meta name="description" content="เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า">
เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  วิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ (เปรียบเทียบกับ สัตตาวาส ๙) 1099
 
  วิญญาณฐิติ 7 สัตตาวาส 9
ที่ 1 สัตว์ที่มีกายต่างกัน สัญญาต่างกัน   (มนุษย์ เทพบางพวก วินิบาตบางพวก) 1 มนุษย์ เทพบางพวก วินิบาตบางพวก
ที่ 2 สัตว์ที่มีกายต่างกัน สัญญาอย่างเดียวกัน (เทพในชั้นพรหม ได้สมาธิปฐมฌาน) 2 เทพชั้นพรหม และผู้ได้สมาธิฌาน 1
ที่ 3 สัตว์ที่มีกายอย่างเดียวกัน สัญญาต่างกัน (เทพชั้นอาภัสสร) 3 เทพชั้นอาภัสสร และผู้ได้ฌาน 2
ที่ 4 สัตว์ที่มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน (เทพชั้นสุภกิณหะ ) 4 เทพชั้นสุภกิณหะ และผู้ได้ฌาน 3
ที่ 5 สัตว์ที่เข้าถึงชั้น อากาสานัญจายตนะ (ล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆะสัญญา ) 5 อสัญญีสัตว์
ที่ 6 สัตว์ที่เข้าถึงชั้น วิญญาณัญจายตนะ (วิญญาณหาที่สุดมิได้เพราะล่วงชั้นอากาสา) 6 เทวดาชั้น อากาสานัญจายตนะ (อรูป)
ที่ 7 สัตว์ที่เข้าถึงชั้น อากิญจัญญายตนะ (เพราะล่วงชั้นวิญญาณัญจายตนะ ) 7 เทวดาชั้น วิญญาณัญจายตนะ (อรูป)
  อายตนะ 2   8 เทวดาชั้น อากิญจัญญายตนะ (อรูป)
1 อสัญญีสัตตายตนะ  (รู้ความเกิด-ดับ รู้คุณ-โทษ รู้อุบายเครื่องออกไปจากอสัญญีสัตตายตนะ) 9 เทวดาชั้น เนวสัญญานาสัญญา (อรูป)
2 เนวสัญญานาสัญญายตนะ (รู้ความเกิด-ดับ รู้คุณ-โทษ รู้อุบายเครื่องออกไปจากเนวสัญญา...)   (ววัตถสัญญาสูตร P1629 )
 

บางส่วนจาก "มหานิทานสูตร" พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๕๐ ข้อที่ ๕๗

มหานิทานสูตร (วิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒)


                [๖๕] ดูกรอานนท์ วิญญาณฐิติ ๗ อายตนะ ๒ เหล่านี้

วิญญาณฐิติ ๗ เป็นไฉน คือ

      ๑. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกมนุษย์ และพวกเทพบางพวก พวกวินิบาตบางพวก นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๑

      ๒. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่ พวกเทพผู้นับเนื่องในชั้น พรหม ผู้บังเกิดด้วยปฐมฌาน และสัตว์ผู้เกิดในอบาย ๔ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๒

      ๓. สัตว์มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกเทพชั้นอาภัสสร นี้เป็น วิญญาณฐิติที่ ๓

      ๔. สัตว์ที่มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่ พวกเทพ   ชั้นสุภกิณหะ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๔

       ๕. สัตว์ที่เข้าถึงชั้น อากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุด มิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆะสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๕

      ๖. สัตว์ที่เข้าถึงชั้น วิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุด มิได้ เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๖

      ๗. สัตว์ที่เข้าถึงชั้น อากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วงชั้น วิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๗

      ส่วนอายตนะอีก ๒ คือ อสัญญีสัตตายตนะ (ข้อที่ ๑) และข้อที่ ๒ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ

      ดูกรอานนท์ บรรดาวิญญาณฐิติทั้ง ๗ ประการนั้น วิญญาณฐิติข้อที่ ๑ มี ว่า สัตว์ มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกมนุษย์และพวกเทพบางพวก พวกวินิบาต บางพวก ผู้ที่รู้ชัดวิญญาณฐิติข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณ และโทษ แห่ง วิญญาณฐิติ ข้อนั้นและรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติ  ข้อนั้น เขายังจะควร เพื่อเพลิดเพลินวิญญาณฐิติ นั้นอีกหรือ
      ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ
                ฯลฯ    ฯลฯ

      วิญญาณฐิติที่ ๗ มีว่า สัตว์ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการ ว่า ไม่มีอะไรเพราะล่วงชั้นวิญญาณณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง ผู้ที่รู้ชัดวิญญาณฐิติ ข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณและโทษ แห่งวิญญาณฐิติ ข้อนั้น และรู้อุบาย เป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติข้อนั้น เขายังจะควรเพลิดเพลินวิญญาณฐิตินั้น อีกหรือ

      ไม่ควร พระเจ้าข้า

      ดูกรอานนท์ ส่วนบรรดาอายตนะทั้ง ๒ นั้นเล่า
ข้อที่ ๑ คือ
     อสัญญีสัตตายตนะ ผู้ที่รู้ชัดอสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณ และโทษ แห่งอสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น และ รู้อุบายเป็นเครื่องออกไป จากอสัญญีสัตตายตนะ ข้อนั้น เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินอสัญญีสัตตายตนะ นั้น อีกหรือ

      ไม่ควร พระเจ้าข้า

ส่วนข้อที่ ๒ คือ
     เนวสัญญานาสัญญายตนะ
ผู้ที่รู้ชัดเนวสัญญานา สัญญายตนะ ข้อนั้นรู้ความ เกิด และความดับ รู้คุณและโทษแห่ง เนวสัญญานา สัญญายตนะข้อนั้น และรู้อุบาย เป็น เครื่องออกไปจากเนวสัญญานาสัญญายตนะ

   ข้อนั้น เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้นอีกหรือ ฯ

      ไม่ควร พระเจ้าข้า

      ดูกรอานนท์ เพราะภิกษุมาทราบชัดความเกิดและความดับทั้งคุณและโทษ   และอุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ เหล่านี้ ตามเป็น  จริงแล้ว ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้ เพราะไม่ยึดมั่น อานนท์ ภิกษุนี้เราเรียกว่า     ปัญญาวิมุตติ



 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์