เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  สัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาธิระดับ 9 แต่ไม่ใช่สัตตาวาสของสัตว์) 1105
 
 
(สรุปจากการสาธยายธรรม)



https://www.youtube.com/watch?v=vvaUbEYwSVM
   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 


สัญญาเวทยิตนิโรธ


การแบ่งสมาธิตามความประณีตของธาตุ

ประเภทที่ 1 สัมมาสมาธิอันเป็นอริยะ
ประเภทที่ 2 สมาธิ 9 ระดับ

ประเภทที่ 1 สัมมาสมาธิ อันเป็นอริยะ
(ยังจัดว่าอยู่ในผืนนาเลว) คือมีจิตอยู่กับกาย (กายคตาสติ) เดินรู้ว่าเดิน ยืน นั่ง นอน ก็รู้  มีใจจดจ่ออยู่กับกาย หรือมีอารมณ์อัน เดียว หรือเอาจิตมาอยู่กับลมหายใจ หรือ ละนันทิ ไปเรื่อย ๆ เรียกว่า สัมมาสมาธิ อันเป็นอริยะ สมาธิประเภทนี้เหมือนอยู่ในอิริยาบถปกติ ตามมรรคมีองค์แปด สัมมากัมมันตะ สัมมาวาจา สัมมาอาชีวะ... ขณะที่เราละความเพลิน เห็นเกิด-ดับ พระศาสดาตรัสว่า นี้เป็นสัมมาสมาธิในตัวแล้ว ใช้ในการหลุดพ้นได้

 ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ประเภทที่ 2 สมาธิ 9 ระดับ
ฌานที่1 ฌานที่2 ฌาณที่3 ฌานที่ 4 เรียกรวมว่า จัตตาโรฌานัง หรือรูปสัญญา การหมายรู้ในรูปแล้วจิตตั้งมั่น

สมาธิ 9 ระดับแบ่งเป็น 3 ก้อน
   ก้อนที่1 รูปสัญญา (ณาณ 1-4)
   ก้อนที่2 อรูปสัญญา (อากาสา-เนวสัญญา)
   ก้อนที่3 สัญญาเวทยิตนิโรธ (เป็นช่วงลำแสง)

ก้อนที่ 1 (ผืนนาปานกลาง)
จัตตาโรฌานัง (ฌานทั้ง4) หรือ รูปสัญญา การหมายรู้ในรูปแล้วจิตตั้งมั่น
(จัตตาโร แปลว่า 4... ฌานัง แปลว่าการเพ่ง) ระดับนี้เรียกว่า ผืนนาปานกลาง

เช่นตั้งมั่นระดับที่1 (ฌาน1) ปฐมฌาน
การเข้าถึง ปฐมฌาน
ดับได้ (วางได้) 
วาง อกุศลวิตก 3 อย่างดับลง กาม(สัญญา) พยาบาท เบียดเบียน
หรือ นิวรณ์ 5 ดับ (กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิธะ อุทธัจจะกุกกุจจ วิจิกิจฉา)
เกิด (ในสมาธิ)
เกิดวิตก และวิจารณ์ (คิดใคร่ครวญธรรมขณะทำสมาธิ)
เกิดปิติ เกิดสุข จิตตั้งมั่น

ละ วิตกวิจารณ์ หยุดการใคร่ครวญธรรมได้ เข้าถึง ทุติยฌาน (ฌานที่2)
ละ ปิติได้ (เหลือแต่สุข) เห็นเกิด-ดับ ปล่อยวาง (ปิติ) เข้าถึง ตติยฌาน (ฌาณที่3)
ละ สุขในสมาธิได้ เหลืออุเบกขา (ไม่ทุกข์ไม่สุข) เข้าถึง จตุตถฌาน (ฌานที่4)

