เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  ธรรมของพระเจ้าจักรพรรดิ (จักกวัตติสูตร) 1199
 

(โดยย่อ)
(ย่อ1)
จักกวัตติวัตร อันประเสริฐนั้น เป็นอย่างไร?

ลูกเอ๋ย ! เจ้าจงอาศัยธรรมเท่านั้น จงสักการะธรรม เคารพธรรม นับถือธรรม บูชาธรรม ยําเกรงธรรม มีธรรมเป็นธงชัย มีธรรมเป็นยอด มีธรรมเป็นใหญ่ จงจัดการอารักขาป้องกัน และคุ้มครองโดยชอบ ธรรม ในหมู่ชน ในราชสํานัก ในหมู่พล ในพวกกษัตริย์ผู้ตามเสด็จ ในพวกพราหมณ์และคหบดี ใน ราษฎรชาวนิคม และชาวชนบททั้งหลาย ในพวกสมณะและพราหมณ์ ในเหล่าเนื้อและนกทั้งหลาย

ลูกเอ๋ย ! อนึ่ง บุคคลเหล่าใดในแว่นแคว้นของเจ้าไม่มีทรัพย์ เจ้าพึงให้ทรัพย์ แก่บุคคลเหล่านั้นด้วย

ลูกเอ๋ย ! สมณพราหมณ์เหล่าใด ป็นผู้งดเว้นจากความมัวเมา และความประมาท ตั้งมั่นอยู่ในขันติ อดทน อดกลั้น ฝึกตนอยู่แต่ผู้เดียว สงบตนอยู่แต่ผู้เดียว พึงเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้น

ลูกเอ๋ย ! พึงสอบถามสมณพราหมณ์เหล่านั้นว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มี โทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทําย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ สิ้นกาลนาน หรือว่า อะไร เมื่อทําย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน

จ้าได้ฟังคําของสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว
สิ่งใดเป็นอกุศล พึงละเว้นสิ่งนั้นเสีย สิ่งใดเป็นกุศล พึงยึดถือประพฤติสิ่งนั้น

ลูกเอ๋ย ! นี้แลคือ จักกวัตติวัตร อันประเสริฐนั้น
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(ย่อ2)
ธรรมของพระเจ้าจักรพรรดิ (จักกวัตติสูตร)

ลูกเอ๋ย ! เจ้าจงอาศัยธรรม จงสักการะธรรม มีธรรมเป็นธงชัย คุ้มครองโดยชอบธรรม
ลูกเอ๋ย ! เจ้าจงจัดการโดยชอบธรรมในหมู่ชน ในพวกพราหมณ์ ในพวกสมณะ
ลูกเอ๋ย ! บุคคลเหล่าใดไม่มีทรัพย์ เจ้าพึงให้ทรัพย์ แก่บุคคลเหล่านั้นด้วย
ลูกเอ๋ย ! จงเข้าหาสมณะ ผู้งดเว้นความมัวเมา และความประมาท สงบตนอยู่ผู้เดียว
ลูกเอ๋ย ! พึงสอบถามสมณะ ว่าอะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษอะไรไม่มีโทษ
ลูกเอ๋ย ! คำของสมณะที่กล่าวแล้ว สิ่งใดเป็นอกุศลพึงละเสีย สิ่งใดเป็นกุศลพึงถือประพฤติ
ลูกเอ๋ย ! นี้แลคือ จักกวัตติวัตร อันประเสริฐ
ปา ที่. ๑๙๖๔/๓๔

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน


ธรรมของพระเจ้าจักรพรรดิ
(จักกวัตติสูตร)


            ตรัสเล่าถึงพระเจ้าจักรพรรดิในกาลก่อน โดยเป็นการสนทนาระหว่าง พระราชฤาษีที่เป็นบิดา กับพระราชาที่เป็นบุตร เกี่ยวกับข้อปฏิบัติเพื่อความเป็น พระเจ้าจักรพรรดิ (จกกวตุติวตุต)

ก็ จักกวัตติวัตร อันประเสริฐนั้น เป็นอย่างไร?

ลูกเอ๋ย ! ถ้าเช่นนั้น เจ้าจงอาศัยธรรมเท่านั้น จงสักการะธรรม เคารพธรรม นับถือธรรม บูชาธรรม ยําเกรงธรรม มีธรรมเป็นธงชัย มีธรรมเป็นยอด มีธรรมเป็นใหญ่ จงจัดการ อารักขาป้องกัน และคุ้มครองโดยชอบธรรม ในหมู่ชน ในราชสํานัก ในหมู่พล ในพวก กษัตริย์ผู้ตามเสด็จ ในพวกพราหมณ์และคหบดี ในราษฎรชาวนิคมและชาว ชนบท ทั้งหลาย ในพวกสมณะและพราหมณ์ ในเหล่าเนื้อ และนกทั้งหลาย

ลูกเอ๋ย ! การอธรรม อย่าให้มีได้ในแว่นแคว้น ของเจ้าเลย.

ลูกเอ๋ย ! อนึ่ง บุคคลเหล่าใดในแว่นแคว้นของเจ้า ไม่มีทรัพย์ เจ้าพึงให้ทรัพย์ แก่ บุคคลเหล่านั้นด้วย

ลูกเอ๋ย ! อนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่าใด ในแว่นแคว้นของเจ้า เป็นผู้งดเว้นจากความ มัวเมา และความประมาท ตั้งมั่นอยู่ในขันติ (อดทน อดกลั้น) และโสรัจจะ (ความสงบ) ฝึกตนอยู่แต่ผู้เดียว สงบตนอยู่แต่ผู้เดียว ให้ตนดับกิเลส อยู่แต่ผู้เดียว พึงเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้นโดยกาล อันควร แล้วไต่ถามสอบถามว่า

ท่านขอรับ!
อะไร เป็นกุศล อะไรเป็น อกุศล
อะไร มีโทษ อะไรไม่มีโทษ
อะไร ควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ
อะไร เมื่อทําย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูลเพื่อความทุกข์ สิ้นกาลนาน หรือว่า
อะไร เมื่อทําย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน

เจ้าได้ฟังคําของสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว สิ่งใดเป็นอกุศล พึงละเว้นสิ่งนั้นเสีย สิ่งใดเป็นกุศล พึงยึดถือประพฤติสิ่งนั้น

ลูกเอ๋ย ! นี้แลคือ จักกวัตติวัตร อันประเสริฐนั้น
ปา ที่. ๑๙๖๔/๓๔

หนังสือ ภพ-ภูมิ พุทธวจน บทที่ ๕๕ หน้า 197






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์