เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

รวมเรื่อง อสัญญีสัตว์ .. อสัญญีสัตว์ คือ สัตตาวาสชั้นที่ ๕ ในหมู่ของเทวดาชั้นรูปภพ 1629
  (ย่อ)

อสัญญีสัตว์
หมายถึงเทวดาชั้นรูปภพ(ชั้นพรหม) ที่มีรูป แต่ไม่มีสัญญา เป็นสัตตาวาสชั้นที่๕
สัตตาวาส ๙ อย่าง
๑. สัตว์ที่มีกายต่างกันมีสัญญาต่างกัน เช่นพวกมนุษย์ เทวดาบางพวก วินิปาติกะบางพวก
๒. สัตว์ที่มีกายต่างกันมีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพ ผู้นับเนื่องในพวกพรหม (ผู้ที่ได้ปฐมน)
๓. สัตว์ที่มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เช่นพวกเทพเหล่า อาภัสสระ (พวกพรหม)
๔. สัตว์ที่มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพเหล่า สุภกิณหา (พวกพรหม)
๕. สัตว์ที่ไม่มีสัญญา ไม่รู้สึกเสวยอารมณ์(เวทนา) เช่นพวกเทพ เหล่า อสัญญีสัตว์
๖. สัตว์พวกหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญา แล้วเข้าถึง อากาสานัญจายตนะ (เทวดาอรูป)
๗. สัตว์พวกหนึ่ง เพราะล่วงซึ่งอากาสานัญจายตนะ แล้วเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ (เทวดาอรูป)
๘. สัตว์พวกหนึ่งเพราะล่วงเสียซึ่งวิญญานัญจายตนะ แล้วเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ (เทวดาอรูป)
๙. สัตว์พวกหนึ่งล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะ แล้วเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ(เทวดาอรูป)


(อสัญญีสัตว์ พบในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ เล่มที่ ๑๑ เล่มที่ ๑๒ เล่มที่ ๒๓ นอกนั้นเป็นอรรถกถา)

1) พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙สุตตันตปิฎก หน้า ๒๖ - ๒๘
อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ ๒ / ตรัสกับภิกษุทั้งหลาย
[๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
2) พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๔ - ๒๕
๔. อัคคัญญสูตร-อสัญญีสัตว์ / ตรัสกับ ภัคควะ
ดูกรท่านทั้งหลาย มีเทวดาเหล่าอสัญญีสัตว์
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
3) พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๓๘- ๒๔๑
สัตตาวาส ๙ อย่าง / ตรัสกับภิกษุทั้งหลาย
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
4) พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๗๙ - ๒๘๐
ธรรม ๙ อย่างที่ควรกำหนดรู้ / ตรัสกับผู้มีอายุทั้งหลาย
[๔๕๗] ธรรม ๙ อย่างที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน ได้แก่สัตตาวาส ๙
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
5) พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑-๑๐
๑. มูลปริยายสูตร/ ว่าด้วยมูลเหตุแห่งธรรมทั้งปวง / ตรัสกับผู้มีอายุทั้งหลาย
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โคนไม้พญารัง ในสุภควัน
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
6) พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๓๒๓ - ๓๒๔
ววัตถสัญญาสูตร /ตรัสกับภิกษุทั้งหลาย
[๒๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตตาวาส ๙ ชั้น ๙ ชั้นเป็นไฉน

เรื่องอสัญญีสัตว์ เปรียบเทียบ วิญญาณฐิติ 7 อายตนะ 2 กับ สัตตาวาส 9 ชั้น
  วิญญาณฐิติ 7 สัตตาวาส 9
1 สัตว์ที่มีกายต่างกัน สัญญาต่างกัน   (มนุษย์ เทพบางพวก วินิบาตบางพวก) 1 มนุษย์ เทพบางพวก วินิบาตบางพวก
2 สัตว์ที่มีกายต่างกัน สัญญาอย่างเดียวกัน (เทพในชั้นพรหม ได้สมาธิปฐมฌาน) 2 เทพชั้นพรหม และผู้ได้สมาธิฌาน 1
3 สัตว์ที่มีกายอย่างเดียวกัน สัญญาต่างกัน (เทพชั้นอาภัสสร) 3 เทพชั้นอาภัสสร และผู้ได้ฌาน 2
4 สัตว์ที่มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน (เทพชั้นสุภกิณหะ ) 4 เทพชั้นสุภกิณหะ และผู้ได้ฌาน 3
5 สัตว์ที่เข้าถึงชั้น อากาสานัญจายตนะ (ล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆะสัญญา ) 5 อสัญญีสัตว์(พรหม) (มีแต่รูปและวิญญาณ)
6 สัตว์ที่เข้าถึงชั้น วิญญาณัญจายตนะ (วิญญาณหาที่สุดมิได้เพราะล่วงชั้นอากาสา) 6 เทวดาชั้น อากาสานัญจายตนะ (อรูป)
7 สัตว์ที่เข้าถึงชั้น อากิญจัญญายตนะ (เพราะล่วงชั้นวิญญาณัญจายตนะ ) 7 เทวดาชั้น วิญญาณัญจายตนะ (อรูป)
  อายตนะ 2   8 เทวดาชั้น อากิญจัญญายตนะ (อรูป)
1 อสัญญีสัตตายตนะ  (รู้ความเกิด-ดับ รู้คุณ-โทษ รู้อุบายเครื่องออกไปจากอสัญญีสัตตายตนะ) 9 เทวดาชั้น เนวสัญญานาสัญญา (อรูป)
2 เนวสัญญานาสัญญายตนะ (รู้ความเกิด-ดับ รู้คุณ-โทษ รู้อุบายเครื่องออกไปจากเนวสัญญา...)   (ววัตถสัญญาสูตร P1629 )
 


(1)

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๒๖ - ๒๘

อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ ๒
(ตรัสกับภิกษุทั้งหลาย)

            [๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่าอัตตาและโลก เกิดขึ้นลอยๆ ย่อมบัญญัติอัตตา และโลกว่าเกิดขึ้นลอยๆ ด้วยเหตุ ๒ ประการ ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญพวกนั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่า อัตตาและโลก เกิดขึ้นลอยๆ ย่อมบัญญัติอัตตา และโลกว่าเกิดขึ้นลอยๆ ด้วยเหตุ ๒ ประการ?

