เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  โมคคัลลานสังยุตต์ เสด็จเข้าไปหาโมคคัลลานะขณะทำสมาธิ
                    
333  
 
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก

โมคคัลลานสังยุตต์



             [๕๑๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหา โมคคัลลานะแล้ว ท่านพระมหา โมคคัลลานะ ได้กล่าวกะภิกษุ เหล่านั้นว่า
             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลายขอโอกาส เมื่อเราหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ความปริวิตกแห่งใจ ได้เกิดขึ้น อย่างนี้ว่าที่เรียกว่า ปฐมฌานๆ ดังนี้ ปฐมฌาน เป็นไฉนหนอ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุใน พระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติ  และสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ นี้เรียกว่า ปฐมฌาน เราก็สงัด จากกามสงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ อันประกอบด้วย กามย่อมฟุ้งซ่านครั้งนั้นแล  พระผู้มีพระภาค เสด็จเข้าไปหาเรา ด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทปฐมฌาน จงดำรงจิตไว้ ในปฐมฌาน จงกระทำจิต ให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในปฐมฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นใน ปฐมฌาน
             สมัยต่อมา เราสงัดจากกาม สงัด  จากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานอันมี วิตกวิจาร มีปีติ และสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอัน พระศาสดา ทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูกพึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดา ทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่

             [๕๑๖] ที่เรียกว่า ทุติยฌานๆ ดังนี้ ทุติยฌานเป็นไฉนหนอ เราได้มี ความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าทุติยฌานอันมีความ ผ่องใสแห่ง  จิตในภายใน เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไปมีปีติ และสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้เรียกว่าทุติยฌาน เราก็เข้าทุติยฌาน อันมีความ ผ่องใส แห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตก วิจารสงบไป มีปีติ และสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบ ด้วยวิตกย่อมฟุ้งซ่าน
             ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์  แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาททุติยฌาน จงดำรงจิตไว้ในทุติยฌาน จงกระทำจิตให้ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในทุติยฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในทุติย  ฌาน สมัยต่อมา เราเข้า ทุติยฌานอันมีความผ่องใส แห่งจิต ในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ อยู่ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคล เมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระ ศาสดาทรงอนุเคราะห์ แล้ว ถึงความ เป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูด ให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดา ทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่

             [๕๑๗] ที่เรียกว่า ตติยฌานๆ ดังนี้ ตติยฌานเป็นไฉนหนอ เราได้มี ความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย นามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข นี้เรียกว่าตติยฌาน--- เราก็มีอุเบกขา มีสติ มี สัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไปเข้า ตติยฌานที่พระอริยเจ้า ทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขามีสติ อยู่เป็นสุข เมื่อเราอยู่ด้วย  วิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยปีติ ย่อมฟุ้งซ่านครั้งนั้นแล พระผู้มี  พระภาคเสด็จ เข้าไปหาเรา ด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่าโมคคัลลานะๆ เธออย่า ประมาท ตติยฌาน จงดำรงจิตไว้ในตติยฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในตติยฌานจงตั้งจิตไว้ในตติยฌาน
             สมัยต่อมาเรามีอุเบกขา มีสติ มีสัม ปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติ สิ้นไปเข้า ตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย  สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มี อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ดูกรผู้มีอายุทั้งหลายก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูกพึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึง ความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ ถูกพึง พูดคำนั้นกะเราว่าสาวกอัน พระศาสดา ทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ ยิ่งใหญ่

             [๕๑๘] ที่เรียกว่า จตุตถฌานๆ ดังนี้ จตุตถฌานเป็นไฉนหนอ เราได้มี ความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขเพราะ ละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่าจตุตถฌานเราก็เข้า จตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละ  สุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้มีอุเบกขาเป็นเหตุ ให้สติบริสุทธิ์อยู่เมื่อเราอยู่ด้วย วิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ อันประกอบ ด้วยสุขย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค เสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า
             โมคคัลลานะๆ  เธออย่าประมาทจตุตถฌาน จงดำรงจิต ไว้ใน จตุตถฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในจตุตถฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในจตุตถฌาน สมัยต่อมา เราเข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และ ดับ โสมนัสโทมนัสก่อนๆได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคล เมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่าสาวกอัน พระศาสดา ทรง อนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็น ผู้รู้ยิ่งใหญ่

             [๕๑๙] ที่เรียกว่า อากาสานัญจายตนฌานๆ ดังนี้ อากาสา นัญจายตนฌาน เป็นไฉนหนอ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เสียได้เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้ เพราะไม่กระทำไว้ในใจ ซึ่ง นานัตตสัญญาโดย ประการทั้งปวง นี้เรียกว่าอากาสานัญจายตนฌาน เราก็เข้า อากาสานัญจายตนฌาน ด้วยคำนึงว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูป สัญญาเสียได้ เพราะดับปฏิฆสัญญา เสียได้ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญา โดยประการ ทั้งปวง เมื่อเราอยู่ด้วย  วิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ อันประกอบด้วยรูป สัญญาย่อมฟุ้งซ่าน
             ครั้งนั้นแลพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ  เธออย่าประมาทอากาสานัญจายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในอากาสา นัญจายตนฌาน จงกระทำจิตให้ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในอากาสานัญจายตนฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นใน อากาสานัญจายตนฌาน สมัยต่อมา เราเข้าอากาสา นัญจายตน ฌาน ด้วยคำนึงว่า อากาศหาที่สุด มิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เสียได้ เพราะดับปฏิฆ สัญญา เสียได้ เพราะไม่กระทำ ไว้ในใจ ซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการ ทั้งปวง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลายก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดา ทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้น กะเราว่า สาวก อันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็น ผู้รู้ยิ่งใหญ่