ก้อนที่2 (ผืนนาปราณีต)
อรูปสัญญา
หรือ สัญญาใน อรูป (ไม่มีการเพ่ง หรือไม่มีคำว่า ฌาน เป็นการย้อนกลับ คือการทำในใจ) (อรูปสัญญา-ผืนนาประณีต)
1. อากาสานัญจายตนะ (ทำในใจว่าอากาศไม่มีที่สิ้นสุด)
2. อากิญจัญญายตนะ (วิญญาณไม่มีที่สุด)
3. วิญญานัญจายตนะ (อะไรๆก็ไม่มี ว่างหมด)
4. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (สัญญามีก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่ แต่ก็ยังเป็นสัญญา อันหนึ่ง) เป็นระดับสูงสุดที่ได้มาซึ่งภพ

ธาตุมี 3 ก้อน
(ธาตุเลว ธาตุปานกลาง ธาตุประณีต)
รูปสัญญา จัดอยู่ในธาตุ ปานกลาง (มัชฌิมาย ฐาตุยา)
เมื่อเราได้ สัมมาสมาธิอันเป็นอริยะ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน สัมมาวาจา ฯลฯ เรายังไม่ได้สมาธิระดับนัยยะที่ 2 เนื่องจากจิตเรายังอยู่ในธาตุเลว ใช้ในการหลุดพ้นได้ แต่จะเป็นพวกที่ไม่ได้ความสุข อันเกิดจากการประพฤติปฏิบัติ หรือ ”สุขวิหารธรรม”

ดังนั้นสุขวิหารธรรม จึงเริ่มจาก ปฐมฌาน ขึ้นไป หรือ สุขาปฏิปทา ต่ำกว่านี้ลงมาเรียก ทุกขาปฏิปทา (หลุดพ้นได้) มีทั้งหลุดพ้นเร็ว และหลุดพ้นช้า  สุขาปฏิปทาแบบหลุดพ้นช้าก็มี

อรูปสัญญา จัดอยู่ในธาตุ ปราณีต (ปณีตาย ฐาตุยา)
ธาตุ มี 3 ระดับ
1. ธาตุเลว (หีนาย ฐาตุยา)
2. ธาตุปานกลาง (มัจฌมาย ฐาตุยา)
3. ธาตุปราณีต  (ปณีตาย ฐาตุยา)

สมาธิระดับ 1 และ 2 จะไม่ได้ สุขอันเกิดจากสมาธิ หรือ สุขวิหารธรรม
สุขจากสมาธิระดับที่ 1 และ 2 จะได้สุข เรียกว่า สุขาปฏิปทา

ก้อนที่ 3 (ช่วงลำแสง)
สัญญาเวทยิตนิโรธ (ช่วงลำแสง)
สัญญาเวทยิตนิโรธ อยู่สูงกว่าธาตุประณีต(อรูป) คือเป็นช่วงลำแสงที่กำลังพุ่ง มาหา ฉาก แต่ยังไม่ตกถึงพื้นก็หลุดพ้น คือสามารถหยุด ความเป็นอัตตา ให้อยู่ที่ลำแสง (ลำแสงยังไม่ตกถึงฉากก็หลุดพ้น)

สัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่ใช่อาวาสของสัตว์ (สัตตาวาส9 ชั้น) เป็นเพียงอาการตั้งมั่นของจิตขณะหนึ่งเท่านั้น

สัญญาเวทยิตนิโรธ ดับอะไรได้
ดับสัญญา และเวทนา ดังนั้น สมาธิทุกระดับจะมีสัญญา และเวทนา อยู่ด้วย ในขันธ์5 จึงดับไป 2 ธาตุ รูป ดับไปในชั้นอากาสา พอจะขึ้น สมาธิระดับ สัญญาเวทยิตนิโรธ พระพุทธเจ้าตรัสว่า สัญญาและเวทนาดับ (ดับไปแล้ว 2 ขันธ์) ดังนั้น สัญญา และ เวทนา จึงมีอยู่ในสมาธิทุกระดับจนถึงผืนนาปราณีต ส่วนขันธ์ที่เหลือคือ สังขาร (ความปรุงแต่ง)และ วิญญาณ 