            ๑๗. (๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเทวดาชื่อว่า อสัญญีสัตว์ มีอยู่ ก็และ เทวดาเหล่านั้น ย่อมจุติจากชั้นนั้น เพราะความเกิดขึ้นแห่งสัญญา

            
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แลที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่ง จุติจากชั้นนั้น แล้วมาเป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว ออกบวชเป็นบรรพชิตเมื่อบวชแล้ว อาศัย ความเพียร เป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบ เนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัย มนสิการ โดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิ อันเป็น เครื่อง ตั้งมั่น แห่งจิต ย่อมตามระลึกถึง ความเกิดขึ้นแห่ง สัญญาได้ เบื้องหน้าแต่นั้นไป ระลึกมิได้ เขากล่าวอย่างนี้ว่า อัตตา และโลกเกิดขึ้น ลอยๆ.

       ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะข้าพเจ้าเมื่อก่อนไม่ได้มีแล้ว เดี๋ยวนี้ข้าพเจ้านั้นมี. เพราะมิได้น้อมไปเพื่อความเป็นผู้สงบแล้ว.

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๑ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภ แล้ว มีทิฏฐิว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเกิดขึ้นลอยๆ

            [๔๔] ๑๘. (๒) อนึ่ง ในฐานะที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไร ปรารภ อะไร จึงมีทิฏฐิว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ ย่อมบัญญัติอัตตาและโลก ว่าเกิดขึ้น ลอยๆ

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นนักตรึก เป็นนัก ค้นคิด เขากล่าวแสดงปฏิภาณของตน ตามที่ตรึกได้ ตามที่ค้นคิดได้อย่างนี้ว่า อัตตา และโลกเกิดขึ้นลอยๆ

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๒ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีทิฏฐิว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ ย่อมบัญญัติอัตตา และโลกว่าเกิดขึ้น ลอยๆ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์มีทิฏฐิว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเกิดขึ้นลอยๆ ด้วยเหตุ ๒ ประการนี้แล.

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่า อัตตา และ โลกเกิดขึ้นลอยๆ ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเกิดขึ้นลอยๆ สมณพราหมณ์ พวกนั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๒ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถือ อย่างนั้นแล้ว ยึดอย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคต ย่อมรู้เหตุนั้นชัดทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น ก็ทราบ ความเกิดขึ้น ความดับไปคุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย กับทั้งอุบายเป็นเครื่อง ออกไป จากเวทนา เหล่านั้นตามความเป็นจริง จึงทราบความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ถือมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีตจะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริง โดยชอบ.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น กำหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็น ตามขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิดด้วยเหตุทั้ง ๑๘ ประการนี้แล.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง กำหนดขันธ์ ส่วนอดีต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคำแสดงทิฏฐิ หลายชนิด สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมกล่าวยืนยัน ด้วยเหตุ ๑๘ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากนี้ไม่มี.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถืออย่างนั้นแล้ว ยึดอย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น ก็ทราบความเกิดขึ้น ความดับไปคุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย กับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริงจึงทราบความดับ ได้เฉพาะตน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีตจะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคต ตามความเป็นจริงโดยชอบ.



(2)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค หน้าที่ ๒๔ - ๒๕

(๔. อัคคัญญสูตร-อสัญญีสัตว์) ตรัสกับ ภัคควะ

            ดูกรท่านทั้งหลาย มีเทวดาเหล่า อสัญญีสัตว์ ก็แลเทวดาเหล่านั้นย่อมจุติ จากชั้นนั้นเพราะความเกิดขึ้นแห่งสัญญา ดูกรท่านทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้น แล้วมาเป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผา กิเลส อาศัยความเพียรเป็นที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เมื่อตั้งมั่นแล้ว ย่อม ตามระลึกถึง ความเกิดขึ้นแห่งสัญญานั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้ เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า อัตตา และโลกเกิดขึ้นลอยๆ

ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร

            เพราะว่า เมื่อก่อนข้าพเจ้าไม่ได้มีแล้ว [ไม่ได้มีสัญญา] เดี๋ยวนี้ข้าพเจ้านั้น ไม่มี เพราะน้อมไป เพื่อความเป็นผู้สงบแล้ว ก็พวกท่านบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ถือกันว่าเกิดขึ้นลอยๆ ตามลัทธิอาจารย์มีแบบเช่นนี้หรือ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ตอบอย่างนี้ว่าท่านโคดม พวกข้าพเจ้าก็ได้ทราบมาดังที่ท่านโคดมได้กล่าวมานี้แล ดูกรภัคควะ เราย่อมทราบชัดซึ่งสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น และไม่ยึดมั่น ความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น จึงทราบความดับเฉพาะตน ฉะนั้น ตถาคตจึงไม่ถึงทุกข์

            [๑๗] ดูกรภัคควะ สมณพราหมณ์บางจำพวกกล่าวตู่เรา ผู้กล่าวอยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ ด้วยคำที่ไม่มีจริง ด้วยคำเปล่า ด้วยคำมุสา ด้วยคำที่ไม่เป็นจริงว่า พระสมณโคดมและพวกภิกษุวิปริตไปแล้ว เพราะพระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า สมัยใด พระโยคาวจรเข้าสุภวิโมกข์อยู่ สมัยนั้น ย่อมทราบชัดซึ่งสิ่งทั้งปวงว่า ไม่งาม

