เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  มหาสุญญตสูตร (วิหารธรรม เครื่องอยู่ของตถาคต) 1077
 
 
มหาสุญญตสูตร (วิหารธรรม เครื่องอยู่ของตถาคต)

ก็วิหารธรรม อันตถาคตตรัสรู้ในที่นั้นๆ นี้แล คือ ตถาคตบรรลุ สุญญตสมาบัติภายใน 
เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวงอยู่ … สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน... ทุติยฌาน ตติยฌาน จัตตุตถฌาน

ก็วิหารธรรม อันตถาคตตรัสรู้ในที่นั้นๆ นี้แล คือ ตถาคตบรรลุ สุญญตสมาบัติภายใน เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวงอยู่ … สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน... ทุติยฌาน ตติยฌาน จัตตุตถฌาน

ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจ ความว่างภายใน (จิตยังไม่แล่นไป)
ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจ ความว่างภายนอก (จิตยังไม่แล่นไป)
ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจ อาเนญชสมาบัติ เมื่อเธอกำลังใส่ใจ อาเนญชสมาบัติ จิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส  ....

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ หน้าที่ ๑๘๕- ๑๙๓


มหาสุญญตสูตร 

        [๓๔๕]  พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุผู้ชอบคลุกคลีกัน ยินดีในการคลุกคลีกัน  ประกอบเนืองๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีกัน ชอบเป็นหมู่ ยินดีในหมู่ บันเทิง ร่วมหมู่  ย่อมไม่งามเลย

      ดูกรอานนท์ ข้อที่ภิกษุผู้ชอบคลุกคลีกัน ยินดีในการคลุกคลีกัน ประกอบเนืองๆ  ซึ่งความชอบคลุกคลีกันชอบเป็นหมู่ ยินดีในหมู่ บันเทิงร่วมหมู่นั้น หนอ จักเป็นผู้ได้ สุขเกิดแต่ เนกขัมมะ สุขเกิดแต่ความสงัด สุขเกิดแต่ความเข้าไปสงบสุข เกิดแต่ ความตรัสรู้ ตามความปรารถนาโดยไม่ยาก ไม่ลำบาก นั่นไม่ใช่ฐานะ ที่มีได้ ส่วนข้อ ที่ภิกษุเป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่อยู่ พึงหวังเป็นผู้ได้ สุขเกิดแต่ เนกขัมมะ สุขเกิดแต่ความสงัด สุขเกิดแต่ความเข้าไปสงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ ตามความ ปรารถนา โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก นั่นเป็นฐานะที่มีได้  ฯ

        ดูกรอานนท์  ข้อที่ภิกษุผู้ชอบคลุกคลีกัน ยินดีในการคลุกคลีกันประกอบ เนืองๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีกัน ชอบเป็นหมู่ ยินดีในหมู่ บันเทิงร่วม หมู่นั้นหนอ  จักบรรลุ เจโตวิมุติ อันปรารถนา เพียงชั่วสมัย  หรือเจโตวิมุติอันไม่กำเริบ มิใช่เป็นไป ชั่วสมัยอยู่ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ส่วนข้อที่ภิกษุเป็นผู้ ผู้เดียว หลีกออก จากหมู่อยู่  พึงหวัง บรรลุเจโตวิมุติ อันน่าปรารถนาเพียงชั่วสมัยหรือเจโต วิมุติ อันไม่กำเริบ มิใช่เป็นไปชั่ว สมัยอยู่ นั่นเป็นฐานะที่มีได้  ฯ

        ดูกรอานนท์  เราย่อมไม่พิจารณาเห็นแม้รูปอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ไม่เกิดโสกะ  ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาส เพราะความแปรปรวนและความเป็น อย่างอื่น ของรูป  ตามที่เขากำหนัดกันอย่างยิ่ง ซึ่งบุคคลกำหนัดแล้ว  ฯ

        [๓๔๖]  ดูกรอานนท์ ก็วิหารธรรม อันตถาคตตรัสรู้ในที่นั้นๆ  นี้แล  คือ ตถาคตบรรลุ สุญญตสมาบัติภายใน เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวงอยู่ ดูกรอานนท์ ถ้าภิกษุ ภิกษุณี  อุบาสก อุบาสิกา พระราช  มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์  สาวกของเดียรถีย์ เข้าไปหาตถาคตผู้มีโชคอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ในที่นั้นๆ ตถาคตย่อม มีจิตน้อมไปในวิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวกหลีกออกแล้ว ยินดียิ่งแล้ว ใน เนกขัมมะ (หลีกออกจากกาม) มีภายในปราศจาก ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ โดยประการ ทั้งปวง จะเป็นผู้ทำการเจรจาแต่ที่ชักชวนให้ออกเท่านั้น ในบริษัทนั้นๆ โดยแท้

        ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล ภิกษุถ้าแม้หวังว่า จะบรรลุ สุญญตสมาบัติ ภายใน อยู่เธอพึงดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายใน ให้เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ตั้งจิตภายในให้มั่นเถิด ฯ

        [๓๔๗]  ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุจะดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิต ภายใน ให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่นได้อย่างไร ดูกรอานนท์  ภิกษุในธรรมวินัยนี้

        (๑)  สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติ และ สุข เกิดแต่วิเวกอยู่  ฯ

        (๒)  เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น  เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่ สมาธิอยู่  ฯ

        (๓)  เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วย นามกาย เข้าตติยฌาน ที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่  เป็นสุข อยู่  ฯ

        (๔)  เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับ โสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่  ฯ

        ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ  ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่น  ฯ

        ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจ ความว่างภายใน (จิตยังไม่แล่นไป)
เมื่อเธอกำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส  ยังไม่ตั้งมั่น  ยังไม่นึกน้อมไปในความว่างภายใน เมื่อเป็นเช่นนั้น  ภิกษุย่อมรู้ชัด อย่างนี้ ว่า  เมื่อเรากำลังใส่ใจความว่างภายใน  จิตยังไม่แล่นไป  ยังไม่เลื่อมใส  ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในความว่างภายใน  ด้วยอาการนี้แล  ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่อง ความว่างภายในนั้นได้  ฯ

        ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจ ความว่างภายนอก (จิตยังไม่แล่นไป)
ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างทั้งภายใน และภายนอก  ...
ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจ อาเนญชสมาบัติ  เมื่อเธอกำลังใส่ใจ อาเนญชสมาบัติ จิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส  ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ
เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิตยังไม่ แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ ด้วยอาการนี้ แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่อง อาเนญชสมาบัติ นั้นได้ ฯ(แต่ยังไม่รู้สึกตัวในความว่าง หำพถคภายใน)

        ดูกรอานนท์ ภิกษุนั้นพึงดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายใน ให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในให้มั่น ในสมาธินิมิตข้างต้นนั้นแล เธอย่อมใส่ใจ ความว่างภายใน เมื่อเธอกำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อมไปในความว่างภายใน เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลัง ใส่ใจความว่างภายใน จิตย่อมแล่นไปเลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อม ไปในความว่าง ภายใน ด้วยอาการนี้แล  ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องความว่างภายในนั้นได้ ฯ

        ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างภายนอก (เมื่อจิตแล่นไป)
ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่าง ทั้งภายใน และภายนอก ...
ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจ อาเนญชสมาบัติ เมื่อเธอกำลังใส่ใจ อาเนญชสมาบัติ
จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส  ตั้งมั่น นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ เมื่อเป็นเช่นนั้น  ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิตย่อม แล่นไป เลื่อมใส  ตั้งมั่น นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ ด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่อง อาเนญชสมาบัตินั้นได้  ฯ


        [๓๔๘]  ดูกรอานนท์ หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไป เพื่อจะจงกรม เธอย่อมจงกรมด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามก คืออภิชฌาและโทมนัส  จักไม่ครอบงำเราผู้จงกรมอยู่อย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการ จงกรม  ฯ

        หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะยืน เธอย่อมยืนด้วย ใส่ใจว่าอกุศลธรรมลามก คืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำเราผู้ยืนอยู่แล้ว อย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการยืน  ฯ

        หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะนั่ง เธอย่อมนั่ง ด้วยใส่ใจว่าอกุศลธรรมลามก คืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำเราผู้นั่งอยู่แล้ว อย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการนั่ง  ฯ

        หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะนอน เธอ ย่อมนอน ด้วยใส่ใจว่าอกุศลธรรมลามก คืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำเราผู้นอนอยู่ อย่างนี้ได้ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการนอน ฯ

        หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้  จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะพูด  เธอย่อมใส่ใจว่า เราจักไม่พูดเรื่องราวเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องเลวทราม  เป็นเรื่องของชาวบ้าน เป็นเรื่องของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ  ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด  เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลสเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ เรื่องพระราชาบ้าง เรื่องโจรบ้างเรื่องมหาอำมาตย์บ้าง เรื่องกองทัพบ้าง เรื่องภัยบ้าง  เรื่องรบกันบ้าง เรื่องข้าวบ้างเรื่องน้ำบ้าง เรื่องผ้าบ้าง เรื่องที่นอนบ้าง  เรื่องดอกไม้บ้าง เรื่องของหอมบ้าง เรื่องญาติบ้าง เรื่องยานบ้าง เรื่องบ้านบ้าง  เรื่องนิคมบ้าง เรื่องนครบ้าง เรื่องชนบทบ้างเรื่องสตรีบ้าง เรื่องคนกล้าหาญบ้าง  เรื่องถนนหนทางบ้าง เรื่องทาสีในสถานที่ตักน้ำบ้าง เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้วบ้าง  เรื่องเบ็ดเตล็ดบ้าง เรื่องโลกบ้างเรื่องทะเลบ้าง เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วยเหตุนั้นเหตุนี้บ้าง 

        ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการพูด และเธอใส่ใจว่า  เราจักพูดเรื่องราว เห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบาย แก่การพิจารณาทางใจ เป็นไปเพื่อ ความเบื่อหน่ายส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด  เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ  เรื่องมักน้อย เรื่องยินดีของ เรื่องความสงัด เรื่องไม่คลุกคลี เรื่องปรารภความเพียร  เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการพูด  ฯ

        หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะตรึก  เธอย่อมใส่ใจว่า เราจักไม่ตรึกในวิตกเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นวิตกที่เลวทราม  เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชนไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์  ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อทำลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส  เพื่อความรู้ยิ่งเพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือกามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก  ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการตรึกและเธอใส่ใจว่า เราจักตรึกในวิตก เห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นวิตกของพระอริยะ เป็นเครื่องนำออก ที่นำออกเพื่อความสิ้นทุกข์ โดยชอบแก่บุคคลผู้ทำตาม คือ เนกขัมมวิตก อพยาบาทวิตกอวิหิงสาวิตก  ด้วยอาการ นี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในการตรึก  ฯ

        [๓๔๙]  ดูกรอานนท์  กามคุณนี้มี  ๕ อย่างแล  ๕ อย่างเป็นไฉน คือ รูปที่รู้ได้ ด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกามเป็น ที่ตั้งแห่ง ความกำหนัดเสียงที่รู้ด้วยโสต...กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ ...  รสที่รู้ได้ด้วยชิวหา.. โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่  น่าพอใจเป็นที่รัก ประกอบด้วย กาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

        ดูกรอานนท์ นี้แล กามคุณ ๕  อย่าง ซึ่งเป็นที่ที่ภิกษุพึงพิจารณาจิตของตน เนืองๆ  ว่า  มีอยู่หรือหนอแล ที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เรา เพราะกามคุณ  ๕  นี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะอายตนะใดอายตนะหนึ่งเมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัด อย่างนี้ว่า ความกำหนัดพอใจในกามคุณ ๕ นี้แล เรายังละได้แล้ว  แต่ถ้าภิกษุ พิจารณาอยู่  รู้อย่างนี้ว่า ไม่มีเลยที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เรา เพราะกามคุณ ๕  นี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะอายตนะใดอายตนะหนึ่ง เมื่อเป็น เช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ความกำหนัดพอใจในกามคุณ  ๕ นี้แล เราละได้แล้ว

ด้วยอาการนี้แล  เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องกามคุณ  ๕  ฯ

        [๓๕๐]  ดูกรอานนท์  อุปาทานขันธ์ทั้ง  ๕  นี้แล  ซึ่งเป็นที่ที่ภิกษุพึงเป็นผู้พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอยู่ว่า อย่างนี้รูป  อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูปอย่างนี้ความดับแห่งรูป อย่างนี้เวทนา  อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา อย่างนี้ความดับแห่งเวทนา อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา อย่างนี้ความดับแห่งสัญญา อย่างนี้สังขาร  อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร อย่างนี้ความดับแห่งสังขาร อย่างนี้วิญญาณ  อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ 

        เธอผู้พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้อยู่ย่อมละ อัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ ๕ ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราละ อัสมิมานะ ในอุปาทานขันธ์ ๕ ของเราได้แล้ว ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอ  รู้สึกตัวในเรื่องอุปาทานขันธ์  ๕  ฯ

