เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 ทรงเทศนาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร ณ ราชคฤห์ เสด็จพร้อมภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป 402
 
 

(โดยย่อ)

ทรงเทศนาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร ณ ราชคฤห์
เสด็จพร้อมภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป ซึ่งอดีตเป็นสาวกของลัทธิ ชฎิล ๓ พี่น้อง ในการเสด็จครั้งนี้ มีชาว พราหมณ์ คหบดี และชาวมคธ จำนวน ๑๒ นหุต เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
(๑๒ นหุต เท่ากับ ๑๒๐,๐๐๐ คน หรือ ๑ นหุต เท่ากับ ๑๐.๐๐๐)

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงทราบความดำริในใจของพราหมณ์ คหบดีชาวมคธ ๑๒ นหุต นั้น ด้วย พระทัยของพระองค์ (ด้วยเจโตปริญญาณ ญาณรู้ใจผู้อื่น)

พระผู้มีพระภาคตรัสถาม
ท่านอุรุเวลกัสสป (หัวหน้าชฎิลที่พาศิษย์ทั้งหมดมาเข้าเฝ้า เพื่อขอ ประพฤติ พรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้) ว่า เหตุใดท่านจึงละเพลิงที่บูชา (บูชาไฟ)
ท่านอุรุเวลกัสสป ตอบว่า นั่นเป็นมลทินในอุปธิ(อุปาทาน) จึงไม่ยินดีในการเซ่นสรวงบูชา ไม่ยินดีแล้ว ในอารมณ์ คือรูปเสียง และรสเหล่านั้น

พระผู้มีพระภาคตรัสถาม
แล้วท่านยินดีสิ่งใดเล่า....
ท่านอุรุเวลกัสสป ตอบว่า.. ข้าพระพุทธเจ้าเห็นทางอันสงบ ไม่มี อุปธิ ไม่มีกังวลไม่ติดอยู่ในกามภพ ไม่มีภาวะเป็นอย่างอื่น ไม่ใช่ธรรม ที่ผู้อื่นแนะ ให้บรรลุ เพราะฉะนั้น

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงแสดง “อนุปุพพิกถา"คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมอง ของ กามทั้งหลาย และอานิสงส์ในความ ออกจากกาม ให้กับ พราหมณ์คหบดีชาวมคธ ทั้ง ๑๒ นหุต ตามด้วย คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ... พราหมณ์คหบดี ๑ นหุต(๑๐,๐๐๐คน) แสดงตนเป็นอุบาสก

พระเจ้าพิมพิสาร ได้ทรงเห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว เป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เชื่อผู้อื่น เชื่อคำสอนของพระศาสดา

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๔
วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑ หน้า ๕๐ -๕๖


ทรงเทศนาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร

เสด็จพระนครราชคฤห์ครั้งแรก


             [๕๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบล คยาสีสะ ตาม พระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จจาริกไป โดยมรรคาอันจะไปสู่พระนคร ราชคฤห์ พร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่จำนวน ๑๐๐๐ รูป ล้วนเป็น ปุราณชฎิล. (สาวกลัทธิชฎิล ๓ พี่น้อง)

              เสด็จจาริกโดยลำดับถึงพระนครราชคฤห์แล้ว. ทราบว่าพระองค์ประทับ อยู่ใต้ ต้นไทรชื่อ สุประดิษฐเจดีย์ ในสวนตาลหนุ่ม เขตพระนครราชคฤห์นั้น.

             [๕๗] พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ได้ทรงสดับข่าวถนัดแน่ว่า พระสมณโคดม ศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยตระกูล เสด็จพระนครราชคฤห์ โดยลำดับ ประทับอยู่ใต้ต้นไทร ชื่อสุประดิษฐเจดีย์ ในสวนตาลหนุ่ม เขตพระนคร ราชคฤห์ ก็แลพระกิตติศัพย์อันงาม ของท่านพระโคดมพระองค์นั้น ขจรไปแล้ว อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เอง โดยชอบ สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี ทรงทราบโลก ทรงเป็นสารถีฝึกบุรุษ ที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทพและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม

            พระองค์ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัด ด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง แล้วทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทพ และมนุษย์ให้รู้ ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะบริบูรณ์บริสุทธิ์ อนึ่ง การเห็น พระอรหันต์ ทั้งหลาย เห็นปานนั้น เป็นความดี.

