนิตย์

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวกำลัง ของผู้ซึ่ง มีกำลังอย่างคนพาลว่ามิใช่กำลัง ไม่มีผู้ใด ที่จะกล่าวโต้ ต่อผู้มีกำลัง ผู้ซึ่งธรรมคุ้มครองแล้วได้เลย เพราะความโกรธนั้น โทษที่ ลามกจึงมีแก่ผู้ที่โกรธตอบต่อผู้ที่โกรธ บุคคลผู้ไม่โกรธตอบต่อผู้ที่โกรธ ย่อมชื่อว่า ชนะสงครามซึ่งเอาชนะได้ยาก ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติ ระงับไว้ได้ผู้นั้น ชื่อว่าประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายตน และคนอื่น คนที่ไม่ฉลาด ในธรรม ย่อมสำคัญเห็นผู้รักษาประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย คือ ของตน และของคนอื่น ว่าเป็นคนโง่ ดังนี้

[๘๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ท้าวสักกะจอมเทวดาพระองค์นั้น เข้าไปอาศัยผลบุญ ของพระองค์ เป็นอยู่ เสวยรัชสมบัติ มีความเป็นใหญ่ยิ่งด้วย ความเป็นอิสระ แห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ ยังจักพรรณนาคุณของขันติ และโสรัจจะได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่พวกเธอบวชแล้วในธรรมวินัยที่เรากล่าวชอบแล้วเช่นนี้ เป็นผู้อดทน และ สงบเสงี่ยมนี้ จะพึงงามในธรรม วินัยนี้โดยแท้

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์