            ดูกรภัคควะ ก็เราไม่ได้กล่าวอย่างนี้เลยว่า สมัยใด พระโยคาวจร (ผู้มีความเพียร) ย่อมเข้า สุภวิโมกข์อยู่ สมัยนั้น ย่อมทราบชัดซึ่งสิ่งทั้งปวงว่า ไม่งาม แต่เราย่อมกล่าวอย่างนี้ว่า สมัยใด พระโยคาวจร ย่อมเข้า สุภวิโมกข์อยู่ สมัยนั้น ย่อมทราบชัด แต่สิ่งที่งามเท่านั้น ปริพาชกชื่อภัคควโคตร จึงกราบทูลว่า ก็ผู้ที่ชื่อว่า วิปริตไปแล้ว ก็คือผู้ที่กล่าวร้าย พระผู้มีพระภาค และพวกภิกษุ เพราะตนวิปริตไปเองว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใส ในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ พระผู้มีพระภาค ทรงสามารถแสดงธรรม ให้ข้าพระองค์ เข้าถึงสุภวิโมกข์อยู่

            ดูกรภัคควะ การที่ท่านผู้มีความเห็นไปทางหนึ่ง มีความพอใจไปทางหนึ่ง มีความชอบใจไปทางหนึ่ง ไม่มีความเพียรเป็นเครื่องประกอบ ไม่มีลัทธิอาจารย์ จะเข้าถึงสุภวิโมกข์อยู่เป็นของยากมาก ขอให้ท่านจงพยายามรักษาความเลื่อมใส ในเราเท่าที่ท่านมีอยู่ให้ดีก็พอ

            ปริพาชกชื่อภัคควโคตร จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าว่าการ ที่ข้าพระองค์ ผู้มีความเห็นไปทางหนึ่ง มีความพอใจไปทางหนึ่ง มีความชอบใจ ไปทางหนึ่ง ไม่มีความเพียรเป็นเครื่องประกอบ ไม่มีลัทธิอาจารย์ เข้าถึงสุภวิโมกข์อยู่ เป็นของยากไซร้ ข้าพระองค์ก็จักพยายามรักษาความเลื่อมใส ในพระผู้มีพระภาค เท่าที่ข้าพระองค์มีอยู่ให้ดี

            พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพุทธพจน์นี้แล้ว ปริพาชกชื่อภัคควโคตร ยินดี ชื่นชม เพลิดเพลินพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล

จบ ปาฏิกสูตร ที่ ๑



(3)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค หน้าที่ ๒๓๘- ๒๔๑

สัตตาวาส ๙ อย่าง (ที่อยู่ของสัตว์)
(ตรัสกับภิกษุทั้งหลาย)


             [๓๕๓] สัตตาวาส ๙ อย่าง

๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่นพวกมนุษย์ เทวดา บางพวก วินิปาติกะ*บางพวก นี้สัตตาวาสข้อที่หนึ่ง
* วินิปาติกะ (สัตว์นรก กำเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย)

๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพ ผู้นับเนื่องในพวกพรหม ซึ่งเกิดในภูมิปฐมฌาน นี้สัตตาวาสข้อที่สอง

๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เช่นพวกเทพเหล่า อาภัสสระ นี้สัตตาวาสข้อที่สาม

๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพเหล่า สุภกิณหา นี้สัตตาวาสข้อที่สี่

๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งไม่มีสัญญา ไม่รู้สึกเสวยอารมณ์ เช่นพวกเทพ เหล่า อสัญญีสัตว์ นี้สัตตาวาสข้อที่ห้า

๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญา โดยประการ ทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา เข้าถึง อากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศที่สุดมิได้ ดังนี้ นี้สัตตาวาสข้อที่หก

๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่ง เพราะล่วงซึ่งอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง แล้ว เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุด มิได้ นี้สัตตาวาสข้อที่เจ็ด

๘. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งเพราะล่วงเสียซึ่งวิญญานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง แล้ว เข้าถึงอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไรนี้ สัตตาวาส ข้อที่แปด

๙. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะ โดยประการ ทั้งปวง แล้วเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า นี่สงบนี่ประณีต นี้สัตตาวาสข้อที่เก้า

  (สรุปย่อ)    
  สัตตาวาส 9
9 เนวสัญญานาสัญญา เทวดาอรูป นี่สงบนี่ประณีต (สัญญามีบ้างไม่มีบ้าง)
8 อากิญจัญญายตนะ เทวดาอรูป ไม่มีอะไรนี้ (ว่างหมด)
7 วิญญาณัญจายตนะ เทวดาอรูป วิญญาณ หาที่สุด
6 อากาสานัญจายตนะ เทวดาอรูป อากาศที่สุดมิได้
5 อสัญญีสัตว์ เทวดารูปภพ (พรหม) ไม่มีสัญญา ไม่รู้สึกเสวยอารมณ์
4 สุภกิณหา เทวดารูปภพ (พรหม) กายอย่างเดียวกัน สัญญาอย่างเดียวกัน
3 อาภัสสระ เทวดารูปภพ (พรหม) กายอย่างเดียวกัน สัญญาต่างกัน
2 เทพเกิดในภูมิปฐมฌาน เทวดารูปภพ (พรหม) กายต่างกัน สัญญาอย่างเดียวกัน
1 มนุษย์ เทวดา
สัตว์นรก เดรัจฉาน เปรต
สัตว์-กามภพ กายต่างกัน สัญญาต่างกัน