              หลังจากนั้น พระเจ้าพิมพิสาร จอมเสนามาคธราช ทรงแวดล้อมด้วย พราหมณ์คหบดี ชาวมคธ ๑๒ นหุต* (๑ นหุต เท่ากับ หนึ่งหมื่น) เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาค ครั้นถึงจึงถวายบังคม พระผู้มีพระภาค แล้วประทับนั่ง ณที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
*(๑๒ นหุต เท่ากับ ๑๒๐,๐๐๐ คน)

              ส่วนพราหมณ์คหบดีชาวมคธ ๑๒ นหุต นั้นแล บางพวกถวายบังคม พระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกได้ทูลปราศรัยกับ พระผู้มี พระภาค ครั้นผ่านการทูลปราศรัย พอให้เป็นที่บันเทิง เป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประคองอัญชลี ไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประกาศนามและโคตร ในสำนักพระผู้มี พระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งบางพวกนั่งนิ่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

              ครั้งนั้น พราหมณ์คหบดีชาวมคธ ๑๒ นหุตนั้นได้มีความดำริว่า พระมหาสมณะ ประพฤติพรหมจรรย์ ในท่านอุรุเวลกัสสป หรือว่าท่าน อุรุเวลกัสสป ประพฤติพรหมจรรย์ในพระมหาสมณะ

  ชฎิล ๓ คน นำศิษย์มาเป็นสาวกของพระตถาคต และสำเร็จเป็นพระอรหันต์พร้อมกัน  
  ๑.อุรุเวลกัสสป เป็นหัวหน้า เป็นประธาน ของชฎิล ๕๐๐ คน
  ๒.นทีกัสสป เป็นหัวหน้าของชฎิล ๓๐๐ คน
  ๓.คยากัสสป เป็นหัวหน้าของชฎิล ๒๐๐ คน
  ทั้งหมด ๑,๐๐๐ คน รวมหัวหน้าอีก ๓ เป็น ๑,๐๐๓ คน

  อ้างอิง พระสูตร อาทิตตปริยายสูตร สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ตรัสสอนปราณชฎิล


              ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงทราบความดำริในใจของพราหมณ์ คหบดีชาวมคธ ๑๒ นหุตนั้น ด้วยพระทัยของพระองค์ ได้ตรัสกะ ท่านพระอุรุเวลกัสสป ด้วยพระคาถาว่า ดังนี้

              ดูกรท่าน ผู้อยู่ในอุรุเวลามานาน เคยเป็นอาจารย์ สั่งสอนหมู่ชฎิลผู้ผอม เพราะกำลังพรต ท่านเห็นเหตุอะไร จึงยอมละเพลิงเสียเล่า?

              ดูกรกัสสป เราถามเนื้อความนี้กะท่าน ท่านละเพลิงที่บูชาเสียทำไมเล่า?
ท่านพระ อุรุเวลกัสสป ทูลตอบว่า ยัญทั้งหลายกล่าวยกย่องรูปเสียง และรสที่น่า ปรารถนา และสตรีทั้งหลาย
ข้าพระพุทธเจ้ารู้ว่านั่นเป็นมลทินในอุปธิทั้งหลายแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงไม่ยินดี ในการเซ่นสรวง ในการบูชา.

              พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรกัสสป ก็ใจของท่านไม่ยินดีแล้วในอารมณ์ คือรูปเสียง และรสเหล่านั้น ดูกรกัสสป ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ใจของท่านยินดีในสิ่งไรเล่า ในเทวโลกหรือ มนุษยโลก ท่านจงบอกข้อนั้นแก่เรา?

