- ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๖๑/๓๓๔.
หลักที่ควรรู้เกี่ยวกับ สัญญา
ภิกษุ ท. ! ข้อที่เรากล่าวว่า “พึงรู้จักสัญญา พึงรู้จักเหตุเป็นแดนเกิดของสัญญา พึงรู้จักความเป็นต่างกันของสัญญา พึงรู้จักผลของสัญญา พึงรู้จักความดับไม่เหลือ ของสัญญา และพึงรู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของสัญญา” ดังนี้นั้น เรากล่าวหมายถึงอะไรเล่า ?
(พึงรู้จักสัญญา)
ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึง สัญญาหก เหล่านี้ คือ สัญญาในรูป สัญญาในเสียง สัญญาในกลิ่น สัญญาในรส สัญญาในโผฏฐัพพะ และสัญญาใน ธรรมารมณ์.
(พึงรู้จักแดนเกิดของสัญญา)
ภิกษุ ท. ! เหตุเป็นแดนเกิดของสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ผัสสะ เป็นเหตุ เป็นแดน เกิดของสัญญา.
(พึงรู้จักความเป็นต่างกันของสัญญา)
ภิกษุ ท. ! ความเป็นต่างกันของสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! สัญญาในรูปก็เป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในเสียงก็เป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในกลิ่น ก็เป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในรสก็เป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในโผฏฐัพพะก็เป็น อย่างหนึ่ง และสัญญาในธรรมารมณ์ก็เป็นอย่างหนึ่ง.
ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า ความเป็นต่างกันของสัญญา.
(พึงรู้จักผลของสัญญา)
ภิกษุ ท. ! ผลของสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวสัญญา ว่า มีถ้อยคำที่พูดออกมานั้นแหละ เป็นผลเพราะบุคคล ย่อมพูด ไปตามสัญญา โดยรู้สึกว่า “เราได้มีสัญญาอย่างนี้ ๆ” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า ผลของสัญญา.
(พึงรู้จักความดับไม่เหลือ ของสัญญา)
ภิกษุ ท. ! ความดับไม่เหลือของสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความดับไม่เหลือของสัญญา มีได้ เพราะความดับไม่เหลือของผัสสะ.
(พึงรู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของสัญญา)
ภิกษุ ท. ! อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ ของ สัญญา ได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ. ....
ภิกษุ ท. ! คำใด ที่เรากล่าวว่า
- พึงรู้จักสัญญา
- พึงรู้จักเหตุเป็นแดนเกิดของสัญญา
- พึงรู้จักความเป็นต่างกันของสัญญา
- พึงรู้จักผลของสัญญา
- พึงรู้จักความดับไม่เหลือ ของสัญญา และ
- พึงรู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของสัญญา
ดังนี้นั้น เรากล่าวหมายถึงความข้อนี้แล.
ดูเรื่องสัญญาอื่นๆ
|