             [๕๒๐] ที่เรียกว่า วิญญาณัญจายตนฌานๆ ดังนี้ วิญญาณัญจาย ตนฌาน เป็นไฉนหนอ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าวิญญา ณัญจายตนฌาน ด้วยคำนึงว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตน ฌาน เสียได้โดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่า วิญญาณัญ จายตนฌาน เราก็เข้าวิญญา ณัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า วิญญาณ หาที่สุดมิได้ เพราะล่วง อากาสานัญจายตน ฌาน เสียได้โดยประการทั้งปวง เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ อันประกอบ ด้วยอากาสานัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่าน
             ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จ เข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทวิญญาณัญจายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในวิญญาณัญจา ยตนฌาน จงกระทำจิตให้เป็น ธรรมเอกผุดขึ้น ในวิญญาณัญจายตนฌานจงตั้งจิต ไว้ให้มั่นในวิญญาณัญจายตนฌาน สมัยต่อมา เราเข้าวิญญาณัญจายตนฌานด้วย คำนึง ว่าวิญญาณ  หาที่สุดมิได้ เพราะล่วง อากาสานัญจายตน ฌานเสียได้โดย ประการ ทั้งปวงดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวก อันพระศาสดา ทรงอนุเคราะห์ ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่

             ๕๒๑] ที่เรียกว่า อากิญจัญญายตนฌานๆ ดังนี้ อากิญจัญญายตน ฌานเป็นไฉนหนอ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าอากิญ จัญญายตนฌานด้วยคำนึงว่า สิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วง วิญญาณัญจายตน ฌาน  เสียได้โดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่า อากิญจัญญายตนฌาน เราก็เข้า อากิญ จัญญายตนฌาน ด้วยคำนึงว่า สิ่งอะไร หน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจาย ตนฌาน เสียได้โดยประการ ทั้งปวง เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ อันประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มีภาค เสด็จเข้าไป หาเรา ด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า
             โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาท อากิญจัญญายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ใน อากิญจัญญายตนฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในอากิญจัญญายตนฌาน จงตั้งจิต ไว้ให้มั่นในอากิญจัญญายตนฌาน สมัยต่อมาเราเข้า อากิญจัญญายตนฌาน ด้วยคำนึงว่า สิ่งอะไร หน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วง วิญญาณัญจายตนฌาณ เสียได้โดย ประการทั้งปวง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวก อันพระศาสดา ทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็น ผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่

             [๕๒๒] ที่เรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนฌานๆ ดังนี้ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เป็นไฉนหนอ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุใน พระธรรมวินัย นี้เข้า เนวสัญญานา สัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญ จัญญายตน ฌาน เสียได้โดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่า เนวสัญญานา สัญญายตนฌาน เราก็เข้า เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วง อากิญจัญญายตนฌานเสียได้โดย ประการทั้งปวง เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ อันประกอบด้วย อากิญจัญญายตนะ ย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไป หาเราด้วย พระฤทธิ์ แล้วได้ ตรัสว่า โมคคัลลานะ
             โมคคัลลานะเธออย่าประมาทเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ใน เนวสัญญา นาสัญญายตนฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่น ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน สมัยต่อมา เราเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วง อากิญจัญญายตนฌานเสียได้ โดยประการทั้งปวง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดา ทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูด ให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว  ถึงความเป็นผู้รู้ ยิ่งใหญ่

             [๕๒๓] ที่เรียกว่า อนิมิตตเจโตสมาธิๆ ดังนี้ อนิมิตตเจโตสมาธิ เป็นไฉนหนอ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าอนิมิตตเจโต สมาธิ อยู่ เพราะไม่กระทำไว้ในใจ ซึ่งนิมิตทั้งปวง นี้เรียกว่าอนิมิตตเจโตสมาธิ เราก็เข้าอนิมิตตเจโตสมาธิอยู่ เพราะไม่กระทำไว้ในใจ ซึ่งนิมิตทั้งปวง เมื่อเราอยู่ด้วย วิหารธรรมนี้ วิญญาณอันซ่านไปตามซึ่งอนิมิต ย่อมมีครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จ เข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะ
             โมคคัลลานะ เธออย่าประมาท อนิมิตตเจโตสมาธิ จงดำรงจิตไว้ใน อนิมิตต เจโตสมาธิ จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในอนิมิตตเจโตสมาธิ จงตั้งจิต ไว้ให้มั่นในอนิมิตตเจโตสมาธิ
             สมัยต่อมาเราเข้าอนิมิตตเจโตสมาธิอยู่ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิต ทั้งปวง ดูกรผู้มี อายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอัน พระศาสดา ทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรง อนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่

   
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์