เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  อนุปุพพสังขารนิโรธ ลำดับแห่งการดับของสังขาร (ของสรรพสิ่ง)
 
อนุปุพพนิโรธสูตร ความดับไปตามลำดับ ๙ ขั้นตอน
1076
 
 
อนุปุพพสังขารนิโรธ
(ลำดับแห่งการดับของสังขาร - ลำดับแห่งการดับของสรรพสิ่ง)
ภิกษุ ! ความดับแห่งสังขาร โดยลำดับๆ เราได้กล่าวแล้ว ดังนี้คือ
(๑) เมื่อเข้าสู่ ปฐมฌาน แล้ว วาจา ย่อมดับ
(๒) เมื่อเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้ว วิตก และ วิจาร ย่อมดับ
(๓) เมื่อเข้าสู่ ตติยฌาน แล้ว ปีติ ย่อมดับ
(๔) เมื่อเข้าสู่ จตุตถฌาน แล้ว อัสสาสะ และ ปัสสาสะ ย่อมดับ
(๕) เมื่อเข้าสู่ อากาสานัญจายตนะ แล้ว รูปสัญญา ย่อมดับ
(๖) เมื่อเข้าสู่ วิญญาณัญจายตนะ แล้ว อากาสานัญจายตนสัญญาย่อดับ
(๗) เมื่อเข้าสู่ อากิญจัญญายตนะ แล้ว วิญญาณัญจายตนสัญญา ย่อมดับ
(๘) เมื่อเข้าสู่ เนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้ว อากิญจัญญายตนสัญญา ย่อมดับ
(๙) เมื่อเข้าสู่ สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้ว สัญญา และ เวทนา ย่อมดับ
เมื่อภิกษุ สิ้นอาสวะ แล้ว ราคะ ก็ดับ โทสะ ก็ดับ โมหะ ก็ดับ.
-------------------------------------------------------------------------------------------
อนุปุพพนิโรธสูตร
(ความดับไปตามลำดับ ๙ ขั้นตอน)
๑) อามิสสัญญา ของผู้เข้าปฐมฌานย่อมดับไป (ฌาน๑)
๒) วิตกวิจาร ของผู้เข้าทุติยฌานย่อมดับไป (ฌาน๒)
๓) ปีติ ของผู้เข้าตติยฌานย่อมดับไป (ฌาน๓)
๔) ลมอัสสาสปัสสาสะ ของผู้เข้าจตุตถฌานย่อมดับไป (ฌาน๔)
๕) รูปสัญญา ของผู้เข้าอากาสานัญจายตน ฌานย่อมดับไป
๖) อากาสานัญจายตนสัญญา ของผู้เข้าวิญญาณัญจายตนฌานย่อมดับไป
๗) วิญญาณัญจายตนสัญญา ของผู้เข้าอากิญจัญญายตนฌานย่อมดับไป
๘) อากิญจัญญายตนสัญญา ของผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานย่อมดับไป
๙) สัญญาและเวทนา ของผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธย่อมดับไป
   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 


อริยสัจจจากพระโอษฐ์ หน้า 766

อนุปุพพสังขารนิโรธ
(ลำดับแห่งการดับของสังขาร - ลำดับแห่งการดับของสรรพสิ่ง)

ภิกษุ ! ความดับแห่งสังขาร โดยลำดับๆ เราได้กล่าวแล้ว ดังนี้คือ
(๑) เมื่อเข้าสู่ ปฐมฌาน แล้ว วาจา ย่อมดับ
(๒) เมื่อเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้ว วิตก และ วิจาร ย่อมดับ
(๓) เมื่อเข้าสู่ ตติยฌาน แล้ว ปีติ ย่อมดับ
(๔) เมื่อเข้าสู่ จตุตถฌาน แล้ว อัสสาสะ และ ปัสสาสะ ย่อมดับ
(๕) เมื่อเข้าสู่ อากาสานัญจายตนะ แล้ว รูปสัญญา ย่อมดับ
(๖) เมื่อเข้าสู่ วิญญาณัญจายตนะ แล้ว อากาสานัญจายตนสัญญาย่อดับ
(๗) เมื่อเข้าสู่ อากิญจัญญายตนะ แล้ว วิญญาณัญจายตนสัญญา ย่อมดับ
(๘) เมื่อเข้าสู่ เนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้ว อากิญจัญญายตนสัญญา ย่อมดับ
(๙) เมื่อเข้าสู่ สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้ว สัญญา และ เวทนา ย่อมดับ

เมื่อภิกษุ สิ้นอาสวะ แล้ ราคะ ก็ดับ โทสะ ก็ดับ โมหะ ก็ดับ.