            [๓๕๔] อขณะอสมัยเพื่อพรหมจริยวาส ๙ อย่าง

๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติในโลกนี้ และธรรม ที่พระองค์ ทรงแสดง ก็เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้เป็นธรรม อันพระสุคตประกาศไว้ แต่บุคคลนี้เข้าถึงนรกเสีย นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัยเพื่อการอยู่ประพฤติ พรหมจรรยข้อที่หนึ่ง

๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จ อุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นไป เพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศ แต่บุคคลนี้เข้าถึงกำเนิด สัตว์ดิรัจฉานเสีย นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ข้อที่สอง

๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จ อุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นไปเพื่อ ความดับ ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศไว้ แต่บุคคลนี้ เข้าถึงวิสัย แห่งเปรตเสีย นี้มิใช่สมัยเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ข้อที่สาม

๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จ อุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดง ก็เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นไปเพื่อ ความดับให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศไว้ แต่บุคคลนี้ เข้าถึงอสุรกายเสีย มิใช่ขณะมิใช่ขณะชิใช่สมัยเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ข้อที่สี่

๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จ อุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นไปเพื่อ ความดับ ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรม อันพระสุคตประกาศไว้ บุคคลนี้ เข้าถึงพวกเทพ ที่มีอายุยืนพวกใดพวกหนึ่งเสีย* นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ข้อที่ห้า
* (เทวดาที่มีอายุยืนคือชั้นอรูป /อากาสา 20,000 กัป - เนวสัญญา 84,000 กัป)

๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จ อุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นไปเพื่อ ความดับให้ถึง ความตรัสรู้เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศไว้ แต่บุคคลนี้ เกิดเสียใน ปัจจันติมชนบท ในจำพวกชนชาติ มิลักขะผู้โง่เขลา ไร้คติของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่อการอยู่พระพฤติพรหมจรรย์ ข้อที่หก

๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จ อุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นไปเพื่อ ความดับ ให้ถึงความตรัสรู้เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศไว้ และบุคคลนี้ก็เกิดใน มัชฌิมชนบทแต่ เขาเป็นคนมิจฉาทิฐิ มีความเห็นวิปริตว่าทานที่บุคคลให้ไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่บุคคลทำดีหรือทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้า ไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี โอปปาติกะสัตว์ไม่มีในโลก ไม่มีสมณพราหมณ์ ผู้ดำเนินไปดี ปฏิบัติชอบแล้ว กระทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเองแล้ว ยังผู้อื่นให้รู้ นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัยเพื่อการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ ข้อที่เจ็ด

๘. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จ อุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นไปเพื่อ ความดับให้ถึงความตรัสรู้เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศไว้ และบุคคลนี้ก็เกิดใน มัชฌิมชนบท แต่เป็น คนโง่เซอะซะ เป็นคนใบ้ ไม่สามารถที่จะรู้อรรถแห่งสุภาษิต และทุพภาษิตได้ นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัยเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ข้อที่แปด

๙. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มิได้เสด็จ อุบัติในโลก และธรรมที่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความ ตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศไว้ ก็มิได้มีผู้ทรงแสดงไว้ และบุคคลนี้เกิดใน มัชฌิม ชนบท เป็นคนมีปัญญา ไม่เซอะซะ ไม่เป็นคนใบ้ สามารถที่จะรู้อรรถ แห่งสุภาษิต และทุพภาษิตได้ นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ข้อที่เก้า



(4)
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก หน้า หน้าที่ ๒๗๙ - ๒๘๐

ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้ควรกำหนดรู้ (สัตตาวาส ๙)
ตรัสกับผู้มีอายุทั้งหลาย

            [๔๕๗] ธรรม ๙ อย่างที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน ได้แก่สัตตาวาส ๙ คือมีอยู่ ผู้มีอายุทั้งหลาย

สัตว์พวกหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน
เช่นพวกมนุษย์
พวกเทพบางหมู่ (ชั้นกามภพ)
พวกเปรตบางหมู่

นี้เป็นสัตตาวาสข้อที่ ๑

สัตว์พวกหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพผู้อยู่ในจำพวกพรหม ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน
นี้เป็นสัตตาวาสข้อที่ ๒

สัตว์พวกหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกันมีสัญญาต่างกัน เช่นพวกเทพเหล่าอาภัสสระ
นี้เป็นสัตตาวาสข้อที่ ๓

สัตว์พวกหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน
เช่นพวกเทพเหล่าสุภกิณหะ
นี้เป็นสัตตาวาสข้อที่ ๔

สัตว์พวกหนึ่ง ไม่มีสัญญา ไม่เสวยเวทนา (มีรูป อยู่ในชั้นรูปภพ หรือชั้นพรหม))
เช่นพวกเทพเหล่า อสัญญีสัตว์
นี้เป็นสัตตาวาสข้อที่ ๕

สัตว์พวกหนึ่ง เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่กระทำไว้ในใจ ซึ่งนานัตตสัญญา
นี้เป็นสัตตาวาสข้อที่ ๖

สัตว์พวกหนึ่ง เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่าวิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง
นี้เป็นสัตตาวาสข้อที่ ๗

สัตว์พวกหนึ่ง เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วงชั้น วิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง
นี้เป็นสัตตาวาสข้อที่ ๘

สัตว์พวกหนึ่ง เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า นี้สงบนี้ประณีต เพราะล่วงชั้นอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง
นี้เป็นสัตตาวาสข้อที่ ๙

ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้ควรกำหนดรู้



(5)
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑-๑๐

๑. มูลปริยายสูตร
ว่าด้วยมูลเหตุแห่งธรรมทั้งปวง
(ตรัสกับ ภิกษุทั้งหลาย)

