เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  อาฆาตสูตร (ผูกใจเจ็บ และคิดแก้แค้น, จองเวร, พยาบาท) 1075
 
 


อาฆาต ๔ พระสูตร

๑) อาฆาตวินยสูตรที่ ๒ (ธรรมเป็นที่ระงับความอาฆาต นัยยะ๑)
ธรรมเป็นที่ระงับความอาฆาต ๕ ประการนี้

๑) ความอาฆาตพึงบังเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงเจริญเมตตาในบุคคลนั้น
๒) ความอาฆาตพึงบังเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงเจริญกรุณาในบุคคลนั้น
๓) ความอาฆาตพึงบังเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงเจริญอุเบกขาในบุคคลนั้น
๔) ความอาฆาตพึงบังเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงถึงการไม่นึกไม่ใฝ่ใจในบุคคลนั้น
๕) ความอาฆาตพึงบังเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงนึกถึงความเป็นผู้มีกรรมเป็นของๆ ตนให้มั่น ในบุคคลนั้นว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้มีกรรมเป็นของๆตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใดดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักเป็นทายาท (ผู้รับผล) ของกรรมนั้น ดังนี้

๒) อาฆาตวินยสูตรที่ ๒ (ธรรมเป็นที่ระงับความอาฆาต นัยยะ๒)
๓) อาฆาตสูตร (อาฆาตวัตถุ ๙ ประการนี้ ๙ ประการเป็นไฉน)
๔) อาฆาตสูตร (เครื่องกำจัดความอาฆาต ๙ ประการนี้ ๙ ประการ ) 

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 

ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต หน้าที่ ๑๖๘ - ๑๗๑

อาฆาตวินยสูตรที่ ๑
(ธรรมเป็นที่ระงับความอาฆาต นัยยะ๑)


        [๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ระงับความอาฆาตซึ่งเกิดขึ้นแก่ภิกษุ โดยประการทั้งปวง ๕ ประการนี้

๕ ประการเป็นไฉน คือ
   ๑) ความอาฆาตพึงบังเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงเจริญเมตตาในบุคคลนั้น  
   ๒) ความอาฆาตพึงบังเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงเจริญกรุณาในบุคคลนั้น  
   ๓) ความอาฆาตพึงบังเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงเจริญอุเบกขาในบุคคลนั้น
   ๔) ความอาฆาตพึงบังเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงถึงการไม่นึกไม่ใฝ่ใจในบุคคลนั้น  
   ๕) ความอาฆาตพึงบังเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงนึกถึงความเป็นผู้มีกรรมเป็นของๆ ตนให้มั่น ในบุคคลนั้นว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้มีกรรมเป็นของๆตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใดดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักเป็นทายาท (ผู้รับผล) ของกรรมนั้น ดังนี้

ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นด้วยประการฉะนี้ ฯ
---------------------------------------------------------------------------------------------------------

อาฆาตวินยสูตร
(ธรรมเป็นที่ระงับความอาฆาต นัยยะ๒)

        [๑๖๒] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโส  ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ระงับความอาฆาต ซึ่งเกิดขึ้นแก่ภิกษุโดยประการ ทั้งปวง ๕ ประการนี้

๕ ประการเป็นไฉนคือ
(๑) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ (แต่) เป็นผู้มีความ ประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลแม้เช่นนี้

(๒) อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ (แต่) เป็นผู้มี ความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลแม้เช่นนี้

(๓) อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้มีความ ประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ แต่ย่อมได้ทางสงบใจ ได้ความเลื่อมใสโดยกาล อัน สมควร ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลแม้เช่นนี้

(๔) อนึ่ง บุคคลางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้มีความ ประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ และย่อมไม่ได้ทางสงบใจ ไม่ได้ความเลื่อมใส โดยกาลอันสมควร ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลแม้เช่นนี้