        ดูกรอานนท์ ธรรมนั้นๆ เหล่านี้แล เนื่องมาแต่กุศลส่วนเดียว ไกลจากข้าศึก  เป็นโลกุตระ อันมารผู้มีบาปหยั่งลงไม่ได้ ดูกรอานนท์ เธอจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน สาวกมองเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงควรใกล้ชิดติดตามศาสดา  ฯ

        ท่านพระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลาย ของพวก ข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นเหตุ มีพระผู้มีพระภาคเป็นแบบอย่าง  มีพระผู้มีพระภาค เป็นที่พึงอาศัย ขอได้โปรดเถิด พระพุทธเจ้าข้า เนื้อความแห่ง พระภาษิตนี้ แจ่มแจ้ง เฉพาะ พระผู้มีพระภาคเท่านั้น ภิกษุทั้งหลายฟังต่อพระผู้มี พระภาคแล้วจักทรงจำไว้  ฯ

        [๓๕๑]  พ. ดูกรอานนท์ สาวกไม่ควรจะติดตามศาสดาเพียงเพื่อฟัง  สุตตะ  เคยยะ และไวยากรณ์เลย นั่นเพราะเหตุไร เพราะธรรมทั้งหลายอันพวกเธอสดับแล้ว  ทรงจำแล้ว คล่องปากแล้ว เพ่งตามด้วยใจแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยความเห็น  เป็นเวลานาน ดูกรอานนท์ แต่สาวกควรจะใกล้ชิดติดตามศาสดา เพื่อฟังเรื่องราวเห็น ปานฉะนี้  ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแก่การพิจารณาทางใจ  เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายส่วนเดียว เพื่อความกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส  เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้  เพื่อนิพพาน คือเรื่องมักน้อย เรื่องยินดีของของตน  เรื่องความสงัด เรื่องไม่คลุกคลี เรื่องปรารภ ความเพียรเรื่องศีล เรื่องสมาธิ  เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ  ฯ

        ดูกรอานนท์  เมื่อเป็นเช่นนั้น  จะมีอุปัททวะ ของอาจารย์อุปัททวะของศิษย์ อุปัททวะ ของผู้ประพฤติพรหมจรรย์  ฯ

        [๓๕๒]  ดูกรอานนท์  ก็อุปัททวะของอาจารย์ย่อมมีได้อย่างไร  ดูกรอานนท์  ศาสดาบางท่านในโลกนี้ ย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด  คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ  ที่แจ้งและลอมฟาง เมื่อศาสดานั้น  หลีกออกแล้ว อย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท  จะพากันเข้าไปหา เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท  พากันเข้าไปหาแล้ว ศาสดานั้นจะปรารถนาอย่างหมกมุ่น  จะถึงความวุ่นวาย  จะเวียนมา เพื่อความเป็นผู้มักมาก ดูกรอานนท์ ศาสดานี้เรียกว่า อาจารย์มีอุปัททวะ ด้วยอุปัททวะของอาจารย์ อกุศลธรรมอันลามกเศร้าหมอง เป็นเหตุเกิดในภพใหม่  มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา มรณะต่อไป ได้ฆ่าศาสดา นั้นเสียแล้ว ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล อุปัททวะของอาจารย์ย่อมมีได้  ฯ

        [๓๕๓]  ดูกรอานนท์ ก็อุปัททวะของศิษย์ย่อมมีได้อย่างไร ดูกรอานนท์  สาวกของศาสดานั้นแล เมื่อเพิ่มพูนวิเวกตามศาสดานั้น ย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด  คือ ป่า โคนไม้ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้งและลอมฟาง  เมื่อสาวกนั้น หลีกออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวนิคม และ ชาวชนบท จะพากันเข้าไปหา เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวนิคม และ ชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว สาวกนั้นจะปรารถนาอย่างหมกมุ่น จะถึงความ วุ่นวาย จะเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก ดูกรอานนท์ สาวกนี้เรียกว่าศิษย์ มีอุปัททวะ ด้วยอุปัททวะของศิษย์  อกุศลธรรมอันลามก  เศร้าหมอง เป็นเหตุเกิดในภพใหม่  มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรามรณะ ต่อไป  ได้ฆ่าสาวกนั้นเสียแล้ว ดูกรอานนท์ อย่างนี้แลอุปัททวะของศิษย์  ย่อมมีได้  ฯ