            [๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โคนไม้พญารัง ในสุภควัน เขตเมือง อุกกัฏฐาณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ พระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัส พระพุทธพจน์นี้ว่า

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปริยาย อันเป็นมูลของธรรมทั้งปวง แก่ พวกเธอ พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาค ว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

กำหนดภูมินัยที่ ๑ ด้วยสามารถปุถุชน

            [๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชน ในโลกนี้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำ ในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำ ในธรรมของสัตบุรุษ
ย่อมรู้ธาตุดินโดยความเป็น ธาตุดิน
ครั้นรู้ธาตุดิน โดยความเป็นธาตุดินแล้ว
ย่อมสำคัญธาตุดินย่อมสำคัญในธาตุดิน
ย่อมสำคัญ โดยความเป็นธาตุดิน
ย่อมสำคัญธาตุดินว่า ของเรา
ย่อมยินดีธาตุดิน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้

ย่อมรู้ธาตุน้ำโดยความเป็น ธาตุน้ำ
ครั้นรู้ธาตุน้ำโดยความเป็นธาตุน้ำแล้ว
ย่อมสำคัญธาตุน้ำ
ย่อมสำคัญในธาตุน้ำ
ย่อมสำคัญโดยความเป็นธาตุน้ำ
ย่อมสำคัญธาตุน้ำว่า ของเรา
ย่อมยินดีธาตุน้ำ
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้

ย่อมรู้ธาตุไฟโดยความเป็น ธาตุไฟ
ครั้นรู้ธาตุไฟโดยความเป็นธาตุไฟแล้ว
ย่อมสำคัญธาตุไฟ
ย่อมสำคัญในธาตุไฟ
ย่อมสำคัญโดยความเป็นธาตุไฟ
ย่อมสำคัญธาตุไฟว่า ของเรา
ย่อมยินดีธาตุไฟ
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้

ย่อมรู้ธาตุลมโดยความเป็น ธาตุลม
ครั้นรู้ธาตุลมโดยความเป็นธาตุลมแล้ว
ย่อมสำคัญธาตุลม ย่อมสำคัญในธาตุลม
ย่อมสำคัญโดยความเป็นธาตุลม
ย่อมสำคัญธาตุลมว่า ของเราย่อมยินดีธาตุลม
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

ย่อมรู้สัตว์โดยความ เป็นสัตว์
ครั้นรู้สัตว์โดยความเป็นสัตว์แล้ว
ย่อมสำคัญสัตว์ย่อมสำคัญในสัตว์
ย่อมสำคัญโดยความเป็นสัตว์
ย่อมสำคัญสัตว์ว่า ของเรา
ย่อมยินดีสัตว์
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้

ย่อมรู้เทวดาโดยความ เป็นเทวดา
ครั้นรู้เทวดาโดยความเป็นเทวดาแล้ว
ย่อมสำคัญเทวดาย่อมสำคัญในเทวดา
ย่อมสำคัญโดยความเป็นเทวดา
ย่อมสำคัญเทวดาว่าของเรา
ย่อมยินดีเทวดา
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้

ย่อมรู้มารโดยความ เป็นมาร
ครั้นรู้มารโดยความเป็นมารแล้ว
ย่อมสำคัญมาร
ย่อมสำคัญในมาร
ย่อมสำคัญโดยความเป็นมาร
ย่อมสำคัญมารว่า ของเรา
ย่อมยินดีมาร
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้

ย่อมรู้พรหมโดยความ เป็นพรหม
ครั้นรู้พรหมโดยความเป็นพรหมแล้ว
ย่อมสำคัญพรหมย่อมสำคัญในพรหม
ย่อมสำคัญโดยความเป็นพรหม
ย่อมสำคัญพรหมว่า ของเรา
ย่อมยินดีพรหม
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

ย่อมรู้อาภัสสรพรหมโดยความเป็น อาภัสสรพรหม
ครั้นรู้อาภัสสรพรหมโดยความเป็น อาภัสสรพรหมแล้ว
ย่อมสำคัญอาภัสสรพรหม
ย่อมสำคัญในอาภัสสรพรหม
ย่อมสำคัญโดยความเป็นอาภัสสรพรหม
ย่อมสำคัญอาภัสสรพรหมว่า ของเรา
ย่อมยินดีอาภัสสรพรหม
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

ย่อมรู้สุภกิณหพรหมโดยความเป็น สุภกิณหพรหม
ครั้นรู้สุภกิณหพรหม โดยความเป็นสุภกิณหพรหมแล้ว
ย่อมสำคัญสุภกิณหพรหม
ย่อมสำคัญในสุภกิณหพรหม
ย่อมสำคัญโดยความเป็นสุภกิณหพรหม
ย่อมสำคัญสุภกิณหพรหมว่า ของเรา
ย่อมยินดีสุภกิณหพรหม
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้

ย่อมรู้เวหัปผลพรหมโดยความเป็น เวหัปผลพรหม
ครั้นรู้เวหัปผลพรหม โดยความเป็นเวหัปผลพรหมแล้ว
ย่อมสำคัญเวหัปผลพรหม ย่อมสำคัญในเวหัปผลพรหม
ย่อมสำคัญโดยความเป็นเวหัปผลพรหม
ย่อมสำคัญเวหัปผลพรหมว่า ของเรา
ย่อมยินดีเวหัปผลพรหม
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้

ย่อมรู้อสัญญีสัตว์โดยความเป็น อสัญญีสัตว์
ครั้นรู้ อสัญญีสัตว์ โดยความเป็น อสัญญีสัตว์ แล้ว
ย่อมสำคัญ
อสัญญีสัตว์
ย่อมสำคัญใน
อสัญญีสัตว์
ย่อมสำคัญโดยความเป็น
อสัญญีสัตว์
ย่อมสำคัญ
อสัญญีสัตว์ ว่าของเรา
ย่อมยินดี
อสัญญีสัตว์
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่าเพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้

