เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  วัชชีปุตตสูตร- เสขสูตร สิกขาบท 150 ถ้วน ที่ปรากฎในพระไตรปิฎก 468
 

สิกขาบทมี 150 ข้อ ตามพระไตรปิฎก
สิกขาบท 227 ตาม พรบ.สงฆ์(ประเทศไทย)

รายละเอียด สิกขาบท 227 ข้อ


 
 
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาตร หน้า ๒๒๑

      สิกขาบท
150 ถ้วน
จากพระไตรปิฎก
สิกขาบทของ
นิกายเถรวาท
(นานาประเทศ)

1 ปาราชิก มี ๔ ข้อ เช่น เสพเมถุน อวดอุตริ ลักทรัพย์ ฆ่าคน 4 4
2 สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ  เช่น อสุจิเคลื่อน ต้องสตรี ยุสงฆ์ให้แตก 13 13
3 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ข้อ  รับเงินและทอง ซื้อขายด้วยเงินทอง ขอบาตร 30 30
4 ปาจิตตีย์ มี ๙๒ ข้อ พูดปด ด่า ส่อเสียด ขุดดิน ทำลายต้นไม้ 92 92
5 ปาฏิเทสนียะ มี ๔ ข้อ ห้ามรับอาหารในบางกรณี 4 4
6 อธิกรณ์สมถะ มี ๗ ข้อ การพิจารณาความของสงฆ์ 7 7
    รวมสิกขาบทตาม พระไตรปิฎก

150

150
  สิกขาบท 150 ข้อ ในพระไตรปิฎก (ไทย) และนิกายเถรวาทของประเทศอื่นจะอยู่ที่ 152- 151- 150- 149
    สิกขาบท ส่วนเกินจากพระไตรปิฎก 77 ข้อ  
1 อนิยต มี ๒ ข้อ  อาบิติที่ยังไม่แน่ใจว่าจะปรับข้อไหน เช่นอยู่ใกล้สตรี
2
2 เสขิยะ สารูป มี ๒๖ ข้อ ว่าด้วยมารยาท ความสำรวม ไม่พูดดัง หัวเราะดัง 26
3 โภชนปฏิสังยุตต์มี ๓๐ ข้อ ว่าด้วยการฉันอาหาร ไม่ฉันดัง ไม่เลียมือ 30
4 ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ ๑๖ ข้อ  ว่าด้วยเรื่องการแสดงธรรม เช่นไม่แสดงแก่คนนอน 16
5 ปกิณสถะ มี ๓ ข้อ  เบ็ดเตล็ด เช่น ไม่ยืนปัสสาวะ ไม่อุจจาระลงน้ำ 3
      รวม 77
    รวมสิกขาบทของ นิกายเถรวาท รวมทั้งสิ้น 227

คลิกที่ภาพ

คลิกที่ภาพ



สิกขาบท 150 ถ้วน ที่ปรากฎในพระไตรปิฎกฉบับหลวง

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาตร หน้า ๒๒๑

วัชชีปุตตสูตร


              [๕๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน ใกล้เมือง เวสาลี ครั้งนั้นแล ภิกษุวัชชีบุตร รูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ ทุกกึ่งเดือน ข้าพระองค์ ไม่สามารถที่จะศึกษา ในสิกขาบทนี้พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า

         ดูกรภิกษุ ก็ท่านสามารถจะศึกษาในสิกขา ๓ คืออธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ หรือ ฯ ว. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สามารถจะศึกษา ได้ในสิกขา ๓คือ อธิศีลสิกขา ๑อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ พระเจ้าข้า ฯ

        พ. ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแล ท่านจงศึกษาในสิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ เมื่อใด ท่านจักศึกษาอธิศีลสิกขาก็ดี จักศึกษาอธิจิตตสิกขาก็ดี จักศึกษา อธิปัญญาสิกขา ก็ดี เมื่อนั้น เมื่อท่านนั้น ศึกษาอธิศีลสิกขาอยู่ก็ดี ศึกษาอธิจิตตสิกขาอยู่ก็ดี ศึกษาอธิปัญญาสิกขาอยู่ ก็ดีจักละราคะ โทสะ โมหะ เสียได้ เพราะละราคะ โทสะโมหะ เสียได้ท่านนั้น จักไม่กระทำกรรมเป็นอกุศล จักไม่เสพกรรมที่เป็นบาป

         ครั้นสมัยต่อมา ภิกษุนั้นศึกษาแล้วทั้งอธิศีลสิกขา ทั้งอธิจิตตสิกขา ทั้งอธิปัญญาสิกขา เมื่อภิกษุนั้น ศึกษาอธิศีลสิกขาก็ดี ศึกษา อธิจิตตสิกขาก็ดี ศึกษาอธิปัญญาสิกขาก็ดี ละราคะโทสะ โมหะ ได้แล้ว เพราะละราคะ โทสะ โมหะ เสียได้ เธอมิได้ ทำกรรมที่เป็นอกุศล มิได้เสพกรรมที่เป็นบาป ฯ


เสขสูตรที่ ๑

              [๕๒๕] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคม พระผู้มี พระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า เสขะๆ ดังนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ บุคคลจึงชื่อว่าเป็นเสขะ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า

         ดูกรภิกษุ ที่เรียกชื่อว่าเสขะ ด้วยเหตุว่ายังต้องศึกษา ศึกษา อะไร ศึกษาอธิศีลสิกขา ศึกษาอธิจิตตสิกขา และศึกษาอธิปัญญาสิกขา ดูกรภิกษุ ที่เรียกชื่อว่าเสขะ ด้วยเหตุว่ายัง ต้องศึกษาแล ฯ