              ท่านพระอุรุเวลกัสสปทูลตอบว่า ข้าพระพุทธเจ้าได้เห็นทางอันสงบ ไม่มี อุปธิ ไม่มีกังวลไม่ติดอยู่ในกามภพ ไม่มีภาวะเป็นอย่างอื่น ไม่ใช่ธรรม ที่ผู้อื่นแนะ ให้บรรลุ เพราะฉะนั้น จึงไม่ยินดีในการเซ่นสรวง ในการบูชา

             [๕๘] ลำดับนั้น ท่านพระอุรุเวลกัสสปลุกจากอาสนะ ห่มผ้าอุตราสงค์ เฉวียง บ่า ซบเศียร ลงที่พระบาทของพระผู้มีพระภาค แล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาค ว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดาของ ข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าเป็น สาวก พระผู้มีพระภาค เป็นพระศาสดา ของ ข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นสาวก พระพุทธเจ้าข้า.

              ลำดับนั้น พราหมณ์คหบดีชาวมคธ ทั้ง ๑๒ นหุต นั้น ได้มีความเข้าใจว่า ท่านพระอุรุเวลกัสสป ประพฤติพรหมจรรย์ในพระมหาสมณะ.

              ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกแห่งจิตของพราหมณ์คหบดี ชาวมคธ ทั้ง ๑๒ นหุตนั้น ด้วยพระทัยของพระองค์แล้ว ทรงแสดงอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมอง ของ กามทั้งหลาย และอานิสงส์ในความ ออกจากกาม.

              เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า พวกเขามีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิต ปลอด จากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงยก ขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

              ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความ เกิดขึ้นเป็น ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา ได้เกิดแก่พราหมณ์คหบดี ชาวมคธ ๑๑ นหุต ซึ่งมีพระเจ้าพิมพิสาร เป็นประมุข ณ ที่นั่งนั้นแล ดุจผ้าที่สะอาด ปราศจากมลทิน ควรได้รับน้ำ ย้อมเป็นอย่างดีฉะนั้น.

พราหมณ์คหบดีอีก ๑ นหุต แสดงตนเป็นอุบาสก.

              [๕๙] ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ได้ทรงเห็นธรรมแล้ว ได้ทรง บรรลุธรรมแล้ว ได้ทรงรู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว ทรงมีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ทรงข้าม ความสงสัย ได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ทรงถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องทรงเชื่อผู้อื่น ในคำสอน ของพระศาสดา ได้ทูลพระวาจานี้ต่อพระผู้มีพระภาค ว่าครั้งก่อน เมื่อหม่อมฉันยังเป็น ราชกุมาร ได้มีความปรารถนา ๕ อย่าง บัดนี้ความ ปรารถนา ๕ อย่างนั้นของหม่อมฉันสำเร็จแล้ว.

ความปรารถนา ๕ อย่าง

             ๑. ครั้งก่อน เมื่อหม่อมฉันยังเป็นราชกุมาร ได้มีความปรารถนาว่า ไฉนหนอ ชนทั้งหลาย พึงอภิเษกเราในราชสมบัติดังนี้ นี้เป็นความปรารถนาของหม่อมฉัน ประการที่ ๑ บัดนี้ ความปรารถนา นั้น ของหม่อมฉันสำเร็จแล้ว พระพุทธเจ้าข้า

             ๒. ขอพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พึงเสด็จมาสู่แว่นแคว้นของหม่อมฉัน นั้น นี้เป็นความปรารถนาของหม่อมฉันประการที่ ๒ บัดนี้ ความปรารถนานั้นของ หม่อมฉัน สำเร็จ แล้วพระพุทธเจ้าข้า

             ๓.
ขอหม่อมฉันพึงได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น นี้เป็นความ ปรารถนา ของ หม่อมฉันประการที่ ๓ บัดนี้ ความปรารถนานั้น ของหม่อมฉันสำเร็จ แล้ว พระพุทธเจ้าข้า

             ๔
. ขอพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น พึงแสดงธรรมแก่หม่อมฉัน นี้เป็นความ ปรารถนา ของ หม่อมฉันประการที่ ๔ บัดนี้ความปรารถนานั้น ของหม่อมฉันสำเร็จแล้ว พระพุทธเจ้าข้า