ผู้ที่เข้าสมาธิระดับ สัญญาเวทยิตนิโรธ มี 2 แบบ
- ถ้าไม่เคยสดับ(คำของตถาคต) ไม่อาจหลุดพ้นได้ (เป็นอาคามี ต้องกลับไปเกิด)
- ถ้าเคยสดับ เห็นอริยสัจ สามารถนำมาพิจารณา สามารถหลุดพ้นได้

การหลุดพ้นจะต้องออกมาจาก สัญญาเวทยิตนิโรธ(ระดับ9) โดยลงมาที่ เนวสัญญา นาสัญญายตนะ(ระดับ8) เป็นการออกมาแล้วเข้าไปใหม่ เพื่อให้เห็นตัวตนที่เคยเห็น ได้ดับไป เห็นอย่างนี้ จะได้ความเป็นอรหันต์ หากไม่เห็นการเกิด-ดับ ถ้าหายแตก ทำลายขณะนั่งสมาธิอยู่ในช่วงลำแสง (สัญญาเวทยิต) ... จะกลับมาเกิดที่ ผืนนา ปานกลาง(ชั้นพรหม) เพราะมีเชื้อ(ดูพระสูตรที่อุบาลี เห็นไม่ตรงกับ พระสารรีบุตร จนต้องเข้าเฝ้าพระศาสดา)  

ผืนนา 3
   ผืนนาเลว ... นรก กำเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย เทวดากามภพ...
   ผืนนาปานกลาง.. ผู้ที่ได้ฌาน 1 – 4 (รูปสัญญา)
   ผืนนาประณีต... ผู้ที่ได้ อากาสา วิญญนัญจา อากิญจัญญา เนวสัญญา
สัญญาเวทยิตนิโรธ ... ช่วงลำแสง (ไม่ใช่อาวาสของสัตว์ แต่เป็นการตั้งมั่นของจิต) เมื่อจิตดับ จะมาเกิดที่ เนวสัญญา(ลดมา1ขั้น)

สัญญาเวทยิตนิโรธดับอะไรได้
กามสัญญา(ตริตรึกในกาม) ดับในฌานที่ 1 (วางได้ ดับได้)
ชั้นอากาสา รูปสัญญาดับ ... วางในส่วนของรูปได้ (รูปดับ)
สมาธิระดับสัญญาเวทยิต จะเหลือ 2 ขันธ์ สังขาร+วิญญาณ
สังขารมีในทั้งในลำแสง และ รอยแดด (วิญญาณ) หรือผืนนา

รอยแดด(วิญญาณ) เกิดได้ 4 ระดับ (ความหนา)
1. เกิด (อุปาโท) แสงพุ่งมา แต่ยังไม่กระทบพื้น
2. ตั้งขึ้น (ฐิติ )
3. สำเร็จ (อภินิภติ )
4. ปรากฏ (ปาตุภาโว)
พระศาสดาตรัสการเกิดภพในวิญญาณระดับที่ 2 (ฐิติ) จึงเรียกว่า ปุนพฺภวาภินิพฺพตฺติ (ภพใหม่ได้เกิดขึ้นแล้ว สำเร็จแล้ว) ส่วนวิญญาณระดับที่ 1 ยังไม่สำเร็จความเป็นภพ แต่มีวิญญาณที่กำลังก่อตัว ดังนั้นลำแสงที่พุ่งมา จึงมีสังขารอยู่ในตัว และมีวิญญาน (ระดับที่1 อุปาโท) แต่ยังไม่ใช่ภพ (ฐิติ) นี่คืออาการของสมาธิ ใน สัญญาเวทยิตนิโรธ

อาการตรัสรู้ของ ฌานทั้ง 4
ฌาน 1-4 เมื่อเกิด(ตายในสมาธิ) จะไปเกิดตั้งแต่ จาตุมหาราชิกา
ฌาน 1- 4 อาการจะเหมือนกัน
เธอนั้นตามเห็นการเกิดดับของขันธ์5 โดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นหัวฝี หรือเห็นใน จัตตาโรฌานัง)
(เรากล่าวซึ่งการสิ้นอาสวะในปฐมฌานบ้าง ทุติยฌานบ้าง ตติยฌานบ้าง  จตุตถฌานบ้าง)


 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์