เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  การทำกรรมทางใจ มีโทษมากที่สุด ตรัสกับ ทีฆตปัสสีนิครนถ์ 1238
 

(โดยย่อ)

เราบัญญัติ มโนกรรม ว่ามีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม ในการ เป็นไปแห่งบาปกรรม เราจะบัญญัติ กายกรรม วจีกรรม ว่ามีโทษมาก เหมือน มโนกรรม หามิได้

ท่านพระโคดม ! พระองค์ตรัสว่า มโนกรรม หรือ ?
ทีฆตปัสสี ! เรากล่าวว่า มโนกรรม.

ท่านพระโคดม ! พระองค์ตรัสว่า มโนกรรม หรือ ?
ทีฆตปัสสี ! เรากล่าวว่า มโนกรรม.

ท่านพระโคดม ! พระองค์ตรัสว่า มโนกรรมหรือ ?
ทีฆตปัสสี ! เรากล่าวว่า มโนกรรม.
-----------------------------------------------------------------

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บุรุษ ๑๐ คนก็ดี ๒๐ คนก็ดี ๓๐ คนก็ดี ๔๐ คนก็ดี ๕๐ คนก็ดี ไม่สามารถ จะทำสัตว์ เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้ ให้เป็นลานเนื้อ อันเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้ออันเดียวกัน โดยขณะหนึ่ง โดยครู่หนึ่ง ได้พระเจ้าข้า บุรุษผู้ต่ำทรามคนเดียว จะเก่งกาจอะไรกันเล่า.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บ้านนาลันทา ๑๐ บ้านก็ดี ๒๐ บ้านก็ดี ๓๐ บ้านก็ดี ๔๐ บ้านก็ดี ๕๐ บ้านก็ดี สมณะหรือ พราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ ถึงความเป็นผู้ ชำนาญ ในทางจิตนั้น ยังสามารถ ทำให้เป็น เถ้าได้ ด้วยใจคิดประทุษร้ายครั้งเดียว แล้วบ้านนาลันทา ที่ทรุดโทรมหลังเดียวคณาอะไรเล่า.
-----------------------------------------------------------------------------
สัจจกนิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้าจนยอมแพ้)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน


หนังสือ กรรม พุทธวจน
/ จากชุด ๕ เล่มจากพระโอษฐ์ /พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓

การทำกรรมทางใจ มีโทษมากที่สุด


           ทีฆตปัสสีนิครนถ์ ได้กราบทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดม ! พระองค์ เล่า ย่อมบัญญัติ ทัณฑะในการทำบาปกรรมในการเป็นไป แห่งบาปกรรม ไว้เท่าไร ?

          ทีฆตปัสสี ! ตถาคตจะบัญญัติว่ากรรมๆ ดังนี้ เป็นอาจิณ.

          ท่านพระโคดม! ก็พระองค์ย่อมบัญญัติกรรมในการทำบาปกรรมในการเป็นไป แห่งบาปกรรมไว้เท่าไร ?

          ทีฆตปัสสี ! เราย่อมบัญญัติกรรม ในการทำปกรรม ในการเป็นไป แห่งบาปกรรมไว้ ประการ คือ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม .

          ท่านพระโคดม
! ก็กายกรรมอย่างหนึ่ง วจีกรรมอย่างหนึ่ง มโนกรรมอย่างหนึ่งมิใช่หรือ ? ทีฆตปัสสี! กายกรรมอย่างหนึ่ง วจีกรรม อย่างหนึ่ง มโนกรรมอย่างหนึ่ง.

          ท่านพระโคดม! ก็บรรดากรรมทั้ง๓ประการ ที่จำแนกออกแล้วเป็นส่วนละ อย่าง ต่างกันเหล่านี้ กรรมไหนคือกายกรรม วจีกรรม หรือมโนกรรมที่พระองค์บัญญัติ ว่ามีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรมในการเป็นไปแห่งบาปกรรม ?

          ทีฆตปัสสี ! บรรดากรรมทั้ง
ประการ ที่จำแนกออกแล้วเป็น ส่วนละ อย่าง ต่างกันเหล่านี้

          เราบัญญัติ
มโนกรรม ว่ามีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม ในการ เป็นไปแห่งบาปกรรม เราจะบัญญัติ กายกรรม วจีกรรม ว่ามีโทษมาก เหมือน มโนกรรม หามิได้

ท่านพระโคดม ! พระองค์ตรัสว่า มโนกรรม หรือ ?
ทีฆตปัสสี ! เรากล่าวว่า มโนกรรม.

