เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 อรหันต์ ๗ องค์ สมัยนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๗ องค์..พระพุทธเจ้า โกณทัญญะ วัปปะ
 ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิ
1065
 
 


สมัยนั้น  มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๗ องค์
1.) พระพุทธเจ้า ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
2.) พระอัญญาโกณทัญญะ (สำเร็จแล้วจึงขอบวช)
3.) พระวัปปะ (บวชแล้วได้รับการสอนจึงสำเร็จ)
4.) พระภัททิยะ (บวชแล้วได้รับการสอนจึงสำเร็จ)
5.) พระมหานามะ (บวชแล้วได้รับการสอนจึงสำเร็จ)
6.) พระอัสสชิ (บวชแล้วได้รับการสอนจึงสำเร็จ)
7.) ยสกุลบุตร (สำเร็จแล้วจึงขอบวช)

พระอัญญาโกณทัญญะ มีดวงตาเห็นธรรม หลังพระผู้มีพระภาคตรัสสอนเรื่อง ญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ (ญาณ3) สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับ เป็นธรรมดา



   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๔ วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑ หน้าที่ ๑๙



ปัญจวัคคีย์ทูลขอบรรพชาอุปสมบท
(พระอัญญาโกณฑัญญะ สำเร็จอรหันต์แล้วจึงขอบวช)

        [๑๘] ครั้งนั้น ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้เห็นธรรม*แล้ว ได้บรรลุ ธรรมแล้ว ได้รู้ธรรม แจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจาก ถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นใน คำสอนของ พระศาสดา ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ขอข้าพระองค์พึงได้ บรรพชา พึงได้อุปสมบท ในสำนักพระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าข้า.

  * พระอัญญาโกณทัญญะ มีดวงตาเห็นธรรม หลังพระผู้มีพระภาคตรัสสอนเรื่อง ญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ (ญาณ๓)... สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับ เป็นธรรมดา (ดูพระสูตร)

        พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วตรัสต่อไปว่าธรรม อันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.

        พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุนั้น.

        [๑๙] ครั้นต่อมา พระผู้มีพระภาคได้ทรงประทานโอวาท สั่งสอนภิกษุทั้งหลาย ที่เหลือ จากนั้นด้วยธรรมีกถา. เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอน ด้วย ธรรมีกถาอยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ ท่าน พระวัปปและท่าน พระภัททิยะ ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา.

        ท่านทั้งสองนั้น ได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว
ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น ในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ต่อ พระผู้มีพระภาคว่า ขอข้าพระองค์ทั้งสองพึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบท ในสำนักพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า.

        พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธอทั้งสองจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไป ว่าธรรมอันเรา กล่าวดีแล้ว เธอทั้งสองจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์ โดยชอบเถิด.

        พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุทั้งสองนั้น.

        ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสวยพระกระยาหารที่ท่านทั้งสามนำมาถวาย ได้ทรง ประทานโอวาท สั่งสอนภิกษุที่เหลือจากนั้นด้วยธรรมีกถา. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาต นำบิณฑบาตใดมา ทั้ง ๖รูป ก็เลี้ยงชีพด้วยบิณฑบาตนั้น.

        วันต่อมา เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนด้วยธรรมีกถาอยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินได้เกิดขึ้นแก่ ท่าน พระมหานามะ และ ท่าน พระอัสสชิ ว่า สิ่งใด สิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา.

        ท่านทั้งสองได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรม อันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น ในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ขอข้าพระองค์ทั้งสอง พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนัก พระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า.

        พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธอทั้งสองจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า ธรรม อันเรากล่าวดีแล้ว เธอทั้งสองจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ เถิด.

        พระวาจานั้นแล ได้เป็น อุปสมบท ของท่านผู้มีอายุทั้งสองนั้น.

ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร

        [๒๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่อ อาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็น อย่างนั้นเลย.

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคล ย่อมไม่ได้ในรูปว่ารูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

-----------------------------------------------------------------

ยสกุลบุตรสำเร็จพระอรหัตต์
(สำเร็จอรหันต์แล้วจึงบรรพชา)

        [๒๘] คราวเมื่อพระผู้มีพระภาคทรง แสดงธรรมแก่ บิดาของยสกุลบุตร จิตของ ยสกุลบุตร ผู้พิจารณาภูมิธรรมตามที่ตนได้เห็นแล้ว ได้รู้แจ้งแล้ว ก็พ้นจาก อาสวะทั้งหลาย  เพราะไม่ถือมั่น.

        ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงพระดำริว่า เมื่อเราแสดงธรรมแก่บิดาของยส กุลบุตรอยู่ จิตของ ยสกุลบุตร ผู้พิจารณาเห็นภูมิธรรมตามที่ตนได้เห็นแล้ว ได้รู้แจ้ง แล้ว พ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. ยสกุลบุตรไม่ควรจะกลับเป็น คฤหัสถ์บริโภคกาม เหมือนเป็นคฤหัสถ์ครั้งก่อน  ถ้ากระไร เราพึงคลายอิทธาภิสังขาร นั้นได้แล้ว. 

        พระองค์ก็ได้ทรงคลายอิทธาภิสังขารนั้น. 

        เศรษฐีผู้คหบดีได้เห็นยสกุลบุตรนั่งอยู่ ครั้นแล้วได้พูดกะ ยสกุลบุตรว่าพ่อ ยสมารดา ของเจ้าโศกเศร้าคร่ำครวญถึง  เจ้าจงให้ ชีวิตแก่มารดาของเจ้าเถิด.

        ครั้งนั้น ยสกุลบุตรได้ชำเลืองดูพระผู้มีพระภาคๆ ได้ตรัสแก่เศรษฐีผู้คหบดีว่า 

        ดูกรคหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน?

        ยสกุลบุตรได้เห็นธรรมด้วยญาณ ทัสสนะเพียงเสขภูมิเหมือนท่าน  เมื่อเธอ พิจารณาภูมิธรรมตามที่ตนได้เห็นแล้ว  ได้รู้แจ้งแล้ว  จิตพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย  เพราะไม่ถือมั่น  ดูกรคหบดียสกุลบุตร ควรหรือเพื่อจะกลับเป็นคฤหัสถ์บริโภคกาม  เหมือนเป็นคฤหัสถ์ ครั้งก่อน?.

        เศรษฐีผู้คหบดีกราบทูลว่า ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

        พระผู้มีพระภาคตรัสรับรองว่า  ดูกรคหบดี  ยสกุลบุตรได้เห็นธรรมด้วย ญาณ ทัสสนะ เพียงเสขภูมิ เหมือนท่าน เมื่อเธอพิจารณาภูมิธรรมตามที่ตนได้เห็นแล้ว ได้รู้แจ้งแล้ว จิตพ้นแล้วจากอาสวะ ทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ดูกรคหบดี ยสกุลบุตร ไม่ควรจะ กลับ เป็นคฤหัสถ์บริโภคกาม เหมือนเป็น คฤหัสถ์ครั้งก่อน.

        เศรษฐีผู้คหบดีกราบทูลว่า การที่จิตของยสกุลบุตรพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นนั้น เป็นลาภของยสกุลบุตร ยสกุลบุตรได้ดีแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคมียสกุลบุตรเป็น ปัจฉาสมณะ จงทรงรับภัตตาหาร ของข้า พระพุทธเจ้า เพื่อเสวยในวันนี้เถิด  พระพุทธเจ้าข้า.

        พระผู้มีพระภาคทรงรับโดยดุษณีภาพ. 

        ครั้นเศรษฐีผู้คหบดีทราบการรับนิมนต์ ของพระผู้มีพระภาค แล้ว  ได้ลุกจาก ที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ แล้วกลับไป.

        กาลเมื่อเศรษฐีผู้คหบดีกลับไปแล้วไม่นาน  ยสกุลบุตรได้ทูลคำนี้ต่อ พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า  ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบท ในสำนัก พระผู้มีพระภาค.

        พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด  แล้วได้ตรัสต่อไปว่า ธรรม อันเรา กล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด.

พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุนั้น

-----------------------------------------------


สมัยนั้น  มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๗ องค์.
1.) พระพุทธเจ้า
2.) พระอัญญาโกณทัญะ
3.) พระวัปปะ
4.) พระภัททิยะ
5.) พระมหานามะ
6.) พระอัสสชิ
7.) ยสกุลบุตร



 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์