พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ หน้า หน้าที่ ๑๓๖
1)
ปัพพตูปมสูตรที่ ๓
[๓๓๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงวางก้อนหินเท่าเมล็ด ถั่วเขียวเจ็ดก้อนไว้ที่ ขุนเขาสิเนรุ
เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก้อนหินเท่าเมล็ดถั่วเขียว เจ็ดก้อนที่บุรุษวางไว้กับ ขุนเขาสิเนรุ ไหน จะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาสิเนรุ นี้แหละมากกว่า ก้อนหินเท่าเมล็ดถั่วเขียว เจ็ดก้อน ที่บุรุษวางไว้มีประมาณน้อย ก้อนหินเท่าเมล็ดถั่วเขียวเจ็ดก้อน ที่บุรุษวางไว้ เมื่อเทียบเข้ากับ ขุนเขาสิเนรุ ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐
[๓๓๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล การบรรลุคุณวิเศษแห่งอัญญเดียรถีย์สมณพราหมณ์และปริพาชก เมื่อเทียบกับ การบรรลุโสดาปัตติมรรคแห่งบุคคลผู้เป็นพระอริยสาวก สมบูรณ์ด้วยทิฐิ ไม่เข้าถึง เสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิ มี อธิคมใหญ่ อย่างนี้ มีอภิญญาใหญ่อย่างนี้
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๔๔๘
2)
สิเนรุสูตรที่ ๑
ทุกข์ของพระอริยบุคคลหมดไปมากกว่าที่เหลือ
[๑๗๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษเก็บก้อนหิน ประมาณเท่า เมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อนแห่ง ขุนเขาสิเนรุราช เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อนที่บุรุษเก็บแล้วกับ ขุนเขาสิเนรุราช อย่างไหนจะมากกว่ากัน?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาสิเนรุราช มากกว่า ก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อนที่บุรุษเก็บแล้ว น้อยกว่า เมื่อเทียบกับ ขุนเขาสิเนรุราช แล้ว ก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อน ที่บุรุษนั้น เก็บไว้แล้ว ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ตรัสรู้แล้วผู้รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาที่สิ้นไป หมดไปแล้ว มากกว่าที่ยังเหลือมีประมาณน้อย ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว เมื่อเทียบกับกองทุกข์อันมีในก่อนที่สิ้นไป หมดไปแล้ว อย่างสูง เพียง ๗ ชาติ ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา.
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๘๔ - ๘๕
3)
สุริยสูตร
[๖๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพปาลีวัน ใกล้พระนคร เวสาลี ณที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็นกำหนดควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ขุนเขาสิเนรุ โดยยาว ๘๔,๐๐๐ โยชน์ โดยกว้าง ๘๔,๐๐๐ โยชน์ หยั่งลงในมหาสมุทร ๘๔,๐๐๐ โยชน์ สูงจากมหาสมุทรขึ้นไป ๘๔,๐๐๐ โยชน์ มีกาลบางคราวที่ฝน ไม่ตกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี เมื่อฝนไม่ตก พืชคาม ภูตคามและติณชาติ ที่ใช้เข้ายา ป่าไม้ใหญ่ ย่อมเฉา เหี่ยวแห้ง เป็นอยู่ไม่ได้ ฉันใด สังขารก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็นกำหนดควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขาร ทั้งปวง ฯ ก็ดี ๓๐๐ โยชน์ก็ดี ๔๐๐ โยชน์ก็ดี ๕๐๐โยชน์ก็ดี ๖๐๐ โยชน์ก็ดี ๗๐๐ โยชน์ก็ดี ย่อมงวดลงเหลือ อยู่เพียง ๗ ชั่วต้นตาลก็มี ๖ ชั่วต้นตาลก็มี ๕ ชั่วต้นตาล ก็มี ๔ ชั่วต้นตาลก็มี ๓ ชั่วต้นตาลก็มี ๒ ชั่วต้นตาลก็มี ชั่วต้นตาลเดียวก็มี แล้วยัง จะเหลืออยู่ ๗ ชั่วคน๖ ชั่วคน ๕ ชั่วคน ๔ ชั่วคน ๓ ชั่วคน ๒ ชั่วคน ชั่วคนเดียว ครึ่งชั่วคน เพียงเอว เพียงเข่า เพียงแค่ข้อเท้าเพียงในรอยเท้าโค