(๕) อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ เป็นผู้มีความ ประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ และย่อมได้ทางสงบใจ ย่อมได้ความเลื่อมใสโดยกาล อันสมควร ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลแม้เช่นนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในบุคคล ๕ จำพวกนั้น

(๑) บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางกาย ไม่บริสุทธิ์ (แต่) เป็นผู้มีความประพฤติ ทาง วาจาบริสุทธิ์ ภิกษุพึงระงับความอาฆาต ในบุคคลนั้นอย่างไรเหมือนอย่างว่า ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรเห็นผ้าเก่าที่ถนน เหยียบให้มั่นด้วยเท้าซ้าย เขี่ยออกดู ด้วยเท้าขวา ส่วนใดเป็นสาระ ก็เลือกถือเอา ส่วนนั้นแล้วหลีกไป แม้ฉันใด

(๒) บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ (แต่) เป็นผู้มีความประพฤติ ทาง วาจาบริสุทธิ์ ความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุไม่พึงใส่ใจ ส่วน นั้น ในสมัยนั้น ส่วนความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุพึงใส่ใจ ส่วนนั้นในสมัยนั้น ฉันนั้น ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้

(๓) ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ (แต่)เป็นผู้ มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้น อย่างไร เหมือนอย่างว่า สระน้ำที่ถูกสาหร่ายและแหนคลุมไว้ บุรุษผู้เดินทางร้อน อบอ้าว เหนื่อยอ่อน ระหายน้ำ เขาลงสู่สระน้ำนั้น แหวกสาหร่ายและแหนด้วยมือ ทั้งสอง แล้วกอบน้ำขึ้นดื่มแล้วพึงไป แม้ฉันใด

(๔) บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ (แต่) เป็นผู้มีความประพฤติ ทาง กายบริสุทธิ์ ความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุไม่พึงใส่ใจ ใน ส่วนนั้นในสมัยนั้น ส่วนความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุพึง ใส่ใจในส่วนนั้นในสมัยนั้น ฉันนั้น ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนี้อย่างนี้

(๕) ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้มีความ ประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ แต่ย่อมได้ทางสงบใจ ได้ความเลื่อมใส โดยกาลอันสมควร ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างไร เหมือนอย่างว่า น้ำเล็กน้อย มีอยู่ในรอยโค บุรุษผู้เดินทางร้อนอบอ้าว เหนื่อยอ่อน ระหายน้ำ เขาพึง เกิดความคิด อย่างนี้ว่า น้ำเล็กน้อยมีอยู่ในรอยโคนี้ ถ้าเราจักกอบขึ้นดื่มหรือใช้ภาชนะ ตักขึ้น ดื่มไซร้ เราก็จักทำน้ำนั้นให้ไหวบ้าง ให้ขุ่นบ้าง ให้ไม่เป็นที่ควรดื่มบ้าง ถ้ากระไรเรา พึง คุกเข่าก้มลงดื่มอย่างโคดื่มน้ำแล้วหลีกไปเถิด เขาคุกเข่าก้มลงดื่ม น้ำอย่างโค ดื่มน้ำแล้วไป แม้ฉันใด

บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจา ไม่บริสุทธิ์ แต่ย่อมได้ทางสงบใจ ได้ความเลื่อมใสโดยกาลอันสมควร ความประพฤติ ทางกายไม่บริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุไม่พึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัยนั้น แม้ความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุก็ไม่พึงใส่ใจส่วนนั้น ในสมัยนั้น แต่การได้ทางสงบใจ ได้ความเลื่อมใสโดยกาลอันสมควรส่วนใดของเขา ภิกษุพึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัยนั้น ฉันนั้น ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้ 