ย่อมรู้อากาสานัญจายตนพรหม โดยความเป็น อากาสานัญจายตนพรหม ครั้นรู้อากาสานัญจายตนพรหม โดยความเป็นอากาสานัญจายตนพรหมแล้ว ย่อมสำคัญอากาสานัญจายตนพรหม
ย่อมสำคัญในอากาสานัญจายตนพรหม ย่อมสำคัญโดยความเป็นอากาสานัญจายตนพรหม ย่อมสำคัญอากาสานัญจายตนพรหมว่า ของเรา
ย่อมยินดีอากาสานัญจายตนพรหม
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้

ย่อมรู้วิญญาณัญจายตนพรหม โดยความเป็น วิญญาณัญจายตนพรหม ครั้นรู้วิญญาณัญจายตนพรหม โดยความเป็นวิญญาณัญจายตนพรหมแล้ว ย่อมสำคัญวิญญาณัญจายตนพรหม
ย่อมสำคัญในวิญญาณัญจายตนพรหม ย่อมสำคัญโดยความเป็นวิญญาณัญจายตนพรหม ย่อมสำคัญวิญญาณัญจายตนพรหมว่า ของเรา
ย่อมยินดีวิญญาณัญจายตนพรหม
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่าเพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้

ย่อมรู้อากิญจัญญายตนพรหม โดยความเป็น อากิญจัญญายตนพรหม ครั้นรู้อากิญจัญญายตนพรหม โดยความเป็นอากิญจัญญายตนพรหมแล้ว ย่อมสำคัญอากิญจัญญายตนพรหม
ย่อมสำคัญในอากิญจัญญายตนพรหม ย่อมสำคัญโดยความเป็นอากิญจัญญายตนพรหม
ย่อมสำคัญอากิญจัญญายตนพรหมว่า ของเรา
ย่อมยินดีอากิญจัญญายตนพรหม
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้

ย่อมรู้เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม โดยความเป็นนวสัญญานาสัญญายตนพรหมครั้นรู้เนวสัญญานาสัญญายตนพรหมโดยความเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนพรหมแล้ว ย่อมสำคัญเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ย่อมสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ย่อมสำคัญโดยความเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ย่อมสำคัญเนวสัญญานาสัญญายตนพรหมว่าของเรา ย่อมยินดีเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้

ย่อมรู้รูปที่ตนเห็น โดยความเป็น รูปที่เห็น
ครั้นรู้รูปที่ตนเห็นโดยความเป็นรูปที่ตนเห็นแล้ว
ย่อมสำคัญรูปที่ตนเห็น
ย่อมสำคัญในรูปที่ตนเห็น
ย่อมสำคัญโดยความเป็นรูปที่ตนเห็น
ย่อมสำคัญรูปที่ตนเห็นว่าของเรา
ย่อมยินดีรูปที่ตนเห็น
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่าเพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้

ย่อมรู้เสียงที่ตนฟัง โดยความเป็น เสียงที่ตนฟัง
ครั้นรู้เสียงที่ตนฟัง โดยความเป็นเสียงที่ตนฟังแล้ว
ย่อมสำคัญเสียงที่ตนฟัง ย่อมสำคัญในเสียงที่ตนฟัง ย่อมสำคัญโดยความเป็นเสียงที่ตนฟัง
ย่อมสำคัญเสียงที่ตนฟังว่า ของเรา
ย่อมยินดีเสียงที่ตนฟัง
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้

ย่อมรู้อารมณ์ที่ตนทราบ โดยความเป็น อารมณ์ที่ตนทราบ
ครั้นรู้อารมณ์ที่ตนทราบ โดยความเป็นอารมณ์ที่ตนทราบแล้ว ย่อมสำคัญอารมณ์ที่ตนทราบ
ย่อมสำคัญในอารมณ์ที่ตนทราบ
ย่อมสำคัญโดยความเป็นอารมณ์ที่ตนทราบ
ย่อมสำคัญอารมณ์ที่ตนทราบว่า ของเรา
ย่อมยินดีอารมณ์ที่ตนทราบ
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้

ย่อมรู้ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง โดยความเป็น ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ครั้นรู้ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง โดยความเป็นธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้งแล้ว ย่อมสำคัญธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง
ย่อมสำคัญในธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง
ย่อมสำคัญโดยความเป็นธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง
ย่อมสำคัญธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้งว่า ของเรา
ย่อมยินดีธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้

ย่อมรู้ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน โดย ความเป็นอันเดียวกัน ครั้นรู้สักกายะเป็นอันเดียวกัน โดยความเป็นอันเดียวกันแล้ว ย่อมสำคัญความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ย่อมสำคัญในความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ย่อมสำคัญโดยความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ย่อมสำคัญความที่สักกายะเป็นอันเดียวกันว่า ของเรา ย่อมยินดีความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้

ย่อมรู้ความที่สักกายะต่างกัน โดยความ เป็นของต่างกัน
ครั้นรู้ความที่สักกายะต่างกัน โดยความเป็นของต่างกันแล้ว ย่อมสำคัญความที่สักกายะต่างกัน
ย่อมสำคัญในความที่สักกายะต่างกัน
ย่อมสำคัญโดยความที่สักกายะต่างกัน
ย่อมสำคัญความที่สักกายะต่างกันว่าของเรา
ย่อมยินดีความที่สักกายะต่างกัน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้

