เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ปฏิปทาเพิกถอนความมั่นหมายทั้งปวง 353  
 
เนื้อหาในพระสูตรนี้พอสังเขป

 
 
 

หน้า 510 อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น)

ปฏิปทาเพิกถอนความมั่นหมายทั้งปวง
(ปรินิพพานเฉพาะตน ผลแห่งการถอนความมั่นหมายในธรรมทั้งปวง โดยความหมาย สี่สถาน)

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดง “ปฏิปทาอันสมควรแก่การเพิกถอนความมั่นหมายทั้งปวง” แก่พวกเธอ พวกเธอจงฟังจงทำในใจให้ดี เราจักกล่าวปฏิปทาอันสมควรแก่การ เพิกถอนความมั่นหมายทั้งปวง เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุท. ! ภิกษุในกรณีนี้ :-
ไม่มั่นหมาย ซึ่งจักษุ 
ไม่มั่นหมาย ในจักษุ
ไม่มั่นหมาย โดยความเป็นจักษุ
ไม่มั่นหมาย จักษุว่าของเรา 
ไม่มั่นหมาย ซึ่งรูปทั้งหลาย 
ไม่มั่นหมาย ในรูปทั้งหลาย
ไม่มั่นหมาย โดยความเป็นรูปทั้งหลาย
ไม่มั่นหมาย รูปทั้งหลายว่า ของเรา

ไม่มั่นหมาย ซึ่ง จักขุวิญญาณ ไม่มั่นหมาย ใน จักขุวิญญาณ ไม่มั่นหมาย โดย ความเป็นจักขุวิญญาณ ไม่มั่นหมายจักขุวิญญาณ ว่าของเรา ;

ไม่มั่นหมาย ซึ่ง จักขุสัมผัส ไม่มั่นหมาย ใน จักขุสัมผัส ไม่มั่นหมายโดย ความเป็นจักขุสัมผัส ไม่มั่น หมายจักขุสัมผัสว่าของเรา ;

ไม่มั่นหมาย ซึ่ง เวทนา ไม่มั่นหมาย ใน เวทนา ไม่มั่นหมาย โดยความเป็นเวทนา ไม่มั่นหมายเวทนา ว่าของเรา ซึ่งเป็น เวทนาอันเกิดจากจักขุ-สัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม อันเป็นอทุกขมสุขก็ตาม.

(ในกรณีแห่งหมวด โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็ได้ตรัสไว้ด้วยข้อความทำนองเดียวกันกับ ข้อความในกรณีแห่งหมวดจักษุข้างบนนี้ ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น).

ไม่มั่นหมาย ซึ่ง (ปรารถนาตรงนั้น) สิ่งทั้งปวง ไม่มั่นหมาย ใน (สิ่งที่เป็นอยู่) สิ่งทั้งปวง ไม่มั่นหมาย โดย (อยู่กับสิ่งนั้นแล้วพอใจคุณสมบัติสิ่งนั้น) ความเป็นสิ่งทั้งปวง ไม่มั่นหมายสิ่งทั้งปวง ว่าของเรา. 

ภิกษุนั้น เมื่อไม่มั่นหมายอยู่อย่างนี้ก็ไม่ถือมั่นสิ่งใดๆในโลกเมื่อไม่ถือมั่น ก็ไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ก็ปรินิพพานเฉพาะตน นั่นเทียว.

เธอนั้นย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว 
กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อ ความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก”
ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! นี้แล คือ “ปฏิปทาอันสมควรแก่การเพิกถอนความมั่นหมาย ทั้งปวงนั้น”

(ในสูตรถัดไป เมื่อได้ตรัสข้อความอย่างเดียวกันกับในสูตรข้างบนนี้ ครบทั้งหก อายตนะ แล้ว ซึ่งในตอนท้าย แห่งอายตนะ หมวดหนึ่งๆนั้น ได้ตรัสข้อความเพิ่มเติม ต่อไปอีก ดังข้อความข้างล่างนี้ และได้ทรงเรียกชื่อ ปฏิปทานี้เสียใหม่ว่า “ปฏิปทา เป็นเครื่องสะดวกแก่การเพิกถอนเสีย ซึ่งความมั่นหมายสิ่งทั้งปวง”)

ภิกษุ ท. ! ก็ภิกษุย่อมมั่นหมาย ซึ่ง สิ่งใด มั่นหมาย ใน สิ่งใดมั่นหมาย โดย ความเป็น สิ่งใด มั่นหมาย สิ่งใด ว่าของเราสิ่งที่เขามั่นหมายนั้นย่อมเป็น โดยประการอื่นจาก ที่เขามั่นหมายนั้น. สัตว์โลกผู้ข้องอยู่ในภพเพลิดเพลิน อยู่ในภพนั่นแหละ จักเป็นผู้มีความเป นโดยประการอื่น.

(ข้อความต่อไปนี้ได้ตรัสหลังจากตรัสข้อความในหมวดที่หก คือหมวดมนายตนะ จบแล้ว) ภิกษุ ท.! ขันธ์ธาตุอายตนะ มีอยู่มีประมาณเท่าใด ; ภิกษุย่อมไม่มั่น หมายแม้ ซึ่งขันธ์ธาตุอายตนะนั้น ไม่มั่นหมายแม้ในขันธ์ธาตุอายตนะนั้น ไม่มั่นหมาย แม้โดย ความเป็นขันธ์ธาตุอายตนะนั้น ไม่มั่นหมายขันธ์ธาตุอายตนะ นั้น ว่าของเรา. 

ภิกษุนั้น เมื่อไม่มั่นหมายอยู่อย่างนี้ ก็ไม่ถือมั่นสิ่งใดๆในโลก เมื่อไม่ถือมั่นก็ไม่ สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ก็ปรินิพพาน เฉพาะตนนั่นเทียว, เธอนั้นย่อมรู้ชัดว่า “ ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้วกิจ ที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้วกิจอื่นที่จะต้อง ทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! นี้แล คือ “ปฏิปทาเป็นเครื่องสะดวกแก่การเพิกถอนความมั่นหมายสิ่งทั้งปวงนั้น” (คำว่า ถอนความมั่นหมายโดยความหมายสี่สถาน นั้น คือ 
๑. ไม่มั่นหมาย ซึ่งสิ่งนั้น
๒. ไม่มั่นหมาย ในสิ่งนั้น
๓. ไม่มั่นหมาย โดยเป็นสิ่งนั้น 
๔. ไม่มั่นหมาย สิ่งนั้นว่าของเรา ดังนี้.

   
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์