        สำหรับพระเสขะผู้ศึกษาอยู่ ปฏิบัติตามทางตรง เกิดญาณในความสิ้นไปก่อน แต่นั้น คือ แต่มรรค ญาณที่ ๔ อรหัตผลจึงเกิดในลำดับต่อไป ต่อจากนั้น ท่านผู้พ้นด้วย อรหัตผลผู้คงที่ มีญาณเกิดขึ้น ในความสิ้น ภวสังโยชน์ว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบ ดังนี้ ฯ

เสขสูตรที่ ๒

              [๕๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ มาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน ซึ่งกุลบุตร ทั้งหลาย ผู้ปรารถนาประโยชน์ ศึกษากันอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลายสิกขา ๓ นี้ ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้น รวมอยู่ด้วยทั้งหมด สิกขา ๓ นั้นเป็นไฉน คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้แล ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้น รวม อยู่ด้วยทั้งหมด

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำพอประมาณ ในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณ ในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออก จากอาบัติบ้าง ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร เพราะไม่มีใครกล่าว ความ เป็นคนอาภัพ เพราะ ล่วงสิกขาบทนี้ แต่ว่าสิกขาบท เหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่ พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และเป็นผู้มีศีลมั่นคง ในสิกขาบท เหล่านั้น สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เธอเป็นพระโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป เป็น ผู้มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ ในเบื้องหน้า

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำพอ ประมาณ ในสมาธิ เป็นผู้ทำพอ ประมาณในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะไม่มีใคร กล่าวความเป็นคนอาภัพ เพราะล่วงสิกขาบทนี้ แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์สมควร แก่ พรหมจรรย์เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษา อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เธอเป็น พระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓หมดสิ้นไป และ เพราะ ราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง จะมายังโลกนี้อีกคราวเดียว เท่านั้น แล้วจัก ทำที่สุดทุกข์ได้

        ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ ในสมาธิ เป็นผู้ทำ พอประมาณ ในปัญญาเธอ ย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออก จากอาบัติบ้าง ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าวความ เป็นคนอาภัพเพราะล่วงสิกขาบทนี้ แต่สิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่ง พรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็น ผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบท เหล่านั้น สมาทานศึกษา อยู่ใน สิกขาบท ทั้งหลาย เธอเป็นผู้ผุดขึ้นเกิด จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจาก โลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ ในสมาธิ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ ในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออก จากอาบัติบ้าง ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าวความ เป็นคนอาภัพเพราะล่วง สิกขาบทนี้ แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขา บททั้งหลาย เธอทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทำได้เพียงบางส่วน ย่อมให้สำเร็จ บางส่วน ผู้ทำให้บริบูรณ์ ย่อมให้สำเร็จ ได้บริบูรณ์ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสิกขาบททั้งหลายว่า ไม่เป็นหมันเลย ฯ

เสขสูตรที่ ๓

              [๕๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน ซึ่งกุลบุตร ทั้งหลายผู้ปรารถนา ประโยชน์ศึกษากันอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลายสิกขา ๓ นี้ ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้น รวมอยู่ด้วยทั้งหมด สิกขา ๓ เป็นไฉน คืออธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑อธิปัญญาสิกขา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓นี้แล ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวม อยู่ด้วยทั้งหมด

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำพอประมาณ ในสมาธิ เป็นผู้ทำ พอประมาณ ในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออก จากอาบัติบ้างข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าวความ เป็นคนอาภัพเพราะเหตุล่วงสิกขาบทนี้ แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่ พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบท เหล่านั้น สมาทานศึกษา อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เธอเป็นพระ สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไปท่องเที่ยวไปในเทวดา และมนุษย์อย่างมากเจ็ดครั้ง แล้วจักทำ ที่สุดแห่ง ทุกข์ได้เธอ เป็นพระโกลังโกละโสดาบัน เพราะสังโยชน์๓ หมดสิ้นไป ท่องเที่ยวไปส ู่๒ หรือ ๓ ตระกูล (ภพ) แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เธอเป็นพระเอกพิชีโสดาบัน เพราะ สังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป มาเกิดยังภพนี้ ภพเดียว เท่านั้นแล้ว จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เธอเป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป และ เพราะราคะโทสะ และโมหะ เบาบาง มาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียว แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ ในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณ ในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออก จากอาบัติบ้าง ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าว ความเป็นคนอาภัพเพราะเหตุ ล่วงสิกขาบทนี้ แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้น แห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหม จรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงใน

        สิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป เธอเป็นพระ อนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เป็นพระอนาคามี ผู้สสังขารปรินิพพายี เป็นพระอนาคามี ผู้อสังขารปรินิพพายี เป็นพระอนาคามี ผู้อุปหัจจปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ ในสมาธิ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ ในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออก จากอาบัติบ้าง ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าว ความเป็นคนอาภัพเพราะเหตุ ล่วงสิกขาบทนี้ แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่ พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบท เหล่านั้น สมาทานศึกษา อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เธอทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำได้เพียงบางส่วน ย่อมให้สำเร็จได้บางส่วนผู้ทำให้ บริบูรณ์ ย่อมให้สำเร็จได้ บริบูรณ์อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสิกขาบท ทั้งหลายว่า ไม่เป็นหมันเลย ฯ

เสขสูตรที่ ๔

              [๕๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน ซึ่งกุลบุตร ผู้ปรารถนาประโยชน์ พากันศึกษาอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลายสิกขา ๓ นี้ ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วย ทั้งหมด สิกขา ๓ เป็นไฉนคือ   อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา๓  นี้แล ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้น รวมอยู่ด้วยทั้งหมด

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ ในสมาธิ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ ในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออก จากอาบัติบ้าง ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าว ความเป็นคนอาภัพ เพราะเหตุ ล่วงสิกขาบทนี้แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่ พรหมจรรย์เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เธอทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะ มิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ก็หรือว่า


 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์