พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ ภาค ๔ เรื่องเบ็ดเตล็ดใหญ่น้อยต่าง ๆ
ตั้งแต่โปรดปัญจวัคคีย์แล้ว ไปจนถึงจวนจะปรินิพพาน หน้าที่ ๓๗๕
วิหารธรรมที่ทรงอยู่มากที่สุด ตลอดพระชนม์ ๑
(๑. บาลี จูฬสุญญตสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๒๒๖/๓๓๔. ตรัสแก่พระอานนท์ ที่บุพพาราม มิคารมาตุปราสาท)
พระอานนท์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในแคว้นสักกะ ที่ศากยนิคมชื่อนครกะ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ณ ที่นั้น ข้าพระองค์ได้ฟังมาได้จำมาแต่ ที่เฉพาะพระพักตร์ ของพระผู้มีพระภาคว่า
อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ เราตถาคตย่อมอยู่ด้วยสุญญตาวิหารเป็นส่วนมาก ดังนี้.
ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ! ข้อนี้เป็นอันว่า ข้าพระองค์ได้ฟังมาดี ได้รับมาดี ได้ทำในใจไว้ดี ได้ทรงจำไว้ดีแลหรือ พระเจ้าข้า !”
อานนท์ ! ถูกแล้ว ข้อนั้นเป็นอันว่าเธอได้ฟังแล้วดี ได้รับแล้วดี ได้ทำในใจไว้ แล้วดี ได้ทรงจำไว้แล้วดีแล้ว.
อานนท์ ! ทั้งในกาลก่อนและในกาล นี้ เราตถาคตย่อมอยู่ด้วย สุญญตาวิหาร เป็นส่วนมาก.
(ต่อจากนี้ ได้ตรัสถึงสิ่งที่เรียกว่าสุญญตาวิหารพร้อมทั้งอุปมาเป็นลำดับไป ตั้งต้นแต่ คามสัญญา - มนุสสสัญญา - อรัญญสัญญา - ปฐวีสัญญา - อากาสานัญจายตน สัญญา - วิญญาณัญจายตนสัญญา - อากิญจัญญายตนสัญญา - กระทั่งถึงเนวสัญญา นาสัญญายตนสัญญา ซึ่งยังมิใช่เป็นชั้นปรมานุตตรสุญญตา แล้วตรัสถึง อนิมิตต เจโตสมาธิ และการรู้ซึ่งโทษแห่งความเป็นสังขตธรรม ของสมาธินั้น มีจิตพ้นจาก อาสวะ ทั้ง ๓ ไม่มีความกระวนกระวาย (ทรถา) เพราะอาศัยอาสวะทั้ง ๓ นั้นมีแต่ สักว่า ความกระวนกระวาย (ทรถมตฺตา) อันเกิดจากการมีชีวิตอยู่ตาม ธรรมชาติบ้าง และตรัสเรียกวิหารธรรมนี้ว่า ปรมานุตตรสุญญตา และทรงยืนยันว่า มีหลักอย่างนี้ ทั้งใน กาลอดีต อนาคต ปัจจุบัน และทรงชักชวนให้ศึกษาการเข้าอยู่ด้วย ปรมานุตตรสุญญตา)
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ ภาค หน้าที่ ๓๗๕
ทรงอยู่ด้วยสุญญตาวิหาร แม้ใจขณะแห่งธรรมกถา ๑
(๑. บาลี จูฬสุญญตสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๒๒๖/๓๓๔. ตรัสแก่พระอานนท์ ที่บุพพาราม มิคารมาตุปราสาท)
อานนท์ ! ก็วิหารธรรมนี้แล เราตถาคตได้รู้พร้อมเฉพาะ (ตรัสรู้) แล้วในที่เป็น ที่ตรัสรู้นั้น นั่นคือตถาคตเข้าถึงแล้วแลอยู่ซึ่ง สุญญตาวิหาร อันเป็นภายใน เพราะไม่ กระทำในใจซึ่งนิมิต (ภายนอก) ทั้งปวง.
อานนท์ ! ในขณะนั้นที่ตถาคตอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ ถ้ามีผู้เข้ามาหา เป็น ภิกษุบ้าง ภิกษุณีบ้าง อุบาสกบ้าง อุบาสิกาบ้าง ราชาบ้าง ราชอำมาตย์บ้าง เดียรถีย์บ้าง สาวกเดียรถีย์บ้าง
อานนท์ ! ในกรณีนั้น ตถาคตมีจิตที่ยังคงน้อมอยู่ในวิเวก โน้มอยู่ในวิเวก แนบแน่นอยู่ในวิเวก อยู่นั่นเอง เป็นจิตหลีกออกจากโลกิยธรรม ยินดียิ่งแล้วใน เนกขัมมะ เกลี้ยงเกลาแล้วจาก อาสวัฏฐานิยธรรม โดยประการทั้งปวง กระทำซึ่งกถา อันเนื่องเฉพาะด้วยการชี้ชวนในการออก (จากทุกข์) โดยส่วนเดียวเท่านั้น.
อานนท์ ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ ถ้ามีภิกษุปรารถนาว่า เราพึงเข้าถึง สุญญตาวิหาร อันเป็นภายในแล้วแลอยู่ ดังนี้ไซร้
อานนท์ ! ภิกษุนั้นพึงกระทำจิตในภายในนั่นแหละ ให้เป็นจิตตั้งอยู่อย่าง สม่ำเสมอ ให้เป็นจิตหยุดพัก ให้เป็นจิตมีอารมณ์เดียว ให้เป็นจิตตั้งมั่น.
หมายเหตุ : ขอให้สังเกตให้เห็นว่า แม้เมื่อจิตอยู่ด้วยสุญญตาวิหาร คือไม่กำหนด นิมิตหรืออารมณ์ภายนอกทั้งปวง จิตรู้สึกอยู่ในรสของพระนิพพาน โดยไม่ต้องสูญเสีย ความรู้สึกเช่นนั้นไปจากจิต ปากก็ยังพูดเรื่องราวที่เคยพูดมาจนชินได้ โดยเฉพาะใน กรณีนี้ คือเรื่องแห่งความดับทุกข์ ซึ่งเป็นเรื่องที่แจ่มแจ้งและเคยชินสำหรับพระองค์ อย่างถึงที่สุดนั่นเอง ปากจึงทำการพูดออกไปได้ ด้วยจิตใต้สำนึกที่เคยชินต่อเรื่องนั้น โดยที่จิตไม่ต้อง หยุดจากการดื่มรสของสุญญตาวิหาร แม้ในขั้นที่เป็น ปรมานุตตรสุญญตา (ซึ่งมีอธิบาย อยู่ที่หน้า ๓๗๖ บรรทัดที่ ๓ ไป (จากบรรทัดเลข หน้า) แห่งหนังสือเล่มนี้) ของพระองค์ ราวกะว่ามีจิตสองจิตหรือ สองชั้นทำงาน ร่วมกัน. จะยุกติเป็นอย่างไร ขอฝากท่าน ผู้คงแก่การปฏิบัติธรรม วินิจฉัยดูด้วยตนเอง เถิด. - ผู้รวบรวม. |