เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นี้เป็นนิพพานของคนตาบอด 528
 
 

(โดยย่อ)

นิพพานของคนตาบอด ตรัสกับ มาคัณฑิยะ

มาคัณฑิยะ ได้ยินได้ฟังมาจาก ปริพาชก ที่เป็นอาจารย์ตน ได้กล่าวว่า
- ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง
- นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

มาคัณฑิยะ ได้ลูบร่างกายของตน แล้วร้องขึ้นว่า นี่ยังไงล่ะความไม่มีโรค นี่ยังไงล่ะ นิพพาน เวลานี้ข้าพเจ้าเป็นสุขไม่มีโรค ไม่มีอาพาธ ใดๆ

พ.ตรัสว่า กายนี้แหละเป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความยาก ลำบาก เป็นอาพาธ ท่านก็มากล่าวซึ่งกายนี้ที่เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความ ยากลำบาก เป็นอาพาธ ว่าเป็นความไม่มีโรคเป็นนิพพาน

(มาคัณฑิยะปริพาชก เข้าใจผิด คิดว่ากายที่ไม่มีโรค คือความสุข คือลาภ คือนิพพาน แท้จริงแล้ว กายนี้แหละเปรียบเหมือนหัวฝี มีแต่โรค ...มาคัณฑยะจึงเหมือนถูกลวงว่าสวมเสื้อผ้าสีขาวเนื้อดี
เหตุผลเพราะ ปริพาชกทั้งหลาย ไม่รู้จักความไม่มีโรค ไม่รู้จักนิพพาน )

พ. มาคัณฑิยะ ท่านจะรู้จักความไม่มีโรค จะพึงเห็นนิพพานได้ ก็ต่อเมื่อท่าน ละความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจ ในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เสียได้ อนึ่งความรู้สึกจะพึงเกิดขึ้น แก่ท่านว่า เราถูกจิต นี้คดโกง หลอกลวง ปลิ้นปลอก มานาน นักหนอ จึงเราเมื่อยึดมั่น ก็ยึดมั่นเอาแล้ว ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร และซึ่งวิญญาณ นั่นเทียว.
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 
 


หนังสือจิต มโน วิญญาณ หน้า 208 -บาลี ม. ม. ๑๓/๒๘๑/๒๘๗.


ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นี้เป็นนิพพานของคนตาบอด

            ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมาแต่ก่อน คือข้อที่ พระสมณโคดม ได้กล่าวคำ นี้ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุข อย่างยิ่ง ดังนี้ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าก็ได้เคยฟังคำกล่าวนี้ ของปริพพาชก ผู้เป็นอาจารย์ แห่งอาจารย์กล่าวอยู่ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุข อย่างยิ่ง ดังนี้ ด้วยเหมือนกัน ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้อนี้ช่างตรงกันนัก.

            มาคัณฑิยะ ข้อนี้ท่านฟังมาแต่ปริพพาชกผู้เป็น อาจารย์แห่งอาจารย์ ที่กล่าวอยู่ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ดังนี้นั้น ความไม่มีโรคนั้น เป็นอย่างไร นิพพานนั้นเป็นอย่างไร.

            เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว มาคัณฑิยปริพพาชก ได้ลูบ ร่างกายของตน ด้วยฝ่ามือ แล้วร้องขึ้นว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ นี่ยังไงล่ะ ความไม่มีโรค นี่ยังไงล่ะ นิพพาน พระโคดมผู้เจริญ เวลานี้ ข้าพเจ้าเป็นสุขไม่มีโรค ไม่มีอาพาธ อะไรๆ.

            มาคัณฑิยะ ข้อนี้เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดมาแต่กำเนิด เขาไม่อาจเห็น รูปสีดำ หรือ สีขาว ไม่อาจเห็นรูปสีเขียว ไม่อาจเห็นรูปสีเหลือง ไม่อาจเห็นรูปสีแดง ไม่อาจเห็นรูป สีชมพู ไม่อาจเห็นพื้นที่อันสม่ำเสมอหรือขรุขระ ไม่อาจ เห็นดวงดาว ดวงจันทร์ และ ดวงอาทิตย์ เขาได้ยินคนตาดี กล่าวอยู่ว่า

            ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวเนื้อดี สะอาด ไม่มีมลทิน งดงามนักหนอ บุรุษตาบอด นั้นก็เที่ยว แสวงหาผ้าขาว บุรุษคนหนึ่งลวงเขาด้วยผ้าเก่าเปื้อนเขม่าว่า บุรุษผู้เจริญ นี้ผ้าขาว เนื้อดี สะอาด ไม่มีมลทิน งดงามนัก สำหรับท่าน บุรุษ ตาบอดนั้น รับผ้านั้นมาห่ม แล้วพูดออกมาด้วยความดีใจว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย นี้ผ้าขาวเนื้อดี สะอาด ไม่มี มลทิน งดงามนักหนอ ดังนี้.

            มาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร บุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้น เป็นผู้รู้ อยู่เห็นอยู่ แล้วรับเอาผ้าเก่า เปื้อนเขม่านั้นมาห่ม และพูดออกมาด้วยความดีใจ ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย นี้ผ้าขาวเนื้อดี สะอาด ไม่มีมลทิน งดงามนักหนอ ดังนี้ หรือว่า เขาพูดอย่างนั้น เพราะเชื่อคนตาดี ที่ลวงเขา.

            ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้นเป็นผู้ไม่รู้ ไม่เห็น แล้ว ก็รับเอาผ้าเก่า เปื้อนเขม่านั้นมาห่ม และพูดออกมาด้วยความดีใจว่า ท่านผู้เจริญ ทั้งหลาย นี้ผ้าขาว เนื้อดี สะอาด ไม่มีมลทิน งดงามนักหนอ ดังนี้ ที่เขาพูดเช่นนั้น เพราะเชื่อคนตาดี ที่ลวงเขาเท่านั้น.

            มาคัณฑิยะ ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ปริพพาชก เดียรถีย์เหล่าอื่นเป็น คนบอด ไม่มีจักษุ ไม่รู้จักความไม่มีโรค ไม่เห็นนิพพาน เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็ยังมากล่าว คาถานี้ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ดังนี้.

            มาคัณฑิยะ คาถานี้ เป็นคาถาที่พระอรหันตสัมมา-สัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ในกาลก่อน กล่าวกันแล้วว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุข อย่างยิ่ง ทางมีองค์ ๘ เป็นทางอันเกษมกว่าทางทั้งหลาย ซึ่งเป็นเครื่องให้ถึง อมตะ ดังนี้นั้น บัดนี้ ได้มากลายเป็น คาถาของปุถุชนกล่าวไปเสียแล้ว.

            มาคัณฑิยะ กายนี้แหละเป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความยาก ลำบาก เป็นอาพาธ ท่านก็มากล่าวซึ่งกายนี้ที่เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความ ยากลำบาก เป็นอาพาธ ว่าเป็นความไม่มีโรคเป็นนิพพาน

            มาคัณฑิยะ อริยจักษุ สำหรับจะรู้จักความไม่มีโรค จะเห็นนิพพานของท่าน ไม่มี …

ข้าพระองค์เลื่อมใสต่อท่านพระโคดมผู้เจริญอย่างนี้แล้ว ขอท่านพระโคดมผู้เจริญ โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยประการที่ข้าพระองค์จะรู้จักความไม่มีโรค และเห็น นิพพานได้.


            มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดมาแต่กำเนิด เขาไม่อาจเห็นรูปสีดำ หรือสีขาว ไม่อาจเห็นรูปสีเขียว ไม่อาจ เห็นรูปสีเหลือง ไม่อาจเห็นรูปสีแดง ไม่อาจเห็นรูปสีชมพู ไม่อาจเห็นพื้นที่อันสม่ำเสมอหรือขรุขระ ไม่อาจเห็นดวงดาว ดวงจันทร์ และ ดวงอาทิตย์ เขาได้ยินคนตาดีกล่าวอยู่ว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวเนื้อดี สะอาด ไม่มีมลทิน งดงามนักหนอ บุรุษตาบอดนั้นก็เที่ยวแสวงหาผ้าขาว บุรุษคนหนึ่งลวงเขา ด้วยผ้าเก่าเปื้อนเขม่าว่า บุรุษผู้เจริญ นี้ผ้าขาวเนื้อดี สะอาด ไม่มีมลทิน งดงามนัก สำหรับท่าน บุรุษตาบอดนั้น รับผ้านั้น มาห่มแล้ว.

            ในกาลต่อมา มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขา เชิญแพทย์ผ่าตัด ผู้ชำนาญ มารักษา แพทย์นั้นทำยาอันถ่าย โทษในเบื้องบน ถ่ายโทษในเบื้องล่าง ยาหยอด ยากัดและ ยานัตถุ์ เขาอาศัยยานั้นแล้วจึงมองเห็นได้ ชำระตาให้ใสได้ พร้อมกับการ ที่มีตาดีขึ้นนั้น เขาย่อมละความรักใคร่พอใจ ในผ้าเนื้อเลวเปื้อนเขม่า เสียได้ เขาจะพึง เบียดเบียนบุรุษที่ลวงเขานั้น โดยความเป็น ศัตรู โดยความเป็น ข้าศึก และจะสำคัญว่าควรปลงชีวิต บุรุษนั้นด้วยความแค้น โดยกล่าวว่าท่านผู้เจริญ ทั้งหลาย เราถูกบุรุษนี้คดโกง หลอกลวง ปลิ้นปลอกด้วยผ้าเนื้อเลวเปื้อนเขม่า มานานหนักหนอ โดยหลอกเราว่า บุรุษผู้เจริญ นี้แหละเป็นผ้าขาวเนื้อดี เป็นของ งดงาม ปราศจากมลทิน เป็นผ้าสะอาด สำหรับท่าน ดังนี้.

            มาคัณฑิยะ ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าเราแสดงธรรมแก่ท่านว่า อย่างนี้ เป็นความไม่มีโรค อย่างนี้เป็นนิพพาน ดังนี้ ท่านจะรู้จักความไม่มีโรค จะพึงเห็น นิพพานได้ ก็ต่อเมื่อท่าน ละความกำหนัด ด้วยอำนาจความ พอใจ (ฉนฺทราโค) ในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เสียได้ พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่ง จักษุ ของท่าน

            อนึ่ง ความรู้สึกจะพึงเกิดขึ้น แก่ท่านว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เรา ถูกจิตนี้ คดโกง หลอกลวง ปลิ้นปลอก มานาน นักหนอ จึงเราเมื่อยึดมั่น ก็ยึดมั่นเอาแล้ว ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร และซึ่งวิญญาณ นั่นเทียว.

            เพราะความยึดมั่น (อุปาทาน) ของเรานั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพ เป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็น ปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสะ ทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วย อาการอย่างนี้ ดังนี้.



 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์