        [๓๕๔]  ดูกรอานนท์  ก็อุปัททวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมมีได้อย่างไร  ดูกรอานนท์ตถาคตอุบัติในโลกนี้ ได้เป็นผู้ไกลจากกิเลส  รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วย วิชชา และจรณะดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก อย่างหาคนอื่น ยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย  เป็นผู้ตื่นแล้วเป็นผู้แจกธรรม  ตถาคตนั้นย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด  คือ ป่า โคนไม้ ภูเขาซอกเขา ถ้ำบนภูเขา  ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เมื่อตถาคตนั้นหลีกออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวก พราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพากันเข้าไปหา เมื่อพวกพราหมณ์ และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว ตถาคตนั้น ย่อมไม่ปรารถนา อย่างหมกมุ่น ไม่ถึงความวุ่นวาย ไม่เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก

       ดูกรอานนท์ ส่วนสาวกของตถาคตผู้ศาสดานั่นแล เมื่อเพิ่มพูนวิเวกตามตถาคต ผู้ศาสดา ย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด  คือ ป่า โคนไม้ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา  ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เมื่อสาวกนั้น หลีกออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวก พราหมณ์ และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพากันเข้าไปหา เมื่อพวกพราหมณ์ และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว สาวกนั้น ย่อมปรารถนา อย่างหมกมุ่น ถึงความวุ่นวายเวียนมา เพื่อความเป็นผู้มักมาก

        ดูกรอานนท์ สาวกนี้เรียกว่าผู้ประพฤติพรหมจรรย์มีอุปัททวะ ด้วยอุปัททวะ ของ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ อกุศลธรรมอันลามก เศร้าหมอง เป็นเหตุ เกิดในภพใหม่  มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรามรณะต่อไป ได้ฆ่า สาวกนั้นเสียแล้ว ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล อุปัททวะของผู้ ประพฤติพรหมจรรย์ย่อม มีได้  ฯ

        ดูกรอานนท์ ในอุปัททวะทั้ง  ๓ นั้น อุปัททวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์นี้  มีวิบากเป็นทุกข์ มีวิบากเผ็ดร้อนกว่าอุปัททวะของอาจารย์ และอุปัททวะของศิษย์ ทั้งเป็นไป เพื่อความตกต่ำด้วย ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงเรียกร้องเรา ด้วยความเป็นมิตร อย่าเรียกร้องเราด้วยความเป็นข้าศึก ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกเธอตลอดกาลนาน  ฯ

        [๓๕๕]  ดูกรอานนท์  ก็เหล่าสาวกย่อมเรียกร้องศาสดา ด้วยความเป็นข้าศึก  ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นมิตรอย่างไร ดูกรอานนท์  ศาสดาในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ อนุเคราะห์แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวก ทั้งหลาย ว่า  นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวก ของศาสดานั้น ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ และประพฤติ หลีกเลี่ยง คำสอนของศาสดา ดูกรอานนท์ อย่างนี้แลเหล่าสาวกชื่อว่าเรียกร้องศาสดา ด้วยความ เป็น ข้าศึก ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นมิตร  ฯ

        [๓๕๖]  ดูกรอานนท์  ก็เหล่าสาวกย่อมเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็นมิตร ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นข้าศึกอย่างไร ดูกรอานนท์ ศาสดาในธรรมวินัยนี้เป็น ผู้อนุเคราะห์  แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวก ทั้งหลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ  เหล่าสาวกของศาสดานั้น ย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้และไม่ประพฤติ  หลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล เหล่าสาวกชื่อว่าเรียกร้อง ศาสดาด้วยความเป็นมิตร ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นข้าศึก  ฯ

        ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงเรียกร้องเราด้วยความเป็นมิตร อย่าเรียกร้องด้วยความเป็นข้าศึก ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่พวกเธอตลอดกาลนาน ดูกรอานนท์ เราจักไม่ประคับประคองพวกเธอ  เหมือนช่างหม้อ ประคับประคองภาชนะดินดิบที่ยังดิบๆ อยู่ เราจักข่มแล้วๆจึงบอก  จักยกย่องแล้วๆ จึงบอกผู้ใดมีแก่นสารผู้นั้นจักตั้งอยู่  ฯ

        พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดี  พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล  ฯ

จบ  มหาสุญญตสูตร  ที่  ๒



 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์