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้มีความ ประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ และย่อมไม่ได้ทางสงบใจ ไม่ได้ความ เลื่อมใสโดยกาล อันสมควร ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างไร เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้ อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนักเดินทางไกล แม้ข้างหน้าเขา ก็มีบ้านอยู่ไกล แม้ข้างหลัง เขาก็มีบ้านอยู่ไกล เขาไม่พึงได้อาหารที่สบาย (ถูกโรค) เภสัชที่สบาย ผู้พยาบาล ที่สมควร และผู้นำทางไปสู่บ้าน บุรุษบางคนผู้เดินทางไกล พึงเห็นเขา บุรุษนั้นพึง เข้าไปตั้งความการุณความเอ็นดูความอนุเคราะห์ในเขาว่า โอ คนๆ นี้พึงได้อาหาร ที่สบาย เภสัชที่สบาย ผู้พยาบาลที่สมควรและผู้นำทางไปสู่บ้าน

ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะเหตุว่า คนๆ นี้อย่าถึงความพินาศฉิบหาย ณ ที่นี้เลย แม้ฉันใด บุคคลใดเป็นผู้มี ความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ และย่อม ไม่ได้ทางสงบใจ ไม่ได้ความเลื่อมใสโดยกาลอันสมควร ภิกษุพึงเข้าไปตั้ง ความการุณ ความเอ็นดู ความอนุเคราะห์ ในบุคคลแม้เห็นปานนี้ว่า โอท่านผู้นี้พึงละ กายทุจริตแล้ว อบรมกายสุจริต พึงละวจีทุจริตแล้ว อบรมวจีสุจริต พึงละ มโนทุจริต แล้ว อบรมมโนสุจริต ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ท่านผู้นี้เมื่อตาย ไปแล้ว อย่าเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฉันนั้น ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้น อย่างนี้

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ เป็นผู้มีความ ประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ย่อมได้ทางสงบใจ และย่อมได้ความเลื่อมใส โดยกาล อันสมควร ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างไร เหมือนอย่างว่า สระน้ำที่มี น้ำใส มีน้ำอร่อยดี มีน้ำเย็น มีน้ำขาว มีท่าน้ำราบเรียบ น่ารื่นรมย์ดาระดาดไปด้วย ต้นไม้ พันธุ์ต่างๆ บุคคลผู้เดินทางร้อนอบอ้าว เหนื่อยอ่อน ระหายน้ำ เขาพึงลงสู่ สระน้ำนั้น อาบบ้างดื่มบ้าง แล้วขึ้นมานั่งบ้าง นอนบ้าง ที่ร่มไม้ใกล้สระน้ำนั้น แม้ฉันใด

บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติ ทางวาจา บริสุทธิ์ ย่อมได้ทางสงบใจ และย่อมได้ความเลื่อมใสโดยกาลอันสมควร แม้ความ ประพฤติทางกายบริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุพึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัยนั้น แม้ความ ประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุพึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัยนั้น แม้การได้ ทางสงบใจ ได้ความเลื่อมใสโดยกาลอันสมควร ส่วนใดของเขา ภิกษุพึงใส่ใจส่วนนั้น ในสมัย ฉันนั้น

ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เพราะอาศัย บุคคลผู้เป็นที่น่าเลื่อมใสโดยประการทั้งปวง จิตย่อมเลื่อมใส ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ระงับความอาฆาต ซึ่งเกิดขึ้นแก่ภิกษุโดยประการทั้งปวง ๕ ประการนี้แล ฯ

---------------------------------------------------------------------------------------------------------
ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต หน้าที่ ๓๒๖

อาฆาตสูตร (ผูกใจเจ็บ และคิดแก้แค้น, จองเวร, พยาบาท)

     [๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาฆาตวัตถุ ๙ ประการนี้ ๙ ประการเป็นไฉน คือ

บุคคลย่อมผูกความอาฆาตว่า
๑) คนโน้นได้ประพฤติสิ่งมิใช่ประโยชน์แก่เราแล้ว
๒) คนโน้นย่อมประพฤติสิ่งมิใช่ประโยชน์แก่เรา
๓) คนโน้นจักประพฤติสิ่งมิใช่ประโยชน์แก่เรา