---------------------------------------------------------------------

ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
หน้าที่ ๓๓๑

อนุปุพพนิโรธสูตร
(ความดับไปตามลำดับ ๙ ขั้นตอน)

           [๒๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพนิโรธ ๙ ประการนี้
๙ ประการเป็นไฉน คือ
๑) อามิสสัญญา ของผู้เข้าปฐมฌานย่อมดับไป (ฌาน๑)
๒) วิตกวิจาร ของผู้เข้าทุติยฌานย่อมดับไป (ฌาน๒)
๓) ปีติ ของผู้เข้าตติยฌานย่อมดับไป (ฌาน๓)
๔) ลมอัสสาสปัสสาสะ ของผู้เข้าจตุตถฌานย่อมดับไป (ฌาน๔)
๕) รูปสัญญา ของผู้เข้าอากาสานัญจายตน ฌานย่อมดับไป
๖) อากาสานัญจายตนสัญญา ของผู้เข้าวิญญาณัญจายตนฌานย่อมดับไป
๗) วิญญาณัญจายตนสัญญา ของผู้เข้าอากิญจัญญายตนฌานย่อมดับไป
๘) อากิญจัญญายตนสัญญา ของผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานย่อมดับไป
๙) สัญญาและเวทนา ของผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธย่อมดับไป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพนิโรธ ๙ ประการนี้แล ฯ

ธรรมเป็นที่ดับ ตามลำดับ (ซึ่งยังไม่ถึงนิพพาน)
(อนุปุพพนิโรธ - อนุปุพพวิหาร - อนุปุพพวิหารสมาบัติ) !!!
ก. อนุปุพพนิโรธ เก้า


พระสูตรที่เกี่ยวข้องอื่น อนุปุพพวิหารอาพาธ
(อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า530)
(อาการที่อารมณ์อันละได้ด้วยฌานใด จะมากลายเป็นสัญญาที่ทำความ อาพาธ ให้แก่การ เข้าอยู่ในฌานนั้น)


---------------------------------------------------------------------

ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต หน้าที่ ๓๓๒

อนุปุพพวิหาร ธรรมเป็นเครื่องอยู่ตามลำดับ (วิหารสูตรที่ ๑)


           [๒๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพวิหาร (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ตามลำดับ) ๙ ประการนี้ ๙ ประการเป็นไฉน คือ ปฐมฌาน ๑ ทุติยฌาน ๑ตติยฌาน ๑ จตุตถฌาน ๑ อากาสานัญจายตนฌาน* ๑ วิญญาณัญจายตนฌาน ๑ อากิญจัญญายตนฌาน ๑ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ๑ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพวิหาร ๙ ประการนี้แล ฯ

*(สมาธิระดับ อรูปสัญญา จะไม่มีคำว่า ฌาน ต่อท้าย คำว่าฌานจะเป็นสมาธิระดับ รูปสัญญา หรือฌาน ๑ ๒ ๓ ๔ เท่านั้น)


อนุปุพพวิหารสมาบัติ (วิหารสูตรที่ ๒)

         [๒๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการ นี้ เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการ เป็นไฉน เรากล่าวว่ากามทั้งหลายย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับ กามทั้งหลาย ได้แล้วๆ อยู่ ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌาน นั้น เป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า กามทั้งหลายย่อมดับในที่ไหน และใครดับกาม ทั้งหลายได้แล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้เราไม่เห็นผู้นี้เธอทั้งหลาย พึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า

         (๑) ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามสงัด จากอกุศลธรรม บรรลุ ปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ กามทั้งหลายย่อมดับ ในปฐมฌาน นี้ และท่านเหล่านั้นดับกามได้แล้วๆ อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอไม่เป็นผู้ โอ้อวด ไม่มี มารยา เป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่าดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำ อัญชลี เข้าไปนั่งใกล้ ฯ

           เรากล่าวว่า วิตกและวิจารย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับวิตกวิจาร ได้แล้วๆ อยู่ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้วถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌานนั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า วิตกและวิจารย่อมดับในที่ไหน และใครดับวิตกวิจารแล้วๆ อยู่เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึง ตอบผู้นั้น อย่างนี้ว่า
---------------------------------------------------------------------------------