ย่อมรู้สักกายะทั้งปวง โดยความเป็น สักกายะทั้งปวง
ครั้นรู้สักกายะทั้งปวง โดยความเป็นสักกายะทั้งปวงแล้ว
ย่อมสำคัญสักกายะทั้งปวง
ย่อมสำคัญในสักกายะทั้งปวง
ย่อมสำคัญโดยความเป็นสักกายะทั้งปวง
ย่อมสำคัญสักกายะทั้งปวงว่าของเรา
ย่อมยินดีสักกายะทั้งปวง
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้

ย่อมรู้พระนิพพาน โดยความเป็น พระนิพพาน ครั้นรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว
ย่อมสำคัญพระนิพพาน
ย่อมสำคัญในพระนิพพาน
ย่อมสำคัญโดยความเป็นพระนิพพาน
ย่อมสำคัญพระนิพพานว่า ของเรา
ย่อมยินดีพระนิพพาน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่าเพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้

กำหนดภูมินัยที่ ๒ ด้วยสามารถเสขบุคคล

            [๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใดเป็นเสขบุคคล ยังไม่บรรลุพระอรหัตผล เมื่อปรารถนาธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าอยู่ แม้ภิกษุนั้น รู้ธาตุดิน โดยความเป็นธาตุดิน
ครั้นรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว
อย่าสำคัญธาตุดิน
อย่าสำคัญในธาตุดิน
อย่าสำคัญโดยความเป็นธาตุดิน
อย่าสำคัญธาตุดินว่า ของเรา
อย่ายินดีธาตุดิน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาควรกำหนดรู้

ย่อมรู้ธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ... อาภัสสรพรหม ...สุภกิณพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ... วิญญาณัญจายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ... วิญญาณ ที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ... ความที่สักกายะต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ...

ย่อมรู้พระนิพพานโดยความเป็น พระนิพพาน ครั้นรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว
อย่าสำคัญพระนิพพาน อย่าสำคัญในพระนิพพาน
อย่าสำคัญโดยความเป็นพระนิพพาน
อย่าสำคัญพระนิพพานว่า ของเรา
อย่ายินดีพระนิพพาน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่าเพราะเขาควรกำหนดรู้

กำหนดภูมินัยที่ ๓ ด้วยสามารถพระขีณาสพ

            [๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว สิ้นกิเลส เครื่องประกอบสัตว์ ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว แม้ภิกษุนั้นรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน
ครั้นรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว
ย่อมไม่สำคัญธาตุดิน
ไม่สำคัญในธาตุดิน
ไม่สำคัญโดยความเป็นธาตุดิน
ไม่สำคัญธาตุดินว่าของเรา
ไม่ยินดีธาตุดิน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่าเพราะเธอกำหนดรู้แล้ว.

ย่อมรู้ธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ... อาภัสสรพรหม... สุภกิณพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ... วิญญาณัญจายตน-*พรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ... รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ตนฟัง ...อารมณ์ที่ตนทราบ ... วิญญาณที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ... ความที่สักกายะต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ...

ย่อมรู้พระนิพพานโดยความเป็น พระนิพพาน ครั้นรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว
ย่อมไม่สำคัญพระนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญในพระนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญโดยความเป็นพระนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญพระนิพพานว่า ของเรา
ย่อมไม่ยินดีพระนิพพาน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเธอกำหนดรู้แล้ว

กำหนดภูมินัยที่ ๔ ด้วยสามารถพระขีณาสพ

            [๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้นใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว สิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพแล้วพ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว แม้ภิกษุนั้นรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน
ครั้นรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว
ย่อมไม่สำคัญธาตุดิน
ย่อมไม่สำคัญในธาตุดิน
ย่อมไม่สำคัญโดยความเป็นธาตุดิน
ย่อมไม่สำคัญธาตุดินว่าของเรา
ย่อมไม่ยินดีธาตุดิน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะปราศจากราคะ เหตุราคะสิ้นไป

ย่อมรู้ธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ... อาภัสสรพรหม ...สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ... วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ... รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ ... วิญญาณที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ... ความที่สักกายะต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ...

ย่อมรู้พระนิพพานโดยความเป็น พระนิพพาน ครั้นรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว
ย่อมไม่สำคัญพระนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญในพระนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญโดยความเป็นพระนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญพระนิพพานว่า ของเรา
ย่อมไม่ยินดีพระนิพพาน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะปราศจากราคะ เหตุราคะสิ้นไป

กำหนดภูมินัยที่ ๕ ด้วยสามารถพระขีณาสพ

            [๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้นใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว สิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพแล้ว พ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว แม้ภิกษุนั้นย่อมรู้ยิ่งธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้นรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว
ย่อมไม่สำคัญธาตุดิน
ย่อมไม่สำคัญในธาตุดิน
ย่อมไม่สำคัญโดยความเป็นธาตุดิน
ย่อมไม่สำคัญธาตุดินว่า ของเรา
ย่อมไม่ยินดีธาตุดิน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะปราศจากโทสะ เหตุโทสะสิ้นไป

ย่อมรู้ธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ... อาภัสสรพรหม ... สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ...วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ... รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ ... วิญญาณที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ... ความที่สักกายะต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ...

ย่อมรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว
ย่อมไม่สำคัญพระนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญในพระนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญโดยความเป็นพระนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญพระนิพพานว่า ของเรา
ย่อมไม่ยินดีพระนิพพาน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะปราศจากโทสะ เหตุโทสะสิ้นไป

กำหนดภูมินัยที่ ๖ ด้วยสามารถพระขีณาสพ

            [๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้นใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว สิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว แม้ภิกษุนั้นย่อมรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน
ครั้นรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว
ย่อมไม่สำคัญธาตุดิน
ย่อมไม่สำคัญในธาตุดิน
ย่อมไม่สำคัญโดยความเป็นธาตุดิน
ย่อมไม่สำคัญธาตุดินว่า ของเรา
ย่อมไม่ยินดีธาตุดิน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะปราศจากโมหะ เหตุโมหะสิ้นไป

ย่อมรู้ธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ... อาภัสสรพรหม ... สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ...วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ... รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ ... วิญญาณที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ... ความที่สักกายะต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ...