ดูกรภิกษุทั้งหลาย น้ำในมหาสมุทรยังเหลืออยู่เพียงในรอยเท้าโค ในที่นั้นๆ เปรียบเหมือนในฤดูแล้ง เมื่อฝนเมล็ดใหญ่ๆ ตกลงมา น้ำเหลืออยู่ในรอยเท้าโค ในที่ นั้นๆ ฉะนั้น เพราะพระอาทิตย์ ดวงที่ ๕ ปรากฏ น้ำในมหาสมุทรแม้เพียงข้อนิ้วก็ไม่มี ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย ก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ...ควรหลุดพ้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏ แผ่นดินใหญ่นี้และ ขุนเขาสิเนรุ ย่อมมีกลุ่มควัน พลุ่งขึ้น เปรียบเหมือนนายช่างหม้อเผาหม้อที่ปั้นดีแล้ว ย่อมมีกลุ่มควันพลุ่งขึ้น ฉะนั้นดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพ ไม่เที่ยง ... ควรหลุดพ้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฏ แผ่นดินใหญ่นี้ และ ขุนเขาสิเนรุ ไฟจะติดทั่วลุกโชติช่วง มีแสงเพลิงเป็นอันเดียวกัน เมื่อแผ่นดินใหญ่ และ ขุนเขาสิเนรุ ไฟเผาลุกโชนลมหอบเอาเปลวไฟ ฟุ้งไปจน ถึงพรหมโลก เมื่อขุนเขาสิเนรุไฟเผาลุกโชนกำลังทะลาย ถูกกองเพลิงใหญ่เผา ท่วมตลอดแล้ว ยอดเขาแม้ขนาด ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐ โยชน์๔๐๐ โยชน์ ๕๐๐ โยชน์ ย่อมพังทะลาย เมื่อแผ่นดินใหญ่และขุนเขาสิเนรุถูกไฟเผาผลาญอยู่ย่อม ไม่ปรากฏ ขี้เถ้าและเขม่า เปรียบเหมือนเมื่อเนยใส หรือน้ำมันถูกไฟเผาผลาญ อยู่ ย่อมไม่ปรากฏ ขี้เถ้าและเขม่า ฉะนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม ควรจะเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ใครจะรู้ใครจะเชื่อว่า แผ่นดินนี้และ ขุนเขาสิเนรุ จักถูกไฟไหม้พินาศไม่เหลืออยู่ นอกจากอริยสาวกผู้มีบทอันเห็นแล้ว (โสดาบัน)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๕๓
4)
โกศลสูตรที่ ๑
[๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาสีและโกศลชนบทมีประมาณเท่าใด แว่นแคว้น ของ พระเจ้า ปเสนทิโกศล มีประมาณเท่าใด พระเจ้าปเสนทิโกศล ประชาชนก ล่าวว่า เป็นผู้เลิศในกาสี และ โกศลชนบท และแว่นแคว้นประมาณนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่โดยแท้ ความแปรปรวน มีอยู่ แม้แก่พระเจ้าปเสนทิโกศล ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่ อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในความดำรงอยู่ ในสมบัตินั้น เมื่อหน่ายในความดำรงอยู่ในสมบัตินั้น ย่อม คลายกำหนัดในความเลิศ แห่งสมบัติ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งเลวเล่า ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ย่อมหมุนเวียนส่องทิศ ให้ ไพโรจน์อยู่ในที่ มีประมาณเท่าใด โลกธาตุพันหนึ่งมีอยู่ในที่มีประมาณเท่านั้น ในโลกธาตุ พันหนึ่งนั้น มีดวงจันทร์ พันดวง ดวงอาทิตย์พันดวง ขุนเขาสิเนรุหนึ่งพัน ชมพูทวีปพันทวีป อมรโคยานพันทวีปอุตตรกุรุ พันทวีป ปุพพวิเทหะพันทวีป มหาสมุทร สี่พัน เทวโลกชั้นมหาราชสี่พัน ชั้นจาตุ มหาราชิกาหนึ่งพัน ชั้นดาวดึงส์ หนึ่งพัน ชั้นยามาหนึ่งพัน ชั้นดุสิตหนึ่งพัน ชั้นนิมมานรดีหนึ่งพัน ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี หนึ่งพัน ชั้นพรหมโลกหนึ่งพัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย พันโลกธาตุมีประมาณเท่าใด ท้าวมหาพรหม โลกกล่าวว่าเป็นเลิศในพันโลกธาตุนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลายความเป็นอย่างอื่นมีอยู่ ความแปรปรวน ก็มีอยู่แม้แก่ท้าว มหาพรหม ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ ในพัน โลกธาตุนั้น เมื่อหน่ายในพันโลกธาตุนั้น ย่อมคลายกำหนัดในความเป็นผู้เลิศ จะป่วยกล่าวไปไย ในสิ่งที่เลวเล่า
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๓๔๖
นาลกสูตรที่ ๑๑
(นาลกสูตร เป็นอรรถกถา ไม่ใช่คำสอนของพระศาสดา)
[๓๘๘] อสิตฤาษี อยู่ในที่พักกลางวัน ได้เห็นท้าวสักกะจอมเทพ และ เทวดา คณะไตรทส ผู้มีใจชื่นชม มีปีติโสมนัส ยกผ้าทิพย์ขึ้นเชยชมอยู่ อย่าง เหลือเกิน ในที่อยู่อันสะอาด ครั้นแล้ว จึงกระทำ ความนอบน้อม แล้วได้ถามเทวดา ทั้งหลาย ผู้มีใจเบิกบานบันเทิงในที่นั้นว่า เพราะเหตุไร หมู่เทวดาจึงเป็นผู้ยินดี อย่างเหลือเกิน ท่านทั้งหลายยกผ้าทิพย์ขึ้นแล้วรื่นรมย์อยู่เพราะอาศัยอะไร แม้คราวใด ได้มีสงครามกับพวกอสูร
พวกเทวดาชนะ พวกอสูรปราชัย แม้คราวนั้นขนลุกพองเช่นนี้ก็มิได้มี เทวดา ทั้งหลาย ได้เห็น เหตุอะไร ซึ่งไม่เคยมีมา จึงพากันเบิกบานเปล่งเสียงชมเชย ขับร้อง ประโคม ปรบมือ และ ฟ้อนรำกันอยู่ เราขอถามท่านทั้งหลายผู้อยู่บน ยอดเขาสิเนรุ ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลาย จงช่วยขจัดความสงสัย ของเรา โดยเร็ว เถิด ฯ
เทวดาทั้งหลายกล่าวว่าพระโพธิสัตว์ผู้เป็นรัตนะอันประเสริฐนั้น หาผู้เปรียบ มิได้ ได้เกิดแล้ว ในมนุษย์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขที่ป่าลุมพินีวัน ในคามชนบท ของเจ้าศากยะทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เราทั้งหลายจึงพากันยินดี เบิกบานอย่างเหลือเกินพระโพธิสัตว์นั้น เป็นอัครบุคคล ผู้สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ เป็นผู้องอาจ กว่านรชน สูงสุดกว่าหมู่สัตว์ทั้งมวลเหมือนสีหะผู้มีกำลัง ครอบงำ หมู่เนื้อ บันลืออยู่ จักทรงประกาศธรรมจักรที่ ป่าอิสิปตนะ ฯ
อสิตฤาษีได้ฟังเสียงที่เทวดาทั้งหลายกล่าวแล้วก็รีบลง (จากชั้นดาวดึงส์) เข้าไปยัง ที่ประทับ ของพระเจ้าสุทโธทนะ นั่งณ ที่นั้นแล้ว ได้ทูลถามเจ้าศากยะ ทั้งหลายว่า พระกุมารประทับ ณ ที่ไหน แม้อาตมภาพประสงค์จะเฝ้า ลำดับนั้น เจ้าศากยะทั้งหลายได้ทรงแสดงพระกุมารผู้รุ่งเรือง เหมือนทองคำที่ปากเบ้าซึ่ง นายช่างทอง ผู้เฉลียวฉลาดหลอมดีแล้ว ผู้รุ่งเรืองด้วยศิริ มีวรรณะ ไม่ทราม แก่ อสิตฤาษี
อสิตฤาษีได้เห็นพระกุมารผู้รุ่งเรือง เหมือนเปลวไฟ เหมือนพระจันทร์ อัน บริสุทธิ์ ซึ่งโคจร อยู่ในนภากาศ สว่างไสวกว่าหมู่ดาวเหมือนพระอาทิตย์ พ้นแล้ว จากเมฆ แผดแสงอยู่ในสรทกาล ก็เกิดความยินดีได้ปีติอันไพบูลย์เทวดาทั้งหลาย กั้นเศวตฉัตรมีซี่เป็นอันมาก และประกอบด้วย มณฑล ตั้งพันไว้ในอากาศจามร ด้ามทองทั้งหลายตกลงอยู่ บุคคลผู้ถือจามรและเศวตฉัตร ย่อม ไม่ปรากฏ ฤาษี ผู้ทรงชฎาชื่อกัณหศิริ ได้เห็นพระกุมารดุจแท่งทองบนผ้ากัมพลแดง และเศวตฉัตร ที่กั้นอยู่บนพระเศียร
|