           (๒) ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุข เกิดแก่สมาธิอยู่ วิตกวิจารย่อมดับในองค์ฌานนี้และท่านเหล่านั้นดับวิตกวิจารได้แล้วๆ อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้วพึงนมัสการกระทำอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้ ฯ

           เรากล่าวว่า ปีติย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับปีติได้แล้วๆ อยู่ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌานนั้น เป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า ก็ปีติดับในที่ไหน และใครดับปีติได้แล้วๆ อยู่เราไม่รู้ผู้นี้ ไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า
---------------------------------------------------------------------------------

           (๓) ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย นามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ปีติย่อมดับในองค์ฌานนี้ และท่านเหล่านั้น  ดับปีติได้แล้วๆ อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่าดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้ ฯ

           เรากล่าวว่า อุเบกขาและสุขดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับอุเบกขา และสุขได้แล้วๆอยู่ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌานนั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงถาม อย่างนี้ว่า ก็อุเบกขาและสุขย่อมดับ ในที่ไหน และใครดับอุเบกขาและสุขได้แล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้เรา ไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า
---------------------------------------------------------------------------------

           (๔) ดูกรอาวุโสภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน  ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละ สุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์อยู่ อุเบกขาและสุขดับในองค์ฌานนี้แล ท่านเหล่านั้นดับ อุเบกขา และสุข ได้แล้วๆ อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลายเธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชมยินดี ภาษิต ว่า ดีแล้ว ครั้นแล้วพึงนมัสการกระทำอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้ ฯ

           เรากล่าวว่า รูปสัญญาดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับรูปสัญญาได้แล้วๆ อยู่ในที่นั้นท่านเหล่านั้นไม่มี ความหิว ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ ฌานนั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า รูปสัญญาดับ ในที่ไหนและใครดับรูปสัญญา ได้แล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า
---------------------------------------------------------------------------------

           (๕) ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ ใจ ถึงนานัตตสัญญา บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน เพราะคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด รูปสัญญา ย่อมดับในองค์ฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับรูปสัญญาได้แล้วๆ อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มี มารยาเป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้วครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้ ฯ

           เรากล่าวว่า อากาสานัญจายตนสัญญาดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับ อากาสานัญจายตน สัญญาได้ แล้วๆ อยู่ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌานนั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า อากาสานัญจายตนสัญญา ดับในที่ไหนและใครดับอากาสานัญจายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า
---------------------------------------------------------------------------------

         (๖) ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า วิญญาณไม่มีที่สุด อากาสานัญจายตนสัญญาดับในองค์ฌานนี้ และท่านเหล่านั้ นดับอากาสานัญจายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้ ฯ

           เรากล่าวว่า วิญญาณัญจายตนสัญญาดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับ วิญญาณัญจายตน สัญญา ได้แล้วๆ อยู่ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนี้เป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า วิญญาณัญจายตนสัญญาดับในที่ไหน และใครดับวิญญาณัญจายตน สัญญาได้แล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า
---------------------------------------------------------------------------------

          (๗) ดูกรอาวุโสภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มีวิญญาณัญจายตน สัญญาย่อมดับใน องค์ฌานนี้ และท่านเหล่านั้น ดับวิญญาณัญจายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่ โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้วพึงนมัสการกระทำอัญชลี เข้าไปนั่งใกล้ ฯ

           เรากล่าวว่า อากิญจัญญายตนสัญญาดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับ อากิญจัญญายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิวดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌานนี้เป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่าอากิญจัญญาตน สัญญาดับในที่ไหน และใครดับอากิญจัญญายตนสัญญาได้แล้วๆอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า
---------------------------------------------------------------------------------

          (๘) ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนสัญญา ดับ ในองค์ฌานนี้ และท่านเหล่านั้น ดับอากิญจัญญายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้ ฯ

     เรากล่าวว่า เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับ เนวสัญญาน าสัญญายตน สัญญาได้แล้วๆ อยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิวดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้วถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนี้เป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่าเนวสัญญานา สัญญายตน สัญญาดับในที่ไหน และใครดับเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า
---------------------------------------------------------------------------------

          (๙) ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาดับ ในนิโรธนี้ และท่านเหล่านั้นดับ เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชมยินดี ภาษิตว่าดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการนี้แล ฯ



 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
ภพ ภูมิ  
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์