ย่อมรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว
ย่อมไม่สำคัญพระนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญในพระนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญโดยความเป็นพระนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญพระนิพพานว่า ของเรา
ย่อมไม่ยินดีพระนิพพาน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะปราศจากโมหะ เหตุโมหะสิ้นไป

กำหนดภูมินัยที่ ๗ ด้วยสามารถพระศาสดา

            [๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินจริง ครั้นทรงรู้ยิ่งธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินจริงแล้ว
ย่อมไม่ทรงสำคัญธาตุดิน
ย่อมไม่ทรงสำคัญในธาตุดิน
ย่อมไม่ทรงสำคัญโดยความเป็นธาตุดิน
ย่อมไม่ทรงสำคัญธาตุดินว่าของเรา
ย่อมไม่ทรงยินดีธาตุดิน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะธาตุดินนั้นพระตถาคตกำหนดรู้แล้ว

            ย่อมทรงรู้ธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ...อาภัสสรพรหม ... สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ... วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญาตนพรหม ... รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ ... วิญญาณที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ... ความที่สักกายะต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ...

ทรงรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นทรงรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว
ย่อมไม่ทรงสำคัญพระนิพพาน
ย่อมไม่ทรงสำคัญในพระนิพพาน
ย่อมไม่ทรงสำคัญโดยความเป็นพระนิพพาน
ย่อมไม่ทรงสำคัญพระนิพพานว่า ของเรา
ย่อมไม่ทรงยินดีพระนิพพาน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่าเพราะพระนิพพานนั้นพระตถาคตทรงกำหนดรู้แล้ว

กำหนดภูมินัยที่ ๘ ด้วยสามารถพระศาสดา

            [๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินจริง
ครั้นทรงรู้ธาตุดิน โดยความเป็นธาตุดินจริงแล้ว
ย่อมไม่ทรงสำคัญธาตุดิน
ย่อมไม่ทรงสำคัญในธาตุดิน
ย่อมไม่ทรงสำคัญโดยความเป็นธาตุดิน
ย่อมไม่ทรงสำคัญธาตุดินว่า ของเรา
ย่อมไม่ทรงยินดีธาตุดิน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เรากล่าวว่า เพราะทรงทราบว่า ความเพลิดเพลินเป็นมูล แห่งทุกข์ เพราะภพจึงมีชาติ สัตว์ผู้เกิดแล้ว ต้องแก่ ต้องตาย เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลายเราจึงกล่าวว่า พระตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมา สัมโพธิญาณ เพราะสิ้นตัณหา สำรอกตัณหาดับตัณหา สละตัณหา สละคืนตัณหาเสียได้ โดยประการทั้งปวง

            ย่อมทรงรู้ยิ่งธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ...อาภัสสรพรหม ... สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ...วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ... รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ ... วิญญาณที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ... ความที่สักกายะต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ...

ทรงรู้ยิ่งพระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน
ครั้นทรงรู้พระนิพพาน โดยความเป็นพระนิพพานแล้ว
ย่อมไม่ทรงสำคัญพระนิพพาน
ย่อมไม่ทรงสำคัญในพระนิพพาน
ย่อมไม่ทรงสำคัญโดยความเป็นพระนิพพาน
ย่อมไม่ทรงสำคัญพระนิพพานว่าของเรา
ย่อมไม่ทรงยินดีพระนิพพาน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เรากล่าวว่า เพราะทรงทราบว่า ความเพลิดเพลินเป็นมูล แห่งทุกข์ เพราะภพจึงมีชาติ สัตว์ผู้เกิดแล้ว ต้องแก่ ต้องตาย เพราะเหตุนั้นแล

            ภิกษุทั้งหลาย เราจึงกล่าวว่าพระตถาคตตรัสรู้อนุตตร สัมมาสัมโพธิญาณ เพราะสิ้นตัณหา สำรอกตัณหา ดับตัณหา สละตัณหาสละคืนตัณหาเสียได้ โดยประการทั้งปวง

            พระผู้มีพระภาคได้ตรัสมูลปริยายนี้จบแล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีความพอใจชื่นชม ภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล

จบ มูลปริยายสูตร ที่ ๑



(6)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๒๓ - ๓๒๔

ววัตถสัญญาสูตร (สัตตาวาส ๙ ชั้น)
(ตรัสกับภิกษุทั้งหลาย)

            [๒๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตตาวาส ๙ ชั้น ๙ ชั้นเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เหมือนมนุษย์
เทวดาบางพวก และ วินิปาติกสัตว์บางพวก นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๑

สัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เหมือนเทวดาผู้อยู่ในชั้นพรหม ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๒

สัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เหมือนเทวดาชั้นอาภัสสระ นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๓

สัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เหมือนเทวดาชั้นสุภกิณหะ นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๔

สัตว์พวกหนึ่งไม่มีสัญญา ไม่เสวยเวทนา เหมือนเทวดาผู้เป็น อสัญญีสัตว์ นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๕

สัตว์พวกหนึ่งผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศ หาที่สุด มิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึง นานัตตสัญญา นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๖

สัตว์พวกหนึ่งผู้เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่าวิญญาณ หาที่สุด มิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๗

สัตว์พวกหนึ่งผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่าอะไร หน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๘

สัตว์พวกหนึ่งผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ
เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๙

ดูกรภิกษุทั้งหลายสัตตาวาส ๙ ชั้นนี้แล

 


 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์