เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 สิกขาบท 227 พระสูตรนี้เป็นการบัญญัติโดยอรรถกถา แต่ของพระศาสดามี 150 ข้อเท่านั้น 467
 
  สิกขาบท 227 ข้อ เป็นอรรถกถา (อรรถกถาไม่ใช่คำสอนของพระศาสดา)
สิกขาบทมี 150 ข้อ  (คำสอนของพระศาสดา)
อรรถกามีส่วนเกิน 77 ข้อ คลิก
 
 


(อรรถกถา)

(พระวินัยปิฎก ๘ เล่ม) เล่ม ๑. มหาวิภังค์ หรือ ภิกขุวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล ๒๒๗ ข้อ) ฝ่ายภิกษุสงฆ์

สรุป สิกขาบท 227 ข้อ

พระวินัย 227 ข้อ ของพระ เป็นกฎหมายหรือข้อห้ามของ พระภิกษุสงฆ์เถรวาท ตามพระวินัยบัญญัติ จัดอยู่ในส่วนอาทิ พรหมจาริยกาสิกขา พระวินัย 227 บท ในพระปาฏิโมกข์ ที่พระพุทธเจ้าทรงวางข้อกำหนด ไม่พึงละเมิดไว้ เพื่อความเป็น ระเบียบ เรียบร้อย ของคณะสงฆ์ และเพื่อเป็นข้อปฏิบัติพื้นฐานอันเอื้อเฟื้อ ต่อการ ประพฤติพรหมจรรย์ของพระภิกษุสงฆ์ มีโทษในการล่วง ละเมิด ร้ายแรงที่สุด ถึงปาราชิก หรือขาดจากความเป็นพระสงฆ์

พระวินัย 227 บ ไม่ใช่ศีลแต่เรียกว่า พระวินัย ผู้ทำผิดศีลเรียกว่า ล่วงพระวินัย เป็น อาบัติ ระดับชั้นต่าง ๆ ตามความหนักเบา สามารถแบ่งระดับอาบัติออกได้เป็นลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นรุนแรงจนกระทั่งเบาที่สุด

ในอาบัติระดับเบาจะต้องมีการเผยความผิด อาบัติ ระดับเบาเช่น ปาจิตตีย์ สามารถแก้ได้ โดยกล่าวแสดง ความผิดของตน กับพระภิกษุรูปอื่น เพื่อเป็นการแสดง ถึงความสำนึกผิด และเพื่อจะตั้งใจประพฤติ ตนใหม่ หรือที่เรียกว่า การแสดงอาบัติ, ปลงอาบัติ แต่ถ้าถึงขั้นปาราชิกย่อมขาดจากความเป็นพระ และไม่สามารถบวช เป็นพระสงฆ์ได้อีก ซึ่งพระวินัย ไม่ใช่ศีล แต่เป็นเสมือนกฎหมายของพระภิกษุ

แต่หากจะกล่าวถึงศีลพระนั้น มีเพียง 43 ข้อ คือ จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล จึงจะเป็นศีลพระที่แท้จริงตามพุทธบัญญัติ


1 ปาราชิก มี ๔ ข้อ เช่น เสพเมถุน อวดอุตริ ลักทรัพย์ ฆ่าคน 4
2 สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ  เช่น อสุจิเคลื่อน ต้องสตรี ยุสงฆ์ให้แตก 13
3 อนิยตกัณฑ์ มี ๒ ข้อ  นั่งในที่ลับตากับสตรี นั่งในที่ลับหูกับสตรี 2
4 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ข้อ  รับเงินและทอง ซื้อขายด้วยเงินทอง ขอบาตร 30
5 ปาจิตตีย์ มี ๙๒ ข้อ พูดปด ด่า ส่อเสียด ขุดดิน ทำลายต้นไม้ 92
6 ปาฏิเทสนียะ มี ๔ ข้อ ห้ามรับอาหารในบางกรณี 4
7 เสขิยะ สารูป มี ๒๖ ข้อ เรื่องความสำรวม ไม่เวิกผ้า ไม่พูดดัง หัวเราะดัง 26
8 โภชนปฏิสังยุตต์มี ๓๐ ข้อ หลักในการฉันอาหาร ไม่ฉันดัง ไม่เลียมือ 30
9 ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ ๑๖ ข้อ  เรื่องการแสดงธรรม เช่นไม่แสดงแก่คนนอน 16
10 ปกิณสถะ มี ๓ ข้อ  ไม่ยืนปัสสาวะ ถ่ายอุจจาระ ไม่บ้วนน้ำลายลงน้ำ 3
11 อธิกรณ์สมณะ การพิจารณาความของสงฆ์ 7
    รวมสิกขาบท 227