ท่านพระโคดม ! พระองค์ตรัสว่า มโนกรรม หรือ ?
ทีฆตปัสสี ! เรากล่าวว่า มโนกรรม.

ท่านพระโคดม ! พระองค์ตรัสว่า มโนกรรมหรือ ?

ทีฆตปัสสี ! เรากล่าวว่า มโนกรรม.

          ทีฆตปัสสีนิครนถ์ ให้พระผู้มีพระภาคทรงยืนยัน ในเรื่องที่ตรัสนี้ถึง ๓ ครั้ง ด้วยประการฉะนี้ แล้วลุกจาก อาสนะเข้าไปหานิครนถ์นาฏบุตรถึงที่อยู่.

(จากนั้นได้มี อุบาลีคหบดี เข้ามาเพื่อสนทนาในเรื่องนี้ ต่อจาก ฑีฆตปัสสีนิครณถ์ โดยยังมี ความเห็นว่า กรรมทางกายมีโทษ มากกว่ากรรมทางใจ และพระผู้มี พระภาค ได้ยกอุปมา เพื่อให้เห็นเปรียบเทียบได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนี้)

คหบดี! ท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นอย่างไร

         ในบ้านนาลันทานี้ พึงมีบุรุษคนหนึ่งเงื้อดาบมา เขาพึง กล่าวอย่างนี้ว่า เราจักทำ สัตว์เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้ ให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกัน ให้เป็นกอง เนื้อ อันเดียวกัน โดยขณะหนึ่ง โดยครู่หนึ่ง.  

          คหบดี ! ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไร บุรุษนั้นจะสามารถทำสัตว์ เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้ ให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้ออันเดียว กัน โดยขณะหนึ่ง โดยครู่หนึ่งได้หรือ ?

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บุรุษ ๑๐ คนก็ดี ๒๐ คนก็ดี ๓๐ คนก็ดี ๔๐ คนก็ดี ๕๐ คนก็ดีไม่สามารถจะทำสัตว์ เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้ ให้เป็นลานเนื้อ อันเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้ออันเดียวกัน โดยขณะหนึ่ง โดยครู่หนึ่ง ได้พระเจ้าข้า บุรุษผู้ต่ำทรามคนเดียว จะเก่งกาจอะไรกันเล่า.

          คหบดี! ท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นอย่างไร สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ ถึงความเป็นผู้ชำานาญในทางจิต พึงมาในบ้านนาลันทานี้ สมณะ หรือพราหมณ์ นั้น พึงกล่าว อย่างนี้ว่าเราจักทำบ้านนาลันทานี้ให้เป็นเถ้า ด้วยใจคิด ประทุษ ร้าย ครั้งเดียว. คหบดี ! ท่านจะสำคัญความข้อนั้น เป็นอย่างไร สมณะหรือ พราหมณ์ ผู้มีฤทธิ์ ถึงความเป็น ผู้ชำนาญในทางจิตนั้น จะสามารถทำบ้าน นาลันทานี้ให้เป็น เถ้า ด้วยใจคิดประทุษร้ายครั้งเดียวได้หรือไม่หนอ ?

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บ้านนาลันทา ๑๐ บ้านก็ดี ๒๐ บ้านก็ดี ๓๐ บ้านก็ดี ๔๐ บ้านก็ดี ๕๐ บ้านก็ดี สมณะหรือ พราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ ถึงความเป็นผู้ ชำนาญ ในทางจิตนั้น ยังสามารถ ทำให้เป็นเถ้าได้ ด้วยใจคิดประทุษร้ายครั้งเดียว แล้วบ้านนาลันทา ที่ทรุดโทรมหลังเดียวคณาอะไรเล่า.


           คหบดี! ท่านจงมนสิการ ครั้นแล้วจงพยากรณ์ คำหลังกับคำก่อน ก็ดี  คำก่อนกับคำหลังก็ดี ของท่าน ไม่ต่อกันเลย...







พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์