เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 ภัยและอุปสรรค ย่อมเกิดแต่คนพาล(อุปัทวะ) ไม่ใช่เกิดแต่บัณฑิต 330  
 
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๑๓๓

ภัยและอุปสรรค ย่อมเกิดแต่คนพาล ไม่ใช่เกิดแต่บัณฑิต



            [๒๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ

            [๒๓๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยไม่ว่าชนิด ใดๆที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่บัณฑิตอุปัทวะไม่ว่าชนิดใดๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่บัณฑิต อุปสรรคไม่ว่าชนิดใดๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาลไม่ใช่เกิดขึ้นแต่ บัณฑิต

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไฟลุกลามแล้วแต่เรือนไม้อ้อ หรือ เรือนหญ้า ย่อมไหม้ได้กระทั่งเรือนยอดที่โบกปูน มีบานประตูสนิทปิดหน้าต่างไว้ ฉันใด

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภัยไม่ว่าชนิดใดๆที่เกิดขึ้นทั้งหมด นั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่ บัณฑิตอุปัทวะ* ไม่ว่าชนิดใดๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่บัณฑิต อุปสรรคไม่ว่าชนิดใดๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งหมดนั้นย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่บัณฑิต

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดังนี้แล คนพาลจึงมีภัยเฉพาะหน้า บัณฑิตไม่มีภัย เฉพาะหน้า คนพาลจึงมี อุปัทวะ* บัณฑิต ไม่มีอุปัทวะ คนพาลจึงมีอุปสรรคบัณฑิต ไม่มีอุปสรรค ภัย อุปัทวะ* อุปสรรค ไม่มีแต่บัณฑิต ดูกรภิกษุทั้งหลายเพราะฉะนั้นแล พวกเธอพึงศึกษาไว้อย่างนี้เถิดว่า จักเป็นบัณฑิต ฯ
*(อุปัทวะ แปลว่า อุบาทว์ อัปรีย์ จัญไร ไม่เป็นมงคล)

            [๒๓๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้ทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จะควรเรียกว่า ภิกษุเป็นบัณฑิต มีปัญญา พิจารณา ด้วยเหตุเท่าไรหนอแลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

             ดูกรอานนท์ เพราะภิกษุเป็นผู้ฉลาดในธาตุฉลาดในอายตนะ ฉลาดใน ปฏิจจสมุปบาท และฉลาดใน ฐานะ และ อฐานะ ดูกรอานนท์ ด้วยเหตุเท่านี้แล จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุเป็นบัณฑิต มีปัญญาพิจารณา


   
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์