1. อาบัติ ปราชิก
พระภิกษุต้องอาบัติปาราชิกสี่ข้อใดข้อหนึ่ง แม้จะไม่กล่าวลาสิกขาบท ก็ถือว่า ขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที เมื่อความผิดสำเร็จ เมื่อขาดจากความเป็นพระแล้ว ก็ถือว่าไม่ใช่พระภิกษุอีกต่อไป ไม่สามารถอยู่ร่วมกับ ภิกษุอื่น หรือคณะหมู่สงฆ์ได้เลย ต้องลาสิกขาบทออกจากเป็นพระภิกษุทันที มิฉะนั้นจะกลายเป็นพวกอลัชชี (แปลว่า ผู้ไม่ละอาย) นอกจากนั้นจะไม่สามารถกลับเข้ามาบวชใหม่ได้เลยตลอดชีวิต


2. สังฆาทิเสส

สังฆาทิเสสคือประเภทของโทษ ที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทประเภท ครุกาบัติ ที่เรียกว่า อาบัติสังฆาทิเสส จัดเป็นอาบัติ โทษรุนแรงรองจากปาราชิก

คำว่า สังฆาทิเสส แปลว่าอาบัติที่ต้องอาศัยสงฆ์ ในกรรมเบื้องต้นและกรรมที่เหลือ กล่าวคือ เมื่อภิกษุต้องอาบัติดังกล่าวแล้ว ต้องแจ้งแก่สงฆ์ 4 รูปเพื่อขอประพฤติวัตร ที่ชื่อมานัต เมื่อสงฆ์อนุญาตแล้วจึงประพฤติวัตร ดังกล่าวเป็นเวลา 6 คืน เมื่อพ้นแล้ว จึงขอให้สงฆ์ 20 รูปทำสังฆกรรมสวดอัพภานให้ เมื่อพระสงฆ์สวดอัพภาน เสร็จสิ้น ถือว่าภิกษุรูปนั้นพ้นจากอาบัติข้อนี้

ในกรณีที่ภิกษุต้องอาบัติข้อนี้แล้วปกปิดไว้ เมื่อมาแจ้งแก่หมู่สงฆ์แล้ว ต้องอยู่ ปริวาสกรรม เท่ากับจำนวนวัน ที่ปกปิดไว้ก่อน เช่น ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส แล้ว ปกปิดไว้หนึ่งเดือน เมื่อแจ้งแก่สงฆ์แล้วต้องอยู่ปริวาส หนึ่งเดือน แล้วจึงขอ ประพฤติวัตร มานัตต่อไป


3. อนิยต
อนิยต คือประเภทของโทษที่เกิดจากการ ล่วงละเมิดสิกขาบท ประเภทกึ่งกลาง ระหว่าง ครุกาบัติ หรือ ลหุกาบัติ ที่เรียกว่า อาบัติอนิยต ซึ่งอาบัตินี้ขึ้นอยู่กับว่า พระวินัยธรจะวินิจฉัยว่า ควรจะให้ปรับอาบัติแบบไหน ตามแต่จะได้โทษหนัก หรือเบา อย่างใดอย่างหนึ่ง

