เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  เวรสูตร (คือศีล ๕ หรือภัยเวร ๕ ประการ) อันเป็นคุณสมบัติของโสดาบัน 1074
 

  ภัยเวร 5 ประการ (ศีล 5) บวกกับ โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ อันเป็นคุณสมบัติของโสดาบัน

ศีล๕ (ภัยเวร ๕ ประการ) โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ
  1) ละปาณาติบาต 1) ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ใน พระพุทธเจ้า
  2) ละอทินนาทาน
2) ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ใน พระธรรม
  3) ละกาเมสุมิจฉา 3) ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ใน พระสงฆ์
  4) ละการพูดเท็จ 4) มีศีลอันพระอริยเจ้าพอใจ ไม่ขาด ไม่ทะลุไม่ด่าง ไม่พร้อย
  5) ละการดึ่มสุรา และเมรัย  
   อ่าน ศีล ๕ และ โสตาปัตตยังคะสี่

  เวรสูตร คือศีล๕ ในพุทธศาสนา ในพระไตรปิฎกใช้ชื่อว่า ภัยเวร ๕ ประการ ตรัสไว้ ๒ พระสูตร
  คือเวรสูตรที่๑ (ตรัสกับอนาถบิณฑิก) และ เวรสูตรที่๒ (ตรัสกับภิกษุทั้งหลาย)โดยเนื้อความทั้งสอง
  พระสูตร เหมือนกันทุกประการ

  อริยสาวกผู้สงบระงับ ภัยเวร ๕ ประการ (ศีล๕) และ โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ
 
พึงพยากรณ์ตนเองว่า เราเป็นผู้ที่สิ้นแล้ว ซึ่ง นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน และเปรตวิสัย.. มีอบาย ทุคติ
  และวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง ที่จะตรัสรู้ ในเบื้องหน้า

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 

ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต หน้า ๓๒๖
  
เวรสูตรที่ ๑ (ตรัสกับอนาถบิณฑิกคฤหบดี)

     [๒๓๑] ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะ อนาถบิณฑิกคฤหบดี ว่า

     ดูกรคฤหบดี ในกาลใดแล อริยสาวกสงบระงับ ภัยเวร ๕ ประการ (ศีล๕) และ ประกอบด้วย โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ ในกาลนั้นอริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง ที่จะตรัสรู้ ในเบื้องหน้า ฯ
(ผู้ใดสงบภัยเวร ๕ ประการ และประกอบด้วย โสตาปัตยังคะ ๔ ถือผู้นั้นเป็นโสดาบัน)

     อริยสาวก สงบระงับภัยเวร ๕ ประการเป็นไฉน  ดูกรคฤหบดีบุคคล ผู้มัก ฆ่าสัตว์  ย่อมประสบภัยเวร แม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ และย่อมได้เสวย ทุกข์ โทมนัส ทางใจ เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย
อริยสาวก
(ศีลข้อ๑) ผู้งดเว้นจากปาณาติบาตย่อม ไม่ประสบภัยเวร แม้ในปัจจุบันแม้ใน สัมปรายภพ และไม่ได้เสวยทุกขโทมนัสทางใจ อริยสาวกผู้งดเว้นจาก ปาณาติบาต ย่อมสงบระงับภัยเวรนั้นด้วยประการอย่างนี้
ดูกรคฤหบดี
(ศีลข้อ๒) บุคคลผู้มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้ ฯลฯ
(ศีลข้อ๓) ผู้มักประพฤติผิดในกาม ฯลฯ
(ศีลข้อ๔) ผู้มักพูดเท็จ ฯลฯ
(ศีลข้อ๕) ผู้มักดื่มน้ำเมาคือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท ย่อมประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ และย่อมเสวยทุกข์โทมนัสทางใจ เพราะดื่มน้ำเมา คือ สุราและ เมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาทเป็นปัจจัย

อริยสาวก ผู้งดเว้นจากการ ดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นฐานะแห่งความประมาท ย่อมไม่ ประสบภัยเวร แม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ และ ย่อมไม่ได้เสวยทุกข โทมนัส ทางใจ

อริยสาวกผู้งดเว้น จากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นฐานะแห่งความ ประมาท ย่อมสงบระงับ ภัยเวรนั้น ด้วยอาการอย่างนี้ อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการนี้ ฯ

     อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

(ประการ ๑) เป็นผู้ประกอบด้วย ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ใน พระพุทธเจ้า ว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ...เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม

(ประการ ๒) ย่อมประกอบด้วย ความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ... อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน ๑

(ประการ ๓) ย่อมประกอบด้วย ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระสงฆ์ ว่าพระสงฆ์สาวกของ พระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ... เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ๑

(ประการ๔)
ย่อมประกอบด้วย ศีลอันพระอริยเจ้าพอใจ ไม่ขาด ไม่ทะลุไม่ด่างไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิไม่ถูกต้องเป็นไปเพื่อสมาธิ ๑

อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วย โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้ ฯ

      ดูกรคฤหบดี ในกาลใดแล อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการนี้ และ ประกอบด้วย โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้ อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตน ด้วยตนเองว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย มีทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ฯ

-------------------------------------------------------------------------------------------------

ฉบับหลวง  เล่มที่ ๒๓ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต หน้า ๓๒๘

เวรสูตรที่ ๒ (ตรัสกับภิกษุทั้งหลาย)

(ข้อความเช่นเดียวกับสูตรที่ ๑ ทุกประการ)

     [๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการ และประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ ในกาลนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบายทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ฯ

     ก็อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคล ผู้มัก ฆ่าสัตว์ ย่อมประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ และย่อมได้ เสวยทุกข์ โทมนัส ทางใจ เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย

(๑) อริยสาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ย่อมไม่ประสบภัยเวร แม้ในปัจจุบัน แม้ใน สัมปรายภพ และไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัส ทางใจ อริยสาวก ผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ย่อมสงบระงับภัยเวรด้วยประการอย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
(๒) บุคคลผู้มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้ ฯลฯ
(๓) ผู้มักประพฤติ ผิดในกาม
ฯลฯ
(๔)
ผู้มักพูดเท็จ ฯลฯ
(๕)
ผู้มักดื่มน้ำเมาคือ สุรา และ เมรัย อันเป็นฐานะ แห่ง ความประมาท ย่อมประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ใน สัมปรายภพ และย่อมได้เสวย ทุกข์ โทมนัสทางใจ เพราะดื่มน้ำเมาคือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความ ประมาท เป็นปัจจัย

อริยสาวก ผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท ย่อมไม่ประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ และย่อมไม่ได้เสวยทุกข์ โทมนัส ทางใจ

อริยสาวกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นฐานะ แห่งความประมาท ย่อมสงบระงับภัยเวรด้วยประการอย่างนี้ อริยสาวกย่อมสงบระงับ ภัยเวร ๕ ประการนี้ ฯ

     อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วย โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

(ประการ ๑) เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้าว่าแม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ๑

(ประการ ๒) เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มี พระภาคตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ๑

(ประการ ๓) ประกอบด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มี พระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า ๑

(ประการ ๔) เป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าพอใจ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิ ไม่ถูกต้องเป็นไป เพื่อสมาธิ ๑

อริยสาวกประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้ ฯ

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการนี้ และประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้ ในกาลนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ฯ

ดูพระสูตร สตาปัตติยังคะสี่

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์