เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  พระผู้มีพระภาคตรัส อนุบุพพิกถา(ธรรมตามลำดับ) แก่ อุบาลีคฤหบดี 1235
 

(โดยย่อ)

พระผู้มีพระภาคตรัส อนุบุพพิกถา(ธรรมตามลำดับ)
แก่ อุบาลีคฤหบดี คือ ทรงประกาศ ทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษแห่งกาม อันต่ำทราม เศร้าหมอง อานิสงส์ ในเนกขัมมะ.. ทรงทราบ อุบาลี ว่ามีจิต ควรมีจิตอ่อน ปราศจากนิวรณ์ มีจิตสูง มีจิตผ่องใส จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนา คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เปรียบเหมือนผ้าขาวสะอาด ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่ อุบาลีคฤหบดี ที่อาสนะนั้นเองว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็น ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล ล้วนมีความดับไป เป็นธรรมดา ฉันนั้นเหมือนกัน.
ธรรมตามลำดับที่ทรงแสดง คือ
1. ทานกถา(กล่าวถึงทาน) ศีลกถา(กล่าวถึงศีล) สัคคกถา (กล่าวถึงสวรรค์)
2. โทษของกาม และอานิสงส์ในการออกจากกาม(เนกขัมมะ)
3. อริยสัจสี่ : ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
4. กฎอิทัปปัจยตา สิ่งใดเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล ล้วนมีความดับไป เป็นธรรมดา
-----------------------------------------------------------------------------
สัจจกนิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้าจนยอมแพ้)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๕๕

ทรงแสดงอนุบุพพิกถา

        [๗๔] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสอนุบุพพิกถา(ธรรมตามลำดับ) แก่ อุบาลีคฤหบดี คือ ทรงประกาศ ทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษแห่งกาม อันต่ำทราม เศร้าหมอง อานิสงส์ ในเนกขัมมะ เมื่อใด พระผู้มีพระภาคได้ทรง ทราบ อุบาลีคฤหบดี ว่ามีจิต ควรมีจิตอ่อน มีจิต ปราศจากนิวรณ์ มีจิตสูง มีจิตผ่องใส เมื่อนั้น จึงทรงประกาศ พระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงยกขึ้นแสดง ด้วย พระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เปรียบเหมือน ผ้าขาวสะอาด ปราศจาก ดำ ควรได้รับน้ำย้อมด้วยดี ฉันใด ธรรมจักษุอันปราศจาก ธุลี ปราศจาก มลทิน เกิดขึ้นแก่ อุบาลีคฤหบดี ที่อาสนะ นั้นเองว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็น ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล ล้วนมีความดับไป เป็นธรรมดา ฉันนั้น เหมือนกัน.

     ลำดับนั้น อุบาลีคฤหบดี มีธรรมอันเห็นแล้ว มีธรรมอันบรรลุแล้ว มีธรรม อันรู้แจ้ง แล้วมีธรรมอันหยั่งลงมั่นแล้ว ข้ามวิจิกิจฉาแล้ว ปราศจากความ เคลือบแคลง ถึง ความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของ พระศาสดา ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้า ขอทูลลาไป ณ บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้ามีกิจมาก มีธุระที่จะต้องทำมาก.

     ดูกรคฤหบดี ท่านจงรู้กาลอันสมควร ณ บัดนี้เถิด.

        [๗๕] ครั้งนั้นแล อุบาลีคฤหบดี ชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ แล้วเข้าไปยังนิเวศน์ ของตน เรียกนายประตูมาว่า

     ดูกรนายประตูผู้สหาย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราปิดประตูแก่พวกนิครนถ์ แก่พวก นางนิครนถ์ และเปิดประตู เพื่อพระผู้มีพระภาค เพื่อสาวกของพระผู้มีพระภาค คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกอุบาสิกา ถ้านิครนถ์คนใดคนหนึ่งมา ท่านพึงว่ากะนิครนถ์ คนนั้น อย่างนี้ว่า จงหยุดท่านผู้เจริญ อย่าเข้าไปเลยตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

         อุบาลีคฤหบดี เข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมแล้ว ท่านปิดประตู แก่ พวกนิครนถ์ แก่พวก นางนิครนถ์ ท่านเปิดประตูเพื่อพระผู้มีพระภาค สาวกของ พระผู้มีพระภาค คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ท่านผู้เจริญ ถ้าท่านมีความ ต้องการด้วยอาหาร ท่านจง หยุดอยู่ที่นี่แหละ ชนทั้งหลายจักนำมาเพื่อท่านในที่นี้ นายประตูรับคำ อุบาลีคฤหบดี แล้ว.

        [๗๖] ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้ฟังข่าวว่า อุบาลีคฤหบดี เข้าถึงความเป็นสาวก ของพระสมณโคดมแล้ว ลำดับนั้น จึงเข้าไปหานิครนถ์นาฏบุตรถึงที่อยู่ ได้กล่าวกะ นิครนถ์นาฏบุตรว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ฟังข่าวนี้มาว่า อุบาลีคฤหบดี เข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมแล้ว.

         นิ. ดูกรตปัสสี ข้อที่อุบาลีคฤหบดีจะพึงเข้าถึง ความเป็นสาวกของพระสมณ โคดม นั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส แต่ข้อที่พระสมณโคดม จะพึงเข้าถึงความเป็น สาวก ของอุบาลีคฤหบดีนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้.

     ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้กล่าวกะนิครนถ์นาฏบุตรเป็นครั้งที่ ๒ ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ฟังข่าวนี้มาว่า อุบาลีคฤหบดี เข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดม แล้ว.

     นิ. ดูกรตปัสสี ข้อที่อุบาลีคฤหบดี จะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณ โคดมนั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส แต่ข้อที่พระสมณโคดมจะพึงเข้าถึงความ เป็นสาวก ของอุบาลีคฤหบดีนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.

     ทีฆตปัสสีนิครนถ์ ได้กล่าวกะนิครนถ์นาฏบุตรเป็นครั้งที่ ๓ ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ฟังข่าวนี้มาว่า อุบาลีคฤหบดีเข้าถึงความเป็นสาวกของ พระสมณโคดม แล้ว

     นิ. ดูกรตปัสสี ข้อที่อุบาลีคฤหบดี จะพึงเข้าถึงความเป็นสาวก ของพระสมณ โคดม นั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส แต่ข้อที่พระสมณโคดม จะพึงเข้าถึง ความเป็น สาวกของอุบาลีคฤหบดีนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.

     ที. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เอาเถอะ ข้าพเจ้าจะไป เพียงจะทราบว่าอุบาลีคฤหบดี เข้าถึง ความเป็นสาวก ของพระสมณโคดมแล้ว หรือหาไม่?

     นิ. ดูกรตปัสสี ท่านจงไป จงรู้ว่า อุบาลีคฤหบดีเข้าถึงความเป็นสาวกของ พระ สมณโคดม หรือหาไม่ ?






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์