      1.นั่งในที่ ลับตา กับสตรีสองต่อสอง
      2.นั่งในที่ ลับหู กับสตรีสองต่อสอง

คำว่า อนิยต แปลว่า อาบัติที่ไม่แน่นอนว่าจะให้ปรับเป็นอาบัติปาราชิก, สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ กล่าวคือ เมื่อมีผู้พบเห็น หรือได้ยินว่าพระภิกษุอยู่กับสตรี ด้วยกัน สองต่อสอง โดยที่ไม่มีบุคคล ที่สาม (ชายผู้ที่รู้เดียงสา)อยู่ด้วย จึงได้ไปรายงาน ต่อพระวินัยธรให้ได้รับทราบ จากนั้นพระวินัยก็จะทำการไต่สวนกับ พระภิกษุผู้ถูก กล่าวหา หากพระภิกษุนั้นยอมรับสารภาพว่า ได้กระทำใดๆอย่างใดอย่างหนึ่งกับสตรี ที่อยู่ ด้วยกันตามที่โจกท์คฤหัสถ์ได้กล่าวหา ทางพระวินัยธรก็จะทำการวินิจฉัยว่า ควรจะให้ปรับอาบัติแบบไหน ตามแต่หนักหรือเบาตามทางของพระวินัย อย่างใด อย่างหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น

      *ถ้าพระภิกษุยอมรับว่าเสพเมถุนกับสตรี จึงให้ปรับอาบัติเป็น ปาราชิก
      *ถ้าพระภิกษุยอมรับว่าแตะต้องหรือพูดจาเกี้ยวพาราณาสีกับสตรี จึงให้ปรับ อาบัติเป็น สังฆาทิเสส
      *ถ้าพระภิกษุไม่ได้กระทำใดๆกับสตรี แต่อยู่ด้วยกันสองต่อสอง จึงให้ปรับอาบัติ เป็น ปาจิตตีย์


4. นิสสัคคิยปาจิตตีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ คือประเภทของโทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทประเภท ลหุกาบัติที่เรียกว่า อาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จัดเป็นอาบัติโทษเบา มีทั้งหมด 30 ประการ

คำว่า สัคคิยปาจิตตีย์ แปลว่า อาบัติประเภทที่พระภิกษุผู้กระทำผิด โดยการรับ หรือ ได้ของอย่างหนึ่งมา จะต้องทำการสละ ของนั้นก่อนจึงจะแสดงอาบัติได้ กล่าวคือ เมื่อพระภิกษุได้ทำการครองครอบ สิ่งของ จตุปัจจัย เช่น เงินทอง จีวร บาตร เป็นต้น อย่างมากเกินความจำเป็นจึงถือว่ามีโทษอาบัติ การจะปลงอาบัติ สัคคิยปาจิตตีย์ ได้นั้นจะต้องทำการสละสิ่งของที่มีอยู่ แล้วทำการปลงอาบัติได้

5. ปาจิตตีย์
เป็นชื่ออาบัติกองหนึ่ง ในเจ็ดกองของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา คำนี้แปลว่า การละเมิดอันยังกุศลให้ตก เป็นได้ทั้งชื่ออาบัติ และชื่อสิกขาบท ท่านแบ่งไว้เป็นสอง หมวด เรียกว่า นิสสัคคัยปาจิตตีย์ พวกหนึ่ง สุทธิกปาจิตตีย์ พวกหนึ่ง

นิสสัคคัยปาจิตตีย์ หมายความว่า ต้องอาบัติชื่อนี้ เพราะมีวัตถุเป็นตัวการคือ ทำให้ สละสิ่งของคือ สิ่งใดเป็นเหตุจึงต้องอาบัติ ทำให้สละสิ่งนั้น เป็นชื่อแห่งสิกขาบท แปลว่า ปรับโทษ ชื่อ นิสสัคคัยปาจิตตีย์ เวลาจะแสดงอาบัติต้องสละสิ่งนั้นก่อน จึงจะ แสดงโทษนั้นได้ เช่นต้องอาบัติเพราะทรงอดิเรกจีวรเกิน 10 วัน เวลาแสดงอาบัตินี้ ต้องสละอดิเรกจีวรที่ทรงไว้เกิน 10 วันนั้นก่อน จึงแสดงอาบัตินั้นได