             ๕.
ขอหม่อมฉันพึงรู้ทั่วถึงธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น นี้เป็นความ ปรารถนา ของหม่อมฉันประการที่ ๕ บัดนี้ ความปรารถนานั้น ของหม่อมฉันสำเร็จแล้ว พระพุทธเจ้าข้า พระพุทธเจ้าข้า ครั้งก่อนหม่อมฉันยังเป็นราชกุมาร ได้มีความปรารถนา ๕ อย่างนี้

            บัดนี้ความปรารถนา ๕ อย่างนั้นของหม่อมฉันสำเร็จแล้ว ภาษิตของพระองค์ แจ่มแจ้ง นัก ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงประกาศธรรม โดย อเนกปริยาย อย่างนี้ ปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทาง แก่คน หลงทาง หรือส่อง ประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้

            หม่อมฉันนี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์ จงทรงจำ หม่อมฉันว่า เป็นอุบาสกผู้มอบ ชีวิตถึงสรณะจำเดิมแต่วันนี้ เป็นต้นไป และขอ พระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จงทรงรับ ภัตตาหารของ หม่อมฉัน ในวันพรุ่งนี้.

พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยดุษณีภาพ.

             ครั้นพระเจ้าพิมพิสาร จอมเสนามาคธราชทรงทราบ การรับนิมนต์ของ พระผู้มีพระภาคแล้ว เสด็จลุกจากที่ประทับถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทรงทำประทักษิณแล้ว เสด็จกลับไป.

             [๖๐] หลังจากนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช รับสั่งให้ตกแต่ง ของเคี้ยว ของฉัน อันประณีตโดยผ่านราตรีนั้น แล้วให้เจ้าพนักงาน ไปกราบทูล ภัตตกาลแด่ พระผู้มีพระภาค ว่าถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว.

              ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาค ทรงอันตรวาสกแล้ว ทรงถือ บาตรจีวร เสด็จพระพุทธดำเนิน สู่พระนครราชคฤห์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ จำนวน ๑๐๐๐ รูป ล้วนปุราณชฎิล.

             [๖๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ท้าวสักกะจอมทวยเทพ ทรงนิรมิตเพศเป็นมาณพ เสด็จพระดำเนิน นำหน้าภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข พลางขับคาถาเหล่านี้ ว่าดังนี้:-

คาถาสดุดีพระผู้มีพระภาค

พระผู้มีพระภาค มีพระฉวีเสมอด้วยลิ่มทองสิงคี ทรงฝึก
อินทรีย์แล้ว ทรงพ้นวิเศษแล้ว เสด็จประเวศสู่พระนคร
ราชคฤห์พร้อมด้วยพระปุราณชฎิลทั้งหลาย ผู้ฝึกอินทรีย์
แล้ว ผู้พ้นวิเศษแล้ว.

พระผู้มีพระภาค มีพระฉวีเสมอด้วยลิ่มทองสิงคี ทรงพ้น
แล้ว ทรงพ้นวิเศษแล้ว เสด็จประเวศสู่พระนครราชคฤห์
พร้อมด้วยพระปุราณชฎิลทั้งหลาย ผู้พ้นแล้ว ผู้พ้นวิเศษ
แล้ว. พระผู้มีพระภาคมีพระฉวีเสมอด้วยลิ่มทองสิงคี
ทรงข้ามแล้ว ทรงพ้นวิเศษแล้ว เสด็จประเวศสู่พระนคร
ราชคฤห์ พร้อมด้วยพระปุราณชฎิลทั้งหลาย ผู้พ้นแล้ว
ผู้พ้นวิเศษแล้ว.

พระผู้มีพระภาค มีพระฉวีเสมอด้วยลิ่มทองสิงคี ทรงสงบ
แล้ว ทรงพ้นวิเศษแล้ว เสด็จประเวศสู่พระนครราชคฤห์
พร้อมด้วยพระปุราณชฎิลทั้งหลาย ผู้สงบแล้ว ผู้พ้นวิเศษ
แล้ว.


พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงมีอริยวาสธรรม ๑๐ ประการ
เป็นเครื่องอยู่ ทรงประกอบด้วยพระกำลัง ๑๐ ทรงทราบ
ธรรม คือ กรรมบถ ๑๐ และทรงประกอบด้วยธรรมอันเป็นองค์
ของพระอเสขะ ๑๐ มีภิกษุบริวารพันหนึ่ง เสด็จประเวศสู่พระนครราชคฤห์


             [๖๒] ประชาชนได้เห็นท้าวสักกะจอมทวยเทพแล้วพากันกล่าวอย่างนี้ว่า พ่อหนุ่มนี้ มีรูปงามยิ่งนัก น่าดูนัก น่าชมนัก พ่อหนุ่มนี้ของใครหนอ.

             เมื่อประชาชนกล่าวอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกะจอมทวยเทพ ได้กล่าวตอบ ประชาชนพวกนั้นด้วยคาถา ว่าดังนี้:- พระผู้มีพระภาคพระองค์ใดเป็นนักปราชญ์ ทรงฝึกอินทรีย์ ทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ผ่องแผ้วหาบุคคลเปรียบมิได้ ไกลจาก กิเลส เสด็จไปดีแล้ว ในโลก ข้าพเจ้าเป็นผู้รับใช้ของพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น.

ทรงรับพระเวฬุวันเป็นสังฆิกาวาส

             [๖๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จพระพุทธดำเนินไปสู่พระราชนิเวศน์ ของ พระเจ้าพิมพิสาร จอมเสนามาคธราช ครั้นถึงแล้ว ประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ ที่เขา จัดถวายพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์. จึงพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ทรงอังคาส ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วย ขาทนียโภชนี ยาหาร อันประณีต ด้วย พระหัตถ์ของพระองค์ จนให้พระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จทรงนำพระหัตถ์ ออกจาก บาตร ห้ามภัตแล้ว จึงประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

              ท้าวเธอได้ทรงพระราชดำริว่า พระผู้มีพระภาคพึงประทับอยู่ ณ ที่ไหน ดีหนอ ซึ่งจะเป็นสถานที่ ไม่ไกล ไม่ใกล้จากบ้านนัก สะดวกด้วยการคมนาคม ควรที่ประชาชน ผู้ต้องประสงค์จะเข้าไปเฝ้าได้ กลางวันไม่พลุกพล่าน กลางคืน เงียบสงัด เสียงไม่กึกก้อง ปราศจากลมแต่ชนที่เดินเข้าออก ควรเป็นที่ ประกอบกิจ ของผู้ต้องการที่สงัด และควรเป็น ที่หลีกเร้นอยู่ตามสมณวิสัย.

              แล้วได้ทรงพระราชดำริต่อไปว่า สวนเวฬุวันของเรานี้แล ไม่ไกลไม่ใกล้ จากบ้านนัก สะดวกด้วยการคมนาคม ควรที่ประชาชนผู้ต้องประสงค์จะพึงเข้าไป เฝ้าได้ กลางวันไม่พลุกพล่าน กลางคืนเงียบสงัด เสียงไม่กึกก้อง ปราศจากลมแต่ชน ที่เข้าออก ควรเป็นที่ประกอบกิจของผู้ต้องการที่สงัด และควรเป็นที่หลีกเร้นอยู่ตาม สมณวิสัย ผิฉะนั้น เราพึงถวายสวนเวฬุวันแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็น ประมุข ดังนี้.

              ลำดับนั้น จึงทรงจับพระสุวรรณภิงคาร ทรงหลั่งน้ำน้อมถวาย แด่พระผู้มี พระภาค ด้วย พระราช ดำรัสว่า หม่อมฉันถวายสวนเวฬุวันนั่น แก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขพระพุทธเจ้าข้า.

              พระผู้มีพระภาคทรงรับอารามแล้ว. และทรงชี้แจงให้พระเจ้าพิมพิสาร จอม เสนามาคธราช ทรงเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา แล้วเสด็จ ลุกจาก ที่ประทับเสด็จกลับ.

              ต่อมา พระองค์ทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น แล้วรับสั่งกะ ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอาราม.

ทรงเทศนาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร จบ

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์