เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  สักกายะทิฎฐิ : สักกายะคือ สักกายสมุทัยคือ สักกายนิโรธ คือ สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา 1056
 
 


สักกายะทิฎฐิ

   1. สักกายะ ... คืออุปาทานในขันธ์ ๕ อุปทานขันธ์๕นั่นแหละ คือสักกายะ
   2. สักกายสมุทัย ... คือตัณหาอันทำให้เกิดภพใหม่ คือความกำหนัดยินดี คือกาม
   3. สักกายนิโรธ ...คือ ความดับด้วยความคลายกำหนัดไม่มีเหลือ ความสละ ความสละคืน
   4. สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา...คือ อริยะมรรคมีองค์ ๘


สักกายะทิฎฐิ มีได้อย่างไร
   1. ไม่ได้เห็นพระอริยะ
   2. ไม่ฉลาดใน ธรรมของพระอริยะ
   3. ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ
   4. ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ (ผู้มีสัมมาทิฐิ ศรัทธาตถาคต)
   5. ไม่ฉลาดในธรรมของ สัปบุรุษ
   6. ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัปบุรุษ
ย่อม
   1.ตามเห็นรูป โดยความเป็นตนบ้าง
   2.ตามเห็นตน ว่ามีรูปบ้าง
   3.ตามเห็นรูป ในตนบ้าง
   4.ตามเห็นตน ในรูปบ้าง
...เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ตรัสทำนองเดียวกับรูป
อย่างนี้แล สักกายทิฏฐิจึงมีได้.


ก็อย่างไรสักกายทิฏฐิ จึงจะไม่มี
อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้
   1. ได้เห็นพระอริยะ 
   2. ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
   3. ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ
   4. ได้เห็นสัปบุรุษ (ผู้มีสัมมาทิฐิ ศรัทธาตถาคต)
   5. ฉลาดในธรรม ของสัปบุรุษ
   6. ฝึกดีแล้วในธรรมของสัปบุรุษ
ย่อม
   1. ไม่ตามเห็นรูป โดยความเป็นตนบ้าง
   2. ไม่ตามเห็นตนว่ามีรูปบ้าง
   3. ไม่ตามเห็นรูปในตนบ้าง
   4. ไม่ตามเห็นตนในรูปบ้าง
(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ตรัสทำนองเดียวกับรูป)
อย่างนี้แล สักกายทิฏฐิ จึงจะไม่มี.

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 

สรุปย่อจาก

สักกายทิฏฐิ

สักกายะคือ

อุปาทานขันธ์ ๕ คือ 1.รูปูปาทานขันธ์  2.เวทนูปาทานขันธ์  3.สัญญูปาทานขันธ์  4.สังขารูปาทานขันธ์  5.วิญญาณูปาทานขันธ์
อุปาทานขันธ์ ๕ นี้แล คือสักกายะ.

สักกายสมุทัยคือ
ตัณหา อันทำให้เกิดในภพใหม่ คือความกำหนัดยินดี เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
ตัณหานี้แล  คือสักกายสมุทัย.

สักกายนิโรธ คือ
ความดับด้วยความคลายกำหนัดไม่มีเหลือ ความสละ ความสละคืน ความปล่อย ความไม่พัวพัน ด้วยตัณหานั้น นี้แล คือ สักกายนิโรธ.

สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา
อริยะมรรคมีองค์ ๘ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ  ความดำริชอบ วาจาชอบ  ทำการงานชอบ  เลี้ยงชีวิตชอบ  ความเพียรชอบ  ความระลึกชอบ  ความตั้งจิตไว้ชอบ  นี้แล คือ สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา.

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สักกายะทิฎฐิ มีได้อย่างไร


ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้
1. ไม่ได้เห็นพระอริยะ
2. ไม่ฉลาดใน ธรรมของพระอริยะ
3. ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ
4. ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ (ผู้มีสัมมาทิฐิ ผู้ศรัทธาตถาคต)
5. ไม่ฉลาดในธรรมของ สัปบุรุษ
6. ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัปบุรุษ

ย่อม
1. ตามเห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง
2. ตามเห็นตนว่ามีรูปบ้าง
3. ตามเห็นรูปในตนบ้าง
4. ตามเห็นตนในรูปบ้าง
ย่อมตามเห็นเวทนา ... ย่อมตามเห็นสัญญา ... ย่อมตามเห็นสังขารทั้งหลาย ... ย่อมตามเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง ตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง ตามเห็นตนในวิญญาณบ้าง
อย่างนี้แล สักกายทิฏฐิจึงมีได้.


ก็อย่างไรสักกายทิฏฐิ จึงจะไม่มี

อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้
1. ได้เห็นพระอริยะ 
2. ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
3. ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ
4. ได้เห็นสัปบุรุษ
5. ฉลาดในธรรม ของสัปบุรุษ
6. ฝึกดีแล้วในธรรมของสัปบุรุษ

ย่อม
1.ไม่ตามเห็นรูป โดยความเป็นตนบ้าง
2.ไม่ตามเห็นตนว่ามีรูปบ้าง
3.ไม่ตามเห็นรูปในตนบ้าง
4.ไม่ตามเห็นตนในรูปบ้าง
ย่อมไม่ตามเห็นเวทนา ...ย่อมไม่ตามเห็นสัญญา ... ย่อมไม่ตามเห็นสังขารทั้งหลาย ... ย่อมไม่ตามเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่ตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนในวิญญาณบ้าง
อย่างนี้แล สักกายทิฏฐิ จึงจะไม่มี.

 

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์