สุทธิกปาจิตตีย์ คือ ปาจิตตีย์ล้วน ไม่มีสิ่งของอันเป็นเหตุให้ต้องอาบัติคือ ทำผิดอย่างใดตรงกับที่ห้าม ก็ต้องอาบัตินี้ เวลาแสดงอาบัติก็สารภาพตรง ๆ ตามที่ผิด เช่น ต้องอาบัติเพราะพูดเท็จ ก็สารภาพตามตรงว่าพูดเท็จ

6. ปาฏิเทสนียะ 4
ปาฏิเทสนียะคือประเภทหนึ่งของโทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทประเภท ลหุกาบัติที่เรียกว่า อาบัติปาฏิเทสนียะ จัดเป็นอาบัติโทษเบา มีทั้งหมด 4 ประการ

7. เสขิยวัตร
เสขิยวัตร เป็นส่วนหนึ่งของวินัยบัญญัติของภิกษุ (ศีล 227 ข้อ) กล่าวคือ วัตรที่ภิกษุจะต้องศึกษา จัดเป็น 4 หมวด ได้แก่
        สารูป (ว่าด้วยความเหมาะสมแก่สมณเพศในการประพฤติปฏิบัติต่อชุมชน)มี 26ข้อ
        โภชนปฏิสังยุต(ว่าด้วยการฉันอาหาร) มี 30 ข้อ
        ธัมมเทสนาปฏิสังยุต(ว่าด้วยการแสดงธรรม) มี 16 ข้อ
        ปกิณณกะ(เป็นหมวดเบ็ดเตล็ด) มี 3 ข้อ

ตัวอย่างที่พบได้ทั่วไป เช่น ภิกษุจะไม่ยืนถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ, ภิกษุจะไม่ยืน ดื่มน้ำ เป็นต้น


8.
โภชนปฏิสังยุต(ว่าด้วยการฉันอาหาร) มี 30 ข้อ

9.  ธัมมเทสนาปฏิสังยุต(ว่าด้วยการแสดงธรรม) มี 16 ข้อ

10.
ปกิณณกะ (เป็นหมวดเบ็ดเตล็ด) มี 3 ข้อ

11. อธิกรณสมถะ การทำอธิกรณ์ให้สงบระงับ
หมายถึง วิธีระงับอธิกรณ์ตามพระธรรมวินัย 7 อย่าง คือ

       1.สัมมุขาวินัย ตัดสินในที่พร้อมหน้าทั้ง โจทย์และจำเลยพร้อมพยาน ตามพยานหลักฐาน
       2.สติวินัย ถือสติเป็นหลัก การยกเลิกความผิดเพราะเป็นพระอรหันต์หรืออริยบุคคลที่จะไม่ทำผิดวินัยในข้อนั้นได้
       3.อมูฬหวินัย ผู้หายจากเป็นบ้า การเลิกความผิดเพราะผู้กระทำผิดนั้น วิกลจริต หรือเป็นบ้า
       4.ปฏิญญาตกรณะ ทำตามที่รับ การตัดสินตามการยอมรับผิด คำสารภาพของ ผู้กระทำผิด
       5.ตัสสปาปิยสิกา ลงโทษแก่ผู้ผิดที่ไม่รับ การลงโทษพยานผู้ที่ไม่ยอมพูดใน การสอบสวนของคณะสงฆ์
       6.เยภุยยสิกา การตัดสินตามมติเสียงข้างมาก
       7.ติณวัตถารกะ ดุจกลบไว้ด้วยหญ้า วิธีประณีประนอม การตัดสินยกฟ้อง เลิกแล้วต่อกัน(ในกรณีทะเลาะกัน)




 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์