ย่อมผูกความอาฆาตว่า
๔) คนโน้นได้ประพฤติสิ่งมิใช่ประโยชน์แก่คนที่รัก ที่ชอบใจของเราแล้ว
๕) คนโน้นย่อมประพฤติ สิ่งมิใช่ประโยชน์แก่คนที่รักที่ชอบใจของเรา
๖) คนโน้นจักประพฤติสิ่งมิใช่ประโยชน์แก่คนที่รักที่ชอบใจของเรา

ย่อมผูกความอาฆาตว่า
๗) คนโน้นได้ประพฤติประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเราแล้ว
๘) คนโน้นย่อมประพฤติประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
๙) คนโน้นจักประพฤติประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาฆาตวัตถุ ๙ ประการนี้แล ฯ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต ที่ ๓๓๐

อาฆาตสูตรที่ ๒ (เครื่องกำจัดความอาฆาต)


[๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เหตุเครื่องกำจัดความอาฆาต ๙ ประการนี้ ๙ ประการ เป็นไฉน คือ

บุคคลย่อมกำจัดความอาฆาตได้ด้วยคิดว่า
๑) คนโน้นได้ประพฤติสิ่งมิใช่ประโยชน์แก่เราแล้ว เพราะเหตุนั้นที่ไหน เราจะพึงได้การประพฤติประโยชน์ ในบุคคลนี้เล่า

๒) คนโน้นย่อมประพฤติสิ่งมิใช่ประโยชน์แก่เรา เพราะเหตุนั้นที่ไหนเราจะพึงได้การ ประพฤติประโยชน์ ในบุคคลนี้เล่า

๓) คนโน้นจักประพฤติสิ่งมิใช่ประโยชน์แก่เรา เพราะเหตุนั้น ที่ไหนเราจะพึงได้การ ประพฤติประโยชน์ในบุคคลนี้เล่า

บุคคลย่อมกำจัดความอาฆาตด้วยคิดว่า
๔) คนโน้นได้ประพฤติสิ่งมิใช่ประโยชน์ แก่บุคคล ผู้เป็นที่รัก ที่ชอบใจ ของเราแล้ว เพราะเหตุนั้น ที่ไหนเราจะพึงได้การ ประพฤติประโยชน์แก่บุคคล ผู้เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเรา ในบุคคลนี้เล่า

๕) คนโน้นย่อมประพฤติสิ่งมิใช่ประโยชน์แก่บุคคล ผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุ นั้น ที่ไหนเราจะพึงได้การ ประพฤติประโยชน์แก่บุคคล ผู้เป็นที่รักที่ชอบใจ ของเราใน บุคคลนี้เล่า

๖) คนโน้นจักประพฤติสิ่งมิใช่ประโยชน์แก่บุคคล ผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุ นั้น ที่ไหน เราจะพึงได้การ ประพฤติ ประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจ ของเราใน บุคคลนี้เล่า

บุคคลย่อมกำจัดความอาฆาตด้วยคิดว่า
๗) คนโน้นได้ประพฤติประโยชน์แก่บุคคล ผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ ของเราแล้ว เพราะเหตุนั้น ที่ไหนเราจะพึงได้การประพฤติ สิ่งมิใช่ประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเราในบุคคลนี้เล่า

๘) คนโน้นย่อมประพฤติประโยชน์ แก่บุคคล ผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น ที่ไหนเราจะพึง ได้ การประพฤติสิ่งที่มิใช่ประโยชน์แก่บุคคล ผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ ของเรา ในบุคคลนี้เล่า

๙) คนโน้นจักประพฤติประโยชน์แก่บุคคล ผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น ที่ไหน เราจะพึงได้ การประพฤติ สิ่งมิใช่ประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจ ของเราในบุคคลนี้เล่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุเครื่องกำจัดความอาฆาต ๙ ประการนี้แล ฯ



 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์